‘ชลน่าน’ ชี้ศาลเรียกบันทึก 501 มีหวังคดี 8 ปีประยุทธ์ แถม ‘มีชัย’ ยังเข้าข่ายให้การเท็จด้วย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3551762
“ฝ่ายค้าน” มีหวังศาลรธน.รับหลักฐานบันทึกการประชุมครั้งที่ 501 พิจารณา หลังมีคำสั่งให้สภาฯ ส่งรายละเอียดเพิ่ม
เมื่อวันที่ 8 กันยายน นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎรส่งบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 ไปให้ศาลฯ ภายในวันที่ 13 กันยายนนี้ว่า แสดงว่าศาลรัฐธรรมนูญยังมีข้อสงสัย ในบันทึกการประชุมของกรธ.ครั้งที่ 500 ที่ระบุว่าไม่มีการรับรองบันทึกการประชุม ที่มีความเห็นของกรธ.แต่ละคนในเรื่องการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของพล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงความเห็นของนาย
มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ในขณะนั้นด้วย
ซึ่งในบันทึกการประชุมกรธ.ครั้งที่ 501 ที่ฝ่ายค้าน ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้รับแจ้งว่าจะส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ (8 กันยายน) โดยมีหลักฐานชัดว่าเป็นการรับรองการประชุมครั้งที่ 500 ที่อนุกรรมการได้พิจารณาตรวจสอบแล้วโดยไม่มีการแก้ไขในบันทึกการประชุมนั้นเลย เท่ากับว่าได้รับความเห็นชอบ จึงถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจน และยิ่งศาลฯสั่งให้ทางสภาฯ ส่งหลักฐานในส่วนนี้ไป ก็จะยิ่งทำให้ฝ่ายค้านมีความหวังว่าศาลฯจะรับเอาพยานเอกสารหลักฐานของฝ่ายค้านที่ยื่นไปเข้าสู่การพิจารณาด้วย เพราะจะเป็นการหักล้างคำชี้แจงของนาย
มีชัยที่หลุดออกมาและระบุว่า นับวาระ 8 ปี จากวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ แล้วอ้างบันทึกการประชุมที่เคยบอกให้นับปี 2557 นั้น ไม่ใช่เอกสารสมบูรณ์
นพ.
ชลน่าน กล่าวต่อว่า สิ่งที่ฝ่ายค้านไม่ได้แย้งไปคือนาย
มีชัยให้ความเห็นในเรื่องนี้ในฐานะพยานบุคคล ซึ่งศาลฯ ได้สั่งให้นาย
มีชัย ให้ข้อมูลในฐานะเป็นประธานกรธ. ดังนั้น ต้องเอาความเห็นของตัวเองในขณะที่เป็นประธานในขณะนั้น ซึ่งมีบันทึกไว้เรียบร้อยแล้วให้กับศาลรัฐธรรมนูญไป โดยต้องตอบตามนั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ย้อนแย้งกัน จึงเห็นว่า บันทึกของนาย
มีชัยที่หลุดออกมาในสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่เข้าทางฝ่ายค้าน และเป็นประโยชน์กับการพิจารณาในมุมของฝ่ายค้านเพราะไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ คือ มีน้ำหนักไม่พอเพียงหรือขาดความน่าเชื่อถือ และยังเข้าข่ายให้การต่อศาลเป็นเท็จด้วย
สมชัย ยกบันทึกฉบับ 501 เป็นหลักฐานแย้งมีชัย บอกถ้าเจอชี้ให้การเท็จ เตรียมย้ายบ้านได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3551571
จากกรณีมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดส่งสำเนาบันทึกการประชุม และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 ซึ่งมีวาระการประชุมรับรองการบันทึกประชุมครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ภายในวันอังคารที่ 13 กันยายน เพื่อวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่ฝ่ายค้านยื่นร้อง
ล่าสุด วันที่ 8 ก.ย. นาย
สมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อเขียนแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า
“บันทึกการประชุมครั้งที่ 501 บอกอะไรเราบ้าง”
1.แปลว่า ในช่วง 2 ปีของการร่างรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายลูก มีการประชุมอย่างน้อย 501 ครั้ง (แทบทุกวันใน 1 สัปดาห์) ประธานมีชัย ได้เบี้ยประชุม ครั้งละ 9,000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 4.5 ล้านบาท กรรมการได้ครั้งละ 6,000 บาท รวมเป็นเงินคนละกว่า 3 ล้านบาท
