ยอดโควิดขาลง ป่วยเพิ่มวันนี้ 774 เสียชีวิต 15
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3571771
ยอดโควิดขาลง ป่วยเพิ่มวันนี้ 774 เสียชีวิต 15
เมื่อวันที่ 20 กันยายน เพจไทยรู้สู้โควิด รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 774 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 774 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,450,968 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 919 ราย หายป่วยสะสม 2,465,065 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 8,189 ราย
เสียชีวิต 15 ราย เสียชีวิตสะสม 10,957 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 618 ราย
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน
โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสมมีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
อสังหาฯปรับตัวสู้พิษต้นทุน รายเล็กขายทิ้ง-แห่ลดไซซ์ หมดยุคบ้านถูก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3571709
อสังหาฯปรับตัวสู้พิษต้นทุน รายเล็กขายทิ้ง-แห่ลดไซซ์ หมดยุคบ้านถูก
เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี 2565 แต่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ยังต้องเผชิญสารพัดมรสุมรุมเร้า ไม่ว่าเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าแรงแพง แรงงานขาด วัสดุก่อสร้างพาเหรดขึ้นราคาไม่หยุดหย่อน จากแรงกดดันวิกฤตโควิด และสงครามรัสเซียกับยูเครน กลายเป็นเอฟเฟ็กต์ จุดเปลี่ยน ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นไฟต์บังคับให้ผู้ประกอบการต้องปรับลดขนาดบ้าน ตัดออปชั่น เพื่อพยุงต้นทุน ราคา แก้เกมกับดักต้นทุนแพง
ขณะที่สถานการณ์กำลังซื้อในตลาด
วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ฉายภาพว่าสถานการณ์ที่อยู่อาศัยไตรมาส 2/2565 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ยังมีหน่วยเหลือขายคงค้างกว่า 1.76 แสนหน่วย คิดมูลค่ากว่า 8.6 แสนล้านบาท เพราะความต้องการในตลาดชะลอตัว โดยมีเหตุผลสำคัญ จากการขาดความเชื่อมั่นด้านรายได้ ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน การปรับตัวขึ้นของค่าครองชีพ ซึ่งเป็นผลพวงจากการปรับขึ้นของราคาสินค้า
หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นแรงฉุดโมเมนตัมการฟื้นตัวของภาพรวมของประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยให้ต้องสะดุด และอาจเกิดการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจภาพรวมประเทศและภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย วิชัยฉายภาพธุรกิจอสังหาฯที่ส่อแววไม่สดใสนัก
สอดคล้องกับผู้ลงทุนพัฒนา อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY สะท้อนว่า ปัจจุบันกำลังซื้อในตลาดไม่ฟื้นตัวดี โดยเฉพาะกลุ่มระดับกลางและระดับล่าง ขณะเดียวกันต้องเผชิญหลายปัญหารุมเร้า ทำให้ต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น ทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง วัสดุที่ขึ้นราคาตามน้ำมัน ผลจากวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ถึงขณะนี้ผ่านมา 8 เดือนแล้ว ยังไม่ลดลง
ยังมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยจะปรับรอบสองปลายเดือนกันยายน และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งล้วนมีผลต่อต้นทุนการก่อสร้างและราคาบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้ ต้องปรับราคาขึ้น 5-8% ขึ้นอยู่กับระดับราคาบ้าน และแต่ละบริษัท ในส่วนของบริษัททยอยขึ้นเป็นขั้นบันไดเดือนละ 20,000-30,000 บาทต่อยูนิตตามต้นทุน และนับจากนี้ของถูกจะทยอยหมดไปจากตลาดเรื่อยๆ
ธุรกิจอสังหาฯเหมือนผีซ้ำด้ำพลอย ตอนนี้แรงงานทั้งขาดทั้งแพง จากการเพิ่มค่าแรง เพราะแรงงานยังไม่กลับเข้ามา ต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว หาเท่าไหร่ก็ไม่พอ ทำให้โครงการสร้างล่าช้า ขณะที่ดอกเบี้ยก็เดินทุกวัน ส่วนดอกเบี้ยที่จะขึ้นรอบสองเร็วๆ นี้ กระทบทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ ทำให้มีภาระเพิ่ม อาภาแจกแจงสารพันปัญหาที่ธุรกิจอสังหาฯต้องเผชิญ
ในประเด็นเดียวกัน
รุ่งรัตน์ ลิ่มทองแท่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซื่อตรง กรุ๊ป จำกัด เสริมว่า ผลจากค่าแรงและดอกเบี้ยขาขึ้น จะเป็นอีกปัจจัยมากระทบค่าก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 10-15% จากปัจจุบันต้นทุนราคาวัสดุปรับตัวสูงขึ้นอยู่แล้วตั้งแต่ต้นปี คาดว่าผู้ประกอบการคงปรับราคาขึ้นอย่างน้อย 5-10% และในปี 2566 ต้องทำใจไว้เลยว่าบ้านขึ้นราคาแน่นอน 10% ตามต้นทุนก่อสร้างใหม่ ขณะที่บ้านจะมีขนาดเล็กลง และจะไม่เห็นบ้านราคาถูกอีกแล้ว
ซื่อตรงได้ปรับโมเดลการพัฒนาโครงการใหม่ โดยลดไซซ์บ้านให้สร้างได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เริ่มเปิดขายแล้วโครงการทาวน์เฮาส์ที่รังสิต คลอง 6 ราคา 2.5 ล้านบาท จากบ้าน 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ เหลือ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และบ้านเดี่ยวที่บางเสร่-พัทยา ราคา 5-8 ล้านบาท จากพื้นที่ใช้สอย 200 ตารางเมตร เหลือ 180 ตารางเมตร รุ่งรัตน์เผยถึงการปรับตัวของธุรกิจสู้กับปัญหาที่มีอยู่
ขณะที่
มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ออกมาส่งสัญญาณว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาฯรายเล็กกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น และกำลังซื้อในตลาดไม่ค่อยดี โดยเฉพาะตลาดระดับกลางและระดับล่าง เพราะหนี้ครัวเรือนสูง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ส่วนใหญ่ที่อยู่ได้ เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
พร้อมยกเคสตลาดอสังหาฯจังหวัดชลบุรี ตอนนี้หมดยุคทองของอสังหาฯในนิคมอุตสาหกรรม เพราะกำลังซื้อเป็นกลุ่มโรงงาน ที่เป็นลูกค้าหลัก หลังโรงงานถูกปิด ทำให้สินค้าระดับล่างราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ตลาดค่อนข้างลำบาก ล่าสุดเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ไปต่อไม่ไหว นำโครงการบ้านจัดสรรมาเสนอขายยกโครงการแล้ว 4-5 ราย เป็นโครงการขนาดไม่เกิน 100 ยูนิต และมูลค่าโครงการประมาณ 100 ล้านบาท เพราะขายไม่ได้ และแบกภาระหนี้ต่อไม่ไหว ส่วนโครงการคอนโดมิเนียม ไม่มีเปิดตัวโครงการใหม่มานานแล้ว
สถานการณ์อัตราดอกเบี้ย และค่าแรงที่ปรับขึ้น มีแนวโน้มราคาบ้านจะปรับขึ้นอีกตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันขึ้นไปแล้ว 5% ขณะเดียวกันรูปแบบบ้านจะไม่เหมือนเดิม จะมีขนาดพื้นที่เล็กลง และตัดออปชั่นบางอย่างออก ให้สอดรับกับค่าก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น นายกสมาคมอสังหาฯ สรุปทิ้งท้ายถึงสารพันปัญหาและการปรับตัวเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้
ชัชชาติ ห่วงยันปลา สั่งเติมออกซิเจนหน้าวัด หลังระบายน้ำท่วมเน่าลงคลอง
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_3571764
