เป็นเรื่อง!! มีชัย ให้การขัดแย้งกับบันทึกการประชุม ฝ่ายค้านชี้เข้าข่ายให้การเท็จ

ข่าวแรก
วันนี้ (7 ก.ย.65) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยตัวแทนจากพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมกันแถลงข่าว ว่าฝ่ายค้านมีมติส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประกอบการพิจารณาวาระดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าครบ 8 ปีแล้วหรือไม่ โดยอ้างอิงถึงเอกสารที่มีการเผยแพร่อยู่ในโซเชียล ว่าเป็นคำชี้แจงความเห็นของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่ให้เริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ ในวันที่ 6 เมษายน 2560

ขณะเดียวกันในเอกสารดังกล่าว ยังระบุถึงบันทึกการประชุมที่เคยถูกเผยแพร่มาก่อนหน้านี้ ว่าเป็นบันทึกการประชุมที่ไม่มีความสมบูรณ์ เพราะ กรธ.ไม่ได้ลงนามรับรองการประชุม จึงนำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้
โดยฝ่ายค้านมองว่าคำชี้แจงดังกล่าวของนายมีชัย กำลังจะเกิดปัญหา เข้าข่ายให้การเท็จต่อศาล ฝ่ายค้านจึงมีมติคัดค้านความเห็นดังกล่าว และย้ำว่า การเริ่มนับวาระการดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรี จะต้องเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่อ้างว่าบันทึกการประชุมครั้ง

ที่ 500 ลงวันที่ 7 กันยายน 2551 เป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของ กรธ. และไม่มีการลงนามรับรองบันทึกการประชุม จึงไม่มีความสมบูรณ์นั้น ฝ่ายค้านได้นำเอกสารการประชุม กรธ. ครั้งที่ 501 ลงวันที่ 11 กันยายน 2551 ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญประกอบการพิจารณาด้วย ซึ่งการประชุมในครั้งที่ 501 นั้น เป็นการประชุมครั้งสุดท้าย ของ กรธ. มีวาระการประชุมเพื่อรับรองการประชุมครั้งที่ 497 ถึง 500 โดยในเอกสารลงท้ายไว้ชัดเจน ว่าคณะกรรมการได้ลงนามและตรวจทานแล้วไม่มีการแก้ไขใดๆ ในเอกสาร
ดังนั้นจึงถือได้ว่า เอกสารคำชี้แจงของนายมีชัยเป็นการให้การเท็จต่อศาล จึงขอให้

ดังนั้นจึงถือได้ว่า เอกสารคำชี้แจงของนายมีชัยเป็นการให้การเท็จต่อศาล จึงขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ส่งเอกสารหลักฐานทั้งหมด ที่ฝ่ายค้านเพิ่มเติมในวันนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ทันศาลพิจารณาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นการประชุมนัดพิเศษ และให้นำเอกสารหลักฐานดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาด้วย
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายค้านมั่นใจว่า เอกสารหลักฐานที่ฝ่ายค้านส่งไปเพิ่มเติมวันนี้ จะสามารถหักล้างคำชี้แจงของนายมีชัย และของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้

https://news.ch7.com/detail/593209

ข่าวสอง
เปิดบันทึกการประชุม กรธ.ครั้งที่ 501 “มีชัย” นั่งเป็นประธานเอง รับรองการประชุมครั้งที่ 500 ที่ประธาน กรธ.เคยบอกการนับระยะเวลานายกฯ 8 ปี ให้รวมช่วงการดำรงตำแหน่งก่อนรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย สวนทางคำชี้แจงที่ยื่นต่อศาล รธน.ที่ระบุให้เริ่มนับ 6 เม.ย. 60
จากกรณีที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง การนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า ให้เริ่มนับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 มีผลใช้บังคับ นั่นคือ วันที่ 6 เมษายน 2560

ส่วนกรณีบันทึกการประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 ที่ระบุถึงคำกล่าวของนายมีชัย ที่ว่า ให้นับรวมระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยนั้น นายมีชัย ชี้แจงว่า เป็นการจดรายงานที่ไม่ครบถ้วน เป็นการสรุปตามความเข้าใจของผู้จด คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยังไม่ได้ตรวจรับรองรายงานการประชุมดังกล่าว เพราะเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ 12 กันยายน 2561 นั้น

ล่าสุด มีการเผยแพร่เอกสารบันทึกการประชุม กรธ.ครั้งที่ 501 วันที่ 11 กันยายน 2561 ซึ่ง นายมีชัย เป็นประธานการประชุม ในระเบียบวาระที่ 2 รับรองบันทึกการประชุม ได้ระบุว่า คณะกรรมการฯ มีมติรับรองบันทึกการประชุมครั้งที่ 497 วันอังคารที่ 28 สิงหาคม 2561 ถึงครั้งที่ 500 วันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาตรวจบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมตรวจทานแล้ว โดยไม่มีการแก้ไข จึงถือว่าคำชี้แจงของนายมีชัยต่อศาลรัฐธรรรมนูญขัดแย้งกับข้อความในบันทึกการประชุมดังกล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2561 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องพิจารณา ได้มีการพิจารณาความมุ่งหมายและคําอธิบายประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 158 ในวรรคสาม ประเด็นนายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาว่า ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับ สามารถนับรวมระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าวเข้ากับวาระการดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่

ซึ่ง นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธาน กรธ. คนที่หนึ่ง ได้กล่าวว่า หากนายกรัฐมนตรีที่ดํารงตําแหน่งอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้บังคับ เมื่อประเทศไทยยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งดังกล่าว รวมเข้ากับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย
ส่วน นายมีชัย ในฐานะประธาน กรธ.กล่าวว่า เมื่อพิจารณาบทเฉพาะกาลในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้จะเข้ารับหน้าที่ และให้นําความในมาตรา 263 วรรคสาม มาใช้บังคับแก่การดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีด้วยโดยอนุโลม” การบัญญัติในลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้จะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับก็สามารถนับรวมระยะเวลาดังกล่าวรวมกับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ได้ ซึ่งเมื่อนับรวมระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมีระยะเวลาไม่เกินแปดปี

กดดูเอกสารหลักฐานได้ตามลิงค์
https://mgronline.com/politics/detail/9650000085909

ส่วนตัวมองว่า คำชี้แจงในเอกสารของคุณมีชัย มีจุดที่ย้อนแย้งกันคือ ในข้อ 3 ที่ระบุว่า
"3.การที่จะได้มาซึ่ง ครม.ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะกระทำได้ ก็ต่อเมื่อการเลือกตั้งทั่วไป มี ส.ส.และ ส.ว.ที่จะต้องแต่งตั้งขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก่อน แต่ประเทศไม่อาจว่างเว้นการมี ครม. เพื่อบริหารประเทศได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีบทเฉพาะกาลเพื่อกำหนดให้การบริหารราชการแผ่นดิน สามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ติดขัด จึงได้มีบทบัญญัติ มาตรา 264 บัญญัติขึ้นเป็นการเฉพาะ ว่า “ให้ ครม.ที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็น ครม.ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ จนกว่า ครม.ที่ตั้งขึ้นใหม่ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ จะเข้ารับหน้าที่” โดยมีบทบัญญัติผ่อนปรนเกี่ยวกับคุณสมบัติ และการปฏิบัติหน้าที่บางประการไว้ให้เป็นการเฉพาะ https://www.dailynews.co.th/news/1440225/ "

คุณมีชัยระบุว่า เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินต่อเนื่องได้โดยไม่ติดขัด ดังนั้นเท่ากับว่า ให้มีความต่อเนื่องนั่นเอง
ดังนั้น ความเป้นนายกรัฐมนตรีก็ต้องนับมาด้วยความต่อเนื่องด้วยนับตั้งแต่วันที่โปรดเกล้า คือ 24 สค 57 ซึ่งนายกประยุทธ์ไม่ได้ว่างเว้นลงเลยนับตั้งแต่วันนั้น จะนับเฉพาะหลัง รธน.ประกาศใช้มิได้ เพราะอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจทางการเมืองเริ่มตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าแล้วตามเจตนารมณ์ของ รธน. เรื่องการมิให้ดำรงตำแหน่งนายกเกินแปดปี เนื่องจากจะเป็นการผูกขาดอำนาจทางการเมืองอันยาวเกินไป

ประกอบกับ บันทึกการประชุมครั้งที่ 500 ของคุณสุพจน์ ไข่มุกด์ ที่ระบุว่า
"เมื่อประเทศไทยยังคงมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ควรนับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งดังกล่าว รวมเข้ากับระยะเวลาที่ดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วย"
นั่นหมายความว่า การที่อ้างถึงพระมหากษัตริย์ทรงเป้นประมุขนั้น ก็เพราะการจะเป้นนายกฯได้นั้น ต้องได้รับการโปรดเกล้าจากพระมหากษัตริย์ก่อน
พูดง่ายๆตามกฎหมายคือ พระมหากษัตริย์ได้ทรงใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งและใช้อำนาจนั้นเป้นที่เรียบร้อยแล้ว ตามมาตรา3 ที่ระบุว่า "มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น" ดังนั้นเมื่อพระมหากษัตริย์แต่งตั้งแล้ว จึงมีความเป้นนายกฯโดยสมบูรณ์ ไม่ใช่นายกเถื่อนแต่อย่างใด นี่คือเหตุผลของประโยคที่คุณสุพจน์กล่าวในวันนั้น

ดังนั้น จึงต้องนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งนายกตั้งแต่วันที่โปรดเกล้าแต่งตั้งทันที คือ 24 สค 57 ซึ่งความเป้นนายกรัฐมนตรีได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว มีอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินโดยสมูบรณ์ อยู่ในอำนาจทางการเมืองโดยสมบูรณ์ซึ่งเข้าเงื่อนไขเจตนารมณ์ของ รธน.และการประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 ว่าการดำรงตำแหน่งนายกจะเกินแปดปีมิได้ เนื่องจากจะทำให้เกิดการผูกขาดอำนาจทางการเมืองอันยาวเกินไปซึ่งจะเป็นต้นเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองได้ นั่นเองครับ
ดังนั้น ผู้ใดไม่นับหรือเมินเฉยต่อการโปรดเกล้าในครั้งแรก 24สค 57 เท่ากับขัดพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์โดยตรงทันที

ส่วนตัวมองว่า ศาลคงรู้อยู่แล้วนะว่าจะให้น้ำหนักกับอะไร ระหว่างการเอกสารหลักฐานบันทึกวาระการประชุม กรธ. หรือว่าเพียงคำให้การปากเปล่า
มันก็เหมือนกับการสอบหาความจริงคดีๆหนึ่ง ที่จะเชื่อเอกสารหลักฐาน พยานหรือเชื่อแค่คำให้การของคนร้าย เพราะอย่าลืมว่าลิ้นมันไม่มีกระดูกนะครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่