ตามที่เราชาวพุทธทราบกันดีว่า บุคคลากร พระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกานั้น พุทธศาสนาสาวกยาน หรือ เถรวาทในไทย ขาดภิกษุณีจึงเหลือเพียง 3 เท่านั้น
ไม่มีภิกษุณีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครั้นจะบวช พูดตรงๆ ก็คือมีความพยายามจะบวชภิกษุณีในไทยหลายครั้ง แต่ทำไม่ได้ เพราะการบวช ต้องมีภิกษุณี เป็นอุปัชฌาย์ จากนั้นให้ภิกษุเป็นอุปัชฌาย์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อภิกษุณี ไม่มีแต่แรก จึงไม่มีอุปัชฌาย์ แต่เถรวาท บางประเทศเช่นศรีลังกา เมียนมาร์ ยังสามารถบวชภิกษุณีได้ ส่วนมหายาน มีภิกษุณี จำนวนมาก เช่นที่ไต้หวัน เป็นต้น
ส่วนการเกิดภิกษุณี ในครั้งพุทธกาล นั้นก็เกิดยาก เพราะพระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้มี เพราะถ้ามีแล้วพุทธศานาอายุจะสั้น แทนที่จะดำรงอยู่ 5,000 ปี จะเหลือเพียง 500 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามภิกษุณี ก็เกิดในสมัยพุทธองค์ ด้วยความพยายามของพระอานนท์ และความตั้งใจจริง ของนางมหาปชาบดีโคตมี และบริวาร นางมหาปชาบดีโคตมีนั้น มีฐานะเป็นพระเจ้าน้า และพระมารดารดาเลี้ยงของ เจ้าชายสิทธัตถะ (ต่อมาคือพระพุทธเจ้า)
เมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวช ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดา และพระญาติ ครั้งนั้นเอง นางมหาปชาบดีและบริวาร 500 มีศรัทธา เลื่อมใสขอบวช แต่ถูกปฏิเสธ
ที่กำเนิดภิกษุณี
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับจากกบิลพัสดุ์ มาประทับณกูฏาคาร ป่ามหาวัน เมืองไวสาลี นางมหาปชาบดีโคตมี ไม่ละความพยายาม จึงให้ช่างปลงผม ห่มผ้ากาสาวพัตร พร้อมบริวาร เดินเท้าเปล่าจาก กรุงกบิลพัสดุ์ สู่ไ วสาลี (ระยะทางประมาณ 80-100 ก.ม.) ที่ประทับของพระพุทธเจ้า เมื่อถึงประตูเมือง พระอานนท์ ทราบก็มาพบ ได้เห็นสตรีทั้ง 500 และนางมหาปชาบดี เหนี่อยอ่อน เท้าแตกเป็นแผล เหงื่อโทรมพระกาย จึงขอให้พักก่อน ตัวท่านอานนท์ เข้าเฝ้าทูลพระพุทธเจ้าถึงการมาของนางมหาปชาบดีโคตมีและบริวารเพื่อขอบรรพชา แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ พระอานนท์ ทูลขอถึง 3 ครั้ง สุดท้ายเมื่อถูกปฏิเสธ จึงทูลถามว่าสตรีบวชแล้วบรรลุธรรม ถึงพระอรหันต์ได้ไหม
ทรงตอบว่าได้ ท่านอานนท์ จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้นให้พวกนางบรรพชาเถิดพระเจ้าข้า พุทธองค์ทรงประทานอนุญาตภายใต้เงื่อนไขว่า พวกนางต้องรับครุธรรม 8 ประการ เช่น ภิกษุณีบวชถึง 100 พรรษา แต่ต้องไหว้ภิกษุแม้บวชเพียงพรรษาเดียว ภิกษุณีต้องอยู่ในวัดที่มีภิกษุเท่านั้น ภิกษุณีต้องถามอุโบสถ และขอโอวาทจากภิกษุทุก 15 วัน สุดท้ายไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ แต่ให้ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
เมื่อได้ฟังเงื่อนไขบรรดานางทั้งหลายมีนางมหาปชาบดี เป็นต้น ยินดีรับครุธรรมทั้ง 8 และถือศีล 311 ข้อ เท่ากับนางทั้งหลายได้บรรพชาเป็นภิกษุณี วันนั้นที่ป่ามหาวัน เมืองไวสาลี เพื่อเป็นที่รำลึก การบรรพชาครั้งแรกของนางภิกษุณี พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงให้สร้างเสาอโศก ด้วยหินทรายทรงกลม สูง 11 เมตร ยอดสูงสุดเป็นสิงห์หมอบแกะสลักอยางงาม
เสาอโศกต้นแรกตั้งที่กูฏาคาร ที่บวชนางภิกษุณี ต้นที่ 2 มีรั้วรอบอยู่อีกตำบลหนึ่ง ที่ไวสาลีเช่นกัน
