ดับ15ศพ โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่มต่ำกว่าพันครั้งแรก รักษาตัวในรพ. 678 ราย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7260281
หายป่วยสูงกว่าติดเชื้อมาก 1,966 ราย ดับ15ศพ โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่มต่ำกว่าพันคนครั้งแรก รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 678 ราย
วันที่ 12 ก.ย.65 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 698 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 698 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,444,809 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,966 ราย หายป่วยสะสม 2,455,713 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 11,483 ราย เสียชีวิต 15 ราย เสียชีวิตสะสม 10,856 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 678 ราย
เผือกร้อน ดอกเบี้ยขาขึ้น กังขาถ่วงเงินเฟ้อหรือถ่วงธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3556988
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
เผือกร้อน ดอกเบี้ยขาขึ้น กังขาถ่วงเงินเฟ้อหรือถ่วงธุรกิจ
เมื่อสถานการ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก คลี่คลายมากขึ้น หลายประเทศกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติเกือบ 100% รวมถึงเปิดทางให้เศรษฐกิจค่อยๆ เติบโต แต่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังกดดันต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะราคาพลังงานปรับตัวขึ้นขีดสุดและรัสเซียเป็นแหล่งส่งออกน้ำมันรายใหญ่ เมื่อต้นทุนด้านพลังงานที่หลายๆ ประเทศต้องนำเข้ามีราคาสูงขึ้นเท่าตัวก็ทำให้ราคาสินค้าถูกสูบฉีดให้แพงตาม และเป็นที่มาของภัยแฝง “เงินเฟ้อ”
แม้กระทั่งประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ ต้องเผชิญกับเงินเฟ้อสูงถึง 9% ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงจากที่คาดการณ์ว่าในการประชุมเดือนกันยายนนี้ จะขึ้นอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ยิ่งเป็นแรงกระเพื่อมให้นานาประเทศต้องเร่งปรับดอกเบี้ยตาม เพื่อรักษาส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ให้ห่างจนกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน ค่าเงิน และคงเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศเอาไว้เพื่อหนีตายให้ได้ในสถานการณ์นี้
⦁ ธุรกิจผวาดอกเบี้ยขาขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปรับดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% ของเฟดติดต่อกันเป็นแรงกดดันให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องคิดหนัก ท่ามกลางเศรษฐกิจภายในประเทศไม่สู้ดี ขณะที่ตัวการสำคัญอย่างเงินเฟ้อกดดันให้ราคาสินค้าแพง จนก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า อะไรๆ ก็ขึ้น อะไรๆ ก็แพง เพราะประชาชนเผชิญกับภาวะค่าครองชีพสูงขึ้นทุกวัน ด้วยเงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณยืนระดับ 7% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ด้วยเหตุนี้ แบงก์ชาติจึงต้องหยุดคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะพุ่งขึ้นและคงเสถียรภาพทางการเงินประเทศ ด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับจาก 0.50% สู่ระดับ 0.75% หลังประวิงเวลามานาน เพราะต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
