บก.ลายจุด ถาม เอาเลยไหม นัดไล่ รมต.ชัยวุฒิ - อานนท์ บอก อยากปะทะแก๊สน้ำตาว่ะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580647
บก.ลายจุด ถาม เอาเลยไหม อยากจัดม็อบไล่ รมต.ชัยวุฒิ สักนัด
เมื่อวันที่ 24 กันยายน กรณี
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีหากมีม็อบออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 30 กันยายน ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครบ 8 ปี
นาย
ชัยวุฒิระบุว่า ถ้าไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวาย หรือเกิดการกระทบกระทั่งกันจนถึงขั้นบาดเจ็บ ก็ไม่อยากให้ออกมาเคลื่อนไหวกันในช่วงนี้ และตอนนี้ก็เป็นช่วงที่ประชาชนหลายคนเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม และปัญหาต่างๆ รัฐบาลอยากจะทำหน้าที่ให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า และหากไม่พอใจรัฐบาลก็อยากให้ใจเย็นๆ เพราะอีกไม่กี่เดือนจะถึงช่วงของการเลือกตั้งแล้ว พร้อมเตือนว่า “
ถ้าเคลื่อนไหวมากๆ ระวังจะไม่ได้เลือกตั้งนะ”
ด้านนาย
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ
บก.ลายจุด หัวหน้าพรรคเกียน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง โพสต์ข้อความว่า นายชัยวุฒิเหมาะที่จะถูกจัดการชุมนุมเพื่อขับไล่ พร้อมโพสต์เชิงสอบถามผู้ติดตามว่า จะจัดชุมนุมกันเลยดีไหม?
“บุคคลๆ นี้ควรมีม็อบไล่เป็นของตนเองสักครั้ง นัดเลยดีมั้ย ?” นาย
สมบัติกล่าว
ขณะที่
อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความ ระบุว่า
“คำพูดนี้ควรถูกพ่นออกมาจากปากคนเป็น รมต.รึเปล่า”
ขณะที่
อานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร โพสต์ข้อความระบุว่า
ร่างกายอยากปะทะแก๊สน้ำตาว่ะ
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02QHBdiNKvdPWzA6oMqRSr4zpqeLk6cFM3wP4Wa66PgmNSHhmTu3cBpVg8k94RWU41l
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0K9G1TUfodZQ2TXecueGoz5uDiMrMUWiw7CCvqryTLxoJjzy43sNrXUMauYSrTkCRl&id=100054162881442
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Wncagnh35M2pdWhXf7ftfuAv6n9UzS9xDm78KmAZTEBz3LhGg5sNEkec4qdzLAzGl&id=100000942179021
‘ชลน่าน’ โวยกฎเหล็ก 180 วัน สกัดเพื่อไทยแลนด์สไลด์ กดทับพรรคการเมืองใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580421
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเริ่มเข้าสู่ช่วง 180 วัน ที่พรรคการเมือง ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งล่าสุดระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทางพรรค พท.จะเน้นย้ำกำชับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ส.ให้ระมัดระวังอย่างไร เพราะบางเงื่อนไขสุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมายว่า พรรค พท.ทำหนังสือแจ้งทำความเข้าใจกับสมาชิก ที่ระบุถึงข้อปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ นอกจากนี้ยังเตรียมงานสัมมนาให้กับ ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. วันที่ 5 ตุลาคม ที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค และเปิดช่องสอบถามโดยตรงระหว่างสมาชิกที่มีข้อสงสัย กับทีมกฎหมายของพรรค
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า นี่คือการเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่เหมือนมีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จึงมีสิ่งที่ กกต.กำหนดว่า การหาเสียงแบบนี้สามารถทำได้ และมีข้อห้ามตามกฎหมายบัญญัติ เช่น การติดป้าย ขนาดของป้าย จำนวนของป้าย และสถานที่ติดป้าย หากทำผิดก็จะถือว่าผิดกฎหมายเลือกตั้ง
เมื่อถามถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์การขึ้นป้ายของ พล.อ.ป
ระวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการนายกรัฐมนตรี ระหว่างลงพื้นที่ตามต่างจังหวัด นพ.
ชลน่านกล่าวว่า แม้จะทำในนามของรักษาการนายกฯ แต่กรณีนี้ถือว่าเข้าข่ายเป็นป้ายหาเสียง เพราะบนป้ายมีการระบุชื่อพรรค นโยบาย และตัวบุคคลอยู่
เมื่อถามว่า พรรคฝ่ายค้านกังวลว่าพรรคร่วมรัฐบาลที่มีรัฐมนตรีจะได้เปรียบกว่าหรือไม่ นพ.
