Toxic Workplace หรือ Toxic Work Environment คือสังคมหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นพิษ มีบรรยากาศที่ไม่น่าทำงาน ส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิต และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ถ้าเราต้องทำงานภายในบรรยากาศแบบนี้ไปนาน ๆ ก็บั่นทอนจิตใจและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในระยะยาว ทำให้ไม่มีความสุขและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาศักยภาพในการทำงานได้
กระทู้นี้ JobThai Tips เอา 10 เช็กลิสต์สัญญาณอันตรายที่เตือนว่าออฟฟิศของเราอาจเป็นภัยร้ายต่อจิตใจมาฝาก ลองมาเช็กไปพร้อม ๆ กันค่ะ
1. พนักงานลาออกบ่อย
การลาออกเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงาน แต่ถ้าเราเข้ามาทำงานแล้วพบว่าบริษัทมี Turnover Rate หรืออัตราการลาออกของพนักงานที่สูงผิดปกติ พนักงานลาออกติดกันถี่ ๆ ในระยะเวลาไม่กี่เดือน นี่ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าที่นี่มีอะไรบางอย่างที่เป็นปัญหา ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการทำงาน วิธีการสื่อสาร การบริหารจัดการภายใน วัฒนธรรมองค์กร หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นถ้าพบว่าพนักงานในบริษัทหลายคนทำงานได้ไม่นานก็ลาออก เราควรสังเกตดูต่อไปว่ามีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่ทำให้พนักงานลาออกบ่อย เพื่อประเมินว่าออฟฟิศของเราใช่ Toxic Workplace หรือเปล่า
2. การสื่อสารภายในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ (Poor Communication)
การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้นก็มีหลายรูปแบบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกันน้อย ไม่พูดคุยกันเมื่อเกิดปัญหา การสื่อสารอะไรไม่ชัดเจน สร้างความสับสนให้กับคนฟัง การสื่อสารกับพนักงานแต่ละคนไม่ตรงกัน ทำให้ได้รับสารคนละแบบ สร้างความเข้าใจผิด ๆ ให้กับพนักงาน หรือการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานแบบ Passive-aggressive ไม่ยอมพูดอะไรตรง ๆ ซ่อนความไม่พอใจเอาไว้ภายใน หากเราต้องทำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ไปนาน ๆ แน่นอนว่าประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดลง การจัดการกับงานชิ้นหนึ่งใช้เวลานานขึ้น รวมถึงทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดและบั่นทอนจิตใจตลอดการทำงานได้ ถ้าบริษัทไหนมีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ นั้นอาจทำให้การทำงานออกมาไม่ดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้
3. พนักงานชอบซุบซิบนินทากันและกัน
ลองจินตนาการดูว่าถ้าเราต้องทำงานอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่เอาแต่ซุบซิบนินทากันตลอดเวลา พนักงานคอยจับกลุ่มเล่าเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ หรือเรื่องส่วนตัวของพนักงานคนอื่นทุกวี่วัน และวันดีคืนดีเราก็อาจตกเป็นขี้ปากหรือกลายเป็นประเด็นในวงสนทนาของคนเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน การทำงานในบริษัทที่พนักงานมีพฤติกรรมแบบนี้ก็จะเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ส่งผลกระทบต่อทีมเวิร์กโดยรวมเพราะขาดความเชื่อใจกันและกัน รวมถึงทำให้เราเสียสุขภาพจิตตลอดการทำงานอย่างแน่นอน
4. มีการกลั่นแกล้งรังแกกัน (Bullying) หรือการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)
นอกจากพฤติกรรมซุบซิบนินทา จ้องจับผิดกันและกันแล้ว การกลั่นแกล้งรังแกกันและการคุกคามทางเพศในออฟฟิศก็ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนสำคัญที่บ่งบอกว่าที่ทำงานของเราคือ Toxic Workplace เพราะถ้าเป็นบริษัทที่มีการจัดการพนักงานที่ดี ย่อมไม่มีทางปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในออฟฟิศแน่ ๆ ถ้าที่เราอยู่หลับหูหลับตาปล่อยให้มีการกลั่นแกล้งกันในออฟฟิศ เช่น รวมหัวกันเมินพนักงานคนใดคนหนึ่งอย่างตั้งใจ พูดจาล้อเลียนเสียดสีพนักงานจนทำให้เกิดความอับอายและรู้สึกแย่จากเพศสภาพหรือรูปร่างหน้าตา เลือกปฏิบัติและประพฤติต่อกันแบบไม่ให้เกียรติอย่างเห็นได้ชัด หรือปล่อยให้มีการคุกคามทางเพศกันระหว่างพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางวาจาอย่างการพูดแซวหรือแทะโลม การคุกคามทางสายตาอย่างการจ้องมองเรือนร่างของอีกฝ่ายจนทำให้เกิดความไม่สบายใจ หรือการคุกคามทางร่างกาย เช่น การแตะเนื้อต้องตัวโดยที่อีกฝ่ายไม่เต็มใจหรือยินยอม ก็มั่นใจได้เลยว่าที่นี่ไม่ใช่ Safe Zone หรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานแน่นอน
5. การเมืองในที่ทำงาน
ต่อให้มีความมุ่งมั่นกับการทำงานแค่ไหน แต่ถ้าเข้ามาแล้วพบว่าบริษัทมีการแบ่งฝักฝ่าย เล่นพรรคพวก ชิงดีชิงเด่นและใช้อำนาจภายในออฟฟิศในทางที่ผิด เช่น หัวหน้าแผนกนี้ไม่ถูกกับหัวหน้าแผนกนั้น ก็เลยสั่งห้ามลูกน้องในแผนกตัวเองไม่ให้ไปพูดคุยหรือช่วยงานคนต่างแผนก ถ้าไม่ทำตามก็จะถูกเขม่น โดนเพิ่มงานให้อย่างไม่มีเหตุผล หรือโดนหัวหน้าเอาการประเมินผลงานประจำปีมาข่มขู่ต่อรอง ไม่ว่าใครก็คงรู้สึกไม่ชอบและไม่มีความสุขกับการทำงานแน่นอน แทนที่จะช่วยกันยกระดับการทำงานและพัฒนาองค์กร ก็ต้องมานั่งกังวลว่าตัวเองจะโดนใช้เป็นเครื่องมือในเกมการเมืองนี้หรือเปล่า หากเลือกข้างผิด ชีวิตก็อาจดิ่งลงเหวได้ พอจะวางตัวเป็นกลางก็ต้องทนรับแรงกดดันจากฝ่ายอื่น ๆ อีก เรียกได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นพิษต่อจิตใจและสร้างความปวดหัวให้กับพนักงานสุด ๆ
6. หัวหน้างานขาดความเป็นผู้นำ
หัวหน้างานที่ดีควรจะเป็นหัวหน้าที่มีความเป็นผู้นำ รับฟังลูกน้อง คอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา แต่ถ้าเราพบว่าหัวหน้างานของเราไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้เลย เรียกได้ว่าตรงข้ามทั้งหมด ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังตกอยู่ใน Toxic Workplace เพราะบทบาทของหัวหน้านั้นมีผลกับการทำงานของพนักงานอย่างมาก ถ้าเราต้องทำงานกับหัวหน้าที่ไม่มีเหตุผล เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ไม่รับฟังลูกน้อง ชอบโยนภาระมาให้ เมื่อเกิดปัญหาก็หายหน้า พึ่งพาอะไรไม่ได้ และไม่เคยช่วยเหลือในเวลาที่ลูกน้องต้องการ ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกแย่ หงุดหงิดและสับสนกับการทำงานที่ไม่มีคนให้คำแนะนำ ต้องรับภาระหนักขึ้น และพากันหมดไฟในการทำงานได้
7. ไม่มีพื้นที่ให้พนักงานทำผิดพลาด
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในการทำงาน ดังนั้นบริษัทควรมีพื้นที่และโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้เมื่อทำผิด ล้มลง และลุกขึ้นใหม่ ไม่เสียเวลาไปกับการโทษใครและพยายามช่วยกันมองหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ถ้าความผิดพลาดคือสิ่งต้องห้ามสำหรับบริษัทของเรา เวลาพนักงานทำอะไรผิดพลาด แม้จะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะโดนตำหนิหรือต่อว่าอย่างรุนแรง และถูกเอาความผิดพลาดนั้นมาพูดตอกย้ำซ้ำ ๆ ให้พนักงานรู้สึกแย่ จมอยู่กับความผิด นี่ย่อมไม่ใช่สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทำงานอย่างแน่นอน ยิ่งบริษัทมีวัฒนธรรมที่ชอบต่อว่าและโทษคนทำผิด ก็ยิ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ในการทำงานที่แย่ลง เพราะอาจทำให้พนักงานมีพฤติกรรมชอบกลบเกลื่อนความผิด ซ่อนงานที่ตัวเองทำพลาดเอาไว้ ไม่ยอมบอกใคร หรือโยนความผิดให้กับพนักงานคนอื่นได้
8. องค์กรมองพนักงานเป็นเครื่องจักร
ถ้าบริษัทให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่าความเป็นอยู่ของพนักงาน ไม่มีความเห็นอกเห็นใจและใช้งานพนักงานเหมือนเครื่องจักร ต่อให้ติดธุระสำคัญหรือมีเหตุจำเป็นยังไง ป่วยหนักหรือสภาพร่างกายย่ำแย่แค่ไหนก็ต้องมาทำงานเพราะบริษัทไม่ยอมให้ลาเด็ดขาด นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าองค์กรไม่ได้แคร์อะไรเราเลย เมื่อไม่ใส่ใจและไม่ให้ค่ากับคุณภาพชีวิตของพนักงาน องค์กรประเภทนี้เป็น Toxic Workplace อย่างไม่ต้องสงสัย
9. ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเวลางานและเวลาส่วนตัว
ไม่ว่าใครก็ต้องการเวลาพักผ่อนและช่วงเวลาที่ไม่ต้องคิดถึงงาน แต่ถ้าเรายังถูกตามงานในเวลาที่เลิกงานแล้ว หรือโดนทวงงานแม้กระทั่งในวันหยุด อีกทั้งยังถูกบริษัทคาดหวังให้พร้อมตอบข้อความหรือรับโทรศัพท์นอกเวลาทำการด้วยแล้ว นี่ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าที่ทำงานของเราคือ Toxic Workplace รวมถึงแสดงให้เห็นด้วยว่าองค์กรของเราไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ทำให้พนักงานไม่มี Work-life Balance ขาดสมดุลในการใช้ชีวิต ซึ่งอาจสร้างความรำคาญใจ เหนื่อยล้า และนำไปสู่ภาวะ Burnout Syndrome หรือหมดไฟในการทำงานได้ในที่สุด
10. องค์กรเต็มไปด้วยพนักงานหมดไฟ
ถ้าองค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี แน่นอนว่าพนักงานก็ย่อมมีความสุขกับการทำงาน นำไปสู่การทำงานที่ Productive และมีชีวิตชีวา แต่ถ้าองค์กรของเราเต็มไปด้วยพนักงานที่ทำงานกันแบบซังกะตาย ไม่ใส่ใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำงานแบบขอไปที ขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และไม่มีใครสนใจที่จะพัฒนาทักษะในการทำงานอีกต่อไป ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเลยว่าองค์กรของเรามีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการทำงาน ถ้าเราต้องทำงานในบรรยากาศแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเราลดลง ปิดโอกาสในการเติบโตของตัวเอง และหมดไฟตามคนอื่น ๆ ไป
เวลาที่เราใช้ไปกับการทำงานในแต่ละวันนั้นไม่ใช่ระยะเวลาสั้น ๆ ถ้าที่ทำงานของเรามีลักษณะเป็น Toxic Workplace นั่นก็แปลว่าเราต้องพบเจอกับความ Toxic ชวนประสาทเสียและรบกวนจิตใจเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกวัน วันละหลายชั่วโมง วนเวียนไม่สิ้นสุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้นเมื่อเราพบว่าออฟฟิศของเราไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแต่เป็นแหล่งเพาะพิษร้าย เราก็ต้องเซฟใจตัวเองและหาวิธีรับมือหรือแก้ไขความ Toxic นี้ เพราะถ้าเราไม่หาวิธีจัดการตัวเองหรือจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ผลกระทบก็จะตกอยู่ที่สภาพจิตใจของเราที่จะพังเอง
