เช็คความพร้อมมือใหม่-เก่า ยื่นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ปี 2567 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(ออนไลน์) แบบถูกวิธี หลังกรมสรรพากรเตรียมเปิดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค. 2568
ใกล้ถึงกำหนดทุกปีที่มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ ทั้งมือใหม่ และเก่า ต้อง "ยื่นภาษีเงินได้" หรือ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เพื่อแสดงรายได้และที่มาของรายได้ ซึ่งวิธีการยื่นภาษีสามารถทำได้ ทั้งการยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(ออนไลน์) ตามที่กรมสรรพ กำหนดเริ่มให้ยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-เม.ย.2568 โดยการยื่นผ่านระบบออนไลน์ถือเป็นอีกวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ผ่านเว็บไซต์ของกรมกรรพากร
ซึ่ง วิธีการยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ทำได้ง่ายๆดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม ก่อนยื่นภาษีเงินได้ปี 2567
เอกสารแสดงรายได้ ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
รายการลดหย่อนภาษี ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา บุตร หรืออุปการะคนพิการ เป็นต้น
เอกสารประกอบกรลดหย่อนภาษี เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ และสิทธิลดหย่อนจากโครงการรัฐบาล เป็นต้น
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าระบบตามขั้นตอน โดยกำหนดยื่นไว้ดังนี้
5. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
6. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว"
6.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
6.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ
(1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น
(2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการ เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น ส่งให้กรมสรรพากรแบบทันทีทันใด (Real Time)
(3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก
ขั้นตอนการชำระภาษี
เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์
1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ
ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว
เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี
ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร
เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้
กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว
1.2 การชำระวิธีอื่น
เลือกบริการชำระภาษี
ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี
กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
*หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น
2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว
Cr.
https://www.posttoday.com/business/716701
เปิด "วิธียื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์" ง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง
ใกล้ถึงกำหนดทุกปีที่มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ ทั้งมือใหม่ และเก่า ต้อง "ยื่นภาษีเงินได้" หรือ ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี เพื่อแสดงรายได้และที่มาของรายได้ ซึ่งวิธีการยื่นภาษีสามารถทำได้ ทั้งการยื่นภาษีด้วยตนเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์(ออนไลน์) ตามที่กรมสรรพ กำหนดเริ่มให้ยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-เม.ย.2568 โดยการยื่นผ่านระบบออนไลน์ถือเป็นอีกวิธีที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด ผ่านเว็บไซต์ของกรมกรรพากร
ซึ่ง วิธีการยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ทำได้ง่ายๆดังนี้
เอกสารที่ต้องเตรียม ก่อนยื่นภาษีเงินได้ปี 2567
เอกสารแสดงรายได้ ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) จากนายจ้าง เป็นเอกสารที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่าง ๆ
รายการลดหย่อนภาษี ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา บุตร หรืออุปการะคนพิการ เป็นต้น
เอกสารประกอบกรลดหย่อนภาษี เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น ค่าลดหย่อนเลี้ยงดูพ่อแม่ จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน หนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ และสิทธิลดหย่อนจากโครงการรัฐบาล เป็นต้น
ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์
1. เข้า web site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th
2. เลือกรายการ e-FILING
3. เข้าใช้บริการครั้งแรก ให้เลือกรายการสมัครใช้บริการ
4. หลังจากนั้น เข้าระบบตามขั้นตอน โดยกำหนดยื่นไว้ดังนี้
5. ป้อนรายการข้อมูล ได้แก่ รายการเงินได้ ค่าลดหย่อน เงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ
แล้ว คลิก "ตกลง" เพื่อยืนยันการยื่นแบบฯ
6. เมื่อได้ตรวจสอบรายการข้อมูลที่บันทึกและสั่งให้ระบบ "คำนวณภาษีแล้ว"
6.1 กรณีไม่มีภาษีต้องชำระ
โปรแกรมจะแจ้งผลการรับแบบและหมายเลขอ้างอิง เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฯ
กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทันที
6.2 กรณีมีภาษีต้องชำระ
(1) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่าน e-payment ระบุธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ และดำเนินการตามขั้นตอนของ ธนาคารนั้น
(2) หากเลือกวิธีชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคาร ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการชำระภาษีจะถูกส่งจากกรมสรรพากรไปยังธนาคารโดยตรง เมื่อผู้เสียภาษียืนยันการทำรายการของระบบชำระเงินของธนาคารแล้ว ธนาคารจะแจ้งผลการทำรายการ เช่น ผลการโอนเงิน การยกเลิกการทำรายการ เป็นต้น ส่งให้กรมสรรพากรแบบทันทีทันใด (Real Time)
(3) หากเลือกวิธีชำระภาษี ณ เคาน์เตอร์ ไปรษณีย์อัตโนมัติ (Pay at Post) ระบบจะแจ้งรายการข้อมูลเช่นเดียวกับ (2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำไปชำระภาษี ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ. ร้อยเอ็ด และ ปณ. ชุมแสงสงคราม จ.พิษณุโลก
ขั้นตอนการชำระภาษี
เมื่อได้ทำรายการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผ่านอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว และเป็นกรณีที่มีภาษีต้องชำระ ผู้ใช้บริการจะต้องชำระภาษีทั้งจำนวนในวันใดก็ได้ภายในกำหนดเวลายื่นแบบ โดยมีทางเลือกในการชำระภาษีวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
1. การชำระภาษีผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์
1.1 การชำระภาษีผ่าน e-payment เป็นระบบการชำระเงินพร้อมกับการยื่นรายการข้อมูลตามแบบ
ผู้ใช้บริการต้องทำความตกลงกับธนาคารไว้แล้ว
เลือกธนาคารที่ต้องการสั่งโอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อชำระภาษี
ทำรายการโอนเงินตามขั้นตอนของธนาคาร
เมื่อทำรายการโดยครบถ้วนแล้วโปรแกรมจะแจ้ง หมายเลขอ้างอิง การยื่นแบบฯ และชำระภาษีให้
กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่แสดงในแบบให้โดยเร็ว
1.2 การชำระวิธีอื่น
เลือกบริการชำระภาษี
ป้อนข้อมูลหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รหัสควบคุม และจำนวนภาษีที่ต้องชำระที่ได้จากโปรแกรมการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต
หากข้อมูลตามข้อ (2) ถูกต้องธนาคารจะโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของท่านเข้าบัญชีกรมสรรพากรเพื่อชำระภาษี
กรมสรรพากร จะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ในแบบฯให้โดยเร็ว
*หมายเหตุ กรณีชำระผ่านเครื่อง ATM ต้องเป็นเครื่อง ATM ของธนาคารผู้ออกบัตรเท่านั้น
2. การชำระเงินทางไปรษณีย์ Pay at Post ให้นำรายการข้อมูลที่ได้รับจากระบบได้แก่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รหัสควบคุม จำนวนเงินภาษี ไปชำระเงินภาษีอากรได้ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ (ยกเว้น ปณ. โสกเชือก จ.ร้อยเอ็ด และ ปณ.ชุมแสงสงคราม จ. พิษณุโลก) กรมสรรพากรจะส่งใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามที่อยู่ที่ได้ลงทะเบียนไว้ให้โดยเร็ว
Cr. https://www.posttoday.com/business/716701