Six Characters: มายาพิศวง
" การแสดงมิใช่แค่การอ่านบท หากเป็นการสวมจิตวิญญาณตัวละคร เพื่อเล่าความจริงให้ปรากฏ พร้อมขับเอาสุนทรียภาพออกมา "
สวัสดีครับทุกท่าน ! เนื่องจากผมมีโอกาสได้รับชม
Six Characters มายาพิศวง (2022) ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ
ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย) ที่เพิ่งล่วงลับ ล่าสุดเห็นข่าวว่า ตัวหนังได้เข้าชิงรางวัล
Kim Ji Seok ใน
Busan International Film Festival 2022 เรียกว่าน่าสนใจทีเดียว
ดังนั้นก็อยากจะเขียนรีวิวแนะนำหนังเรื่องนี้ เผื่อว่าใครสนใจ อีกทั้งยังเป็นการบอกลาถึงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของหม่อมน้อยครับ
เรื่องย่อ
มายาพิศวง Six Characters (Official Trailer)
ตัวหนังกล่าวถึงเหตุการณ์ที่โรงถ่ายภาพยนตร์แห่งหนึ่ง เหตุการณ์ไฟดับในกองถ่าย และในความมืดนั้น ก็ปรากฏร่างของกลุ่มคนลึกลับ 6 คน เดินเข้ามาหา
"คำรณ (มาริโอ เมาเร่อ)" ผู้กำกับภาพยนตร์หนุ่มชื่อดัง กลุ่มคนทั้งหกอ้างตัวว่าเป็นตัวละครที่มีชีวิตขึ้นมา แต่นักประพันธ์ผู้แต่งเรื่องเกิดด่วนเสียชีวิตก่อนที่เรื่องราวของพวกเขาทั้ง 6 จะจบลง
พวกเขาจึงได้ขอร้องให้ "คำรณ" และเหล่าดารานักแสดงช่วยสร้างสรรค์ให้ชีวิตของพวกเขาให้จบลงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสร้างความปั่นป่วนและโกลาหลอันพิศวงงงงวยแกมขบขันแก่ทุกคนในกองถ่าย [
Credit - Pantip]
ความรู้สึกหลังชม
- เกริ่นก่อนว่า ภาพยนตร์เรื่องนี้ ถูกดัดแปลงมาจากบทละครเวทีชื่อดังชื่อว่า "Six Characters in Search of an Author" ที่ถูกรังสรรค์โดย Luigi Pirandello นักประพันธ์ Nobel Prize ชาวอิตาเลี่ยน โดยเอกลักษณ์ของละครเวทีเรื่องนี้ คือ ลักษณะละครซ้อนละคร (Metatheatre)
มันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายในการนำบทละครที่มีความซับซ้อนมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ทว่าเมื่อเรื่องนี้มาอยู่ในมือของหม่อมน้อย สิ่งที่นำเสนอย่อมน่าสนใจ !
Six Characters in Search of an Author
- สิ่งแรกที่น่าชื่นชม คือ "พล็อตเรื่องและดีไซน์ที่สร้างสรรค์" แก่นเรื่องของ Six Characters เป็นไอเดียที่มีพื้นฐานแข็งแรงมาจากบทประพันธ์เดิม ต้องชมว่า หม่อมน้อยดัดแปลงบทประพันธ์มาเป็นภาพยนตร์ไทยได้ค่อนข้างดี หนังมีแก่นหลักอยู่ที่การที่ตัวละครลึกลับทั้งหกต่างค่อยผลัดกันเล่าเรื่องราวของตัวเองโดยมีผู้กำกับเป็นจุดศูนย์กลางในการปะติดปะต่อเรื่อง
ตัวละครแต่ละตัวอาจมีมุมมองแตกต่างกัน บางคนเล่าความจริง บางคนเล่าความลวง จึงเป็นเหตุให้ทุกคนต้องเข้ามามีบทบาทเล่าเรื่องและแก้ต่างให้กับตัวเอง เพื่อแสดงข้อเท็จจริงของเรื่องราวให้ปรากฏ ซึ่งวิธีการดำเนินเรื่องแบบนี้ก็มีความคล้ายกับงานก่อนอย่าง "
อุโมงค์ผาเมือง" (ที่ถูกดัดแปลงมาจาก
"ราโชมอน") แต่ไม่ได้เน้นเรื่องการสอบความจริงหนักเท่า (แน่นอนว่า มาริโอ ยังคงได้รับบทเป็นจุดศูนย์กลางเรื่องเหมือนเดิม)
นอกจากนี้ ความสร้างสรรค์อีกอย่าง อยู่ที่
"การออกแบบหนังให้มีสไตล์ย้อนยุคผสมกับบริบทไทยยุคโมเดิร์น" หม่อมน้อยเปลี่ยนโครงเรื่องให้เข้ากับบริบทหนังไทยย้อนยุคได้สร้างสรรค์ (
บ้านเรือนไทย แต่หลุมฝังศพใช้ไม้กางเขน / เรื่องราวกองถ่ายเกิดที่นครสวรรค์ แต่แต่งกายเหมือนอยู่ยุโรป !)