แต่การปรับดอกเบี้ย ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ภาคธุรกิจกังวล สะท้อนจากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนสิงหาคม 2565 ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธปท. สะท้อนผู้ประกอบการส่วนใหญ่ กังวลสูงสุดในเรื่องเงินเฟ้อและแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะเร่งต้นทุนผู้ประกอบการและอาจต้องส่งผ่านราคาไปสู่สินค้าได้ ขณะเดียวกันการใช้จ่ายผู้บริโภคแผ่วจากราคาสินค้าแพงยังเป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ค่าครองชีพโต ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนบวมเป่ง สุดท้ายปัญหาวกกลับมาที่เงินเฟ้ออยู่ในเศรษฐกิจลุ่มๆ ดอนๆ ดังนั้น ต้องขีดเส้นใต้ว่าโจทย์การขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบว่าการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะเข้ามาหยุดเงินเฟ้อ หรือหยุดเศรษฐกิจ หรือจะเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปในทิศทางใดก็ยังต้องช่วยกันลุ้น
อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่มีตัวแทนจากหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย หยิบยกเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นหารือบนโต๊ะ และประสานเสียงคัดค้านนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้น อ้างเหตุจะกลายเป็นชนวนให้ธุรกิจและเศรษฐกิจในระยะต่อไปฟื้นตัวช้าไปอีก 1-2 ปี ถึงตอนนี้ภาคเอกชนกังขาว่าขึ้นดอกเบี้ยช่วยต้นทุนธุรกิจ หรือถ่วงธุรกิจกันแน่
⦁ แนะดอกเบี้ยต้องสมดุลเงินเฟ้อ
นาย
ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ระบุเรื่องทิศทางดอกเบี้ยของไทยว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าขึ้นดอกเบี้ยช้าไปและไม่สามารถคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบได้และระยะถัดไปต้องขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงจะสร้างภาระทั้งกับภาคธุรกิจ ประชาชน และรัฐ เพราะคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ เนื่องจากในอดีตเคยมีกรณีที่แบงก์ชาติตามเงินเฟ้อไม่ทันและไปขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าภายหลัง ทั้งๆ ที่ควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ผลคือกระทบรุนแรงและต้องแก้ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยให้สูงกว่าเงินเฟ้อ ย้อนดูปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ระดับ 0.75% เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ 7.86% คาดว่าดอกเบี้ยต่ำไม่สามารถดึงเงินเฟ้อชะลอลงได้ อย่างไรก็ตาม จากที่แบงก์ชาติคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้ากรอบคาดการณ์ในปี 2566 จึงทำนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความกังวลยังคงมีถ้าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อาจเกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งปัญหาเกิดจากแบงก์ชาติทำนโยบายช้าเกินไป
⦁ หอค้าชี้ขึ้นดอกเบี้ยศก.ไม่ซึม
ด้าน นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า ดอกเบี้ยถูกปรับขึ้นช่วงปลายปีนี้ ถ้ามีการปรับอีกครั้งในเดือนกันยายน โดยจะวัดผลช่วง 3 เดือนสุดท้าย ซึ่งการปรับดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวลงและมีการดึงเงินออกจากระบบการจับจ่ายของประเทศในช่วงเวลา 1 ปี ประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จากการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% และถ้าขึ้นอีกที่ระดับ 0.25% ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น 0.50% จะดึงเงินออกจากระบบเพียง 1 ไตรมาส เพราะขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลายปี ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับโครงการคนละครึ่งเฟส 5 มีคนลงทะเบียน 20 กว่าล้านคนรัฐลงทุนประมาณ 1.5-2 หมื่นล้านบาท เม็ดเงินสะพัด 3-4 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เงินที่ดึงออกและเงินที่ถูกเติมเข้าไปไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจมาก อีกทั้งไตรมาส 4/2565 อาจมีนักท่องเที่ยวถึง 1-1.5 ล้านคนต่อเดือน เม็ดเงินเข้ามาเติมในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ฉะนั้น การขึ้นดอกเบี้ยไม่มีผลทำให้เศรษฐกิจซึมตัวลง คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3-3.5% ในไตรมาส 4/2565
⦁ ไทยการเงินแข็งความเสี่ยงต่ำ
ขณะที่ นาย
นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงการเคลื่อนย้ายของเงินค่อนข้างน้อย แม้สหรัฐถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำและนักลงทุนนำเงินไปลงทุนจะได้ผลตอบแทนแน่นอน ขณะเดียวกันสหรัฐมีเงินเฟ้อสูงและคาดว่าดอกเบี้ยจะดีดไปถึง 4% ขณะที่ดอกเบี้ยไทยยังต่ำ แต่ไทยเป็นประเทศค่อนข้างมีภาพด้านมหภาคค่อนข้างดี เนื่องจากมีหนี้สาธารณะน้อย การส่งออกดีและนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากขึ้น ดังนั้น นักลงทุนมองว่าเงินบาทเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยกลุ่มหนึ่ง เช่น ต่อให้มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกว้างขึ้นนักลงทุนยังคงไม่หนีออกไป เพราะไทยได้รับความเชื่อถือ เป็นต้น
ถ้าเป็นลักษณะนี้ การที่แบงก์ชาติไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยก็มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะเข้ามาชะลอไม่ให้เงินไหลออก ดังนั้น เศรษฐกิจไทยก็ยังมีความปลอดภัย และการที่ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยช่วยหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวเพราะเมื่อแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย หรือขึ้นดอกเบี้ยเกินไป จะเป็นการแตะเบรกเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้ ต้องจับตาการไหลออกของเงิน กรณีถ้าไหลออกรวดเร็วเกินไป หรือเงินบาทอ่อนค่ากระโดดสูงถึง 38-40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ตามที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ถ้าไม่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ คาดว่าการไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นนโยบายที่เหมาะสม
ในอันใกล้นี้ “ดอกเบี้ยขาขึ้น” จึงเป็นปัจจัยแซงหน้า ปัจจัยอื่นๆ ทั้งต้นทุนสูง ราคาพลังงานดันขนส่งแพง รวมถึงผลกระทบจากฝนชุกและน้ำท่วมพื้นที่ชั้นในเมืองกรุง รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงงานรายวันในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งล้วนที่ทุกฝ่ายเตรียมใจไว้แล้ว ดังนั้น ช่วงที่เหลือกว่า 3 เดือนสุดท้ายปีนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเลือกใช้ยาขนานใด ที่ไม่ก่อปัญหาเพิ่มกับต้นทุนธุรกิจและกดเศรษฐกิจให้ฝืดลง
โฆษกพท.สับรัฐไม่นำบทเรียน54มารับมือน้ำท่วมกรุง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_407768/
โฆษกเพื่อไทยสับรัฐ ไม่นำบทเรียนปี54มารับมือน้ำท่วมกทม.ฉะ”ประวิตร”ดีแต่สร้างภาพขอเรือผลักดันน้ำ 1 เดือนยังไม่ได้
นางสาว
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กรุงทเพมหานคร เขตลาดกระบัง และโฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 และกำลังจะเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดกระบัง ในจุดที่ไม่เคยท่วมก็ท่วม และการเตรียมการไม่เคยมีเลยสักครั้ง ซึ่งตนได้เคยอภิปรายในสภาแล้วว่าจะต้องมีการลอกท่อ ลอกคลอง แต่กลับไม่มีการเตรียมพร้อมในด้านนี้เลย และเมื่อน้ำท่วมแล้วจะดำเนินการแก้ไขแต่ละอย่างก็ลำบาก เพราะว่าทรัพยากรก็ถูกแย่งชิงกัน อย่างเช่นเครื่องสูบน้ำที่ดำเนินการขอไปก็ไม่ได้ตามที่ประสานขอไป
กระสอบทรายก็มีให้แค่จำนวนหนึ่งเท่านั้นไม่เพียงพอกับความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งตนก็ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการเข้าไปติดตามสถานการณ์น้ำแต่ไม่มีการดำเนินแก้ไข
ทั้งนี้นางสาว
ธีรรัตน์ กล่าวต่อว่า ทางพล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรีได้มีการสอบถามทางผู้ว่ากทม.ว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือไม่ ตนจึงได้มีการประสานเรือผลักน้ำของกองทัพเรือประมาณเกือบ 1 เดือน ผ่านสภากทม.ไป
แต่วันนี้เรือก็ยังไม่มา จึงเป็นความอึดอัดที่รู้วิธีแก้ปัญหาแต่ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งรู้สึกเสียดายเวลาที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 มา และถ้านำบทเรียนตรงนั้นมาดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหาก็จะดีกว่านี้ แต่กลับไม่มีการเตรียมการจัดการน้ำไว้เลย
ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเองก็ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้แค่เบื้องต้น แต่ตนอยากฝากไปยังภาครัฐผู้ที่เกี่ยวข้องขอให้การแก้ไขปัญหาที่เคยได้ประสานไปนั้นให้รีบดำเนินการโดยเร็วที่สุด
JJNY : ดับ15 ติดเชื้อเพิ่มต่ำกว่าพัน│เผือกร้อนดอกเบี้ยขาขึ้น│พท.สับรัฐไม่นำบทเรียน54รับมือน้ำท่วม│หวั่นเส้นเขตแดนเปลี่ยน
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7260281
หายป่วยสูงกว่าติดเชื้อมาก 1,966 ราย ดับ15ศพ โควิดวันนี้ ติดเชื้อเพิ่มต่ำกว่าพันคนครั้งแรก รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 678 ราย
วันที่ 12 ก.ย.65 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 12 กันยายน 2565 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 698 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 698 ราย ผู้ป่วยสะสม 2,444,809 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 1,966 ราย หายป่วยสะสม 2,455,713 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 11,483 ราย เสียชีวิต 15 ราย เสียชีวิตสะสม 10,856 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 678 ราย
เผือกร้อน ดอกเบี้ยขาขึ้น กังขาถ่วงเงินเฟ้อหรือถ่วงธุรกิจ
https://www.matichon.co.th/economy/news_3556988
ผู้เขียน ทีมข่าวเศรษฐกิจ
เผือกร้อน ดอกเบี้ยขาขึ้น กังขาถ่วงเงินเฟ้อหรือถ่วงธุรกิจ
เมื่อสถานการ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลก คลี่คลายมากขึ้น หลายประเทศกำลังกลับเข้าสู่ภาวะปกติเกือบ 100% รวมถึงเปิดทางให้เศรษฐกิจค่อยๆ เติบโต แต่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนยังกดดันต่อเศรษฐกิจทั่วโลก เพราะราคาพลังงานปรับตัวขึ้นขีดสุดและรัสเซียเป็นแหล่งส่งออกน้ำมันรายใหญ่ เมื่อต้นทุนด้านพลังงานที่หลายๆ ประเทศต้องนำเข้ามีราคาสูงขึ้นเท่าตัวก็ทำให้ราคาสินค้าถูกสูบฉีดให้แพงตาม และเป็นที่มาของภัยแฝง “เงินเฟ้อ”
แม้กระทั่งประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ ต้องเผชิญกับเงินเฟ้อสูงถึง 9% ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงจากที่คาดการณ์ว่าในการประชุมเดือนกันยายนนี้ จะขึ้นอีก 0.75% สู่ระดับ 3.00-3.25% ยิ่งเป็นแรงกระเพื่อมให้นานาประเทศต้องเร่งปรับดอกเบี้ยตาม เพื่อรักษาส่วนต่างดอกเบี้ยไม่ให้ห่างจนกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุน ค่าเงิน และคงเสถียรภาพทางการเงินระหว่างประเทศเอาไว้เพื่อหนีตายให้ได้ในสถานการณ์นี้
⦁ ธุรกิจผวาดอกเบี้ยขาขึ้น
อย่างไรก็ตาม การปรับดอกเบี้ยครั้งละ 0.75% ของเฟดติดต่อกันเป็นแรงกดดันให้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องคิดหนัก ท่ามกลางเศรษฐกิจภายในประเทศไม่สู้ดี ขณะที่ตัวการสำคัญอย่างเงินเฟ้อกดดันให้ราคาสินค้าแพง จนก้าวสู่ยุคที่เรียกว่า อะไรๆ ก็ขึ้น อะไรๆ ก็แพง เพราะประชาชนเผชิญกับภาวะค่าครองชีพสูงขึ้นทุกวัน ด้วยเงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณยืนระดับ 7% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ด้วยเหตุนี้ แบงก์ชาติจึงต้องหยุดคาดการณ์เงินเฟ้อที่จะพุ่งขึ้นและคงเสถียรภาพทางการเงินประเทศ ด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขยับจาก 0.50% สู่ระดับ 0.75% หลังประวิงเวลามานาน เพราะต้องการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