ชลน่านกล่าวว่า ก็ไม่ถึงขนาดว่าต้องหวาดกลัว ทั้งนี้หากทำในนามรัฐบาล เราก็สามารถทำความเข้าใจกับประชาชนว่า สิ่งที่รัฐมนตรีมาแจกของ ทำในส่วนของรัฐมนตรี และใช้เงินภาษีประชาชน ไม่ใช่การหาเสียง แต่เราก็ไม่ปิดกั้นในเรื่องที่ชาวบ้านเดือดร้อน เพราะบางเรื่องเราไม่สามารถช่วยเหลือได้ จึงต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐให้มาช่วยเหลือ
เมื่อถามว่า พรรคฝ่ายค้านจะตั้งคณะทำงานเพื่อจับตาตรวจสอบไม่ให้ถูกเอาเปรียบหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ต้องตรวจสอบ เช่น ไปในนามรัฐมนตรีแต่ให้ ส.ส.ไปแจกของ ถือเป็นการแอบแฝงหาเสียง ทั้งนี้ รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. ก็ต้องมีเส้นแบ่งให้ชัดว่าทำในนามอะไร
เมื่อถามถึงการขยายกรอบเวลาจาก 90 วัน เป็น 180 วัน ก่อนเลือกตั้ง จะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นพ.
ชลน่านกล่าวว่า ถือว่าแตกต่างมาก และถือเป็นการเขียนใหม่ กรอบเวลาเดิมคือ 90 วันก่อนเลือกตั้ง จะคิดเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย โดยไม่ห้ามเรื่องการทำกิจกรรม และไม่ห้ามการช่วยเหลือต่างๆ อาจจะบอกว่ากฎหมายใหม่มีเจตจำนงเพื่อต้องการให้ความเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง แต่ความจริงพรรคการเมืองที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือพรรค พท. ที่เป็นพรรคขนาดใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถรณรงค์เรื่องแลนด์สไลด์ได้ และสกัดทุกพรรคที่เป็นขนาดใหญ่เกินไป เป็นการออกกฎหมายที่ปิดกั้นและกดทับการทำพรรคการเมือง
“เป็นกระบวนการดึงพรรคใหญ่ ลงมาให้เท่าพรรคเล็ก เป็นวิธีคิดที่ผิด และทำให้ต้องลงใต้ดินเยอะขึ้น เพราะมีช่องหลบเลี่ยง เช่น ห้ามหาเสียงและจำหน่ายจ่ายแจกเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ทำแบบเลี่ยงไม่จำหน่ายจ่ายแจกเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นการส่งเสริมให้ซื้อเสียง เมื่อซื้อเสียงบนโต๊ะไม่ได้ ก็ลงใต้ดิน” นพ.
ชลน่านกล่าว
‘ก้าวไกล’ จี้ กกต.เข้ม รมต.อาศัยช่องว่างช่วงกฎเหล็ก 180 วัน หาประโยชน์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580486
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีวันที่ 24 กันยายนนี้เริ่มเข้าสู่วันแรกของช่วง 180 วัน กำหนดกรอบการหาเสียงเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าพรรค ก.ก.ได้แจ้งเตือนสมาชิกตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว โดยขอให้ดูพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และระเบียบว่าด้วยการหาเสียงของ กกต.ปี 2561 เป็นหลัก นอกจากนั้น พรรคกำลังยกร่างแนวทางปฏิบัติและกำลังมีการสัมมนาผู้สมัคร ส.ส. ส.ก. และสมาชิกพรรคทั้ง 77 จังหวัดอยู่ ซึ่งจะได้ชี้แจงแนวปฏิบัติว่าอะไรทำได้ หรือไม่ได้ด้วย
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในเชิงรายละเอียด กกต.เองก็ยังไม่นิ่งเท่าไร เพราะยังมีรายละเอียดออกมาอีกฉบับ เราได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายพื้นที่ว่า กกต.บางจังหวัดโทรมาหาผู้สมัครให้เอาป้ายลง ทำให้เริ่มสับสนว่าแนวทางใดทำได้ แนวทางใดทำไม่ได้ และเจ้าหน้าที่ กกต.เองเข้าใจตรงกันหรือไม่ ทั้งนี้ ได้บอกกับ ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส. และสมาชิกพรรคให้เก็บข้อมูลในส่วนของพรรคการเมืองอื่นทั้งที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี มีการทำอะไรที่เป็นการสุ่มเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่การจับผิด แต่หากมีการมาจับผิดเราจะได้นำมาเทียบเคียงกันว่าทำไมเราโดน ส่วนในภาพใหญ่ การใช้เงิน การขึ้นป้ายเกินกว่า กกต.กำหนดนั้นเราไม่ห่วง เพราะเราใช้ทรัพยากรต่ำกว่าเกณฑ์ที่ กกต.กำหนดอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าการกำหนดกรอบครั้งนี้มีระยะเวลายาวนานกว่าที่ผ่านมาหรือไม่ นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า ที่ผ่านมาก็เคยมีการกำหนดไว้ แต่รอบนี้ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งทุกพรรคทราบอยู่แล้ว พรรค ก.ก.เคารพในกติกา แต่ระยะยาวก็ต้องมาดูว่าการกำหนดลักษณะนี้ตอบโจทย์ในเรื่องการใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์หรือไม่ หรือทำให้การช่วยเหลือประชาชนในช่วงภาวะน้ำท่วม หรือประชาชนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องอื่นๆ ทำได้ไม่เต็มที่ แทนที่จะเป็นเรื่องบวก แต่ทำให้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์หรือไม่ ซึ่งต้องทบทวนทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส่วนในระดับ ส.ส.ด้วยกันเราก็ตระหนักว่ารัฐมนตรีมีหน้าที่ปกติที่ต้องทำ แต่อยากให้ กกต.พิจารณาว่าอะไรที่รัฐมนตรีทำแล้วสุ่มเสี่ยง และไม่ให้อาศัยช่องว่างตรงนี้มาหาประโยชน์ในทางการเมืองด้วย