10 สัญญาณบอกว่าที่ทำงานของเราเป็นพิษ (Toxic Workplace)
กระทู้นี้ JobThai Tips เอา 10 เช็กลิสต์สัญญาณอันตรายที่เตือนว่าออฟฟิศของเราอาจเป็นภัยร้ายต่อจิตใจมาฝาก ลองมาเช็กไปพร้อม ๆ กันค่ะ
1. พนักงานลาออกบ่อย
การลาออกเป็นเรื่องธรรมดาของคนทำงาน แต่ถ้าเราเข้ามาทำงานแล้วพบว่าบริษัทมี Turnover Rate หรืออัตราการลาออกของพนักงานที่สูงผิดปกติ พนักงานลาออกติดกันถี่ ๆ ในระยะเวลาไม่กี่เดือน นี่ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าที่นี่มีอะไรบางอย่างที่เป็นปัญหา ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการทำงาน วิธีการสื่อสาร การบริหารจัดการภายใน วัฒนธรรมองค์กร หรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ดังนั้นถ้าพบว่าพนักงานในบริษัทหลายคนทำงานได้ไม่นานก็ลาออก เราควรสังเกตดูต่อไปว่ามีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่ทำให้พนักงานลาออกบ่อย เพื่อประเมินว่าออฟฟิศของเราใช่ Toxic Workplace หรือเปล่า
2. การสื่อสารภายในองค์กรไม่มีประสิทธิภาพ (Poor Communication)
การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพนั้นก็มีหลายรูปแบบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารกันน้อย ไม่พูดคุยกันเมื่อเกิดปัญหา การสื่อสารอะไรไม่ชัดเจน สร้างความสับสนให้กับคนฟัง การสื่อสารกับพนักงานแต่ละคนไม่ตรงกัน ทำให้ได้รับสารคนละแบบ สร้างความเข้าใจผิด ๆ ให้กับพนักงาน หรือการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานแบบ Passive-aggressive ไม่ยอมพูดอะไรตรง ๆ ซ่อนความไม่พอใจเอาไว้ภายใน หากเราต้องทำงานในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ไปนาน ๆ แน่นอนว่าประสิทธิภาพในการทำงานย่อมลดลง การจัดการกับงานชิ้นหนึ่งใช้เวลานานขึ้น รวมถึงทำให้เรารู้สึกหงุดหงิดและบั่นทอนจิตใจตลอดการทำงานได้ ถ้าบริษัทไหนมีการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ นั้นอาจทำให้การทำงานออกมาไม่ดีอย่างที่ตั้งเป้าไว้
3. พนักงานชอบซุบซิบนินทากันและกัน
ลองจินตนาการดูว่าถ้าเราต้องทำงานอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนที่เอาแต่ซุบซิบนินทากันตลอดเวลา พนักงานคอยจับกลุ่มเล่าเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ หรือเรื่องส่วนตัวของพนักงานคนอื่นทุกวี่วัน และวันดีคืนดีเราก็อาจตกเป็นขี้ปากหรือกลายเป็นประเด็นในวงสนทนาของคนเหล่านี้ด้วยเหมือนกัน การทำงานในบริษัทที่พนักงานมีพฤติกรรมแบบนี้ก็จะเต็มไปด้วยความหวาดระแวง ส่งผลกระทบต่อทีมเวิร์กโดยรวมเพราะขาดความเชื่อใจกันและกัน รวมถึงทำให้เราเสียสุขภาพจิตตลอดการทำงานอย่างแน่นอน
4. มีการกลั่นแกล้งรังแกกัน (Bullying) หรือการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)
นอกจากพฤติกรรมซุบซิบนินทา จ้องจับผิดกันและกันแล้ว การกลั่นแกล้งรังแกกันและการคุกคามทางเพศในออฟฟิศก็ถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนสำคัญที่บ่งบอกว่าที่ทำงานของเราคือ Toxic Workplace เพราะถ้าเป็นบริษัทที่มีการจัดการพนักงานที่ดี ย่อมไม่มีทางปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในออฟฟิศแน่ ๆ ถ้าที่เราอยู่หลับหูหลับตาปล่อยให้มีการกลั่นแกล้งกันในออฟฟิศ เช่น รวมหัวกันเมินพนักงานคนใดคนหนึ่งอย่างตั้งใจ พูดจาล้อเลียนเสียดสีพนักงานจนทำให้เกิดความอับอายและรู้สึกแย่จากเพศสภาพหรือรูปร่างหน้าตา เลือกปฏิบัติและประพฤติต่อกันแบบไม่ให้เกียรติอย่างเห็นได้ชัด หรือปล่อยให้มีการคุกคามทางเพศกันระหว่างพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางวาจาอย่างการพูดแซวหรือแทะโลม การคุกคามทางสายตาอย่างการจ้องมองเรือนร่างของอีกฝ่ายจนทำให้เกิดความไม่สบายใจ หรือการคุกคามทางร่างกาย เช่น การแตะเนื้อต้องตัวโดยที่อีกฝ่ายไม่เต็มใจหรือยินยอม ก็มั่นใจได้เลยว่าที่นี่ไม่ใช่ Safe Zone หรือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการทำงานแน่นอน
5. การเมืองในที่ทำงาน
ต่อให้มีความมุ่งมั่นกับการทำงานแค่ไหน แต่ถ้าเข้ามาแล้วพบว่าบริษัทมีการแบ่งฝักฝ่าย เล่นพรรคพวก ชิงดีชิงเด่นและใช้อำนาจภายในออฟฟิศในทางที่ผิด เช่น หัวหน้าแผนกนี้ไม่ถูกกับหัวหน้าแผนกนั้น ก็เลยสั่งห้ามลูกน้องในแผนกตัวเองไม่ให้ไปพูดคุยหรือช่วยงานคนต่างแผนก ถ้าไม่ทำตามก็จะถูกเขม่น โดนเพิ่มงานให้อย่างไม่มีเหตุผล หรือโดนหัวหน้าเอาการประเมินผลงานประจำปีมาข่มขู่ต่อรอง ไม่ว่าใครก็คงรู้สึกไม่ชอบและไม่มีความสุขกับการทำงานแน่นอน แทนที่จะช่วยกันยกระดับการทำงานและพัฒนาองค์กร ก็ต้องมานั่งกังวลว่าตัวเองจะโดนใช้เป็นเครื่องมือในเกมการเมืองนี้หรือเปล่า หากเลือกข้างผิด ชีวิตก็อาจดิ่งลงเหวได้ พอจะวางตัวเป็นกลางก็ต้องทนรับแรงกดดันจากฝ่ายอื่น ๆ อีก เรียกได้ว่าเป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นพิษต่อจิตใจและสร้างความปวดหัวให้กับพนักงานสุด ๆ
6. หัวหน้างานขาดความเป็นผู้นำ
หัวหน้างานที่ดีควรจะเป็นหัวหน้าที่มีความเป็นผู้นำ รับฟังลูกน้อง คอยให้คำปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา แต่ถ้าเราพบว่าหัวหน้างานของเราไม่มีคุณสมบัติเหล่านี้เลย เรียกได้ว่าตรงข้ามทั้งหมด ก็อาจเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังตกอยู่ใน Toxic Workplace เพราะบทบาทของหัวหน้านั้นมีผลกับการทำงานของพนักงานอย่างมาก ถ้าเราต้องทำงานกับหัวหน้าที่ไม่มีเหตุผล เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ไม่รับฟังลูกน้อง ชอบโยนภาระมาให้ เมื่อเกิดปัญหาก็หายหน้า พึ่งพาอะไรไม่ได้ และไม่เคยช่วยเหลือในเวลาที่ลูกน้องต้องการ ก็อาจทำให้พนักงานรู้สึกแย่ หงุดหงิดและสับสนกับการทำงานที่ไม่มีคนให้คำแนะนำ ต้องรับภาระหนักขึ้น และพากันหมดไฟในการทำงานได้
7. ไม่มีพื้นที่ให้พนักงานทำผิดพลาด
ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในการทำงาน ดังนั้นบริษัทควรมีพื้นที่และโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้เมื่อทำผิด ล้มลง และลุกขึ้นใหม่ ไม่เสียเวลาไปกับการโทษใครและพยายามช่วยกันมองหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ถ้าความผิดพลาดคือสิ่งต้องห้ามสำหรับบริษัทของเรา เวลาพนักงานทำอะไรผิดพลาด แม้จะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะโดนตำหนิหรือต่อว่าอย่างรุนแรง และถูกเอาความผิดพลาดนั้นมาพูดตอกย้ำซ้ำ ๆ ให้พนักงานรู้สึกแย่ จมอยู่กับความผิด นี่ย่อมไม่ใช่สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทำงานอย่างแน่นอน ยิ่งบริษัทมีวัฒนธรรมที่ชอบต่อว่าและโทษคนทำผิด ก็ยิ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ในการทำงานที่แย่ลง เพราะอาจทำให้พนักงานมีพฤติกรรมชอบกลบเกลื่อนความผิด ซ่อนงานที่ตัวเองทำพลาดเอาไว้ ไม่ยอมบอกใคร หรือโยนความผิดให้กับพนักงานคนอื่นได้
8. องค์กรมองพนักงานเป็นเครื่องจักร
ถ้าบริษัทให้ความสำคัญกับการทำงานมากกว่าความเป็นอยู่ของพนักงาน ไม่มีความเห็นอกเห็นใจและใช้งานพนักงานเหมือนเครื่องจักร ต่อให้ติดธุระสำคัญหรือมีเหตุจำเป็นยังไง ป่วยหนักหรือสภาพร่างกายย่ำแย่แค่ไหนก็ต้องมาทำงานเพราะบริษัทไม่ยอมให้ลาเด็ดขาด นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าองค์กรไม่ได้แคร์อะไรเราเลย เมื่อไม่ใส่ใจและไม่ให้ค่ากับคุณภาพชีวิตของพนักงาน องค์กรประเภทนี้เป็น Toxic Workplace อย่างไม่ต้องสงสัย
9. ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างเวลางานและเวลาส่วนตัว
ไม่ว่าใครก็ต้องการเวลาพักผ่อนและช่วงเวลาที่ไม่ต้องคิดถึงงาน แต่ถ้าเรายังถูกตามงานในเวลาที่เลิกงานแล้ว หรือโดนทวงงานแม้กระทั่งในวันหยุด อีกทั้งยังถูกบริษัทคาดหวังให้พร้อมตอบข้อความหรือรับโทรศัพท์นอกเวลาทำการด้วยแล้ว นี่ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าที่ทำงานของเราคือ Toxic Workplace รวมถึงแสดงให้เห็นด้วยว่าองค์กรของเราไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ทำให้พนักงานไม่มี Work-life Balance ขาดสมดุลในการใช้ชีวิต ซึ่งอาจสร้างความรำคาญใจ เหนื่อยล้า และนำไปสู่ภาวะ Burnout Syndrome หรือหมดไฟในการทำงานได้ในที่สุด
10. องค์กรเต็มไปด้วยพนักงานหมดไฟ
ถ้าองค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี แน่นอนว่าพนักงานก็ย่อมมีความสุขกับการทำงาน นำไปสู่การทำงานที่ Productive และมีชีวิตชีวา แต่ถ้าองค์กรของเราเต็มไปด้วยพนักงานที่ทำงานกันแบบซังกะตาย ไม่ใส่ใจกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทำงานแบบขอไปที ขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ และไม่มีใครสนใจที่จะพัฒนาทักษะในการทำงานอีกต่อไป ก็แสดงให้เห็นได้ชัดเลยว่าองค์กรของเรามีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะกับการทำงาน ถ้าเราต้องทำงานในบรรยากาศแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ก็อาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของเราลดลง ปิดโอกาสในการเติบโตของตัวเอง และหมดไฟตามคนอื่น ๆ ไป
เวลาที่เราใช้ไปกับการทำงานในแต่ละวันนั้นไม่ใช่ระยะเวลาสั้น ๆ ถ้าที่ทำงานของเรามีลักษณะเป็น Toxic Workplace นั่นก็แปลว่าเราต้องพบเจอกับความ Toxic ชวนประสาทเสียและรบกวนจิตใจเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ ทุกวัน วันละหลายชั่วโมง วนเวียนไม่สิ้นสุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่นอน ดังนั้นเมื่อเราพบว่าออฟฟิศของเราไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยแต่เป็นแหล่งเพาะพิษร้าย เราก็ต้องเซฟใจตัวเองและหาวิธีรับมือหรือแก้ไขความ Toxic นี้ เพราะถ้าเราไม่หาวิธีจัดการตัวเองหรือจัดการกับสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ผลกระทบก็จะตกอยู่ที่สภาพจิตใจของเราที่จะพังเอง