JobThai Tips กระทู้นี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Turnover Contagion หรือสถานการณ์ที่พนักงานในองค์กรหลายคนลาออกไล่เลี่ยกันในช่วงเวลาสั้น ๆ โดยมักมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่พนักงานคนใดคนหนึ่งลาออก หรือเปรยว่ามีแผนจะลาออก และกำลังมองหางานใหม่อยู่ ทำให้พนักงานคนอื่น ๆ เริ่มมีความคิดที่จะลาออกตาม ซึ่งเหตุการณ์นี้มักมีแนวโน้มเกิดขึ้นมากเป็นพิเศษเมื่อพนักงานในทีมนั้นสนิทสนมกัน หรือพนักงานที่ลาออกคนแรกนั้นเป็นพนักงานที่เก่ง มากความสามารถ มี Performance ในการทำงานดี และเป็นแกนหลักของทีม
สาเหตุที่ทำให้พนักงานพากันลาออก
สาเหตุการลาออกของพนักงานนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายงานเพราะบริษัทใหม่อยู่ใกล้ที่พักมากกว่า ย้ายงานเพื่อความก้าวหน้า ย้ายงานเพื่อเปลี่ยนสายอาชีพ ฯลฯ แต่หากพนักงานลาออกหลายคนพร้อมกัน หรือลาออกในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการลาออกหมู่ย่อมมีอะไรมากกว่านั้น บางครั้งอาจเกิดมาจากสาเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงอย่างเดียว บางครั้งก็เกิดจากหลายสาเหตุพร้อมกัน แล้วเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้พนักงานลาออกตามกัน ไปดูกันเลย
เมื่อคนรู้จักมักคุ้นมีความรู้สึกแบบใด คนใกล้ชิดก็มักเกิดความรู้สึกแบบเดียวกันตามไปด้วย ถึงแม้ในตอนแรกพนักงานจะไม่ได้มีความคิดอยากลาออก และยังรู้สึกโอเคกับงานที่ทำอยู่ แต่เมื่อได้ยินเพื่อนร่วมงานที่ทำงานด้วยกันมาตลอดเปรยว่าจะลาออกขึ้นมา ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าหรือตัวเองจะลาออกด้วยดี ทำไมเพื่อนถึงลาออก หรือบริษัทเราจะไม่ดีจริง ๆ และเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ควรอยู่บริษัทนี้ต่อและไม่ควรอยู่ต่อ จนอาจนำไปสู่การลาออกในที่สุด
เพราะพนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สำหรับพนักงานบางคนแล้ว การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีก็เป็นสาเหตุหลักที่เลือกให้ทำงานกับองค์กรต่อ ดังนั้นเมื่อเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมและคอยช่วยเหลือกันมาตลอดลาออก พนักงานที่เหลืออยู่ก็เลยไม่รู้ว่าตัวเองจะอยู่ต่อไปทำไม และลาออกตามไปด้วย
เมื่อแกนหลักของทีมลาออก ความยุ่งเหยิงก็เริ่มปรากฏ หน้าที่การทำงานในแต่ละตำแหน่งนั้นย่อมแตกต่างกันไป บางตำแหน่งอาจเน้นการทำงานเดี่ยว เนื้องานไม่ค่อยมีส่วนคาบเกี่ยวกับคนอื่นมากนัก แต่บางตำแหน่งก็เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งหากในทีมมีคนที่เป็นแกนหลักอยู่ คอยเสนอไอเดียในการทำงาน มีความเป็นผู้นำสูง มองหาวิธีแก้ปัญหาได้เก่ง การทำงานก็ย่อมราบรื่น แม้จะเป็นเรื่องดีแต่ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้หากคนคนนี้ลาออกไป และพนักงานคนอื่น ๆ ไม่สามารถทำงานต่อได้ด้วยประสิทธิภาพเท่าเดิม เมื่อเจออุปสรรคในการทำงานก็ไม่สามารถจัดการได้ หรือจัดการได้ไม่ดีนัก ถ้าเป็นเช่นนี้ไปนาน ๆ ก็อาจทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานตึงเครียดและกดดันมากขึ้น จนพนักงานในทีมไม่มีความสุขและทยอยลาออกไปได้
ไม่มีใครอยากอยู่เหลือเป็นคนสุดท้ายและกลายเป็นคนแบกทีม เมื่อมีพนักงานลาออก แน่นอนว่าภาระงานย่อมถูกส่งต่อมายังคนอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ หากพนักงานลาออกไปเพียงคนเดียว ปริมาณงานที่กระจายไปก็อาจไม่เยอะเท่าไหร่นัก แต่หากจำนวนพนักงานที่ลาออกเพิ่มขึ้น จากงานเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นมหาศาลได้ และก็คงไม่มีพนักงานคนไหนอยากรับเอางานกองสูงพะเนินนี้มาไว้ที่ตัวเองแน่ หากองค์กรไม่สามารถจัดการปัญหาภาระงานล้นมือตรงนี้และหาคนมาทำแทนได้ พนักงานที่ต้องแบกงานของเพื่อนที่ลาออกไปก็อาจทนไม่ไหวและลาออกตามกันไปในที่สุด