2.หากครั้งหนึ่งมีกรรมการเข้าประชุมครบ 21 คน ต้องจ่ายเบี้ยประชุม 129,000 บาท ประชุม 501 ครั้ง เป็นเงิน 64.6 ล้านบาท ไม่รวมค่าอาหาร ค่าไฟฟ้า ค่าจัดสัมมนา ค่าเดินทาง ที่พักนอกสถานที่
3.ผลผลิต คือ รัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ และ กฎหมายลูก 10 ฉบับ ที่ล้วนแล้วแต่สร้างความวุ่นวาย มึนงง ให้แก่สังคม แม้แต่จะสร้างความชัดเจนว่า ประยุทธ์ เป็นนายกฯครบ 8 ปี หรือยัง ยังต้องถกเถียงกัน
4.บันทึกฉบับที่ 501 เป็นการระบุว่า ที่ประชุมได้มีการรับรองบันทึกการประชุมครั้งที่ 500 โดยไม่มีการแก้ไข จึงเป็นหลักฐานแย้งที่นายมีชัย ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า บันทึกครั้งที่ 500 ที่ระบุว่า 8 ปี ต้องนับก่อนหน้า 2560 ด้วยนั้น เลขาฯจดผิด จากความเข้าใจเลขาฯเอง
5.บันทึกสองฉบับนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำหนังสือขอจากรัฐสภาแล้ว หากนายมีชัย ให้การเท็จในจดหมายชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โปรดเตรียมตัวย้ายบ้านด้วย”
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid02Fad9asNw6LeqKiKU4HEh2sSxfDbbhnWWzzv6ER5CdqQ3VYWkQqRquqZj65jgzT5Sl
ส่งศาลรธน.แล้ว! เอกสารเพิ่มของฝ่ายค้าน ปมนายกฯ 8 ปี ต้องเริ่มนับ 24 ส.ค.57
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7255616
ประธานสภา ส่งเอกสารเพิ่มเติมของฝ่ายค้านไปศาลรธน.แล้ว เป็นหลักฐานแย้งความเห็น ‘มีชัย’ ยืนกราน วาระดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องเริ่มนับ 24 ส.ค.57
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 8 ก.ย. 2565 ที่รัฐสภา นพ.
สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงกรณี นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะ ยื่นหนังสือถึงนาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา เรื่อง ขอให้ส่งความเห็นและเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อประกอบคำร้องพิจารณาวินิจฉัยความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงเนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมระยะเวลาเกินกว่า 8 ปี เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็วนั้น
ขณะนี้นาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้ลงนามในคำร้อง พร้อมทั้งนำคำร้องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วในวันนี้ (8 ก.ย) เมื่อเวลา 14.15 น. โดยมีเลขที่ลงรับที่ 221 รวมทั้งได้ลงนาม และส่งหนังสือแจ้งผลการดำเนินการดังกล่าวไปยังนพ.
ชลน่าน เพื่อทราบในเวลาเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเอกสารที่เห็นแย้งกับความเห็นของนาย
มีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
โดยเป็นความเห็นเพื่อยืนยันว่าวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ ต้องนับวันที่ 24 ส.ค.57 จะอ้างวันที่ 6 เม.ย.60 ไม่ได้ เพราะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกฯในปี 57 และมีการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมา
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านได้แนบบันทึกการประชุมครั้งที่ 500 โดยมีละเอียด 22 หน้า และเพื่ออ้างอิงว่า เอกสารครั้งที่ 500 มีความครบถ้วนสมบูรณ์ จึงมีการส่งบันทึกการประชุมครั้งที่ 501 เมื่อวันที่ 11 ก.ย.61 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย มีเนื้อหารับรองการประชุมของกรธ. ครั้งที่ 497 – 500 ว่ามีความถูกต้องโดยไม่มีการแก้ไข
ประชาชนวอนรัฐเพิ่มวงเงินใช้จ่าย 'คนละครึ่ง'
https://www.nationtv.tv/news/economy-business/378885885
ร้านค้าบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ายอดขายกระเตื้องขึ้นบ้างเล็กน้อยจากปกติ อยากให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินและขยายเวลาโครงการต่อไปอีกเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการใช้สิทธิคนละครึ่งเฟสที่ 5 หลังจากเริ่มใช้จ่ายได้มากว่า 1 สัปดาห์ ผู้ประกอบการร้านค้าบอกว่าการยอดขายเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้าประมาณ 20% อยากขอให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินอีกเนื่องจากประชาชนยังไม่มีกำลังซื้อ ขณะที่มีบางร้านไม่ได้รับคนละครึ่งเนื่องจากกังวลเรื่องภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และไม่ถนัดในการใช้เทคโนโลยี ส่วนประชาชนที่ใช้สิทธิคนละครึ่งบอกว่า พบปัญหาสแกนใช้จ่ายไม่ได้ และร้านที่ร่วมโครงการน้อยลง
สำหรับความคืบหน้าการใช้สิทธิโครงการคนละครึ่ง เฟสที่ 5 ล่าสุดมีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 17.46 ล้านราย มียอดใช้จ่ายรวม 9.2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 4.7 พันล้านบาท และเงินที่รัฐร่วมจ่ายจำนวน 4.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ มีประชาชนได้รับสิทธิรวมทั้งสิ้นจำนวน 23.27 ล้านราย ซึ่งเป็นประชาชนรายเดิมที่เคยใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจำนวน 23.07 ล้านราย มีประชาชนรายเดิมฯ อีกประมาณ 3 ล้านราย ที่ยังไม่ได้กดยืนยันสิทธิเข้าร่วมโครงการ ซึ่งยังสามารถกดยืนยันสิทธิผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังย้ำว่า ห้ามผู้ประกอบการร้านค้าปฏิเสธการใช้สิทธิตามโครงการของลูกค้าหากยังมีสิทธิเหลืออยู่ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องรับชำระค่าสินค้าหรือบริการตามราคาของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เท่านั้น หากพบว่ามีการเพิ่มราคาสินค้าหรือคิดค่าบริการ/ค่าธรรมเนียมกับลูกค้าที่ใช้สิทธิจะเข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการ โดยผู้ประกอบการร้านค้าอาจถูกระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการและเรียกเงินสนับสนุนที่ได้รับจากภาครัฐคืน
JJNY : 5in1 ‘ชลน่าน’ชี้มีหวัง│สมชัยบอกถ้าเจอชี้ให้การเท็จ│ส่งศาลรธน.แล้ว!│วอนเพิ่มเงิน'คนละครึ่ง'│เตือนธารน้ำแข็งละลาย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3551762
“ฝ่ายค้าน” มีหวังศาลรธน.รับหลักฐานบันทึกการประชุมครั้งที่ 501 พิจารณา หลังมีคำสั่งให้สภาฯ ส่งรายละเอียดเพิ่ม
เมื่อวันที่ 8 กันยายน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้สำนักงานเลขาสภาผู้แทนราษฎรส่งบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 ไปให้ศาลฯ ภายในวันที่ 13 กันยายนนี้ว่า แสดงว่าศาลรัฐธรรมนูญยังมีข้อสงสัย ในบันทึกการประชุมของกรธ.ครั้งที่ 500 ที่ระบุว่าไม่มีการรับรองบันทึกการประชุม ที่มีความเห็นของกรธ.แต่ละคนในเรื่องการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.ในขณะนั้นด้วย
ซึ่งในบันทึกการประชุมกรธ.ครั้งที่ 501 ที่ฝ่ายค้าน ได้ยื่นเอกสารเพิ่มเติมผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรไปยังศาลรัฐธรรมนูญนั้นได้รับแจ้งว่าจะส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ (8 กันยายน) โดยมีหลักฐานชัดว่าเป็นการรับรองการประชุมครั้งที่ 500 ที่อนุกรรมการได้พิจารณาตรวจสอบแล้วโดยไม่มีการแก้ไขในบันทึกการประชุมนั้นเลย เท่ากับว่าได้รับความเห็นชอบ จึงถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจน และยิ่งศาลฯสั่งให้ทางสภาฯ ส่งหลักฐานในส่วนนี้ไป ก็จะยิ่งทำให้ฝ่ายค้านมีความหวังว่าศาลฯจะรับเอาพยานเอกสารหลักฐานของฝ่ายค้านที่ยื่นไปเข้าสู่การพิจารณาด้วย เพราะจะเป็นการหักล้างคำชี้แจงของนายมีชัยที่หลุดออกมาและระบุว่า นับวาระ 8 ปี จากวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังรัฐธรรมนูญบังคับใช้ แล้วอ้างบันทึกการประชุมที่เคยบอกให้นับปี 2557 นั้น ไม่ใช่เอกสารสมบูรณ์
นพ.ชลน่าน กล่าวต่อว่า สิ่งที่ฝ่ายค้านไม่ได้แย้งไปคือนายมีชัยให้ความเห็นในเรื่องนี้ในฐานะพยานบุคคล ซึ่งศาลฯ ได้สั่งให้นายมีชัย ให้ข้อมูลในฐานะเป็นประธานกรธ. ดังนั้น ต้องเอาความเห็นของตัวเองในขณะที่เป็นประธานในขณะนั้น ซึ่งมีบันทึกไว้เรียบร้อยแล้วให้กับศาลรัฐธรรมนูญไป โดยต้องตอบตามนั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ย้อนแย้งกัน จึงเห็นว่า บันทึกของนายมีชัยที่หลุดออกมาในสังคมออนไลน์เป็นเรื่องที่เข้าทางฝ่ายค้าน และเป็นประโยชน์กับการพิจารณาในมุมของฝ่ายค้านเพราะไม่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานได้ คือ มีน้ำหนักไม่พอเพียงหรือขาดความน่าเชื่อถือ และยังเข้าข่ายให้การต่อศาลเป็นเท็จด้วย
สมชัย ยกบันทึกฉบับ 501 เป็นหลักฐานแย้งมีชัย บอกถ้าเจอชี้ให้การเท็จ เตรียมย้ายบ้านได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_3551571
จากกรณีมีคำสั่งให้เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดส่งสำเนาบันทึกการประชุม และรายงานการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ครั้งที่ 501 วันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 ซึ่งมีวาระการประชุมรับรองการบันทึกประชุมครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ภายในวันอังคารที่ 13 กันยายน เพื่อวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่ฝ่ายค้านยื่นร้อง
ล่าสุด วันที่ 8 ก.ย. นายสมชัย ศรีสุทธิยากร ประธานยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนนโยบาย พรรคเสรีรวมไทย และอดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้โพสต์ข้อเขียนแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า
“บันทึกการประชุมครั้งที่ 501 บอกอะไรเราบ้าง”
1.แปลว่า ในช่วง 2 ปีของการร่างรัฐธรรมนูญ และ กฎหมายลูก มีการประชุมอย่างน้อย 501 ครั้ง (แทบทุกวันใน 1 สัปดาห์) ประธานมีชัย ได้เบี้ยประชุม ครั้งละ 9,000 บาท รวมเป็นเงินกว่า 4.5 ล้านบาท กรรมการได้ครั้งละ 6,000 บาท รวมเป็นเงินคนละกว่า 3 ล้านบาท
2.หากครั้งหนึ่งมีกรรมการเข้าประชุมครบ 21 คน ต้องจ่ายเบี้ยประชุม 129,000 บาท ประชุม 501 ครั้ง เป็นเงิน 64.6 ล้านบาท ไม่รวมค่าอาหาร ค่าไฟฟ้า ค่าจัดสัมมนา ค่าเดินทาง ที่พักนอกสถานที่
3.ผลผลิต คือ รัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ และ กฎหมายลูก 10 ฉบับ ที่ล้วนแล้วแต่สร้างความวุ่นวาย มึนงง ให้แก่สังคม แม้แต่จะสร้างความชัดเจนว่า ประยุทธ์ เป็นนายกฯครบ 8 ปี หรือยัง ยังต้องถกเถียงกัน
4.บันทึกฉบับที่ 501 เป็นการระบุว่า ที่ประชุมได้มีการรับรองบันทึกการประชุมครั้งที่ 500 โดยไม่มีการแก้ไข จึงเป็นหลักฐานแย้งที่นายมีชัย ทำหนังสือชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ว่า บันทึกครั้งที่ 500 ที่ระบุว่า 8 ปี ต้องนับก่อนหน้า 2560 ด้วยนั้น เลขาฯจดผิด จากความเข้าใจเลขาฯเอง
5.บันทึกสองฉบับนี้ ศาลรัฐธรรมนูญ ทำหนังสือขอจากรัฐสภาแล้ว หากนายมีชัย ให้การเท็จในจดหมายชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ โปรดเตรียมตัวย้ายบ้านด้วย”
https://www.facebook.com/somchaivision/posts/pfbid02Fad9asNw6LeqKiKU4HEh2sSxfDbbhnWWzzv6ER5CdqQ3VYWkQqRquqZj65jgzT5Sl
ส่งศาลรธน.แล้ว! เอกสารเพิ่มของฝ่ายค้าน ปมนายกฯ 8 ปี ต้องเริ่มนับ 24 ส.ค.57
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7255616
ประธานสภา ส่งเอกสารเพิ่มเติมของฝ่ายค้านไปศาลรธน.แล้ว เป็นหลักฐานแย้งความเห็น ‘มีชัย’ ยืนกราน วาระดำรงตำแหน่งนายกฯ ต้องเริ่มนับ 24 ส.ค.57
เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 8 ก.ย. 2565 ที่รัฐสภา นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงกรณี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะ ยื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา เรื่อง ขอให้ส่งความเห็นและเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อประกอบคำร้องพิจารณาวินิจฉัยความเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สิ้นสุดลงเนื่องจากดำรงตำแหน่งนายกฯ รวมระยะเวลาเกินกว่า 8 ปี เพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็วนั้น
ขณะนี้นายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้ลงนามในคำร้อง พร้อมทั้งนำคำร้องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วในวันนี้ (8 ก.ย) เมื่อเวลา 14.15 น. โดยมีเลขที่ลงรับที่ 221 รวมทั้งได้ลงนาม และส่งหนังสือแจ้งผลการดำเนินการดังกล่าวไปยังนพ.ชลน่าน เพื่อทราบในเวลาเดียวกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมของพรรคร่วมฝ่ายค้านที่ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเอกสารที่เห็นแย้งกับความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
โดยเป็นความเห็นเพื่อยืนยันว่าวาระการดำรงตำแหน่งนายกฯของพล.อ.ประยุทธ์ ต้องนับวันที่ 24 ส.ค.57 จะอ้างวันที่ 6 เม.ย.60 ไม่ได้ เพราะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนายกฯในปี 57 และมีการดำรงตำแหน่งต่อเนื่องมา
ทั้งนี้ ฝ่ายค้านได้แนบบันทึกการประชุมครั้งที่ 500 โดยมีละเอียด 22 หน้า และเพื่ออ้างอิงว่า เอกสารครั้งที่ 500 มีความครบถ้วนสมบูรณ์ จึงมีการส่งบันทึกการประชุมครั้งที่ 501 เมื่อวันที่ 11 ก.ย.61 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย มีเนื้อหารับรองการประชุมของกรธ. ครั้งที่ 497 – 500 ว่ามีความถูกต้องโดยไม่มีการแก้ไข
ประชาชนวอนรัฐเพิ่มวงเงินใช้จ่าย 'คนละครึ่ง'
https://www.nationtv.tv/news/economy-business/378885885
ร้านค้าบอกเป็นเสียงเดียวกันว่ายอดขายกระเตื้องขึ้นบ้างเล็กน้อยจากปกติ อยากให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินและขยายเวลาโครงการต่อไปอีกเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน
ทีมข่าวลงพื้นที่สำรวจบรรยากาศการใช้สิทธิคนละครึ่งเฟสที่ 5 หลังจากเริ่มใช้จ่ายได้มากว่า 1 สัปดาห์ ผู้ประกอบการร้านค้าบอกว่าการยอดขายเพิ่มขึ้นบ้างเล็กน้อย ดีขึ้นกว่าช่วงก่อนหน้าประมาณ 20% อยากขอให้ภาครัฐเพิ่มวงเงินอีกเนื่องจากประชาชนยังไม่มีกำลังซื้อ ขณะที่มีบางร้านไม่ได้รับคนละครึ่งเนื่องจากกังวลเรื่องภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น และไม่ถนัดในการใช้เทคโนโลยี ส่วนประชาชนที่ใช้สิทธิคนละครึ่งบอกว่า พบปัญหาสแกนใช้จ่ายไม่ได้ และร้านที่ร่วมโครงการน้อยลง
สำหรับความคืบหน้าการใช้สิทธิโครงการคนละครึ่ง เฟสที่ 5 ล่าสุดมีผู้ใช้สิทธิทั้งสิ้น 17.46 ล้านราย มียอดใช้จ่ายรวม 9.2 พันล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินที่ประชาชนจ่าย 4.7 พันล้านบาท และเงินที่รัฐร่วมจ่ายจำนวน 4.5 พันล้านบาท
ทั้งนี้ มีประชาชนได้รับสิทธิรวมทั้งสิ้นจำนวน 23.27 ล้านราย ซึ่งเป็นประชาชนรายเดิมที่เคยใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งจำนวน 23.07 ล้านราย มีประชาชนรายเดิมฯ อีกประมาณ 3 ล้านราย ที่ยังไม่ได้กดยืนยันสิทธิเข้าร่วมโครงการ ซึ่งยังสามารถกดยืนยันสิทธิผ่านแอปพลิเคชันเป๋าตังได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังย้ำว่า ห้ามผู้ประกอบการร้านค้าปฏิเสธการใช้สิทธิตามโครงการของลูกค้าหากยังมีสิทธิเหลืออยู่ รวมถึงผู้ประกอบการจะต้องรับชำระค่าสินค้าหรือบริการตามราคาของสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เท่านั้น หากพบว่ามีการเพิ่มราคาสินค้าหรือคิดค่าบริการ/ค่าธรรมเนียมกับลูกค้าที่ใช้สิทธิจะเข้าข่ายเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของโครงการ โดยผู้ประกอบการร้านค้าอาจถูกระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการและเรียกเงินสนับสนุนที่ได้รับจากภาครัฐคืน