คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid031UJEqCvWKXRszXou78RByHTdndj3TjTPjshJg3EdhhAfoMyxpWfY2BtTZxUZkkvRl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 13 ส.ค. 2565)
รวม 142,180,033 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 13 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 18,403 โดส
เข็มที่ 1 : 1,272 ราย
เข็มที่ 2 : 1,863 ราย
เข็มที่ 3 : 15,268 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,193,611 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,602,841 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,383,581 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MCiJBQb9ZqQmWuaar2F8hbVoPDLmDx3xLtgYPT2WWcNKhzdEdhxEv3Le16uUCAfrl
5ร. วัยเรียน ต้องสวมหน้ากาก
1. นั่งรถประจำทาง/รถ รับ-ส่งนักเรียน
2. เรียงแถวเคารพธงชาติหรือรับอาหาร
3. รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
4. อยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก
5. นั่งเรียนในห้องเรียน/ห้องปรับอากาศ
ช่วงนี้การติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียนค่อนข้างมาก
นอกจากสวมใส่หน้ากากแล้ว ควรเว้นระยะห่าง
และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid036y5kg2dk51mLzpM3gBv8ft6R6RRecFcgjKEu6dxEEhqrdF8md6nt5MUDbQKK5dirl
นายกฯ ขอความร่วมมือตรวจ ATK หลังหยุดยาววันแม่แห่งชาติ
แนะสังเกตอาการตัวเอง ร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด
วันนี้ (14 สิงหาคม 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวในโรงพยาบาล) จำนวน 1,773 ราย ไม่มีผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยสะสม 2,396,990 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 2,576 ราย และหายป่วยสะสม 2,399,145 ราย โดยมีผู้ป่วยกำลังรักษา 20,958 ราย มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 927 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) และเสียชีวิต 30 ราย
ขณะเดียวกัน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เน้นเตือนประชาชนว่า จากรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ยังทรงตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากไวรัสโควิด-19 มีการแพร่-รับเชื้อค่อนข้างง่าย ทำให้ทุกคนมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ ขอให้ทุกคนยังต้องเคร่งครัด ปฏิบัติตนตามมาตรการตนป้องกันตนเองอย่างรอบด้าน (Universal Prevention) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งให้สังเกตอาการตนเอง หลังเดินทางกลับจากการไปท่องเที่ยวหรือกลับบ้านเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงหยุดยาววันแม่แห่งชาติ หากมีอาการหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ตรวจ ATK ก่อนกลับเข้าทำงานในวันพรุ่งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างได้
ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RgjzdxcY1iSUvNFKdqJKY4NEJ8VbCgAzAtuk4a3kASJGkGm7zK4htmvna82pV3UMl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2565 จำนวน 30 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02gyXXYQALwnmLf2nesaxn4vzj7aBcV2N1iKmxxrtuDDb7uX8e6iZ725M2gVoFG5v3l
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid031UJEqCvWKXRszXou78RByHTdndj3TjTPjshJg3EdhhAfoMyxpWfY2BtTZxUZkkvRl
จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 13 ส.ค. 2565)
รวม 142,180,033 โดส ใน 77 จังหวัด
ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 13 สิงหาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 18,403 โดส
เข็มที่ 1 : 1,272 ราย
เข็มที่ 2 : 1,863 ราย
เข็มที่ 3 : 15,268 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,193,611 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,602,841 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 31,383,581 ราย
แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0MCiJBQb9ZqQmWuaar2F8hbVoPDLmDx3xLtgYPT2WWcNKhzdEdhxEv3Le16uUCAfrl
5ร. วัยเรียน ต้องสวมหน้ากาก
1. นั่งรถประจำทาง/รถ รับ-ส่งนักเรียน
2. เรียงแถวเคารพธงชาติหรือรับอาหาร
3. รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน
4. อยู่ร่วมกับคนจำนวนมาก
5. นั่งเรียนในห้องเรียน/ห้องปรับอากาศ
ช่วงนี้การติดเชื้อโควิด-19 ในโรงเรียนค่อนข้างมาก
นอกจากสวมใส่หน้ากากแล้ว ควรเว้นระยะห่าง
และล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์
ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid036y5kg2dk51mLzpM3gBv8ft6R6RRecFcgjKEu6dxEEhqrdF8md6nt5MUDbQKK5dirl
นายกฯ ขอความร่วมมือตรวจ ATK หลังหยุดยาววันแม่แห่งชาติ
แนะสังเกตอาการตัวเอง ร่วมมือป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด
วันนี้ (14 สิงหาคม 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 วันนี้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวในโรงพยาบาล) จำนวน 1,773 ราย ไม่มีผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ ทำให้ผู้ป่วยสะสม 2,396,990 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) หายป่วยกลับบ้าน 2,576 ราย และหายป่วยสะสม 2,399,145 ราย โดยมีผู้ป่วยกำลังรักษา 20,958 ราย มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 927 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) และเสียชีวิต 30 ราย
ขณะเดียวกัน พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เน้นเตือนประชาชนว่า จากรายงานยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม ยังทรงตัวค่อนข้างสูง เนื่องจากไวรัสโควิด-19 มีการแพร่-รับเชื้อค่อนข้างง่าย ทำให้ทุกคนมีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโดยไม่ได้ตั้งใจ ขอให้ทุกคนยังต้องเคร่งครัด ปฏิบัติตนตามมาตรการตนป้องกันตนเองอย่างรอบด้าน (Universal Prevention) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมทั้งให้สังเกตอาการตนเอง หลังเดินทางกลับจากการไปท่องเที่ยวหรือกลับบ้านเดินทางข้ามจังหวัดในช่วงหยุดยาววันแม่แห่งชาติ หากมีอาการหรือเป็นกลุ่มเสี่ยง ให้ตรวจ ATK ก่อนกลับเข้าทำงานในวันพรุ่งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 ในสถานที่ทำงาน ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างได้
ที่มา : โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0RgjzdxcY1iSUvNFKdqJKY4NEJ8VbCgAzAtuk4a3kASJGkGm7zK4htmvna82pV3UMl
รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม 2565 จำนวน 30 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02gyXXYQALwnmLf2nesaxn4vzj7aBcV2N1iKmxxrtuDDb7uX8e6iZ725M2gVoFG5v3l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭❤️มาลาริน❤️🇹🇭14ส.ค.โควิดไทยไม่ติดTop10โลก ไต้หวันติดTop/ป่วย1,773คน หาย2,576คน ตาย30คน/ภูมิผสมผสาน/ฝีดาษลิง,เคลด
https://www.bangkokbiznews.com/social/public_health/1020751
"ง" ชี้ฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อป้องกันความรุนแรงครั้งต่อไปดียิ่งขึ้น
วันที่ 14 ส.ค..65 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า...👇
โควิด 19 เมื่อการระบาดระลอกใหญ่เกิดขึ้น และจะเริ่มลดลงหลังกลางเดือนตุลาคม
การระบาดโควิด 19 ขณะนี้ เป็นการระบาดระลอกใหญ่ นับจำนวนไม่ได้ เพราะส่วนใหญ่อาการไม่มาก ตั้งแต่มกราคมเป็นต้นมา และมาเข้าสูงสุดในช่วงฤดูฝน ตามฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจ และจะเริ่มลดลงหลังเดือนกันยายน จนกระทั่งกลางตุลาคมไปแล้วจึงจะน้อยลง (ฤดูกาลของโรคทางเดินหายใจทุกปี) นักเรียนเปิดเทอม ฤดูกาลที่เหมาะ จึงยากที่จะนับยอดว่าแต่ละวันมีผู้ป่วยติดเชื้อเท่าไหร่ แต่ละบ้านก็จะติดกันจำนวนมากในบ้าน
วัคซีนกี่เข็ม ยี่ห้ออะไร ไม่มีวัคซีนเทพ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แต่ลดความรุนแรงของโรคลง ในอเมริกา การติดเชื้อก็ไม่ได้ลดลง แต่ภาพรวมของทั่วโลกความรุนแรงลดลง
ภูมิต้านทานที่ดีที่สุดขณะนี้ คือภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากการติดเชื้อ และจะดียิ่งขึ้นคือ ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ฉีดวัคซีนร่วมกับการติดเชื้อ น่าจะป้องกันความรุนแรงของครั้งต่อๆไปได้ดียิ่งขึ้น
การศึกษาวิจัยขณะนี้ คงจะไม่อยู่ที่ศึกษาภูมิต้านทาน หรือประสิทธิภาพของวัคซีน เพราะรู้อยู่แล้ว สิ่งที่สำคัญที่ควรจะต้องรู้คือ ขณะนี้ประชากรไทย ติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่ (ฉีดวัคซีนไปแล้วเท่าไหร่เรารู้)
การเร่งกระตุ้นฉีดวัคซีนเข็ม 4, 5, 6 จะต้องพิจารณา (อาจจะให้ในเฉพาะกลุ่มเปราะบาง) เพราะวัคซีนแต่ละเข็มราคาไม่ถูกเลย และเป็นการฉีดวัคซีนสายพันธุ์เดิมอู่ฮั่น และถ้ามีการติดเชื้อมากแล้ว เช่น 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ของประชากร การฉีดวัคซีนต่อไป อาจรอได้ถึงปีหน้าหรือมีวัคซีนสายพันธุ์ใหม่ ที่ตรงหรือใกล้เคียงกับสายพันธุ์ที่ระบาดมากที่สุด
การลงทุนด้านวัคซีน เราได้ใช้เงินเป็นจำนวนมาก ด้วยความหวังเริ่มต้นว่าวัคซีนจะยุติการระบาดของโรค แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เราต้องการองค์ความรู้มาวางแผนในปีต่อไป ด้วยการใช้วิชาการนำ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลงทุนน้อยที่สุด คุ้มค่าสำหรับประเทศไทย เราคงต้องมีข้อมูลของเราเอง ไม่ใช่เชื่อต่างชาติ
ผมและคณะที่ศูนย์ มีแผนการศึกษา ตอบคําถามว่าเวลานี้ประชากรทุกช่วงอายุ ติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่ โดยจะตรวจดูภูมิที่บอกการติดเชื้อ (anti-nucleocapsid) ไม่ใช่ภูมิต้านทานที่บอกในการป้องกัน (anti-spike) ในประชากรช่วงอายุต่างๆ โดยจำลองจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง โครงการอยู่ระหว่างการดำเนินการ จะต้องหาเงินทุนมาสนับสนุน และผ่านคณะกรรมการจริยธรรมโดยเร็ว ถือเป็นงานท้าทาย เร่งด่วน ที่จะใช้วางแผน หลังการระบาดรอบใหญ่ของ covid 19 ที่จะผ่านไป เพื่อปีต่อไป จะได้มีการวางแผนที่ถูกต้อง
https://siamrath.co.th/n/373602
“ฮู” เปลี่ยนชื่อ “ฝีดาษลิง” เป็น “เคลด” เพื่อเลี่ยงดูหมิ่นกัน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ (ฮู) แถลงคณะผู้เชี่ยวชาญได้เปลี่ยนชื่อไวรัสไข้ทรพิษวานร หรือฝีดาษลิง ชนิดกลายพันธุ์ จนเป็นสายพันธุ์ต่างๆ ซึ่งกำลังแพร่ระบาดในปัจจุบันนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นทางวัฒนธรรม สังคม ชาติ ชาติพันธุ์ ภูมิภาค และอาชีพ
โดยแถลงการณ์ของดับเบิลยูเอชโอ ระบุว่า ไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์ลุ่มน้ำคองโก จะเปลี่ยนชื่อเป็น สายพันธุ์1 หรือเคลด 1 (Clade I) ไวรัสฝีดาษลิงสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก เปลี่ยนชื่อเป็น สายพันธุ์ 2 หรือเคลด 2 (Clade II) ทั้งนี้ สายพันธุ์ 2 นี้ ยังแยกย่อยออกเป็น สายพันธุ์ 2 เอ (Iia) และสายพันธุ์ 2 บี (Iib) ซึ่งสายพันธุ์ 2 บีนี้ เป็นกลุ่มสายพันธุ์หลักที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่ประเทศต่างๆ ในปี 2022 (พ.ศ. 2565)
พร้อมกันนี้ แถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก ยังเผยด้วยว่า ชื่อใหม่เหล่านี้ ควรปรับให้ใช้ทันที เพื่อหลีกเลี่ยงการดูหมิ่นกันข้างต้น รวมถึงเพื่อช่วยลดผลกระทบทางการค้า การเดินทาง การท่องเที่ยว ตลอดจนสวัสดิภาพของสัตว์ให้เหลือน้อยที่สุด
https://siamrath.co.th/n/373643
ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