พระครูสิทธิ ปริยัติวิเทศ (พระมหาฉลอง จันทสิริ) พระธรรมทูต พระอุปัชฌาย์รูปที่ 2 แห่งอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยไวสาลี ได้ชักชวน ดร.พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร.และผมไปบูชาเสาอโศก พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ตั้งใกล้ๆ กัน
พระครู ดร.มหาฉลองว่า เสาอโศก ต้นนี้มีอายุนับพันปี แต่ยังงดงาม สมบูรณ์ เป็นที่ภูมิใจและบูชาของของชาวพุทธ และผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ทั่วไป และกล่าวว่าผู้ที่มา ไวสาลี ต้องมาชมที่นี่ ที่เกิดนางภิกษุณี ครั้งแรกของโลก เมื่อ 2565 + 45 ปี นอกจากนั้น ยังมี เสาอโศก อีกจำนวนหนึ่งกระจายหลายแห่งทั่วไวสาลี แต่ละจุดสำคัญนั้นๆ จะมีเจดีย์ และเสาอโศกที่ พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้สร้าง ขึ้น เป็นสัญลักษณ์ที่พระพุทธองค์เสด็จและแสดงธรรม นอกจากนั้น กูฏาคารแห่งไวสาลี คือสถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี
ที่น่าดูและน่าศึกษาคือ ซากเมืองวัชชี เมืองหลวง ที่เจ้าลิจฉวีและราชวงศ์อื่น จำนวน 8 ราชวงศ์สลับสับเปลี่ยนกันปกครองแบบสามัคคีธรรม ดังนั้นการไปเยือนไวสาลีได้ทั้งบุญและเรียนรู้ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาอีกหลายมิติ
ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook -
https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday -
https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
Instagram -
https://www.instagram.com/komchadluek_online
#พระพุทธเจ้า
#พระพุทธศาสนา
#พระศาสดา
#สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ศาสนาพุทธ
#ตามรอยพระพุทธองค์
#ภิกษุณี
#พุทธกาล
#เปรียญ12
#ไวสาลี
#สถานที่กำเนิดภิกษุณี
#ที่กำเนิดภิกษุณี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เจาะลึก"ไวสาลี" สถานที่กำเนิดภิกษุณี
ไม่มีภิกษุณีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครั้นจะบวช พูดตรงๆ ก็คือมีความพยายามจะบวชภิกษุณีในไทยหลายครั้ง แต่ทำไม่ได้ เพราะการบวช ต้องมีภิกษุณี เป็นอุปัชฌาย์ จากนั้นให้ภิกษุเป็นอุปัชฌาย์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อภิกษุณี ไม่มีแต่แรก จึงไม่มีอุปัชฌาย์ แต่เถรวาท บางประเทศเช่นศรีลังกา เมียนมาร์ ยังสามารถบวชภิกษุณีได้ ส่วนมหายาน มีภิกษุณี จำนวนมาก เช่นที่ไต้หวัน เป็นต้น
ส่วนการเกิดภิกษุณี ในครั้งพุทธกาล นั้นก็เกิดยาก เพราะพระพุทธเจ้าไม่ต้องการให้มี เพราะถ้ามีแล้วพุทธศานาอายุจะสั้น แทนที่จะดำรงอยู่ 5,000 ปี จะเหลือเพียง 500 ปีเท่านั้น อย่างไรก็ตามภิกษุณี ก็เกิดในสมัยพุทธองค์ ด้วยความพยายามของพระอานนท์ และความตั้งใจจริง ของนางมหาปชาบดีโคตมี และบริวาร นางมหาปชาบดีโคตมีนั้น มีฐานะเป็นพระเจ้าน้า และพระมารดารดาเลี้ยงของ เจ้าชายสิทธัตถะ (ต่อมาคือพระพุทธเจ้า)
เมื่อ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวช ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้เสด็จไปเมืองกบิลพัสดุ์ เพื่อโปรดพระบิดา และพระญาติ ครั้งนั้นเอง นางมหาปชาบดีและบริวาร 500 มีศรัทธา เลื่อมใสขอบวช แต่ถูกปฏิเสธ
ที่กำเนิดภิกษุณี
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จกลับจากกบิลพัสดุ์ มาประทับณกูฏาคาร ป่ามหาวัน เมืองไวสาลี นางมหาปชาบดีโคตมี ไม่ละความพยายาม จึงให้ช่างปลงผม ห่มผ้ากาสาวพัตร พร้อมบริวาร เดินเท้าเปล่าจาก กรุงกบิลพัสดุ์ สู่ไ วสาลี (ระยะทางประมาณ 80-100 ก.ม.) ที่ประทับของพระพุทธเจ้า เมื่อถึงประตูเมือง พระอานนท์ ทราบก็มาพบ ได้เห็นสตรีทั้ง 500 และนางมหาปชาบดี เหนี่อยอ่อน เท้าแตกเป็นแผล เหงื่อโทรมพระกาย จึงขอให้พักก่อน ตัวท่านอานนท์ เข้าเฝ้าทูลพระพุทธเจ้าถึงการมาของนางมหาปชาบดีโคตมีและบริวารเพื่อขอบรรพชา แต่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้ พระอานนท์ ทูลขอถึง 3 ครั้ง สุดท้ายเมื่อถูกปฏิเสธ จึงทูลถามว่าสตรีบวชแล้วบรรลุธรรม ถึงพระอรหันต์ได้ไหม
ทรงตอบว่าได้ ท่านอานนท์ จึงทูลว่า ถ้าอย่างนั้นให้พวกนางบรรพชาเถิดพระเจ้าข้า พุทธองค์ทรงประทานอนุญาตภายใต้เงื่อนไขว่า พวกนางต้องรับครุธรรม 8 ประการ เช่น ภิกษุณีบวชถึง 100 พรรษา แต่ต้องไหว้ภิกษุแม้บวชเพียงพรรษาเดียว ภิกษุณีต้องอยู่ในวัดที่มีภิกษุเท่านั้น ภิกษุณีต้องถามอุโบสถ และขอโอวาทจากภิกษุทุก 15 วัน สุดท้ายไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ แต่ให้ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
เมื่อได้ฟังเงื่อนไขบรรดานางทั้งหลายมีนางมหาปชาบดี เป็นต้น ยินดีรับครุธรรมทั้ง 8 และถือศีล 311 ข้อ เท่ากับนางทั้งหลายได้บรรพชาเป็นภิกษุณี วันนั้นที่ป่ามหาวัน เมืองไวสาลี เพื่อเป็นที่รำลึก การบรรพชาครั้งแรกของนางภิกษุณี พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงให้สร้างเสาอโศก ด้วยหินทรายทรงกลม สูง 11 เมตร ยอดสูงสุดเป็นสิงห์หมอบแกะสลักอยางงาม
เสาอโศกต้นแรกตั้งที่กูฏาคาร ที่บวชนางภิกษุณี ต้นที่ 2 มีรั้วรอบอยู่อีกตำบลหนึ่ง ที่ไวสาลีเช่นกัน
พระครูสิทธิ ปริยัติวิเทศ (พระมหาฉลอง จันทสิริ) พระธรรมทูต พระอุปัชฌาย์รูปที่ 2 แห่งอินเดีย-เนปาล เจ้าอาวาสวัดไทยไวสาลี ได้ชักชวน ดร.พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต มจร.และผมไปบูชาเสาอโศก พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่ตั้งใกล้ๆ กัน
พระครู ดร.มหาฉลองว่า เสาอโศก ต้นนี้มีอายุนับพันปี แต่ยังงดงาม สมบูรณ์ เป็นที่ภูมิใจและบูชาของของชาวพุทธ และผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ทั่วไป และกล่าวว่าผู้ที่มา ไวสาลี ต้องมาชมที่นี่ ที่เกิดนางภิกษุณี ครั้งแรกของโลก เมื่อ 2565 + 45 ปี นอกจากนั้น ยังมี เสาอโศก อีกจำนวนหนึ่งกระจายหลายแห่งทั่วไวสาลี แต่ละจุดสำคัญนั้นๆ จะมีเจดีย์ และเสาอโศกที่ พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้สร้าง ขึ้น เป็นสัญลักษณ์ที่พระพุทธองค์เสด็จและแสดงธรรม นอกจากนั้น กูฏาคารแห่งไวสาลี คือสถานที่ทำสังคายนาครั้งที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน 100 ปี
ที่น่าดูและน่าศึกษาคือ ซากเมืองวัชชี เมืองหลวง ที่เจ้าลิจฉวีและราชวงศ์อื่น จำนวน 8 ราชวงศ์สลับสับเปลี่ยนกันปกครองแบบสามัคคีธรรม ดังนั้นการไปเยือนไวสาลีได้ทั้งบุญและเรียนรู้ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาอีกหลายมิติ
ติดตามข่าวสาร คมชัดลึก อื่นๆ ได้ที่
Facebook - https://www.facebook.com/komchadluek
LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057
Instagram - https://www.instagram.com/komchadluek_online
#พระพุทธเจ้า
#พระพุทธศาสนา
#พระศาสดา
#สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
#ศาสนาพุทธ
#ตามรอยพระพุทธองค์
#ภิกษุณี
#พุทธกาล
#เปรียญ12
#ไวสาลี
#สถานที่กำเนิดภิกษุณี
#ที่กำเนิดภิกษุณี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง