ผมออกตัวก่อนเลยว่าไปดูหนังเรื่องนี้เพราะเดือนก่อนมีโปร 9.9 ที่ major เป็นโฆษณาหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกสนใจ ไม่ใช่เพราะดาราดัง หรือเป็นหนังหม่อมน้อยกำกับ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยดูหนังหม่อมเลย ผมดูมาเมื่อวันที่ 12ต.ค. คาดว่าน่าจะเป็นรอบสุดท้ายและวันสุดท้ายของหนังเรื่องนี้แล้ว พูดตามตรงในฐานะคนไม่ได้ดูหนังบ่อย เรื่องนี้เหมือนไม่ใช่หนัง ไม่ใช่ละครที่ทำให้เราดู เราเลยรู้สึกว่ามันดูขัดตา ไม่ถูกจริตการนั่งดูหนังสักเรื่องแบบนั่งนานๆสักเท่าไหร่ เหมือนดูๆแล้วก็มีการขัดจังหวะ พอจะดำเนินเรื่องยาวๆก็ถูกขัดจังหวะอีกแหละ มันเหมือนดูหนังแล้วมีคนเรียกไปทำโน่นทำนี่ตลอดเวลา แต่ช่วงท้ายๆค่อยดูรื่นๆหน่อย ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ทำให้คนดูหรือใครที่ควรต้องดูกันแน่ (แต่คาดว่าน่าจะทำให้คนที่ทำงานแขนงวงการละครดู) ทั้งเรื่องพูดแต่เรื่อง "เธอไม่มีทางเป็นฉันได้" "ไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วฉันรู้สึกอย่างไร"
อย่างไรก็ดีผมว่านะหนังเรื่องนี้เหมือนนำเราไปนั่งดูการทำงานของกองถ่ายซะมากกว่า เราเห็นตั้งแต่ฉากแรกแล้วที่นักแสดงมาช้า มีคนมายืนรอ เปลี่ยนเสื้อ ผู้กำกับดูฉาก ทีมงานยกของ ดาราเข้าฉาก ผู้กำกับอธิบาย อ่านบท เปลี่ยนบท ยกกอง กินข้าว บลาๆ แต่ก็แอบมีความรู้สึกของการดูละครเวทีเข้ามาพอสมควรใครเด่นก็ฉายแสง ที่เหลือก็เป็นสีเทาไปหรือไม่ก็อยู่เฉยๆ นั่งนิ่งๆ โพสท่าปังๆ ประกอบฉากไป ตัวละคร 6 ตัว มีบทบาทของตัวเอง มีซีนในเรื่อง ถึงแม้คุณชายใหญ่จะบอกว่า "เห็นไหมครับ ตัวละครผมไม่ได้แสดงบทบาทอะไรไม่เปิดเผยความรู้สึกก็ตาม" แต่สุดท้ายมันก็มีอารมณ์ มีฉากแบบที่ยืนทื่อๆ ไม่มีความรู้สึก พอจะมีก็มีขึ้นมา มีแสงในเรื่อง เด็กน้อยสองคนที่ดูเหมือนจะไม่ได้ทำอะไรเลย ยืนอยู่กับแม่เงียบๆ แต่ก็ยังมีฉากร้องไห้ ฉากโดนพี่สาวตบ ฉากเย็บผ้า พอตัวเองมีบทเดินเรื่องก็มา มาต่อยาวๆจนจบเรื่องและมีซีนที่เด่นไม่แพ้ตัวละครอื่นที่พล่ามมาก่อนหน้านี้ บทที่ดูเหมือนไม่สำคัญ ตัวประกอบฉาก ตัวตลกที่ดูเหมือนมีอยู่ไปทำไม แต่พอปรากฎตัวขึ้นมาก็น่าสนใจ อย่างคนขับรถที่ไปรับ-ไปส่งคุณชายใหญ่ หรือแม้กระทั่งสามีใหม่ของตัวละคนที่เป็นแม่ (ที่บอยเล่น) เหมือนมีอยู่งั้นๆ แต่ก็เป็นตัวดำเนินเรื่องที่มีผลต่อตัวละครทั้ง 6 เหมือนกัน หรือกระทั่งดาราที่นั่งสวยๆดูตัวละครทั้ง 6 แสดง ระหว่างที่พวกเขาแสดง ดาราแต่ละคนก็มีอารมณ์ออกมาเมื่อตัวละครตัวนั้นๆเกิดความรู้สึก มีทั้งกรี๊ด ร้องไห้ ตะโกนจากสิ่งเหล่านี้เหมือนว่าเป็น"ห้องเรียนการแสดงที่ดาราสอนดาราด้วยกันเอง" ตัวละครที่เป็นพ่อที่ไล่เมียไปหาชู้ เหมือนจะพูดอยู่คนเดียวทั้งเรื่องแต่ก็ไม่ได้เด่นอะไร พูดมากแต่พอมาดูจริงๆทั้งในบทที่ตัวเองได้รับและในบทที่มาอธิบายให้ผู้กำกับฟัง ตัวละครลูกสาวคนโตที่เหมือนบทจะทำให้เรื่องราวนี้เด่น แต่งตัวเซ็กซี่ พูดเสียงแป๋นๆทั้งเรื่อง โวยวาย ชอบแซะคนอื่นไปทั่ว พอเวลาหมดบทตัวเองก็หยุด หยุดจริงๆ ให้ซีนตัวละครอื่นไป ราวกับว่าชีหายไปจริงๆ (เหมือนฉากท้ายๆที่พอหมดฉากที่ชีเล่าว่าชีนอนให้ท่าบนโซฟาในห้องนอน ก็เดินไปหลังรั้วประกอบฉาก ยืนมองคนอื่นแสดงต่อไป พอตอนเดินออกจากสตูถ่ายหนังก็ไม่มีฉากชีเดินออกมา (แต่ตรงนี้แอบเสียดายที่ตัวละคนที่เป็นพ่อ ไม่น่าเข้าฉาก น่าจะเดินหายไป แต่กลับปรากฎตัวมาพูดอะไรซักอย่าง สงสัยคงให้แม่ อุ้มเด็กไม่ได้กระมัง))
จากตัวละครทั้ง 6 นับแค่ที่พวกเขาแสดงที่ให้ดาราดูนะ ผมว่าเรื่องของพวกเขากลมกล่อมมากนะ ทุกคนเป็นตัวละครที่มีชีวิต มีจิตใจจริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวละครประกอบฉากที่ยืนๆนิ่งๆ ขับรถก็ขับไป นั่งอยู่ในห้องทำงานก็นั่งไป โสเภณีที่อยู่หน้าห้องเชือดทั้งหลาย ก็เหมือนมีชีวิตจริงๆ ถามอะไรรู้หมด ไม่เหมือนกับละครสมัยปัจจุบันที่จะ Focus on เรื่องของพระเอกและนางเอก ดีหน่อยก็ลามไปพระรองนางรอง นางร้าย ส่วนตัวอื่นๆก็ประกอบฉากไป ไม่ต้องมีบทอะไร เปิดเผยความรู้สึกไม่ได้และตัวเอกก็ไม่สนใจด้วย (ผมชอบนะที่พี่ชายคนโตไปกอดลุงคนขับ/ผู้ช่วยของพ่อ) และที่สำคัญคือตัวบทละครไม่ได้บอกไปหมดซะทุกอย่าง ไม่ต้องบอกว่าใครทำ และ/หรือทำไปทำไม ไม่เหมือละครปัจจุบันที่ต้องมีฉากเฉลยทุกอย่าง ผมว่าอันนี้เป็นเรื่องดีที่ให้เราไปคิดต่อเอาเอง เช่น เด็ก 2 คนเจอของวางหน้าห้องก็ไม่เฉลยว่าใครเอามาวาง(ก็พี่ชายคนโตนั่นแหละ) ปืนที่พี่ชายคนโตเอามาใส่กล่องไว้เป็นปืนใคร แล้วทำไมต้องไปฝึกยิ่งขวดแบบนั้น(กิจกรรมยามว่างเหรอหรือกิจกรรมดับโมโหพ่อ) แม่ที่นั่งร้องห่มร้องไห้ ชีจะร้องห่มร้องไห้ทำไมตั้งแต่ต้นฉาก ทั้งๆที่ผัวก็ตายไปตั้งนานละ (ก็มาเฉลยตอนท้ายว่าที่ร้องไห้ก็ร้องไห้เพราะลูก 2 คนตาย เรื่องก็เลยจบแบบนั้น)
แต่ถ้าเป็นละครปัจจุบันนะต้องเลือกแน่ๆเลยว่าฉันต้องเอาบทแม่เด่น คนจะได้ซึ้งตาม ต้องเอาพี่สาวเด่นเพราะจะโชว์ความอ่อย ยั่วเพศ ความเสียใจที่ซ่อนอยู่การกระทำ หรือแม้กระทั่งบทของพ่อที่ตัวละครพูดอยู่คนเดียวเกือบทั้งเรื่อง ก็มีตัวละคนอื่นมาขัดว่า จริงๆแล้วฉันไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ไอ้พ่อนี่คิดไปเอง หรือแม้กระทั่งตัวละครพี่สาวที่บอกว่าตัวพ่อหลงใหล คลั่งไคล้อยากได้ชีมาก ก็ไม่มีฉากหื่น สะกิดอะไรเลย ฉากXXX ก็มีแค่ฉากเดียวคือฉากขึ้นเตียงสีแดง ตัวพ่อเองก็ปฏิเสธตลอดว่า ฉันไม่ได้รู้สึกแบบนั้น (แต่ก็นะ มันก็ความเป็นจริงอยู่นะ ที่คนมาเที่ยวที่แบบนั้นแค่อยากมี ... ไม่ใช่ทุกคนที่ติดงอมแงม หลงใหลอะไร) ยิ่งสมัยนี้ที่มีแต่ละครกุ๊กกิ๊กเต็มไปหมด ละครชีวิตแบบนี้ไม่ค่อยได้เห็น หรือถ้าเห็นก็นานๆที หรือถ้ามีก็ต้องลุ้นว่าดังหรือไม่ดัง ก็น่ะมันก็คงมีความจำเป็นหลายอย่างที่ละครต้องเป็นแบบนั้น ธุรกิจ กระแสจิ้น พรีเซ็นเตอร์ บลาๆ และอื่นๆที่เราก็ไม่รู้
สมัยผมเด็กๆ ผมจำละครได้ไม่กี่เรื่องที่เป็นละครชีวิต ดูไปน้ำตาไหลไปมีทั้งเรื่อง ดงดอกเหมย ฟ้าเพียงดิน เสือสิงห์กระทิงแรดหงส์ (ตอนหงส์) สุดแค้นแสนรัก ทองเนื้อเก้า นอกนั้นก็ดูแต่ก็ไม่ได้รู้สึกสมจริงเท่าไหร่ มันเป็นเพราะตัวละครทุกตัวมีบทที่ไม่ห่างกันมากอย่างอีแย้มที่มาทีไรเสียงดังสนั่นจอ แย่งซีนทุกคนพอเปลี่ยนฉาก เสียงป้าแกจะตามมาหลอนๆฉากอื่นบ้างก็เถอะ แต่ก็ยังมีคนที่ขึ้นมาด่า เป็นคู่ปรับแย่งซีนเรื่องด่ากันอยู่ (ที่เบ็นซ์ พรชิตาเล่น) มันก็ดูสมจริงอยู่นะเพราะไม่มีใครบ่นพร่ามเป็นอยู่คนเดียว หรืออีลำยองที่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้ทีแม่ที่ดีสมเป็นกุลสตรี รักลูกทุกคน แม่ที่ทำตัวเหลวแหล่ก็มี พ่อที่รักลูกกว่าแม่ก็มี ฯลฯ ยิ่งสมัย 10 ปีนี้นะชอบมากเลย แรงเงา (Vเจนนี่เล่น แต่ภาคที่ทำใหม่ไม่รู้ว่าแต่งเพิ่มทำไม) ใบไม้ที่ปลิดปลิว (เรื่องนี้แอบขัดใจตอนท้าย กำลังดาร์กๆ แต่อยากให้จบแบบสวยๆ ธรรมะขึ้นมาซะงั้น) มงกุฎดอกส้ม 2 ละครแบบนี้ดีนะ เป็นละครชีวิตที่แสดงความรู้สึกของตัวละครออกมา ถึงแม้คนอื่นจะไม่เข้าใจ แต่มีตัวเราเองที่เข้าใจที่สุด อารมณ์เหมือนคนร้องไห้เพราะสัตว์เลี้ยงที่รักตาย คนอื่นองเฉยๆตายก็ตาย เกิดมาก็ต้องตาย แต่ใครเข้าใจเจ้าของที่สูญเสียสัตว์บ้างว่าเขารู้สึกเสียใจอย่างไร หรือแม้กระทั่งคนอกหัก ร้องไห้เลิกกับแฟน บางคน move on เร็ว บางคนจมอยู่กับตรงนั้น บางคนคิดสั้น แต่มีใครสนใจไหมว่าเขารู้สึกอย่างไร ทำไมเขาถึงเป็นแบบนั้น ผมว่าอันนี้ก็เป็นอีกอย่างที่ล้ำมากนะที่หนังพยายามพูดออกมาทั้งเรื่องว่า "ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกของฉันได้หรอก"
สุดท้ายและท้ายสุดผมว่าละครเรื่องนี้แผงข้อคิดที่สำคัญอยู่นะไม่ใช่ให้แก่อาชีพนักแสด(ที่ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นแบบนั้น) แต่ยังหมายถึงทุกคนที่มีชีวิตอยู่ด้วย ยิ่งสมัยนี้มีสื่อโซเชียลเต็มไปหมด ทุกคนมีอำนาจในการแสดงความเห็น จะพูดอย่างไรก็ได้ จะเหยียบ จะด่าใครก็ได้ แต่ท้ายที่สุดมันก็กลับมาถามตัวเองว่า "รู้เหรอว่าเขารู้สึกอย่างไร" "ทำไมเขาถึงเลือกทำแบบนั้น" สังคมจะตัดสินเลยว่าคนนี้คนดี คนไม่ดีคนเลว โกง แย่ .... แต่รู้หรือไม่ว่าทำไมเขาทำแบบนั้น หรือรู้ไม่ว่าเขารู้สึกอย่างไร เพราะ "เราไม่ใช่เขา เขาไม่ใช่เรา ไม่มีใครรู้สึกแทนกันได้"
"Six Characters มายาพิศวง": ไม่มีใครรู้ได้ว่า "ใครรู้สึกอย่างไร" เพราะ "ไม่มีใครเป็นใครได้"
อย่างไรก็ดีผมว่านะหนังเรื่องนี้เหมือนนำเราไปนั่งดูการทำงานของกองถ่ายซะมากกว่า เราเห็นตั้งแต่ฉากแรกแล้วที่นักแสดงมาช้า มีคนมายืนรอ เปลี่ยนเสื้อ ผู้กำกับดูฉาก ทีมงานยกของ ดาราเข้าฉาก ผู้กำกับอธิบาย อ่านบท เปลี่ยนบท ยกกอง กินข้าว บลาๆ แต่ก็แอบมีความรู้สึกของการดูละครเวทีเข้ามาพอสมควรใครเด่นก็ฉายแสง ที่เหลือก็เป็นสีเทาไปหรือไม่ก็อยู่เฉยๆ นั่งนิ่งๆ โพสท่าปังๆ ประกอบฉากไป ตัวละคร 6 ตัว มีบทบาทของตัวเอง มีซีนในเรื่อง ถึงแม้คุณชายใหญ่จะบอกว่า "เห็นไหมครับ ตัวละครผมไม่ได้แสดงบทบาทอะไรไม่เปิดเผยความรู้สึกก็ตาม" แต่สุดท้ายมันก็มีอารมณ์ มีฉากแบบที่ยืนทื่อๆ ไม่มีความรู้สึก พอจะมีก็มีขึ้นมา มีแสงในเรื่อง เด็กน้อยสองคนที่ดูเหมือนจะไม่ได้ทำอะไรเลย ยืนอยู่กับแม่เงียบๆ แต่ก็ยังมีฉากร้องไห้ ฉากโดนพี่สาวตบ ฉากเย็บผ้า พอตัวเองมีบทเดินเรื่องก็มา มาต่อยาวๆจนจบเรื่องและมีซีนที่เด่นไม่แพ้ตัวละครอื่นที่พล่ามมาก่อนหน้านี้ บทที่ดูเหมือนไม่สำคัญ ตัวประกอบฉาก ตัวตลกที่ดูเหมือนมีอยู่ไปทำไม แต่พอปรากฎตัวขึ้นมาก็น่าสนใจ อย่างคนขับรถที่ไปรับ-ไปส่งคุณชายใหญ่ หรือแม้กระทั่งสามีใหม่ของตัวละคนที่เป็นแม่ (ที่บอยเล่น) เหมือนมีอยู่งั้นๆ แต่ก็เป็นตัวดำเนินเรื่องที่มีผลต่อตัวละครทั้ง 6 เหมือนกัน หรือกระทั่งดาราที่นั่งสวยๆดูตัวละครทั้ง 6 แสดง ระหว่างที่พวกเขาแสดง ดาราแต่ละคนก็มีอารมณ์ออกมาเมื่อตัวละครตัวนั้นๆเกิดความรู้สึก มีทั้งกรี๊ด ร้องไห้ ตะโกนจากสิ่งเหล่านี้เหมือนว่าเป็น"ห้องเรียนการแสดงที่ดาราสอนดาราด้วยกันเอง" ตัวละครที่เป็นพ่อที่ไล่เมียไปหาชู้ เหมือนจะพูดอยู่คนเดียวทั้งเรื่องแต่ก็ไม่ได้เด่นอะไร พูดมากแต่พอมาดูจริงๆทั้งในบทที่ตัวเองได้รับและในบทที่มาอธิบายให้ผู้กำกับฟัง ตัวละครลูกสาวคนโตที่เหมือนบทจะทำให้เรื่องราวนี้เด่น แต่งตัวเซ็กซี่ พูดเสียงแป๋นๆทั้งเรื่อง โวยวาย ชอบแซะคนอื่นไปทั่ว พอเวลาหมดบทตัวเองก็หยุด หยุดจริงๆ ให้ซีนตัวละครอื่นไป ราวกับว่าชีหายไปจริงๆ (เหมือนฉากท้ายๆที่พอหมดฉากที่ชีเล่าว่าชีนอนให้ท่าบนโซฟาในห้องนอน ก็เดินไปหลังรั้วประกอบฉาก ยืนมองคนอื่นแสดงต่อไป พอตอนเดินออกจากสตูถ่ายหนังก็ไม่มีฉากชีเดินออกมา (แต่ตรงนี้แอบเสียดายที่ตัวละคนที่เป็นพ่อ ไม่น่าเข้าฉาก น่าจะเดินหายไป แต่กลับปรากฎตัวมาพูดอะไรซักอย่าง สงสัยคงให้แม่ อุ้มเด็กไม่ได้กระมัง))
จากตัวละครทั้ง 6 นับแค่ที่พวกเขาแสดงที่ให้ดาราดูนะ ผมว่าเรื่องของพวกเขากลมกล่อมมากนะ ทุกคนเป็นตัวละครที่มีชีวิต มีจิตใจจริงๆ ไม่ใช่แค่ตัวละครประกอบฉากที่ยืนๆนิ่งๆ ขับรถก็ขับไป นั่งอยู่ในห้องทำงานก็นั่งไป โสเภณีที่อยู่หน้าห้องเชือดทั้งหลาย ก็เหมือนมีชีวิตจริงๆ ถามอะไรรู้หมด ไม่เหมือนกับละครสมัยปัจจุบันที่จะ Focus on เรื่องของพระเอกและนางเอก ดีหน่อยก็ลามไปพระรองนางรอง นางร้าย ส่วนตัวอื่นๆก็ประกอบฉากไป ไม่ต้องมีบทอะไร เปิดเผยความรู้สึกไม่ได้และตัวเอกก็ไม่สนใจด้วย (ผมชอบนะที่พี่ชายคนโตไปกอดลุงคนขับ/ผู้ช่วยของพ่อ) และที่สำคัญคือตัวบทละครไม่ได้บอกไปหมดซะทุกอย่าง ไม่ต้องบอกว่าใครทำ และ/หรือทำไปทำไม ไม่เหมือละครปัจจุบันที่ต้องมีฉากเฉลยทุกอย่าง ผมว่าอันนี้เป็นเรื่องดีที่ให้เราไปคิดต่อเอาเอง เช่น เด็ก 2 คนเจอของวางหน้าห้องก็ไม่เฉลยว่าใครเอามาวาง(ก็พี่ชายคนโตนั่นแหละ) ปืนที่พี่ชายคนโตเอามาใส่กล่องไว้เป็นปืนใคร แล้วทำไมต้องไปฝึกยิ่งขวดแบบนั้น(กิจกรรมยามว่างเหรอหรือกิจกรรมดับโมโหพ่อ) แม่ที่นั่งร้องห่มร้องไห้ ชีจะร้องห่มร้องไห้ทำไมตั้งแต่ต้นฉาก ทั้งๆที่ผัวก็ตายไปตั้งนานละ (ก็มาเฉลยตอนท้ายว่าที่ร้องไห้ก็ร้องไห้เพราะลูก 2 คนตาย เรื่องก็เลยจบแบบนั้น)
แต่ถ้าเป็นละครปัจจุบันนะต้องเลือกแน่ๆเลยว่าฉันต้องเอาบทแม่เด่น คนจะได้ซึ้งตาม ต้องเอาพี่สาวเด่นเพราะจะโชว์ความอ่อย ยั่วเพศ ความเสียใจที่ซ่อนอยู่การกระทำ หรือแม้กระทั่งบทของพ่อที่ตัวละครพูดอยู่คนเดียวเกือบทั้งเรื่อง ก็มีตัวละคนอื่นมาขัดว่า จริงๆแล้วฉันไม่ได้รู้สึกแบบนั้น ไอ้พ่อนี่คิดไปเอง หรือแม้กระทั่งตัวละครพี่สาวที่บอกว่าตัวพ่อหลงใหล คลั่งไคล้อยากได้ชีมาก ก็ไม่มีฉากหื่น สะกิดอะไรเลย ฉากXXX ก็มีแค่ฉากเดียวคือฉากขึ้นเตียงสีแดง ตัวพ่อเองก็ปฏิเสธตลอดว่า ฉันไม่ได้รู้สึกแบบนั้น (แต่ก็นะ มันก็ความเป็นจริงอยู่นะ ที่คนมาเที่ยวที่แบบนั้นแค่อยากมี ... ไม่ใช่ทุกคนที่ติดงอมแงม หลงใหลอะไร) ยิ่งสมัยนี้ที่มีแต่ละครกุ๊กกิ๊กเต็มไปหมด ละครชีวิตแบบนี้ไม่ค่อยได้เห็น หรือถ้าเห็นก็นานๆที หรือถ้ามีก็ต้องลุ้นว่าดังหรือไม่ดัง ก็น่ะมันก็คงมีความจำเป็นหลายอย่างที่ละครต้องเป็นแบบนั้น ธุรกิจ กระแสจิ้น พรีเซ็นเตอร์ บลาๆ และอื่นๆที่เราก็ไม่รู้