ดูแล้วก็นึกถึงฟีลลิ่งของเรื่อง ฟ้าทะลายโจร ที่เรื่องราวและนักแสดงมีคาแรคเตอร์ย้อนยุคแบบนี้
- ในแง่สาระของเรื่องอาจเป็นอะไรที่ดูนามธรรม หนังเล่าถึงความน้อยใจของตัวละครทั้งหก เมื่อการแสดงของนักแสดงชุดหลักในโรงถ่าย ไม่ได้มาจากแก่นของ
"ตัวละคร" แต่เป็นเพียงการแสดงของ
"นักแสดง" ที่เต็มไปด้วยความหยิ่งผยองและลำพองในตนเอง
นัยยะหลักของเรื่องจึงอยู่ที่การอยากให้นักแสดงทุกคนตระหนักว่า
"ตัวละครทุกตัวก็มีจิตวิญญาณ" การแสดงไม่ใช่แค่การอ่านบท แต่เป็นการเข้าถึงจิตวิญญาณตัวละครและความจริงของเรื่องราวที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจเขียนเอาไว้...
สิ่งนี้ดูจะบทสรุปและบทเรียนให้แก่คำรณ และดูเข้ากับการเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของหม่อมน้อยในฐานะจดหมายส่งท้ายอันแสดงถึงความรักของแกที่มีต่อละครหรือภาพยนตร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้โดยเฉพาะฉากสุดท้ายที่สำคัญ อย่างฉากที่ผู้กำกับ (มาริโอ้) หยิบปืนของเล่นยิงเข้าหัวตัวเอง แล้วล้มลง จุดนี้หมายถึง การที่เขาได้เข้าใจถึงแก่นของตัวละครแล้วว่าการถ่ายทอดจิตวิญญาณของตัวละครที่แท้จริงออกมา มันสำคัญและลึกซึ้งมากขนาดไหน
สำหรับสาระในซับพล็อตของตัวละครทั้งหก เป็นเรื่องราวดราม่าครอบครัวสไตล์หม่อมน้อยที่มักเกี่ยวข้องกับความรันทดในชีวิต ศีลธรรม และตัณหาภายในจิตใจมนุษย์ (ธีมเรื่องสไตล์แก 😂)
เซ็ตติ้งอันสวยงามในภาพยนตร์
- จุดถัดมาที่น่าสนใจคือ "ความสวยงามและประณีตของภาพยนตร์ในฉบับหม่อมน้อย" ตัวหนังมีอัตลักษณ์ / ลายเซ็นต์ของหม่อมน้อยอย่างชัดเจน บทสนทนาที่สละสลวยคล้ายกับภาษาวรรณกรรม (อาจดูประดักประเดิดบ้าง) งานออกแบบศิลป์ที่ดูเนี้ยบ คาแรคเตอร์ตัวละครที่มีจริตแบบหนังย้อนยุค ลูกเล่นการให้แสงที่สร้างสรรค์ หรือการเกรดดิ้งสีแบบย้อนยุค รวมถึงคอสตูมของตัวละครที่ดูจัดเต็มจัดหนัก
[ ในส่วนคอสตูม ผมมองว่าอาจจะดูล้นไปนิดนึง แต่คาดว่าน่าจะเป็นความตั้งใจที่ผู้สร้างออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ บางเวลาเลยดูคล้ายๆ หอแต๋วแตกในบางภาค 😂 ]
- นักแสดงโดยรวมเล่นได้ดี ที่โดดเด่นสุดคงเป็น
