โควิดวันนี้ สลด! ติดเชื้อดับเพิ่ม 17 ศพ ป่วยใหม่ยังทะลุพันราย ปอดอักเสบ 695 ราย
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7257970
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่กว่า 1,106 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 695 ราย เผยติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,106 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 1,106 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,443,018 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 1,201 ราย
หายป่วยสะสม 2,451,646 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 13,793 ราย จำแนกเป็น 7,474 ราย อยู่ในโรงพยาบาลสนาม 6,319 ราย เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 695 ราย และใช้ท่อช่วยหายใจ 348 ราย เสียชีวิต 17 ราย เสียชีวิตสะสม 10,822 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ด้านกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานเพิ่มเติมว่า มีผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK+) สัปดาห์ที่ 35 ระหว่าง 28 ส.ค. ถึง 3 ก.ย.65 จำนวน 131,139 ราย สะสม 7,832,514 คน จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบทรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 695 ราย
กรมภาษี เร่งหาช่องรีดเพิ่ม ปี’66 รัฐตั้งเป้ารายได้ 2.49 ล้านล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-1043322
ปีงบประมาณ 2565 จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ซึ่งการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง โดยกระทรวงการคลังคาดว่าจะจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายกว่า 20,000 ล้านบาท จากตัวเลขประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ 2.4 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2566 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 นี้เป็นต้นไป รัฐบาลได้ประมาณการรายได้ไว้ที่ 2.49 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ราว 90,000 ล้านบาท
สรรพากรรีดภาษีทะลุ 2 ล้านล้าน
โดย “
ลวรณ แสงสนิท” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ในปีงบฯ 2566 กรมได้รับเป้าหมายเก็บรายได้ที่ 2.029 ล้านล้านบาท มากกว่าปีงบประมาณ 2565 ที่ได้รับเป้าหมายที่ 1.876 ล้านล้านบาท จำนวน 1.53 แสนล้านบาท
สำหรับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษีนั้น ปัจจุบันกรมอยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติแล้ว
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นสัญญาระหว่างประเทศแบบพหุภาคี ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสทางภาษี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้ประเทศภาคีแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินของผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศให้กับประเทศคู่สัญญาเป็นรายปี ปีละ 1 ครั้ง ปัจจุบันมีภาคี 117 ประเทศ
โดยเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว ประเทศไทยจะเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินกับประเทศคู่สัญญาภายในเดือน ก.ย. 2566
“ที่ผ่านมา กรมได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ data analytic การประเมินกลุ่มเสี่ยง และติดตามอย่างใกล้ชิด ทำให้การจัดเก็บในปี 2565 เกินเป้าหมายไปพอสมควร ดังนั้น เป้าหมายในปี 2566 อยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการได้”
บี้ข้อมูลภาษีกันซุกเงินต่างแดน
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูล จะรวมถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ข้อมูลการฝากเงิน ทรัพย์สินในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ป้องกันเงินนอกกฎหมาย และไม่ให้เกิดการหลบเลี่ยงภาษีจากกลุ่มผู้มีรายได้ที่อยู่นอกประเทศ หรือมีการนำเงินออกไปต่างประเทศ เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบ
“ถ้าความร่วมมือดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะทำให้สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีคนไทยฝากเงินอยู่ ต้องรายงานข้อมูลการฝากเงินของคนไทยไปให้สรรพากรของประเทศต้นทาง ก่อนที่จะแจ้งกลับมาให้กรมสรรพากรไทยรับทราบ ในทางกลับกัน กรมสรรพากรไทยจะต้องรายงานข้อมูลการฝากเงินของชาวต่างชาติที่ฝากเงินในประเทศไทย ให้กับประเทศต้นทางที่เป็นเจ้าของสัญชาติเช่นกัน ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ตรวจสอบภาษีได้ดีขึ้น”
รอจังหวะเหมาะเก็บภาษีขายหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า กรมสรรพากรยังอยู่ระหว่างออกกฎหมายมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย โดยยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการดังกล่าว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้สรรพากรมีรายได้เพิ่ม จากภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการจัดเก็บภาษีขายหุ้นที่เลื่อนออกไปนั้น ยังต้องขึ้นกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และจะออกมาในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
สรรพสามิตหาช่องรีด 6 สินค้า
ขณะที่ “เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ” อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ในปีงบฯ 2566 สรรพสามิตได้รับเป้าหมายจัดเก็บรายได้ที่ 567,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณนี้ ที่มีเป้าหมายที่ 597,000 ล้านบาท หรือลดลงราว 30,000 ล้านบาท ซึ่งกรมจะเดินหน้าศึกษาการจัดเก็บภาษีเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ในสินค้า 6 ประเภท
ได้แก่ 1.น้ำมันไบไอเจ็ต 2.ไบไอพลาสติก 3.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 4.สุราและเบียร์แอลกอฮอล์ 0% 5.บุหรี่ไฟฟ้า และ 6.ภาษีคาร์บอน โดยตั้งเป้าว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายในปี 2565 นี้ ส่วนจะเริ่มเก็บภาษีเมื่อไหร่นั้น ต้องกำหนดพิกัดอัตราภาษีที่เหมาะสมก่อน
ทั้งนี้ สำหรับภาษีแบตเตอรี่ ปัจจุบันกรมสรรพสามิตจัดเก็บอยู่ที่ 8% แต่หากปรับโครงสร้างภาษี อาจจะยกเว้นภาษีให้แบตเตอรี่ที่รีไซเคิลได้ เป็นต้น เช่นเดียวกับภาษีเหล้า-เบียร์ หากมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง ก็เก็บภาษีสูง แต่หากไม่มีแอลกอฮอล์ หรือเบียร์-เหล้า 0% ก็จัดเก็บภาษีต่ำ
“จะใช้หลักเดียวกันในการพิจารณาภาษีความเค็ม และภาษีความหวาน เพื่อรักษาสุขภาพของคนไทย เพราะในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดงบประมาณการรักษาสุขภาพประชาชนมากกว่า 100,000 ล้านบาท”
ภาษีน้ำมันหายเฉียดแสนล้าน
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2565 กรมสรรพสามิตสูญรายได้จากการลดภาษีน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือน ก.พ. จนถึง 20 ก.ย. 2565 ราว 68,000 ล้านบาท
โดยภาษีน้ำมันถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของกรมสรรพสามิต เดิมจัดเก็บได้เฉลี่ยประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี จึงมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมเป็นอย่างมาก และล่าสุด กระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาขยายเวลามาตรการออกไปอีกถึงสิ้นปี 2565 เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชน ก็จะมีผลต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้นอีก
“ถ้าขยายมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาทออกไปอีกจนถึงสิ้นปี 2565 จะทำให้รัฐสูญรายได้เพิ่มอีก 30,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน ก.พ.เป็นต้นมา รายได้จะหายไป 98,000 ล้านบาท ดังนั้น กรมสรรพสามิตจึงต้องหาช่องทางหารายได้เพิ่ม ผ่านการเก็บภาษีตัวใหม่”
ศุลกากรผุด 2 ด่านใหม่
ด้าน “
พชร อนันตศิลป์” อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมมีเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีงบประมาณนี้ที่อยู่ที่ 108,000 ล้านบาท โดยกรมได้เตรียมความพร้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ ทั้งการเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ในทุกขั้นตอนของพิธีการศุลกากร ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
“นอกจากนี้ จะมีการปรับการบริหารจัดการภายใน จากที่ได้ตั้งด่านศุลกากรใหม่ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่ ด่านมาบตาพุด เพื่อรองรับพื้นที่ EEC และศุลกากรภาคที่ 5 ในภาคใต้ โดยจะเข้าไปเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์”
จากทั้งหมดนี้ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี ไม่สะดุด หรือไม่มีปัจจัยลบใหม่ ๆ มากระทบรุนแรง การเก็บรายได้ของรัฐบาลก็คงไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
พท.เร่งมือทำนโยบายเกษตรใหม่ช่วยชาวบ้าน
https://www.innnews.co.th/news/news_406757/
เพื่อไทยเร่งมือติดตามแก้ปัญหาช่วยเกษตรกร พร้อมรวบรวมข้อมูลทำนโยบายเกษตรใหม่หาเสียง
นาย10 เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงนโยบายการเกษตรของพรรคเพื่อไทย ว่า เรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร แต่เพียงจะต้องปรับปรุงวิธีการใหม่ในแบบของพรรคเพื่อไทยในอนาคต
เช่น การเพิ่มผลผลิต ทำเกษตรให้เป็นระบบมีการบริหารจัดการที่ดี มีการตลาดล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งขณะนี้พรรคเพื่อไทยมีความพร้อม
ทั้งนี้นาย
ประเสริฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกำลังดำเนินการติดตามปัญหาการเกษตรแต่ละพื้นที่ เพื่อที่จะนำมาเป็นนโยบายแก้ไขให้เป็นระบบทั้งประเทศต่อไป
JJNY : ดับเพิ่ม17 ป่วยใหม่ยังทะลุพัน│กรมภาษีเร่งหาช่องรีดเพิ่ม│พท.เร่งมือทำนโยบายเกษตรใหม่ช่วยชาวบ้าน│สมุทรปราการอ่วม
https://www.khaosod.co.th/covid-19/news_7257970
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์เบื้องต้นพบผู้ป่วยใหม่กว่า 1,106 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 695 ราย เผยติดเชื้อเสียชีวิตเพิ่ม 17 ราย
เมื่อวันที่ 10 ก.ย.65 ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ประจำวัน ว่า เบื้องต้นมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,106 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 1,106 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,443,018 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 1,201 ราย
หายป่วยสะสม 2,451,646 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 13,793 ราย จำแนกเป็น 7,474 ราย อยู่ในโรงพยาบาลสนาม 6,319 ราย เป็นผู้ป่วยปอดอักเสบ 695 ราย และใช้ท่อช่วยหายใจ 348 ราย เสียชีวิต 17 ราย เสียชีวิตสะสม 10,822 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ด้านกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานเพิ่มเติมว่า มีผู้ติดเชื้อนอกโรงพยาบาล (ATK+) สัปดาห์ที่ 35 ระหว่าง 28 ส.ค. ถึง 3 ก.ย.65 จำนวน 131,139 ราย สะสม 7,832,514 คน จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบทรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 695 ราย
กรมภาษี เร่งหาช่องรีดเพิ่ม ปี’66 รัฐตั้งเป้ารายได้ 2.49 ล้านล้าน
https://www.prachachat.net/finance/news-1043322
ปีงบประมาณ 2565 จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ซึ่งการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง โดยกระทรวงการคลังคาดว่าจะจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายกว่า 20,000 ล้านบาท จากตัวเลขประมาณการตามเอกสารงบประมาณที่กำหนดไว้ 2.4 ล้านล้านบาท ขณะที่ปีงบประมาณ 2566 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 นี้เป็นต้นไป รัฐบาลได้ประมาณการรายได้ไว้ที่ 2.49 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีนี้ราว 90,000 ล้านบาท
สรรพากรรีดภาษีทะลุ 2 ล้านล้าน
