โพลชี้ เจน Z 16 จังหวัด ปรารถนา 'ชัชชาติ' เป็นนายกฯ 43.1 % ธนาธร-ทักษิณ-พิธา-อุ๊งอิ๊ง ควบตาม
https://www.matichon.co.th/politics/news_3578630
‘อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ คน Gen Z ต้องการให้ ชัชชาติ ธนาธร ทักษิณ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผลการวิจัยส่วนบุคคล หลังเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุถึง 25 ปี) ที่ศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและทุกภาคของประเทศ จำนวน 707 คน
ข้อคำถามว่า
“ใครคือบุคคลที่ท่านปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด”
ผลการวิจัยพบว่า
1. นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 1 ได้ 301 คะแนน (43.1%) อันดับที่ 2 นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ 154 คะแนน (22.1%) อันดับที่ 3 นาย
ทักษิณ ชินวัตร ได้ 102 คะแนน (14.6%) อันดับที่ 4 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ 89 คะแนน (12.8%) อันดับที่ 5 นางสาว
แพทองธาร ชินวัตร ได้ 33 คะแนน (4.7%) อันดับที่ 6 คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้ 12 คะแนน (1.7%)
2. ความนิยมของคน Gen Z ต่อนาย
ธนาธรและนาย
ทักษิณ ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองโดยกลไกตามรัฐธรรมนูญ ชี้ว่าไม่สามารถระงับยับยั้งความนิยมต่อผู้นำทางการเมืองทั้งสองของคน Gen Z ได้
3. ผู้นำทหาร คสช. ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีมานาน 8 ปีแล้ว ไม่อยู่ในความคิดจิตใจของคน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับรัฐบาล คสช.นี้เลย พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ 2 คะแนน (0.3%) พลเอก
ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ 1 คะแนน (0.1%) สอดคล้องกับการศึกษาความนิยมและยอมรับของประชาชนต่อการรัฐประหาร คสช. และต่อรัฐบาลพลเอก
ประยุทธ์ ว่ามีระดับน้อยลงไปสู่ระดับน้อยมาก
4. นาย
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พังงา หลายสมัย และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z จากภาคใต้แม้แต่คะแนนเดียว
5. นาย
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯในรัฐบาล คสช.มานานหลายปี ผู้นำพรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z แม้แต่คะแนนเดียว
6. นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข ได้คะแนนนิยม 2 คะแนน (0.3%) เท่ากับนาย
กรณ์ จาติกวณิช อดีตผู้นำพรรคกล้า
รศ.ดร.
ธำรงศักดิ์ ยังชี้ว่า คำถามสำคัญคือ เมื่อนาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่ได้ลงสนามเพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากแต่ยังคงมุ่งมั่นทำงานในตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯ ดังนั้น แนวโน้มของคะแนนนิยมของนาย
ชัชชาติจากคน Gen Z จะย้ายไปให้พรรคการเมืองใด ระหว่างพรรคก้าวไกลของนาย
พิธา/
ธนาธร กับพรรคเพื่อไทยของนางสาว
แพทองธาร/
ทักษิณ หรือพรรคไทยสร้างไทยของคุณหญิง
สุดารัตน์
ทั้งนี้ งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อ 5 ประเด็นคำถามนี้ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-16 กันยายน 2565 โดยเก็บจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ภาคกลางที่ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี อยุธยา ภาคเหนือที่พิษณุโลก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี รวม 16 จังหวัด
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 422 คน (59.7%) ชาย 200 คน (28.3%) เพศหลากหลาย 85 คน (12.0%)
โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 173 คน (24.5%) ภาคกลาง 272 คน (38.5%) ภาคเหนือ 62 คน (8.7%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 คน (10.6%) ภาคใต้ 125 คน (17.7%)
มีผู้ไม่ตอบคำถามในข้อนี้รวม 9 คน ผู้ตอบคำถามข้อนี้ 698 คน
CIMBT เตือนเศรษฐกิจไทย ตั้งรับ 6 ปัจจัยเสี่ยง ท่ามกลาง PERFECT STORM
https://www.matichon.co.th/economy/news_3578581
CIMBT เตือน ศก.ไทย ตั้งรับ 6 ปัจจัยเสี่ยง ท่ามกลาง PERFECT STORM