"แพนเค้ก เขมนิจ" ในบท
โสเภณี แพนเค้กแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม จนนึกเสียดายที่จริง ๆ น่าจะมารับงานภาพยนตร์ที่ท้าทายแบบนี้ตั้งนานแล้ว
ส่วนอีกสองท่านที่ผมรู้สึกชอบเป็นพิเศษ ก็
บทพ่อ (เจี้ยบ ศักราช) กับ
บทแม่ (แอพ ทักษอร) ทั้งสองท่านแสดงได้โดดเด่นเช่นกัน
แพนเค้ก เขมนิจ ในบทโสเภณี
- ดนตรีประกอบภาพยนตร์ได้รับการประพันธ์โดยคุณ
ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์ อยากชมว่าเพราะมาก ให้ความรู้สึกหลอนปนพิศวงเข้ากับธีมเรื่องเป็นอย่างดี ซึ่งไม่ค่อยเห็นหนังไทยที่ใช้ดนตรีประกอบละเมียดละไมแบบนี้
หากใครสนใจเข้าไปฟังใน Link ที่แปะไว้ได้เลยนะครับ
- จุดที่เป็นข้อเสีย จุดแรกผมว่า แก่นของเรื่องดูไม่หนักเสียทีเดียว ถ้าเพิ่มความหนักของแก่น หนังจะดูหนักแน่นและคมขึ้น ส่วนซับพล็อตที่เป็นพล็อตดราม่าของตัวละครทั้งหก หนังสามารถนำมาผูกกับแก่นหลักและขับเรื่องให้ดิ่งกว่านี้ได้
นอกจากนี้ ในพาร์ทละครเวที หากสามารถลดแอ็คติ้งบางอย่าง หนังจะดูเป็นธรรมชาติขึ้น (แต่อันนี้คงเป็นจุดประสงค์ของหม่อมน้อยโดยเฉพาะ) ส่วนในพาร์ทนักแสดง จริง ๆ อาจไม่ต้องใช้นักแสดงเบอร์ใหญ่มาเล่นทุกคนก็ได้ แต่เน้นแคสต์ตัวให้เหมาะสมกับบทเป็นหลัก
ข้อเสียสุดท้าย คงเป็นเรื่องจริตของหนังหม่อมน้อยที่อาจแยกผู้ชมเป็นสองฝั่ง ใครชอบก็ชอบไปเลย ใครไม่ชอบก็ยี้ไปเลย (แต่ส่วนตัวผมชอบในเอกลักษณ์หนังดี)
ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล (หม่อมน้อย)
สรุป
Six Characters มายาพิศวง (2022) จัดเป็นหนังไทยที่แปลกและน่าสนใจอย่างยิ่งในปีนี้ หนังครบเครื่องด้วยงานศิลป์ ภาษาสละสลวย อารมณ์ขันตลกร้าย และพล็อตไอเดียบรรเจิด ส่วนที่เป็นข้อเสียของเรื่องไม่ได้ถือว่าร้ายแรง กลับกันข้อเสียบางส่วน อาจเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้หนังดูเตะตาขึ้น
ดังนั้นก็แนะนำเลยนะครับ ยิ่งถ้าใครเป็นคนที่ชอบดูหนังแปลก (มีความอาร์ต / นอกกระแส) น่าจะประทับใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังเป็นการชมภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้เป็นครูแห่งวงการภาพยนตร์ไทยอีกท่านด้วย !