ชัชชาติ ห่วงยันปลา สั่งเติมออกซิเจนหน้าวัด หลังระบายน้ำท่วมเน่าลงคลอง
เมื่อวันที่ 20 กันยายน เวลาประมาณ 05.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กขณะวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมพินี พร้อมด้วย นาย
แสนปิติ สิทธิพันธุ์ หรือแสนดี บุตรชาย และเพื่อนนักวิ่ง
ในตอนหนึ่งก่อนเริ่มต้นวิ่ง นาย
ชัชชาติกล่าวถึงสถานการณ์น้ำและบรรยากาศโดยภาพรวมว่า
วันนี้อากาศดี คล้ายมีลมหนาวโชยมา ที่ดีที่สุดคือไม่มีฝนมา 2-3 วัน ดีขึ้นแล้ว คลองทุกคลองพร่องต่ำกว่าระดับควบคุม เตรียมรับมือเต็มที่ แต่จะสังเกตได้ว่ามีอีกปัญหาหนึ่งในขณะนี้คือน้ำเสีย เช่น คลองแสนแสบ ทำไมน้ำดำ คือที่ผ่านมาน้ำท่วมในทุ่งหลายวัน เกิดการเน่าเสีย พอเราระบายน้ำในทุ่งลงคลอง น้ำในคลองจึงดำเพราะมีการนำน้ำที่เน่าเสียลงมาเพื่อออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
“ตอนนี้สั่งให้เติมออกซิเจนแถวหน้าวัดเพราะเป็นเขตอภัยทาน ปลาเยอะ (ยิ้ม) เราก็กลัวปลาจะน็อก ใครอยู่ในพื้นที่หน้าวัดอาจต้องหาเครื่องเติมออกซิเจนเพิ่มหน่อยไหม คงเป็นชั่วคราว เดี๋ยวพอระบายน้ำออกน่าจะดีขึ้น” นายชัชชาติกล่าว
นาย
ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า พื้นที่ต่างๆ ที่เคยเป็นจุดท่วม ขอให้ชุมชนช่วยกันดูแล ต้องการอะไรให้แจ้ง ผอ.เขต เช่น กระสอบทรายสำหรับเสริมจุดต่างๆ เพราะไม่แน่ว่าฝนอาจจะตกหนักไปถึงเดือนตุลาฯหรือไม่ จึงต้องเตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้
“
ตอนนี้น้ำน้อย หายใจได้ จุดไหนคือจุดอ่อนที่น้ำย้อนเข้ามา ต้องการกระสอบให้ขอจากเขต ช่วยกัน ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแก้ปัญหา” นาย
ชัชชาติกล่าว
JJNY : ป่วยเพิ่ม774 เสียชีวิต 15│อสังหาฯปรับตัวสู้พิษต้นทุน│ชัชชาติ ห่วงยันปลา │วาทะชวน ทำ'ภท.-ปชป.'สาวไส้เละ
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3571771
ยอดโควิดขาลง ป่วยเพิ่มวันนี้ 774 เสียชีวิต 15
เมื่อวันที่ 20 กันยายน เพจไทยรู้สู้โควิด รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 774 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 774 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,450,968 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 919 ราย หายป่วยสะสม 2,465,065 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 8,189 ราย
เสียชีวิต 15 ราย เสียชีวิตสะสม 10,957 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 618 ราย
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย.65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน
โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสมมีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
อสังหาฯปรับตัวสู้พิษต้นทุน รายเล็กขายทิ้ง-แห่ลดไซซ์ หมดยุคบ้านถูก
https://www.matichon.co.th/economy/news_3571709
อสังหาฯปรับตัวสู้พิษต้นทุน รายเล็กขายทิ้ง-แห่ลดไซซ์ หมดยุคบ้านถูก
เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี 2565 แต่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อีกหนึ่งฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ยังต้องเผชิญสารพัดมรสุมรุมเร้า ไม่ว่าเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าแรงแพง แรงงานขาด วัสดุก่อสร้างพาเหรดขึ้นราคาไม่หยุดหย่อน จากแรงกดดันวิกฤตโควิด และสงครามรัสเซียกับยูเครน กลายเป็นเอฟเฟ็กต์ จุดเปลี่ยน ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เป็นไฟต์บังคับให้ผู้ประกอบการต้องปรับลดขนาดบ้าน ตัดออปชั่น เพื่อพยุงต้นทุน ราคา แก้เกมกับดักต้นทุนแพง