ไม่พอใจระบบการทำงานหรือการจัดการของบริษัท ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับตัวพนักงานโดยตรง เช่น บริษัทชอบเอาเปรียบ จ่ายเงินค่าคอมมิชชันไม่ตรงเวลา มอบหมายงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของพนักงานให้ทำ ฯลฯ ซึ่งหากพนักงานร้องเรียนแล้วไม่ได้รับการแก้ไข จนทำให้รู้สึกว่าพูดไปก็ไร้ความหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เพราะองค์กรไม่ฟังเสียงของพนักงาน ก็อาจทำให้พวกเขาพากันลาออกนั่นเอง
พนักงานไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรมากพอ หากองค์กรไม่ได้มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดพนักงาน ไม่มีกิจกรรมที่ช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างกัน พนักงานต่างคนต่างอยู่ ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทและไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กร ส่งผลให้อยู่ทำงานกับบริษัทไม่นาน และทำให้มีการลาออกเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งหากพนักงานใหม่ที่เข้ามารู้สึกว่าตัวเองจูนไม่ติดกับบริษัท ไม่มีจุดไหนที่รู้สึกประทับใจ และเห็นพนักงานคนอื่นลาออกกันบ่อยในช่วงที่ตัวเองเข้ามาทำงาน ก็อาจลาออกตามไปด้วยได้
บริษัทกำลังตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตด้านการเงิน วิกฤตจากการทำการตลาดผิดพลาดจนโดนแบนหรือกลายเป็นประเด็นสังคม วิกฤตจากการไม่มีลูกค้า ฯลฯ หากองค์กรไม่มีวิธีจัดการกับวิกฤต (Crisis Management) ที่ดีพอ และไม่สามารถทำให้พนักงานเชื่อมั่นได้ว่าองค์กรสามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ พนักงานก็อาจเลือกมองหาองค์กรใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าและไปจากองค์กรเดิม
เมื่อการลาออกกลายเป็นโรคติดต่อที่ลามไปเรื่อย ๆ ผลกระทบก็ยิ่งแผ่เป็นวงกว้างและส่งผลกับทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หัวหน้างาน หรือองค์กร ซึ่งกระทู้หน้า JobThai Tips จะเอาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์พนักงานพากันลาออกมาฝาก HR กัน
รู้จักกับ Turnover Contagion หรือสถานการณ์พนักงานลาออกตามกัน
สาเหตุที่ทำให้พนักงานพากันลาออก
สาเหตุการลาออกของพนักงานนั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายงานเพราะบริษัทใหม่อยู่ใกล้ที่พักมากกว่า ย้ายงานเพื่อความก้าวหน้า ย้ายงานเพื่อเปลี่ยนสายอาชีพ ฯลฯ แต่หากพนักงานลาออกหลายคนพร้อมกัน หรือลาออกในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการลาออกหมู่ย่อมมีอะไรมากกว่านั้น บางครั้งอาจเกิดมาจากสาเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ เพียงอย่างเดียว บางครั้งก็เกิดจากหลายสาเหตุพร้อมกัน แล้วเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้พนักงานลาออกตามกัน ไปดูกันเลย
เมื่อคนรู้จักมักคุ้นมีความรู้สึกแบบใด คนใกล้ชิดก็มักเกิดความรู้สึกแบบเดียวกันตามไปด้วย ถึงแม้ในตอนแรกพนักงานจะไม่ได้มีความคิดอยากลาออก และยังรู้สึกโอเคกับงานที่ทำอยู่ แต่เมื่อได้ยินเพื่อนร่วมงานที่ทำงานด้วยกันมาตลอดเปรยว่าจะลาออกขึ้นมา ก็คงอดคิดไม่ได้ว่าหรือตัวเองจะลาออกด้วยดี ทำไมเพื่อนถึงลาออก หรือบริษัทเราจะไม่ดีจริง ๆ และเริ่มพิจารณาอย่างจริงจังว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ควรอยู่บริษัทนี้ต่อและไม่ควรอยู่ต่อ จนอาจนำไปสู่การลาออกในที่สุด
เพราะพนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สำหรับพนักงานบางคนแล้ว การมีเพื่อนร่วมงานที่ดีก็เป็นสาเหตุหลักที่เลือกให้ทำงานกับองค์กรต่อ ดังนั้นเมื่อเพื่อนร่วมงานที่สนิทสนมและคอยช่วยเหลือกันมาตลอดลาออก พนักงานที่เหลืออยู่ก็เลยไม่รู้ว่าตัวเองจะอยู่ต่อไปทำไม และลาออกตามไปด้วย
เมื่อแกนหลักของทีมลาออก ความยุ่งเหยิงก็เริ่มปรากฏ หน้าที่การทำงานในแต่ละตำแหน่งนั้นย่อมแตกต่างกันไป บางตำแหน่งอาจเน้นการทำงานเดี่ยว เนื้องานไม่ค่อยมีส่วนคาบเกี่ยวกับคนอื่นมากนัก แต่บางตำแหน่งก็เน้นการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งหากในทีมมีคนที่เป็นแกนหลักอยู่ คอยเสนอไอเดียในการทำงาน มีความเป็นผู้นำสูง มองหาวิธีแก้ปัญหาได้เก่ง การทำงานก็ย่อมราบรื่น แม้จะเป็นเรื่องดีแต่ปัญหาก็อาจเกิดขึ้นได้หากคนคนนี้ลาออกไป และพนักงานคนอื่น ๆ ไม่สามารถทำงานต่อได้ด้วยประสิทธิภาพเท่าเดิม เมื่อเจออุปสรรคในการทำงานก็ไม่สามารถจัดการได้ หรือจัดการได้ไม่ดีนัก ถ้าเป็นเช่นนี้ไปนาน ๆ ก็อาจทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานตึงเครียดและกดดันมากขึ้น จนพนักงานในทีมไม่มีความสุขและทยอยลาออกไปได้
ไม่มีใครอยากอยู่เหลือเป็นคนสุดท้ายและกลายเป็นคนแบกทีม เมื่อมีพนักงานลาออก แน่นอนว่าภาระงานย่อมถูกส่งต่อมายังคนอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ หากพนักงานลาออกไปเพียงคนเดียว ปริมาณงานที่กระจายไปก็อาจไม่เยอะเท่าไหร่นัก แต่หากจำนวนพนักงานที่ลาออกเพิ่มขึ้น จากงานเล็กน้อยก็อาจกลายเป็นมหาศาลได้ และก็คงไม่มีพนักงานคนไหนอยากรับเอางานกองสูงพะเนินนี้มาไว้ที่ตัวเองแน่ หากองค์กรไม่สามารถจัดการปัญหาภาระงานล้นมือตรงนี้และหาคนมาทำแทนได้ พนักงานที่ต้องแบกงานของเพื่อนที่ลาออกไปก็อาจทนไม่ไหวและลาออกตามกันไปในที่สุด
ไม่พอใจระบบการทำงานหรือการจัดการของบริษัท ซึ่งเป็นปัญหาที่กระทบกับตัวพนักงานโดยตรง เช่น บริษัทชอบเอาเปรียบ จ่ายเงินค่าคอมมิชชันไม่ตรงเวลา มอบหมายงานอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของพนักงานให้ทำ ฯลฯ ซึ่งหากพนักงานร้องเรียนแล้วไม่ได้รับการแก้ไข จนทำให้รู้สึกว่าพูดไปก็ไร้ความหมาย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เพราะองค์กรไม่ฟังเสียงของพนักงาน ก็อาจทำให้พวกเขาพากันลาออกนั่นเอง
พนักงานไม่ได้มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรมากพอ หากองค์กรไม่ได้มีวัฒนธรรมที่ดึงดูดพนักงาน ไม่มีกิจกรรมที่ช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างกัน พนักงานต่างคนต่างอยู่ ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นส่วนหนึ่งของบริษัทและไม่รู้สึกผูกพันกับองค์กร ส่งผลให้อยู่ทำงานกับบริษัทไม่นาน และทำให้มีการลาออกเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งหากพนักงานใหม่ที่เข้ามารู้สึกว่าตัวเองจูนไม่ติดกับบริษัท ไม่มีจุดไหนที่รู้สึกประทับใจ และเห็นพนักงานคนอื่นลาออกกันบ่อยในช่วงที่ตัวเองเข้ามาทำงาน ก็อาจลาออกตามไปด้วยได้
บริษัทกำลังตกอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตด้านการเงิน วิกฤตจากการทำการตลาดผิดพลาดจนโดนแบนหรือกลายเป็นประเด็นสังคม วิกฤตจากการไม่มีลูกค้า ฯลฯ หากองค์กรไม่มีวิธีจัดการกับวิกฤต (Crisis Management) ที่ดีพอ และไม่สามารถทำให้พนักงานเชื่อมั่นได้ว่าองค์กรสามารถรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ พนักงานก็อาจเลือกมองหาองค์กรใหม่ที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าและไปจากองค์กรเดิม
เมื่อการลาออกกลายเป็นโรคติดต่อที่ลามไปเรื่อย ๆ ผลกระทบก็ยิ่งแผ่เป็นวงกว้างและส่งผลกับทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน หัวหน้างาน หรือองค์กร ซึ่งกระทู้หน้า JobThai Tips จะเอาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์พนักงานพากันลาออกมาฝาก HR กัน