_________________________________
ป.ล. ในหนังมีฉากล่อแหลม ดังนั้นควรระมัดระวังในการรับชมนะครับ
ป.ล.2 อีกหนึ่งช่องทางการติดต่อทาง Facebook เผื่อสนใจอยากพุดคุยหรือติดต่อกับผม
Six Characters มายาพิศวง (2022) - ตามหาความจริงผ่านจิตวิญญาณการแสดงในฉบับ "หม่อมน้อย"
ดังนั้นก็อยากจะเขียนรีวิวแนะนำหนังเรื่องนี้ เผื่อว่าใครสนใจ อีกทั้งยังเป็นการบอกลาถึงภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของหม่อมน้อยครับ
เรื่องย่อ
พวกเขาจึงได้ขอร้องให้ "คำรณ" และเหล่าดารานักแสดงช่วยสร้างสรรค์ให้ชีวิตของพวกเขาให้จบลงอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสร้างความปั่นป่วนและโกลาหลอันพิศวงงงงวยแกมขบขันแก่ทุกคนในกองถ่าย [Credit - Pantip]
ความรู้สึกหลังชม
ดูแล้วก็นึกถึงฟีลลิ่งของเรื่อง ฟ้าทะลายโจร ที่เรื่องราวและนักแสดงมีคาแรคเตอร์ย้อนยุคแบบนี้
นัยยะหลักของเรื่องจึงอยู่ที่การอยากให้นักแสดงทุกคนตระหนักว่า "ตัวละครทุกตัวก็มีจิตวิญญาณ" การแสดงไม่ใช่แค่การอ่านบท แต่เป็นการเข้าถึงจิตวิญญาณตัวละครและความจริงของเรื่องราวที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจเขียนเอาไว้...
สิ่งนี้ดูจะบทสรุปและบทเรียนให้แก่คำรณ และดูเข้ากับการเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของหม่อมน้อยในฐานะจดหมายส่งท้ายอันแสดงถึงความรักของแกที่มีต่อละครหรือภาพยนตร์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับสาระในซับพล็อตของตัวละครทั้งหก เป็นเรื่องราวดราม่าครอบครัวสไตล์หม่อมน้อยที่มักเกี่ยวข้องกับความรันทดในชีวิต ศีลธรรม และตัณหาภายในจิตใจมนุษย์ (ธีมเรื่องสไตล์แก 😂)
- นักแสดงโดยรวมเล่นได้ดี ที่โดดเด่นสุดคงเป็น "แพนเค้ก เขมนิจ" ในบทโสเภณี แพนเค้กแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม จนนึกเสียดายที่จริง ๆ น่าจะมารับงานภาพยนตร์ที่ท้าทายแบบนี้ตั้งนานแล้ว
หากใครสนใจเข้าไปฟังใน Link ที่แปะไว้ได้เลยนะครับ
นอกจากนี้ ในพาร์ทละครเวที หากสามารถลดแอ็คติ้งบางอย่าง หนังจะดูเป็นธรรมชาติขึ้น (แต่อันนี้คงเป็นจุดประสงค์ของหม่อมน้อยโดยเฉพาะ) ส่วนในพาร์ทนักแสดง จริง ๆ อาจไม่ต้องใช้นักแสดงเบอร์ใหญ่มาเล่นทุกคนก็ได้ แต่เน้นแคสต์ตัวให้เหมาะสมกับบทเป็นหลัก
ข้อเสียสุดท้าย คงเป็นเรื่องจริตของหนังหม่อมน้อยที่อาจแยกผู้ชมเป็นสองฝั่ง ใครชอบก็ชอบไปเลย ใครไม่ชอบก็ยี้ไปเลย (แต่ส่วนตัวผมชอบในเอกลักษณ์หนังดี)
ดังนั้นก็แนะนำเลยนะครับ ยิ่งถ้าใครเป็นคนที่ชอบดูหนังแปลก (มีความอาร์ต / นอกกระแส) น่าจะประทับใจได้ไม่ยาก อีกทั้งยังเป็นการชมภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ม.ล.พันธุ์เทวนพ เทวกุล ผู้เป็นครูแห่งวงการภาพยนตร์ไทยอีกท่านด้วย !