ขณะที่สถานการณ์กำลังซื้อในตลาด วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ฉายภาพว่าสถานการณ์ที่อยู่อาศัยไตรมาส 2/2565 ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ยังมีหน่วยเหลือขายคงค้างกว่า 1.76 แสนหน่วย คิดมูลค่ากว่า 8.6 แสนล้านบาท เพราะความต้องการในตลาดชะลอตัว โดยมีเหตุผลสำคัญ จากการขาดความเชื่อมั่นด้านรายได้ ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมัน การปรับตัวขึ้นของค่าครองชีพ ซึ่งเป็นผลพวงจากการปรับขึ้นของราคาสินค้า
หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นแรงฉุดโมเมนตัมการฟื้นตัวของภาพรวมของประเทศไทย โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยให้ต้องสะดุด และอาจเกิดการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจภาพรวมประเทศและภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย วิชัยฉายภาพธุรกิจอสังหาฯที่ส่อแววไม่สดใสนัก
สอดคล้องกับผู้ลงทุนพัฒนา อาภา อรรถบูรณ์วงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ริชี่เพลซ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ RICHY สะท้อนว่า ปัจจุบันกำลังซื้อในตลาดไม่ฟื้นตัวดี โดยเฉพาะกลุ่มระดับกลางและระดับล่าง ขณะเดียวกันต้องเผชิญหลายปัญหารุมเร้า ทำให้ต้นทุนก่อสร้างสูงขึ้น ทั้งภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง วัสดุที่ขึ้นราคาตามน้ำมัน ผลจากวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ถึงขณะนี้ผ่านมา 8 เดือนแล้ว ยังไม่ลดลง
ยังมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยจะปรับรอบสองปลายเดือนกันยายน และการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งล้วนมีผลต่อต้นทุนการก่อสร้างและราคาบ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้ ต้องปรับราคาขึ้น 5-8% ขึ้นอยู่กับระดับราคาบ้าน และแต่ละบริษัท ในส่วนของบริษัททยอยขึ้นเป็นขั้นบันไดเดือนละ 20,000-30,000 บาทต่อยูนิตตามต้นทุน และนับจากนี้ของถูกจะทยอยหมดไปจากตลาดเรื่อยๆ
ธุรกิจอสังหาฯเหมือนผีซ้ำด้ำพลอย ตอนนี้แรงงานทั้งขาดทั้งแพง จากการเพิ่มค่าแรง เพราะแรงงานยังไม่กลับเข้ามา ต้องพึ่งแรงงานต่างด้าว หาเท่าไหร่ก็ไม่พอ ทำให้โครงการสร้างล่าช้า ขณะที่ดอกเบี้ยก็เดินทุกวัน ส่วนดอกเบี้ยที่จะขึ้นรอบสองเร็วๆ นี้ กระทบทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ ทำให้มีภาระเพิ่ม อาภาแจกแจงสารพันปัญหาที่ธุรกิจอสังหาฯต้องเผชิญ
ในประเด็นเดียวกัน รุ่งรัตน์ ลิ่มทองแท่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซื่อตรง กรุ๊ป จำกัด เสริมว่า ผลจากค่าแรงและดอกเบี้ยขาขึ้น จะเป็นอีกปัจจัยมากระทบค่าก่อสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 10-15% จากปัจจุบันต้นทุนราคาวัสดุปรับตัวสูงขึ้นอยู่แล้วตั้งแต่ต้นปี คาดว่าผู้ประกอบการคงปรับราคาขึ้นอย่างน้อย 5-10% และในปี 2566 ต้องทำใจไว้เลยว่าบ้านขึ้นราคาแน่นอน 10% ตามต้นทุนก่อสร้างใหม่ ขณะที่บ้านจะมีขนาดเล็กลง และจะไม่เห็นบ้านราคาถูกอีกแล้ว
ซื่อตรงได้ปรับโมเดลการพัฒนาโครงการใหม่ โดยลดไซซ์บ้านให้สร้างได้ตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เริ่มเปิดขายแล้วโครงการทาวน์เฮาส์ที่รังสิต คลอง 6 ราคา 2.5 ล้านบาท จากบ้าน 4 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ เหลือ 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และบ้านเดี่ยวที่บางเสร่-พัทยา ราคา 5-8 ล้านบาท จากพื้นที่ใช้สอย 200 ตารางเมตร เหลือ 180 ตารางเมตร รุ่งรัตน์เผยถึงการปรับตัวของธุรกิจสู้กับปัญหาที่มีอยู่