โพลชี้คน กทม. ส่วนใหญ่ 58.5% พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม
https://prachatai.com/journal/2022/09/100670
กรุงเทพโพลสำรวจ 1,203 คน พบคน กทม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8% มีปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้, ส่วนใหญ่ 58.5% พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของ กทม., 80.3% อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีแผนป้องกันน้ำท่วม และ65.8% เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่าปีหน้าจะรับมือกับปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้
24 ก.ย. 2565 กรุงเทพโพลโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
ความพึงพอใจคนกรุงต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,203 คน พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 มีปัญหาที่อยู่อาศัยเกิดน้ำท่วม โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 48.5 เกิดน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ส่วนร้อยละ 4.3 เกิดน้ำท่วมครั้งแรกตั้งแต่พักอาศัยมา ขณะที่ร้อยละ 47.2 ไม่เกิดน้ำท่วม
ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้คิดเป็นร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ เกิดขยะ น้ำเน่าเหม็นคิดเป็นร้อยละ 36.8 เกิดผลกระทบต่ออาชีพ การงาน การเรียน คิดเป็นร้อยละ 24.4เกดโรคที่มาจากน้ำ เช่น น้ำกัดเท้า เชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 15.0 และรถเสีย รถพัง คิดเป็นร้อยละ 11.3
ด้านความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 41.5 พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้เมื่อถามว่าอยากให้ กทม. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงในเรื่องใด กับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.3 อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีการวางแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น ขุดลอกคูคลอง กำจัดขยะ รองลงมาคือ อยากให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อย่างทันท่วงที คิดเป็นร้อยละ 48.0 และอยากให้มีความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม คิดเป็นร้อยละ 46.8
สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าปีหน้า กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
JJNY : 5in1 บก.ลายจุดถาม│ชลน่านโวยกฎเหล็ก│ก้าวไกลจี้กกต.เข้ม│คนกทม.ส่วนใหญ่พอใจแก้น้ำท่วม│หมดคนละครึ่งกำลังซื้อเริ่มแผ่ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580647
บก.ลายจุด ถาม เอาเลยไหม อยากจัดม็อบไล่ รมต.ชัยวุฒิ สักนัด
เมื่อวันที่ 24 กันยายน กรณี ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีหากมีม็อบออกมาเคลื่อนไหวในวันที่ 30 กันยายน ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ครบ 8 ปี
นายชัยวุฒิระบุว่า ถ้าไม่อยากให้บ้านเมืองวุ่นวาย หรือเกิดการกระทบกระทั่งกันจนถึงขั้นบาดเจ็บ ก็ไม่อยากให้ออกมาเคลื่อนไหวกันในช่วงนี้ และตอนนี้ก็เป็นช่วงที่ประชาชนหลายคนเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วม และปัญหาต่างๆ รัฐบาลอยากจะทำหน้าที่ให้บ้านเมืองเดินไปข้างหน้า และหากไม่พอใจรัฐบาลก็อยากให้ใจเย็นๆ เพราะอีกไม่กี่เดือนจะถึงช่วงของการเลือกตั้งแล้ว พร้อมเตือนว่า “ถ้าเคลื่อนไหวมากๆ ระวังจะไม่ได้เลือกตั้งนะ”
ด้านนายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หัวหน้าพรรคเกียน นักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง โพสต์ข้อความว่า นายชัยวุฒิเหมาะที่จะถูกจัดการชุมนุมเพื่อขับไล่ พร้อมโพสต์เชิงสอบถามผู้ติดตามว่า จะจัดชุมนุมกันเลยดีไหม?