โดย “ลวรณ แสงสนิท” อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ในปีงบฯ 2566 กรมได้รับเป้าหมายเก็บรายได้ที่ 2.029 ล้านล้านบาท มากกว่าปีงบประมาณ 2565 ที่ได้รับเป้าหมายที่ 1.876 ล้านล้านบาท จำนวน 1.53 แสนล้านบาท
สำหรับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพจัดเก็บภาษีนั้น ปัจจุบันกรมอยู่ระหว่างยกร่างพระราชบัญญัติการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อปฏิบัติตามความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับภาษีอากร ซึ่งที่ประชุมร่วมรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบความตกลงพหุภาคีระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินแบบอัตโนมัติแล้ว
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าว เป็นสัญญาระหว่างประเทศแบบพหุภาคี ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความโปร่งใสทางภาษี ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้ประเทศภาคีแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินของผู้ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในประเทศให้กับประเทศคู่สัญญาเป็นรายปี ปีละ 1 ครั้ง ปัจจุบันมีภาคี 117 ประเทศ
โดยเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว ประเทศไทยจะเริ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชีทางการเงินกับประเทศคู่สัญญาภายในเดือน ก.ย. 2566
“ที่ผ่านมา กรมได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้มาอย่างต่อเนื่อง เช่น การใช้ data analytic การประเมินกลุ่มเสี่ยง และติดตามอย่างใกล้ชิด ทำให้การจัดเก็บในปี 2565 เกินเป้าหมายไปพอสมควร ดังนั้น เป้าหมายในปี 2566 อยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการได้”
บี้ข้อมูลภาษีกันซุกเงินต่างแดน
ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูล จะรวมถึงข้อมูลที่ไม่ใช่ภาษี เช่น ข้อมูลการฝากเงิน ทรัพย์สินในต่างประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ป้องกันเงินนอกกฎหมาย และไม่ให้เกิดการหลบเลี่ยงภาษีจากกลุ่มผู้มีรายได้ที่อยู่นอกประเทศ หรือมีการนำเงินออกไปต่างประเทศ เพื่อเลี่ยงการตรวจสอบ
“ถ้าความร่วมมือดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จะทำให้สถาบันการเงินต่างประเทศที่มีคนไทยฝากเงินอยู่ ต้องรายงานข้อมูลการฝากเงินของคนไทยไปให้สรรพากรของประเทศต้นทาง ก่อนที่จะแจ้งกลับมาให้กรมสรรพากรไทยรับทราบ ในทางกลับกัน กรมสรรพากรไทยจะต้องรายงานข้อมูลการฝากเงินของชาวต่างชาติที่ฝากเงินในประเทศไทย ให้กับประเทศต้นทางที่เป็นเจ้าของสัญชาติเช่นกัน ซึ่งจะเป็นช่องทางให้ตรวจสอบภาษีได้ดีขึ้น”
รอจังหวะเหมาะเก็บภาษีขายหุ้น
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า กรมสรรพากรยังอยู่ระหว่างออกกฎหมายมาตรการสนับสนุนการประกอบกิจการศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในประเทศไทย โดยยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในกิจการดังกล่าว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาค ซึ่งจะทำให้สรรพากรมีรายได้เพิ่ม จากภาษีเงินได้นิติบุคคลมากขึ้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า ส่วนการจัดเก็บภาษีขายหุ้นที่เลื่อนออกไปนั้น ยังต้องขึ้นกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และจะออกมาในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
สรรพสามิตหาช่องรีด 6 สินค้า
ขณะที่ “เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ” อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวว่า ในปีงบฯ 2566 สรรพสามิตได้รับเป้าหมายจัดเก็บรายได้ที่ 567,000 ล้านบาท ลดลงจากปีงบประมาณนี้ ที่มีเป้าหมายที่ 597,000 ล้านบาท หรือลดลงราว 30,000 ล้านบาท ซึ่งกรมจะเดินหน้าศึกษาการจัดเก็บภาษีเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ ในสินค้า 6 ประเภท
ได้แก่ 1.น้ำมันไบไอเจ็ต 2.ไบไอพลาสติก 3.แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า 4.สุราและเบียร์แอลกอฮอล์ 0% 5.บุหรี่ไฟฟ้า และ 6.ภาษีคาร์บอน โดยตั้งเป้าว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายในปี 2565 นี้ ส่วนจะเริ่มเก็บภาษีเมื่อไหร่นั้น ต้องกำหนดพิกัดอัตราภาษีที่เหมาะสมก่อน
ทั้งนี้ สำหรับภาษีแบตเตอรี่ ปัจจุบันกรมสรรพสามิตจัดเก็บอยู่ที่ 8% แต่หากปรับโครงสร้างภาษี อาจจะยกเว้นภาษีให้แบตเตอรี่ที่รีไซเคิลได้ เป็นต้น เช่นเดียวกับภาษีเหล้า-เบียร์ หากมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง ก็เก็บภาษีสูง แต่หากไม่มีแอลกอฮอล์ หรือเบียร์-เหล้า 0% ก็จัดเก็บภาษีต่ำ
“จะใช้หลักเดียวกันในการพิจารณาภาษีความเค็ม และภาษีความหวาน เพื่อรักษาสุขภาพของคนไทย เพราะในแต่ละปีรัฐบาลต้องจัดงบประมาณการรักษาสุขภาพประชาชนมากกว่า 100,000 ล้านบาท”
ภาษีน้ำมันหายเฉียดแสนล้าน
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังกล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2565 กรมสรรพสามิตสูญรายได้จากการลดภาษีน้ำมันดีเซลตั้งแต่เดือน ก.พ. จนถึง 20 ก.ย. 2565 ราว 68,000 ล้านบาท
โดยภาษีน้ำมันถือเป็นสัดส่วนรายได้ที่ใหญ่ที่สุดของกรมสรรพสามิต เดิมจัดเก็บได้เฉลี่ยประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี จึงมีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมเป็นอย่างมาก และล่าสุด กระทรวงการคลัง กำลังพิจารณาขยายเวลามาตรการออกไปอีกถึงสิ้นปี 2565 เพื่อแบ่งเบาภาระค่าครองชีพประชาชน ก็จะมีผลต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตเพิ่มขึ้นอีก
“ถ้าขยายมาตรการลดภาษีน้ำมันดีเซลลงลิตรละ 5 บาทออกไปอีกจนถึงสิ้นปี 2565 จะทำให้รัฐสูญรายได้เพิ่มอีก 30,000 ล้านบาท เมื่อรวมกับที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือน ก.พ.เป็นต้นมา รายได้จะหายไป 98,000 ล้านบาท ดังนั้น กรมสรรพสามิตจึงต้องหาช่องทางหารายได้เพิ่ม ผ่านการเก็บภาษีตัวใหม่”
ศุลกากรผุด 2 ด่านใหม่
ด้าน “พชร อนันตศิลป์” อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า กรมมีเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ตามเอกสารงบประมาณปี 2566 อยู่ที่ประมาณ 100,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีงบประมาณนี้ที่อยู่ที่ 108,000 ล้านบาท โดยกรมได้เตรียมความพร้อม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ ทั้งการเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ในทุกขั้นตอนของพิธีการศุลกากร ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้บริการมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น
“นอกจากนี้ จะมีการปรับการบริหารจัดการภายใน จากที่ได้ตั้งด่านศุลกากรใหม่ขึ้น 2 แห่ง ได้แก่ ด่านมาบตาพุด เพื่อรองรับพื้นที่ EEC และศุลกากรภาคที่ 5 ในภาคใต้ โดยจะเข้าไปเชื่อมต่อระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สมบูรณ์”
จากทั้งหมดนี้ หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี ไม่สะดุด หรือไม่มีปัจจัยลบใหม่ ๆ มากระทบรุนแรง การเก็บรายได้ของรัฐบาลก็คงไม่มีปัญหาเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา
พท.เร่งมือทำนโยบายเกษตรใหม่ช่วยชาวบ้าน
https://www.innnews.co.th/news/news_406757/
เพื่อไทยเร่งมือติดตามแก้ปัญหาช่วยเกษตรกร พร้อมรวบรวมข้อมูลทำนโยบายเกษตรใหม่หาเสียง
นาย10 เลขาธิการพรรคเพื่อไทย เปิดเผยกับสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงนโยบายการเกษตรของพรรคเพื่อไทย ว่า เรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎร แต่เพียงจะต้องปรับปรุงวิธีการใหม่ในแบบของพรรคเพื่อไทยในอนาคต
เช่น การเพิ่มผลผลิต ทำเกษตรให้เป็นระบบมีการบริหารจัดการที่ดี มีการตลาดล่วงหน้า ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากแต่จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งขณะนี้พรรคเพื่อไทยมีความพร้อม
ทั้งนี้นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า ขณะนี้พรรคเพื่อไทยกำลังดำเนินการติดตามปัญหาการเกษตรแต่ละพื้นที่ เพื่อที่จะนำมาเป็นนโยบายแก้ไขให้เป็นระบบทั้งประเทศต่อไป