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 เป็น 3.2% จาก 3.1% โดยคาดว่าไตรมาส 3 และ 4 จะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ราว 4% จากปีก่อน และมองการเติบโตปี 2566 ที่ 3.4% ซึ่งเป็นระดับที่เหนือค่าเฉลี่ยในอดีต ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงตามปัญหาเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางสำคัญ แม้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวสดใสขึ้น แต่ไตรมาส 4 มี 6 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดให้การเติบโตต่ำกว่าคาด เสมือนหมอกปกคลุมทั่วฟ้าท่ามกลางมหาพายุ ได้แก่ 1 เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่วถึง 2 เงินเฟ้อไทยลดลงช้า 3 เสียโอกาสการลงทุน 4 วิกฤตพลังงานในยุโรป 5 สหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย และ 6 เงินหยวนอ่อนค่า
“เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 แม้ใกล้จะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนโควิด แต่ขาดการกระจายตัวและอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ มีเพียงกลุ่มท่องเที่ยวฟื้นได้เร็ว ส่วนปัญหาเงินเฟ้อยังรุนแรงต่อ เพราะแม้เงินเฟ้อจะลดลงแต่ราคาสินค้าและบริการหลากหลายหมวดหมู่เริ่มขยับขึ้นหลังผู้ผลิตอั้นต้นทุนต่อไปไม่ไหว คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ด้านการเมืองไทย อาจเห็นรัฐบาลยุบสภาช่วงไตรมาส 4 ถึงต้นปีหน้า มีผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่เตรียมย้ายฐานมาไทยและการลงทุนภาครัฐโครงการใหม่อาจชะลอออกไปก่อนมีรัฐบาลใหม่ ด้านต่างประเทศ ปัจจัยที่กระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวไทย คือ วิกฤตพลังงานในยุโรปที่กระทบการบริโภคและการลงทุนหากยุโรปมีปัญหากับรัสเซีย และปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแรงหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อีกทั้งการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ สวนทางกับจีนที่ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเก็งกำไรการอ่อนค่าของเงินหยวนและจะยิ่งทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้แรงปลายปีนี้” ดร.
อมรเทพกล่าว
1.
เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่วถึง – เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว หลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง และร้านค้าปลีก มีรายได้ดีขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวได้ตามความต้องการสินค้าในกลุ่มอาหารแปรรูปและสินค้าเกษตร แม้จะมีสัญญาณขาดแคลนวัตถุดิบในภาคการผลิตรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์บ้างเล็กน้อย ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศน่าจะเร่งได้ครึ่งปีหลัง ตามการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอาเซียน และการเร่งลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทย ด้านการก่อสร้าง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาทต่อยูนิต น่าจะเติบโตได้ดี สะท้อนกำลังซื้อระดับกลาง-บนถึงระดับบน นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจที่ปรับตัวเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายน่าจะมีโอกาสมากขึ้น และภาพการฟื้นตัวเช่นนี้น่าจะต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ไปถึงปีหน้า
อย่างไรก็ดี ภาพการฟื้นตัว จำกัดอยู่ในกลุ่มที่แข็งแกร่งและได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวแค่เพียงส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยเท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์มองภาพรวมของเศรษฐกิจไทยก็มักจะเห็นภาพนี้ แต่ความเป็นจริงที่น่ากังวล เศรษฐกิจไทยมีฝาแฝดที่ตัวติดกันเหมือนแฝดสยาม เป็นกลุ่มอ่อนแอที่มักถูกลืม ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะไม่ยั่งยืน เพราะภาคส่วนที่อ่อนแอจะดึงให้ภาคส่วนที่แข็งแรงทรุดลงได้
กลุ่มที่อ่อนแอได้แก่ ภาคเกษตรที่แม้รายได้จะสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรและผลผลิตที่ออกมามากขึ้น แต่ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีขยับขึ้นจนกระทบกำไร อีกทั้งกำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ทำให้ภาคการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศเติบโตช้า ด้านการท่องเที่ยวที่เรียกว่าฟื้นตัว ก็ฟื้นเพียงไม่กี่เมือง เมืองรองการท่องเที่ยวยังอ่อนแอ ด้านอสังหาริมทรัพย์มีสต๊อกสูงกว่าความต้องการ ขายไม่หมด โดยเฉพาะต่างจังหวัด สะท้อนกำลังซื้อระดับกลางถึงล่างที่เปราะบาง ส่วนภาคธุรกิจทั่วไปถ้าเข้าถึงเทคโนโลยีได้ยากก็ยากจะปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต
2.
เงินเฟ้อไทยลดลงช้า – แม้เงินเฟ้อของไทยน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปได้ แต่จะเริ่มเห็นการส่งผ่านของราคาสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้นในไตรมาส 4 โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมกำลังฟื้นตัว กำลังซื้อดีขึ้นบ้าง ผู้ผลิตที่มีต้นทุนสินค้าสูงขึ้นโดยเฉพาะจากราคาน้ำมันน่าจะสามารถขยับราคาสินค้าและบริการได้มากขึ้น อีกทั้งต้นทุนด้านแรงงานที่กำลังขยับขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีผลให้ราคาสินค้ายังคงขยับสูงขึ้นต่อในปีหน้า แต่คงไม่รุนแรงเท่าที่ผ่านมา สำนักวิจัยฯคาดว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะเฉลี่ยที่ราว 6.2% ปีนี้ และ 2.9% ปีหน้า โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของปีที่เงินเฟ้อสูงกว่ากรอบบนของนโยบายการเงิน ที่ 1-3% น่าจะมีผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจากปลายปีนี้ที่ 1.75% ไปจนถึงกลางปีหน้าที่ระดับ 2.50% และน่าจะคงไว้ที่ระดับนี้ตลอดทั้งปี แต่หากเงินเฟ้อยังสูง ประกอบกับความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันในต่างประเทศ ทาง กนง.อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแรงกว่าคาด ทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์
3.
เสียโอกาสการลงทุน – ไทยอาจเสียโอกาสการลงทุนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การเปลี่ยนรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั่วไปน่าจะมีขึ้นภายใน 9 เดือนนี้ แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่นักลงทุนต่างชาติจะรอความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลใหม่ก่อนเข้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ไทยอาจเสียโอกาสบรรลุข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ หากไม่มีสภา ในการรับรองสนธิสัญญากับต่างประเทศ และจะยิ่งทำให้ไทยขาดจุดแข็งดึงดูดต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทยได้ หากเร่งขจัดความไม่แน่นอน ประเทศไทยจะมีโอกาสในการลงทุนดีขึ้น นอกจากนี้ การยุบสภาจะมีผลให้การลงทุนภาครัฐในโครงการใหม่ชะลอไปก่อนมีรัฐบาลชุดใหม่ แต่แก้ไขถ้าเร่งอนุมัติโครงการโดยเร็วและยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้เอกชนเข้าลงทุนตาม
4.
วิกฤตพลังงานในยุโรป – สืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยุโรปที่อาจนำไปสู่การจำกัดการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยุโรปในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะถึง จะทำให้หลายประเทศในยุโรปเผชิญปัญหาวิกฤตพลังงาน และหากลากยาวออกไปจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุโรป การบริโภคลดต่ำลง ภาคการผลิตหยุดชะงัก นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้ ต้องจับตาว่าชาติสมาชิกในสหภาพยุโรปจะมีความเห็นขัดแย้งกันหรือไม่ เพราะบางกลุ่มที่แม้ไม่เห็นด้วยกับสงครามที่รัสเซียทำกับยูเครน แต่อาจมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและยอมเปลี่ยนมุมมองแตกต่างกับชาติสมาชิกอื่นเพื่อนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในราคาที่ถูกลงจากรัสเซีย อย่างไรก็ดี หากปัญหาการขาดแคลนพลังงานลากยาว เศรษฐกิจยุโรปถดถอย จะกระทบเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีปัญหา
5.
สหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย – เศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย GDP ติดลบนับจากไตรมาส 4 ไปถึงปีหน้าหากเฟดยังคงเร่งการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกดดันเงินเฟ้อลดลง คาดว่าปีนี้เฟดจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยในระดับสูงกว่าปกติ ไปอยู่ที่ระดับ 4.50% เป็นอย่างน้อยช่วงปลายปี จนมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน เพราะเฟดคงกังวลว่าหากไม่ส่งสัญญาณชัดเจนพอ หรือไม่สามารถลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตได้ดีพอ เงินเฟ้อที่แม้จะปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเดือนต่อๆ ไป อาจพลิกกลับมาเพิ่มขึ้นได้อีก และจะยิ่งทำให้เฟดต้องเข้มงวดในการปรับดอกเบี้ยขึ้นแรงมากเกินจำเป็น กระทบเศรษฐกิจหนักขึ้นคาดว่าเฟดจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 4.75% ในช่วงกลางปีหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อสามารถลดลงมาได้อย่างมีนัยสำคัญ
JJNY : 5in1 เจนZ ปรารถนา'ชัชชาติ'│CIMBTเตือนศก.ไทย│‘สรวงศ์’ ขึ้นเวทีเพื่อไทย│ก้าวไกล ติวเข้มทีมงาน│สหรัฐเล็งบี้ยูเอ็น
https://www.matichon.co.th/politics/news_3578630
‘อาจารย์ธำรงศักดิ์โพล’ ชี้ คน Gen Z ต้องการให้ ชัชชาติ ธนาธร ทักษิณ พิธา เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามลำดับ
เมื่อวันที่ 23 กันยายน รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เปิดเผยผลการวิจัยส่วนบุคคล หลังเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคน Gen Z (ช่วงอายุถึง 25 ปี) ที่ศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและทุกภาคของประเทศ จำนวน 707 คน
ข้อคำถามว่า “ใครคือบุคคลที่ท่านปรารถนาให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด”
ผลการวิจัยพบว่า
1. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 1 ได้ 301 คะแนน (43.1%) อันดับที่ 2 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้ 154 คะแนน (22.1%) อันดับที่ 3 นายทักษิณ ชินวัตร ได้ 102 คะแนน (14.6%) อันดับที่ 4 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้ 89 คะแนน (12.8%) อันดับที่ 5 นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ได้ 33 คะแนน (4.7%) อันดับที่ 6 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้ 12 คะแนน (1.7%)
2. ความนิยมของคน Gen Z ต่อนายธนาธรและนายทักษิณ ซึ่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองโดยกลไกตามรัฐธรรมนูญ ชี้ว่าไม่สามารถระงับยับยั้งความนิยมต่อผู้นำทางการเมืองทั้งสองของคน Gen Z ได้
3. ผู้นำทหาร คสช. ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีมานาน 8 ปีแล้ว ไม่อยู่ในความคิดจิตใจของคน Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับรัฐบาล คสช.นี้เลย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ 2 คะแนน (0.3%) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้ 1 คะแนน (0.1%) สอดคล้องกับการศึกษาความนิยมและยอมรับของประชาชนต่อการรัฐประหาร คสช. และต่อรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ ว่ามีระดับน้อยลงไปสู่ระดับน้อยมาก
4. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.พังงา หลายสมัย และเข้าร่วมรัฐบาลในตำแหน่งรองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z จากภาคใต้แม้แต่คะแนนเดียว
5. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกฯในรัฐบาล คสช.มานานหลายปี ผู้นำพรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ได้รับคะแนนนิยมจากคน Gen Z แม้แต่คะแนนเดียว
6. นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย รองนายกฯและ รมว.สาธารณสุข ได้คะแนนนิยม 2 คะแนน (0.3%) เท่ากับนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตผู้นำพรรคกล้า
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ ยังชี้ว่า คำถามสำคัญคือ เมื่อนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ไม่ได้ลงสนามเพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หากแต่ยังคงมุ่งมั่นทำงานในตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพฯ ดังนั้น แนวโน้มของคะแนนนิยมของนายชัชชาติจากคน Gen Z จะย้ายไปให้พรรคการเมืองใด ระหว่างพรรคก้าวไกลของนายพิธา/ธนาธร กับพรรคเพื่อไทยของนางสาวแพทองธาร/ทักษิณ หรือพรรคไทยสร้างไทยของคุณหญิงสุดารัตน์
ทั้งนี้ งานวิจัยทัศนคติของคน Gen Z ต่อ 5 ประเด็นคำถามนี้ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-16 กันยายน 2565 โดยเก็บจากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ภาคกลางที่ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี อยุธยา ภาคเหนือที่พิษณุโลก เชียงใหม่ พะเยา เชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ภาคใต้ที่นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี รวม 16 จังหวัด
เพศของผู้ตอบแบบสอบถาม : หญิง 422 คน (59.7%) ชาย 200 คน (28.3%) เพศหลากหลาย 85 คน (12.0%)
โรงเรียนที่ท่านจบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากเขตภูมิภาคใด : กรุงเทพฯ 173 คน (24.5%) ภาคกลาง 272 คน (38.5%) ภาคเหนือ 62 คน (8.7%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 75 คน (10.6%) ภาคใต้ 125 คน (17.7%)
มีผู้ไม่ตอบคำถามในข้อนี้รวม 9 คน ผู้ตอบคำถามข้อนี้ 698 คน
CIMBT เตือนเศรษฐกิจไทย ตั้งรับ 6 ปัจจัยเสี่ยง ท่ามกลาง PERFECT STORM
https://www.matichon.co.th/economy/news_3578581
CIMBT เตือน ศก.ไทย ตั้งรับ 6 ปัจจัยเสี่ยง ท่ามกลาง PERFECT STORM
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า สำนักวิจัยฯปรับการคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2565 เป็น 3.2% จาก 3.1% โดยคาดว่าไตรมาส 3 และ 4 จะฟื้นตัวต่อเนื่องที่ราว 4% จากปีก่อน และมองการเติบโตปี 2566 ที่ 3.4% ซึ่งเป็นระดับที่เหนือค่าเฉลี่ยในอดีต ท่ามกลางความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกอย่างรุนแรงตามปัญหาเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากธนาคารกลางสำคัญ แม้เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวสดใสขึ้น แต่ไตรมาส 4 มี 6 ปัจจัยเสี่ยงที่อาจฉุดให้การเติบโตต่ำกว่าคาด เสมือนหมอกปกคลุมทั่วฟ้าท่ามกลางมหาพายุ ได้แก่ 1 เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่วถึง 2 เงินเฟ้อไทยลดลงช้า 3 เสียโอกาสการลงทุน 4 วิกฤตพลังงานในยุโรป 5 สหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย และ 6 เงินหยวนอ่อนค่า
“เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 แม้ใกล้จะฟื้นตัวเท่าช่วงก่อนโควิด แต่ขาดการกระจายตัวและอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ มีเพียงกลุ่มท่องเที่ยวฟื้นได้เร็ว ส่วนปัญหาเงินเฟ้อยังรุนแรงต่อ เพราะแม้เงินเฟ้อจะลดลงแต่ราคาสินค้าและบริการหลากหลายหมวดหมู่เริ่มขยับขึ้นหลังผู้ผลิตอั้นต้นทุนต่อไปไม่ไหว คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ด้านการเมืองไทย อาจเห็นรัฐบาลยุบสภาช่วงไตรมาส 4 ถึงต้นปีหน้า มีผลต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติที่เตรียมย้ายฐานมาไทยและการลงทุนภาครัฐโครงการใหม่อาจชะลอออกไปก่อนมีรัฐบาลใหม่ ด้านต่างประเทศ ปัจจัยที่กระทบการส่งออกและการท่องเที่ยวไทย คือ วิกฤตพลังงานในยุโรปที่กระทบการบริโภคและการลงทุนหากยุโรปมีปัญหากับรัสเซีย และปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวแรงหลังธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ อีกทั้งการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ สวนทางกับจีนที่ลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้นักลงทุนเก็งกำไรการอ่อนค่าของเงินหยวนและจะยิ่งทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้แรงปลายปีนี้” ดร.อมรเทพกล่าว
1. เศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่วถึง – เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัว หลังเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง และร้านค้าปลีก มีรายได้ดีขึ้น ขณะที่ภาคการผลิตเพื่อส่งออกขยายตัวได้ตามความต้องการสินค้าในกลุ่มอาหารแปรรูปและสินค้าเกษตร แม้จะมีสัญญาณขาดแคลนวัตถุดิบในภาคการผลิตรถยนต์และอิเล็กทรอนิกส์บ้างเล็กน้อย ส่วนการลงทุนจากต่างประเทศน่าจะเร่งได้ครึ่งปีหลัง ตามการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาอาเซียน และการเร่งลงทุนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของไทย ด้านการก่อสร้าง กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า โดยเฉพาะกลุ่มราคาต่ำกว่า 4 ล้านบาทต่อยูนิต น่าจะเติบโตได้ดี สะท้อนกำลังซื้อระดับกลาง-บนถึงระดับบน นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจที่ปรับตัวเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายน่าจะมีโอกาสมากขึ้น และภาพการฟื้นตัวเช่นนี้น่าจะต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ไปถึงปีหน้า
อย่างไรก็ดี ภาพการฟื้นตัว จำกัดอยู่ในกลุ่มที่แข็งแกร่งและได้ประโยชน์จากการเปิดเมืองและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวแค่เพียงส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจไทยเท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์มองภาพรวมของเศรษฐกิจไทยก็มักจะเห็นภาพนี้ แต่ความเป็นจริงที่น่ากังวล เศรษฐกิจไทยมีฝาแฝดที่ตัวติดกันเหมือนแฝดสยาม เป็นกลุ่มอ่อนแอที่มักถูกลืม ถ้าปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไป การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะไม่ยั่งยืน เพราะภาคส่วนที่อ่อนแอจะดึงให้ภาคส่วนที่แข็งแรงทรุดลงได้
กลุ่มที่อ่อนแอได้แก่ ภาคเกษตรที่แม้รายได้จะสูงขึ้นตามราคาสินค้าเกษตรและผลผลิตที่ออกมามากขึ้น แต่ต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีขยับขึ้นจนกระทบกำไร อีกทั้งกำลังซื้อในประเทศอ่อนแอ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ทำให้ภาคการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศเติบโตช้า ด้านการท่องเที่ยวที่เรียกว่าฟื้นตัว ก็ฟื้นเพียงไม่กี่เมือง เมืองรองการท่องเที่ยวยังอ่อนแอ ด้านอสังหาริมทรัพย์มีสต๊อกสูงกว่าความต้องการ ขายไม่หมด โดยเฉพาะต่างจังหวัด สะท้อนกำลังซื้อระดับกลางถึงล่างที่เปราะบาง ส่วนภาคธุรกิจทั่วไปถ้าเข้าถึงเทคโนโลยีได้ยากก็ยากจะปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต
2. เงินเฟ้อไทยลดลงช้า – แม้เงินเฟ้อของไทยน่าจะผ่านจุดสูงสุดไปได้ แต่จะเริ่มเห็นการส่งผ่านของราคาสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้นในไตรมาส 4 โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโดยภาพรวมกำลังฟื้นตัว กำลังซื้อดีขึ้นบ้าง ผู้ผลิตที่มีต้นทุนสินค้าสูงขึ้นโดยเฉพาะจากราคาน้ำมันน่าจะสามารถขยับราคาสินค้าและบริการได้มากขึ้น อีกทั้งต้นทุนด้านแรงงานที่กำลังขยับขึ้นตามค่าแรงขั้นต่ำน่าจะมีผลให้ราคาสินค้ายังคงขยับสูงขึ้นต่อในปีหน้า แต่คงไม่รุนแรงเท่าที่ผ่านมา สำนักวิจัยฯคาดว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะเฉลี่ยที่ราว 6.2% ปีนี้ และ 2.9% ปีหน้า โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของปีที่เงินเฟ้อสูงกว่ากรอบบนของนโยบายการเงิน ที่ 1-3% น่าจะมีผลให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องจากปลายปีนี้ที่ 1.75% ไปจนถึงกลางปีหน้าที่ระดับ 2.50% และน่าจะคงไว้ที่ระดับนี้ตลอดทั้งปี แต่หากเงินเฟ้อยังสูง ประกอบกับความเสี่ยงด้านราคาน้ำมันในต่างประเทศ ทาง กนง.อาจพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแรงกว่าคาด ทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้าเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์
3. เสียโอกาสการลงทุน – ไทยอาจเสียโอกาสการลงทุนจากความไม่แน่นอนทางการเมือง การเปลี่ยนรัฐบาลหลังการเลือกตั้งทั่วไปน่าจะมีขึ้นภายใน 9 เดือนนี้ แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย แต่นักลงทุนต่างชาติจะรอความชัดเจนในนโยบายของรัฐบาลใหม่ก่อนเข้าลงทุนโครงการขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ไทยอาจเสียโอกาสบรรลุข้อตกลงการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ หากไม่มีสภา ในการรับรองสนธิสัญญากับต่างประเทศ และจะยิ่งทำให้ไทยขาดจุดแข็งดึงดูดต่างชาติย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทยได้ หากเร่งขจัดความไม่แน่นอน ประเทศไทยจะมีโอกาสในการลงทุนดีขึ้น นอกจากนี้ การยุบสภาจะมีผลให้การลงทุนภาครัฐในโครงการใหม่ชะลอไปก่อนมีรัฐบาลชุดใหม่ แต่แก้ไขถ้าเร่งอนุมัติโครงการโดยเร็วและยิ่งสร้างความเชื่อมั่นให้เอกชนเข้าลงทุนตาม
4. วิกฤตพลังงานในยุโรป – สืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยุโรปที่อาจนำไปสู่การจำกัดการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากรัสเซียไปยุโรปในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะถึง จะทำให้หลายประเทศในยุโรปเผชิญปัญหาวิกฤตพลังงาน และหากลากยาวออกไปจะกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของคนในยุโรป การบริโภคลดต่ำลง ภาคการผลิตหยุดชะงัก นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้ ต้องจับตาว่าชาติสมาชิกในสหภาพยุโรปจะมีความเห็นขัดแย้งกันหรือไม่ เพราะบางกลุ่มที่แม้ไม่เห็นด้วยกับสงครามที่รัสเซียทำกับยูเครน แต่อาจมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลักและยอมเปลี่ยนมุมมองแตกต่างกับชาติสมาชิกอื่นเพื่อนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในราคาที่ถูกลงจากรัสเซีย อย่างไรก็ดี หากปัญหาการขาดแคลนพลังงานลากยาว เศรษฐกิจยุโรปถดถอย จะกระทบเศรษฐกิจไทยผ่านการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีปัญหา
5. สหรัฐเร่งขึ้นดอกเบี้ย – เศรษฐกิจสหรัฐอาจเผชิญภาวะถดถอย GDP ติดลบนับจากไตรมาส 4 ไปถึงปีหน้าหากเฟดยังคงเร่งการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกดดันเงินเฟ้อลดลง คาดว่าปีนี้เฟดจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยในระดับสูงกว่าปกติ ไปอยู่ที่ระดับ 4.50% เป็นอย่างน้อยช่วงปลายปี จนมั่นใจว่าเงินเฟ้อจะลดลงอย่างชัดเจน เพราะเฟดคงกังวลว่าหากไม่ส่งสัญญาณชัดเจนพอ หรือไม่สามารถลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตได้ดีพอ เงินเฟ้อที่แม้จะปรับลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเดือนต่อๆ ไป อาจพลิกกลับมาเพิ่มขึ้นได้อีก และจะยิ่งทำให้เฟดต้องเข้มงวดในการปรับดอกเบี้ยขึ้นแรงมากเกินจำเป็น กระทบเศรษฐกิจหนักขึ้นคาดว่าเฟดจะยังคงขึ้นดอกเบี้ยไปถึงจุดสูงสุดที่ระดับ 4.75% ในช่วงกลางปีหน้า เพื่อให้มั่นใจว่าเงินเฟ้อสามารถลดลงมาได้อย่างมีนัยสำคัญ