“บุคคลๆ นี้ควรมีม็อบไล่เป็นของตนเองสักครั้ง นัดเลยดีมั้ย ?” นายสมบัติกล่าว
ขณะที่ อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความ ระบุว่า
“คำพูดนี้ควรถูกพ่นออกมาจากปากคนเป็น รมต.รึเปล่า”
ขณะที่ อานนท์ นำภา แกนนำคณะราษฎร โพสต์ข้อความระบุว่า
ร่างกายอยากปะทะแก๊สน้ำตาว่ะ
https://www.facebook.com/nuling/posts/pfbid02QHBdiNKvdPWzA6oMqRSr4zpqeLk6cFM3wP4Wa66PgmNSHhmTu3cBpVg8k94RWU41l
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0K9G1TUfodZQ2TXecueGoz5uDiMrMUWiw7CCvqryTLxoJjzy43sNrXUMauYSrTkCRl&id=100054162881442
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Wncagnh35M2pdWhXf7ftfuAv6n9UzS9xDm78KmAZTEBz3LhGg5sNEkec4qdzLAzGl&id=100000942179021
‘ชลน่าน’ โวยกฎเหล็ก 180 วัน สกัดเพื่อไทยแลนด์สไลด์ กดทับพรรคการเมืองใหญ่
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580421
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเริ่มเข้าสู่ช่วง 180 วัน ที่พรรคการเมือง ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ต้องปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งล่าสุดระเบียบ กกต.ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2565 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้ว ทางพรรค พท.จะเน้นย้ำกำชับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. และ ส.ส.ให้ระมัดระวังอย่างไร เพราะบางเงื่อนไขสุ่มเสี่ยงทำผิดกฎหมายว่า พรรค พท.ทำหนังสือแจ้งทำความเข้าใจกับสมาชิก ที่ระบุถึงข้อปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ นอกจากนี้ยังเตรียมงานสัมมนาให้กับ ส.ส. และว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. วันที่ 5 ตุลาคม ที่โรงแรมเอสซี ปาร์ค และเปิดช่องสอบถามโดยตรงระหว่างสมาชิกที่มีข้อสงสัย กับทีมกฎหมายของพรรค
นพ.ชลน่านกล่าวว่า นี่คือการเข้าสู่การเลือกตั้ง ที่เหมือนมีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) จึงมีสิ่งที่ กกต.กำหนดว่า การหาเสียงแบบนี้สามารถทำได้ และมีข้อห้ามตามกฎหมายบัญญัติ เช่น การติดป้าย ขนาดของป้าย จำนวนของป้าย และสถานที่ติดป้าย หากทำผิดก็จะถือว่าผิดกฎหมายเลือกตั้ง
เมื่อถามถึงกรณีการวิพากษ์วิจารณ์การขึ้นป้ายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรักษาการนายกรัฐมนตรี ระหว่างลงพื้นที่ตามต่างจังหวัด นพ.ชลน่านกล่าวว่า แม้จะทำในนามของรักษาการนายกฯ แต่กรณีนี้ถือว่าเข้าข่ายเป็นป้ายหาเสียง เพราะบนป้ายมีการระบุชื่อพรรค นโยบาย และตัวบุคคลอยู่
เมื่อถามว่า พรรคฝ่ายค้านกังวลว่าพรรคร่วมรัฐบาลที่มีรัฐมนตรีจะได้เปรียบกว่าหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ก็ไม่ถึงขนาดว่าต้องหวาดกลัว ทั้งนี้หากทำในนามรัฐบาล เราก็สามารถทำความเข้าใจกับประชาชนว่า สิ่งที่รัฐมนตรีมาแจกของ ทำในส่วนของรัฐมนตรี และใช้เงินภาษีประชาชน ไม่ใช่การหาเสียง แต่เราก็ไม่ปิดกั้นในเรื่องที่ชาวบ้านเดือดร้อน เพราะบางเรื่องเราไม่สามารถช่วยเหลือได้ จึงต้องติดต่อหน่วยงานภาครัฐให้มาช่วยเหลือ
เมื่อถามว่า พรรคฝ่ายค้านจะตั้งคณะทำงานเพื่อจับตาตรวจสอบไม่ให้ถูกเอาเปรียบหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ต้องตรวจสอบ เช่น ไปในนามรัฐมนตรีแต่ให้ ส.ส.ไปแจกของ ถือเป็นการแอบแฝงหาเสียง ทั้งนี้ รัฐมนตรีที่เป็น ส.ส. ก็ต้องมีเส้นแบ่งให้ชัดว่าทำในนามอะไร