สมัยผมเด็กๆ ผมจำละครได้ไม่กี่เรื่องที่เป็นละครชีวิต ดูไปน้ำตาไหลไปมีทั้งเรื่อง ดงดอกเหมย ฟ้าเพียงดิน เสือสิงห์กระทิงแรดหงส์ (ตอนหงส์) สุดแค้นแสนรัก ทองเนื้อเก้า นอกนั้นก็ดูแต่ก็ไม่ได้รู้สึกสมจริงเท่าไหร่ มันเป็นเพราะตัวละครทุกตัวมีบทที่ไม่ห่างกันมากอย่างอีแย้มที่มาทีไรเสียงดังสนั่นจอ แย่งซีนทุกคนพอเปลี่ยนฉาก เสียงป้าแกจะตามมาหลอนๆฉากอื่นบ้างก็เถอะ แต่ก็ยังมีคนที่ขึ้นมาด่า เป็นคู่ปรับแย่งซีนเรื่องด่ากันอยู่ (ที่เบ็นซ์ พรชิตาเล่น) มันก็ดูสมจริงอยู่นะเพราะไม่มีใครบ่นพร่ามเป็นอยู่คนเดียว หรืออีลำยองที่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้ทีแม่ที่ดีสมเป็นกุลสตรี รักลูกทุกคน แม่ที่ทำตัวเหลวแหล่ก็มี พ่อที่รักลูกกว่าแม่ก็มี ฯลฯ ยิ่งสมัย 10 ปีนี้นะชอบมากเลย แรงเงา (Vเจนนี่เล่น แต่ภาคที่ทำใหม่ไม่รู้ว่าแต่งเพิ่มทำไม) ใบไม้ที่ปลิดปลิว (เรื่องนี้แอบขัดใจตอนท้าย กำลังดาร์กๆ แต่อยากให้จบแบบสวยๆ ธรรมะขึ้นมาซะงั้น) มงกุฎดอกส้ม 2 ละครแบบนี้ดีนะ เป็นละครชีวิตที่แสดงความรู้สึกของตัวละครออกมา ถึงแม้คนอื่นจะไม่เข้าใจ แต่มีตัวเราเองที่เข้าใจที่สุด อารมณ์เหมือนคนร้องไห้เพราะสัตว์เลี้ยงที่รักตาย คนอื่นองเฉยๆตายก็ตาย เกิดมาก็ต้องตาย แต่ใครเข้าใจเจ้าของที่สูญเสียสัตว์บ้างว่าเขารู้สึกเสียใจอย่างไร หรือแม้กระทั่งคนอกหัก ร้องไห้เลิกกับแฟน บางคน move on เร็ว บางคนจมอยู่กับตรงนั้น บางคนคิดสั้น แต่มีใครสนใจไหมว่าเขารู้สึกอย่างไร ทำไมเขาถึงเป็นแบบนั้น ผมว่าอันนี้ก็เป็นอีกอย่างที่ล้ำมากนะที่หนังพยายามพูดออกมาทั้งเรื่องว่า "ไม่มีใครเข้าใจความรู้สึกของฉันได้หรอก"
สุดท้ายและท้ายสุดผมว่าละครเรื่องนี้แผงข้อคิดที่สำคัญอยู่นะไม่ใช่ให้แก่อาชีพนักแสด(ที่ดูเหมือนทุกอย่างจะเป็นแบบนั้น) แต่ยังหมายถึงทุกคนที่มีชีวิตอยู่ด้วย ยิ่งสมัยนี้มีสื่อโซเชียลเต็มไปหมด ทุกคนมีอำนาจในการแสดงความเห็น จะพูดอย่างไรก็ได้ จะเหยียบ จะด่าใครก็ได้ แต่ท้ายที่สุดมันก็กลับมาถามตัวเองว่า "รู้เหรอว่าเขารู้สึกอย่างไร" "ทำไมเขาถึงเลือกทำแบบนั้น" สังคมจะตัดสินเลยว่าคนนี้คนดี คนไม่ดีคนเลว โกง แย่ .... แต่รู้หรือไม่ว่าทำไมเขาทำแบบนั้น หรือรู้ไม่ว่าเขารู้สึกอย่างไร เพราะ "เราไม่ใช่เขา เขาไม่ใช่เรา ไม่มีใครรู้สึกแทนกันได้"