แต่การปรับดอกเบี้ย ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ภาคธุรกิจกังวล สะท้อนจากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกประจำเดือนสิงหาคม 2565 ของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ร่วมกับ ธปท. สะท้อนผู้ประกอบการส่วนใหญ่ กังวลสูงสุดในเรื่องเงินเฟ้อและแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะเร่งต้นทุนผู้ประกอบการและอาจต้องส่งผ่านราคาไปสู่สินค้าได้ ขณะเดียวกันการใช้จ่ายผู้บริโภคแผ่วจากราคาสินค้าแพงยังเป็นตัวหล่อเลี้ยงให้ค่าครองชีพโต ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนบวมเป่ง สุดท้ายปัญหาวกกลับมาที่เงินเฟ้ออยู่ในเศรษฐกิจลุ่มๆ ดอนๆ ดังนั้น ต้องขีดเส้นใต้ว่าโจทย์การขึ้นดอกเบี้ยยังเป็นคำถามที่รอคอยคำตอบว่าการใช้เครื่องมือดังกล่าวจะเข้ามาหยุดเงินเฟ้อ หรือหยุดเศรษฐกิจ หรือจะเข้ามาช่วยให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปในทิศทางใดก็ยังต้องช่วยกันลุ้น
อีกทั้งในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ที่มีตัวแทนจากหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย หยิบยกเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ยขึ้นหารือบนโต๊ะ และประสานเสียงคัดค้านนโยบายดอกเบี้ยขาขึ้น อ้างเหตุจะกลายเป็นชนวนให้ธุรกิจและเศรษฐกิจในระยะต่อไปฟื้นตัวช้าไปอีก 1-2 ปี ถึงตอนนี้ภาคเอกชนกังขาว่าขึ้นดอกเบี้ยช่วยต้นทุนธุรกิจ หรือถ่วงธุรกิจกันแน่
⦁ แนะดอกเบี้ยต้องสมดุลเงินเฟ้อ
นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ระบุเรื่องทิศทางดอกเบี้ยของไทยว่า การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าขึ้นดอกเบี้ยช้าไปและไม่สามารถคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบได้และระยะถัดไปต้องขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงจะสร้างภาระทั้งกับภาคธุรกิจ ประชาชน และรัฐ เพราะคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ เนื่องจากในอดีตเคยมีกรณีที่แบงก์ชาติตามเงินเฟ้อไม่ทันและไปขึ้นดอกเบี้ยสูงกว่าภายหลัง ทั้งๆ ที่ควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ผลคือกระทบรุนแรงและต้องแก้ด้วยการขึ้นดอกเบี้ยให้สูงกว่าเงินเฟ้อ ย้อนดูปัจจุบันดอกเบี้ยอยู่ระดับ 0.75% เมื่อเทียบกับเงินเฟ้อ 7.86% คาดว่าดอกเบี้ยต่ำไม่สามารถดึงเงินเฟ้อชะลอลงได้ อย่างไรก็ตาม จากที่แบงก์ชาติคาดว่าเงินเฟ้อจะเข้ากรอบคาดการณ์ในปี 2566 จึงทำนโยบายการเงินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ความกังวลยังคงมีถ้าสถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อาจเกิดปัญหาในอนาคต ซึ่งปัญหาเกิดจากแบงก์ชาติทำนโยบายช้าเกินไป
⦁ หอค้าชี้ขึ้นดอกเบี้ยศก.ไม่ซึม
ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ กล่าวว่า ดอกเบี้ยถูกปรับขึ้นช่วงปลายปีนี้ ถ้ามีการปรับอีกครั้งในเดือนกันยายน โดยจะวัดผลช่วง 3 เดือนสุดท้าย ซึ่งการปรับดอกเบี้ยครั้งละ 0.25% เศรษฐกิจมีโอกาสชะลอตัวลงและมีการดึงเงินออกจากระบบการจับจ่ายของประเทศในช่วงเวลา 1 ปี ประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น จากการขึ้นดอกเบี้ยที่ 0.25% และถ้าขึ้นอีกที่ระดับ 0.25% ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้น 0.50% จะดึงเงินออกจากระบบเพียง 1 ไตรมาส เพราะขึ้นดอกเบี้ยช่วงปลายปี ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับโครงการคนละครึ่งเฟส 5 มีคนลงทะเบียน 20 กว่าล้านคนรัฐลงทุนประมาณ 1.5-2 หมื่นล้านบาท เม็ดเงินสะพัด 3-4 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เงินที่ดึงออกและเงินที่ถูกเติมเข้าไปไม่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจมาก อีกทั้งไตรมาส 4/2565 อาจมีนักท่องเที่ยวถึง 1-1.5 ล้านคนต่อเดือน เม็ดเงินเข้ามาเติมในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ฉะนั้น การขึ้นดอกเบี้ยไม่มีผลทำให้เศรษฐกิจซึมตัวลง คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3-3.5% ในไตรมาส 4/2565
⦁ ไทยการเงินแข็งความเสี่ยงต่ำ