เมื่อถามถึงการขยายกรอบเวลาจาก 90 วัน เป็น 180 วัน ก่อนเลือกตั้ง จะส่งผลกระทบอะไรหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวว่า ถือว่าแตกต่างมาก และถือเป็นการเขียนใหม่ กรอบเวลาเดิมคือ 90 วันก่อนเลือกตั้ง จะคิดเฉพาะเรื่องค่าใช้จ่าย โดยไม่ห้ามเรื่องการทำกิจกรรม และไม่ห้ามการช่วยเหลือต่างๆ อาจจะบอกว่ากฎหมายใหม่มีเจตจำนงเพื่อต้องการให้ความเป็นธรรมกับทุกพรรคการเมือง แต่ความจริงพรรคการเมืองที่ได้รับผลกระทบเต็มๆ คือพรรค พท. ที่เป็นพรรคขนาดใหญ่ ทำให้เราไม่สามารถรณรงค์เรื่องแลนด์สไลด์ได้ และสกัดทุกพรรคที่เป็นขนาดใหญ่เกินไป เป็นการออกกฎหมายที่ปิดกั้นและกดทับการทำพรรคการเมือง
“เป็นกระบวนการดึงพรรคใหญ่ ลงมาให้เท่าพรรคเล็ก เป็นวิธีคิดที่ผิด และทำให้ต้องลงใต้ดินเยอะขึ้น เพราะมีช่องหลบเลี่ยง เช่น ห้ามหาเสียงและจำหน่ายจ่ายแจกเป็นลายลักษณ์อักษร ก็ทำแบบเลี่ยงไม่จำหน่ายจ่ายแจกเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นการส่งเสริมให้ซื้อเสียง เมื่อซื้อเสียงบนโต๊ะไม่ได้ ก็ลงใต้ดิน” นพ.ชลน่านกล่าว
‘ก้าวไกล’ จี้ กกต.เข้ม รมต.อาศัยช่องว่างช่วงกฎเหล็ก 180 วัน หาประโยชน์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3580486
เมื่อวันที่ 24 กันยายน นายณัฐวุฒิ บัวประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงกรณีวันที่ 24 กันยายนนี้เริ่มเข้าสู่วันแรกของช่วง 180 วัน กำหนดกรอบการหาเสียงเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ว่าพรรค ก.ก.ได้แจ้งเตือนสมาชิกตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาแล้ว โดยขอให้ดูพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และระเบียบว่าด้วยการหาเสียงของ กกต.ปี 2561 เป็นหลัก นอกจากนั้น พรรคกำลังยกร่างแนวทางปฏิบัติและกำลังมีการสัมมนาผู้สมัคร ส.ส. ส.ก. และสมาชิกพรรคทั้ง 77 จังหวัดอยู่ ซึ่งจะได้ชี้แจงแนวปฏิบัติว่าอะไรทำได้ หรือไม่ได้ด้วย
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ในเชิงรายละเอียด กกต.เองก็ยังไม่นิ่งเท่าไร เพราะยังมีรายละเอียดออกมาอีกฉบับ เราได้รับเรื่องร้องเรียนจากหลายพื้นที่ว่า กกต.บางจังหวัดโทรมาหาผู้สมัครให้เอาป้ายลง ทำให้เริ่มสับสนว่าแนวทางใดทำได้ แนวทางใดทำไม่ได้ และเจ้าหน้าที่ กกต.เองเข้าใจตรงกันหรือไม่ ทั้งนี้ ได้บอกกับ ส.ส. ผู้สมัคร ส.ส. และสมาชิกพรรคให้เก็บข้อมูลในส่วนของพรรคการเมืองอื่นทั้งที่เป็น ส.ส. หรือรัฐมนตรี มีการทำอะไรที่เป็นการสุ่มเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งไม่ใช่การจับผิด แต่หากมีการมาจับผิดเราจะได้นำมาเทียบเคียงกันว่าทำไมเราโดน ส่วนในภาพใหญ่ การใช้เงิน การขึ้นป้ายเกินกว่า กกต.กำหนดนั้นเราไม่ห่วง เพราะเราใช้ทรัพยากรต่ำกว่าเกณฑ์ที่ กกต.กำหนดอยู่แล้ว