ขณะที่ มีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ออกมาส่งสัญญาณว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาฯรายเล็กกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น และกำลังซื้อในตลาดไม่ค่อยดี โดยเฉพาะตลาดระดับกลางและระดับล่าง เพราะหนี้ครัวเรือนสูง แบงก์ไม่ปล่อยกู้ ส่วนใหญ่ที่อยู่ได้ เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่
พร้อมยกเคสตลาดอสังหาฯจังหวัดชลบุรี ตอนนี้หมดยุคทองของอสังหาฯในนิคมอุตสาหกรรม เพราะกำลังซื้อเป็นกลุ่มโรงงาน ที่เป็นลูกค้าหลัก หลังโรงงานถูกปิด ทำให้สินค้าระดับล่างราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ตลาดค่อนข้างลำบาก ล่าสุดเริ่มเห็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ไปต่อไม่ไหว นำโครงการบ้านจัดสรรมาเสนอขายยกโครงการแล้ว 4-5 ราย เป็นโครงการขนาดไม่เกิน 100 ยูนิต และมูลค่าโครงการประมาณ 100 ล้านบาท เพราะขายไม่ได้ และแบกภาระหนี้ต่อไม่ไหว ส่วนโครงการคอนโดมิเนียม ไม่มีเปิดตัวโครงการใหม่มานานแล้ว
สถานการณ์อัตราดอกเบี้ย และค่าแรงที่ปรับขึ้น มีแนวโน้มราคาบ้านจะปรับขึ้นอีกตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากปัจจุบันขึ้นไปแล้ว 5% ขณะเดียวกันรูปแบบบ้านจะไม่เหมือนเดิม จะมีขนาดพื้นที่เล็กลง และตัดออปชั่นบางอย่างออก ให้สอดรับกับค่าก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น นายกสมาคมอสังหาฯ สรุปทิ้งท้ายถึงสารพันปัญหาและการปรับตัวเพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้
ชัชชาติ ห่วงยันปลา สั่งเติมออกซิเจนหน้าวัด หลังระบายน้ำท่วมเน่าลงคลอง
https://www.matichon.co.th/heading-news/news_3571764
ชัชชาติ ห่วงยันปลา สั่งเติมออกซิเจนหน้าวัด หลังระบายน้ำท่วมเน่าลงคลอง
เมื่อวันที่ 20 กันยายน เวลาประมาณ 05.30 น. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกทม. ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กขณะวิ่งออกกำลังกายที่สวนลุมพินี พร้อมด้วย นายแสนปิติ สิทธิพันธุ์ หรือแสนดี บุตรชาย และเพื่อนนักวิ่ง
ในตอนหนึ่งก่อนเริ่มต้นวิ่ง นายชัชชาติกล่าวถึงสถานการณ์น้ำและบรรยากาศโดยภาพรวมว่า
วันนี้อากาศดี คล้ายมีลมหนาวโชยมา ที่ดีที่สุดคือไม่มีฝนมา 2-3 วัน ดีขึ้นแล้ว คลองทุกคลองพร่องต่ำกว่าระดับควบคุม เตรียมรับมือเต็มที่ แต่จะสังเกตได้ว่ามีอีกปัญหาหนึ่งในขณะนี้คือน้ำเสีย เช่น คลองแสนแสบ ทำไมน้ำดำ คือที่ผ่านมาน้ำท่วมในทุ่งหลายวัน เกิดการเน่าเสีย พอเราระบายน้ำในทุ่งลงคลอง น้ำในคลองจึงดำเพราะมีการนำน้ำที่เน่าเสียลงมาเพื่อออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา
“ตอนนี้สั่งให้เติมออกซิเจนแถวหน้าวัดเพราะเป็นเขตอภัยทาน ปลาเยอะ (ยิ้ม) เราก็กลัวปลาจะน็อก ใครอยู่ในพื้นที่หน้าวัดอาจต้องหาเครื่องเติมออกซิเจนเพิ่มหน่อยไหม คงเป็นชั่วคราว เดี๋ยวพอระบายน้ำออกน่าจะดีขึ้น” นายชัชชาติกล่าว
นายชัชชาติกล่าวต่อไปว่า พื้นที่ต่างๆ ที่เคยเป็นจุดท่วม ขอให้ชุมชนช่วยกันดูแล ต้องการอะไรให้แจ้ง ผอ.เขต เช่น กระสอบทรายสำหรับเสริมจุดต่างๆ เพราะไม่แน่ว่าฝนอาจจะตกหนักไปถึงเดือนตุลาฯหรือไม่ จึงต้องเตรียมพร้อมอุปกรณ์ต่างๆ ไว้
“ตอนนี้น้ำน้อย หายใจได้ จุดไหนคือจุดอ่อนที่น้ำย้อนเข้ามา ต้องการกระสอบให้ขอจากเขต ช่วยกัน ทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมแก้ปัญหา” นายชัชชาติกล่าว