ขณะที่ นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความเสี่ยงการเคลื่อนย้ายของเงินค่อนข้างน้อย แม้สหรัฐถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำและนักลงทุนนำเงินไปลงทุนจะได้ผลตอบแทนแน่นอน ขณะเดียวกันสหรัฐมีเงินเฟ้อสูงและคาดว่าดอกเบี้ยจะดีดไปถึง 4% ขณะที่ดอกเบี้ยไทยยังต่ำ แต่ไทยเป็นประเทศค่อนข้างมีภาพด้านมหภาคค่อนข้างดี เนื่องจากมีหนี้สาธารณะน้อย การส่งออกดีและนักท่องเที่ยวเข้าประเทศมากขึ้น ดังนั้น นักลงทุนมองว่าเงินบาทเป็นสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยกลุ่มหนึ่ง เช่น ต่อให้มีส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกว้างขึ้นนักลงทุนยังคงไม่หนีออกไป เพราะไทยได้รับความเชื่อถือ เป็นต้น
ถ้าเป็นลักษณะนี้ การที่แบงก์ชาติไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยก็มีน้ำหนักเพียงพอ เพราะการฟื้นตัวเศรษฐกิจจะเข้ามาชะลอไม่ให้เงินไหลออก ดังนั้น เศรษฐกิจไทยก็ยังมีความปลอดภัย และการที่ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยช่วยหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวเพราะเมื่อแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ย หรือขึ้นดอกเบี้ยเกินไป จะเป็นการแตะเบรกเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้ ต้องจับตาการไหลออกของเงิน กรณีถ้าไหลออกรวดเร็วเกินไป หรือเงินบาทอ่อนค่ากระโดดสูงถึง 38-40 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ตามที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ถ้าไม่เกิดสถานการณ์เช่นนี้ คาดว่าการไม่เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นนโยบายที่เหมาะสม
ในอันใกล้นี้ “ดอกเบี้ยขาขึ้น” จึงเป็นปัจจัยแซงหน้า ปัจจัยอื่นๆ ทั้งต้นทุนสูง ราคาพลังงานดันขนส่งแพง รวมถึงผลกระทบจากฝนชุกและน้ำท่วมพื้นที่ชั้นในเมืองกรุง รวมถึงการปรับขึ้นค่าแรงงานรายวันในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งล้วนที่ทุกฝ่ายเตรียมใจไว้แล้ว ดังนั้น ช่วงที่เหลือกว่า 3 เดือนสุดท้ายปีนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะเลือกใช้ยาขนานใด ที่ไม่ก่อปัญหาเพิ่มกับต้นทุนธุรกิจและกดเศรษฐกิจให้ฝืดลง
โฆษกพท.สับรัฐไม่นำบทเรียน54มารับมือน้ำท่วมกรุง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_407768/
โฆษกเพื่อไทยสับรัฐ ไม่นำบทเรียนปี54มารับมือน้ำท่วมกทม.ฉะ”ประวิตร”ดีแต่สร้างภาพขอเรือผลักดันน้ำ 1 เดือนยังไม่ได้
นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กรุงทเพมหานคร เขตลาดกระบัง และโฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงสถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 และกำลังจะเพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะพื้นที่ลาดกระบัง ในจุดที่ไม่เคยท่วมก็ท่วม และการเตรียมการไม่เคยมีเลยสักครั้ง ซึ่งตนได้เคยอภิปรายในสภาแล้วว่าจะต้องมีการลอกท่อ ลอกคลอง แต่กลับไม่มีการเตรียมพร้อมในด้านนี้เลย และเมื่อน้ำท่วมแล้วจะดำเนินการแก้ไขแต่ละอย่างก็ลำบาก เพราะว่าทรัพยากรก็ถูกแย่งชิงกัน อย่างเช่นเครื่องสูบน้ำที่ดำเนินการขอไปก็ไม่ได้ตามที่ประสานขอไป
กระสอบทรายก็มีให้แค่จำนวนหนึ่งเท่านั้นไม่เพียงพอกับความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งตนก็ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่าเจ้าหน้าที่รัฐมีการเข้าไปติดตามสถานการณ์น้ำแต่ไม่มีการดำเนินแก้ไข
ทั้งนี้นางสาวธีรรัตน์ กล่าวต่อว่า ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รักษาการนายกรัฐมนตรีได้มีการสอบถามทางผู้ว่ากทม.ว่าต้องการให้ช่วยอะไรหรือไม่ ตนจึงได้มีการประสานเรือผลักน้ำของกองทัพเรือประมาณเกือบ 1 เดือน ผ่านสภากทม.ไป
แต่วันนี้เรือก็ยังไม่มา จึงเป็นความอึดอัดที่รู้วิธีแก้ปัญหาแต่ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งรู้สึกเสียดายเวลาที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2554 มา และถ้านำบทเรียนตรงนั้นมาดำเนินการปรับปรุงแก้ปัญหาก็จะดีกว่านี้ แต่กลับไม่มีการเตรียมการจัดการน้ำไว้เลย
ซึ่งทางพรรคเพื่อไทยเองก็ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนได้แค่เบื้องต้น แต่ตนอยากฝากไปยังภาครัฐผู้ที่เกี่ยวข้องขอให้การแก้ไขปัญหาที่เคยได้ประสานไปนั้นให้รีบดำเนินการโดยเร็วที่สุด