เมื่อถามว่าการกำหนดกรอบครั้งนี้มีระยะเวลายาวนานกว่าที่ผ่านมาหรือไม่ นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ที่ผ่านมาก็เคยมีการกำหนดไว้ แต่รอบนี้ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายเลือกตั้งฉบับใหม่ ซึ่งทุกพรรคทราบอยู่แล้ว พรรค ก.ก.เคารพในกติกา แต่ระยะยาวก็ต้องมาดูว่าการกำหนดลักษณะนี้ตอบโจทย์ในเรื่องการใช้อำนาจแสวงหาประโยชน์หรือไม่ หรือทำให้การช่วยเหลือประชาชนในช่วงภาวะน้ำท่วม หรือประชาชนได้รับความเดือดร้อนในเรื่องอื่นๆ ทำได้ไม่เต็มที่ แทนที่จะเป็นเรื่องบวก แต่ทำให้ประชาชนไม่ได้ประโยชน์หรือไม่ ซึ่งต้องทบทวนทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส่วนในระดับ ส.ส.ด้วยกันเราก็ตระหนักว่ารัฐมนตรีมีหน้าที่ปกติที่ต้องทำ แต่อยากให้ กกต.พิจารณาว่าอะไรที่รัฐมนตรีทำแล้วสุ่มเสี่ยง และไม่ให้อาศัยช่องว่างตรงนี้มาหาประโยชน์ในทางการเมืองด้วย
โพลชี้คน กทม. ส่วนใหญ่ 58.5% พอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม
https://prachatai.com/journal/2022/09/100670
กรุงเทพโพลสำรวจ 1,203 คน พบคน กทม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8% มีปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้, ส่วนใหญ่ 58.5% พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุดต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมของ กทม., 80.3% อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีแผนป้องกันน้ำท่วม และ65.8% เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุดว่าปีหน้าจะรับมือกับปัญหาน้ำท่วม กทม. ได้
24 ก.ย. 2565 กรุงเทพโพลโดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความพึงพอใจคนกรุงต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,203 คน พบว่า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.8 มีปัญหาที่อยู่อาศัยเกิดน้ำท่วม โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 48.5 เกิดน้ำท่วมทุกครั้งที่ฝนตก ส่วนร้อยละ 4.3 เกิดน้ำท่วมครั้งแรกตั้งแต่พักอาศัยมา ขณะที่ร้อยละ 47.2 ไม่เกิดน้ำท่วม
ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาน้ำท่วมมากที่สุดคือ การจราจรติดขัด ไม่สามารถเดินทางไปไหนได้คิดเป็นร้อยละ 47.5 รองลงมาคือ เกิดขยะ น้ำเน่าเหม็นคิดเป็นร้อยละ 36.8 เกิดผลกระทบต่ออาชีพ การงาน การเรียน คิดเป็นร้อยละ 24.4เกดโรคที่มาจากน้ำ เช่น น้ำกัดเท้า เชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 15.0 และรถเสีย รถพัง คิดเป็นร้อยละ 11.3
ด้านความพึงพอใจต่อการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 58.5 พึงพอใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 41.5 พึงพอใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
ทั้งนี้เมื่อถามว่าอยากให้ กทม. พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงในเรื่องใด กับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ กทม. ส่วนใหญ่ร้อยละ 80.3 อยากให้เตรียมความพร้อมในการรับมือ มีการวางแผนป้องกันน้ำท่วม เช่น ขุดลอกคูคลอง กำจัดขยะ รองลงมาคือ อยากให้ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อย่างทันท่วงที คิดเป็นร้อยละ 48.0 และอยากให้มีความฉับไวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม คิดเป็นร้อยละ 46.8
สุดท้ายเมื่อถามว่าเชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่าปีหน้า กทม. จะสามารถรับมือกับปัญหาน้ำท่วมได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 65.8 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 34.2 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด