EP.5 ชีวิตต่างแดนต้องใจเย็น...เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้น
https://ppantip.com/topic/41566217
.
เวลาเห็นนักศึกษาต่างชาติ เรียนจบแล้วลากกระเป๋าเดินทางกลับประเทศ บางที
ก็เป็นโมเม้นที่น่าอิจฉาฉิบเป๋ง เหมือนทุกคนต่างเดินทางไกล หอบความหวัง ความฝัน และคาดหวังความสำเร็จไว้ในมือ วันที่เดินทางกลับคงเป็นวันที่พวกเขา สามารถปล่อยให้สิ่งที่เขาคาดหวังตอนมาทิ้งไว้ที่อินเดีย และเก็บเอาประสบการณ์ทั้งดี ร้ายกลับไปยังที่ที่เขาจากมา
.
สำหรับคนที่ยังต้องหอบความฝันไว้ในมือเช่นผม คงมองพวกเขาลากกระเป๋า รอรถไปสนามบิน พูดคุยถึงประสบการณ์ที่เขาได้รับในดินแดนภารตะแห่งนี้ อวยพรขอให้เขาโชคดีในเส้นทางข้างหน้า ผมคุยกับเพื่อนคนบาห์เรนคนหนึ่ง
.
"วันแรกที่ผมมาที่นี่ ผมพูดได้แค่ Yes No Ok Thank you คุณดูผมวันนี้สิ แทบจะคนละคนจากวันที่เดินทางมา"
.
เขาพูดอังกฤษคล่องแคล่ว สำเนียงฟังง่าย ผมไม่ได้ถามชื่อเขา แต่เขามาเรียนอินเดียได้ 5 ปีแล้ว ปีแรกเรียนภาษาอังกฤษ อีกสี่ปีเรียนมหาลัย รอยยิ้มบนใบหน้าของเขา คงพอบอกได้ว่าดินแดนแห่งนี้ฝากความทรงจำอะไรไว้ให้เขาบ้าง
.
และแน่นอนกว่าจะถึงวันนั้น แต่ละคนต่างต้องผ่านทั้งทุกข์และสุข การใช้ชีวิตในต่างประเทศทำให้ผมรู้ว่าทุกอย่างจะไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ปัญหาจะเข้ามาหาทุกเมื่ออย่างที่เราปฏิเสธไม่ได้
ผมชอบคำพูดหนึ่งที่ได้อ่านจากเพื่อนใน facebook แชร์
"ความกลัวคือการไม่ยอมรับความไม่แน่นอน ถ้าหากใจเรายอมรับความไม่แน่นอนได้ ชีวิตจะกลายเป็นการผจญภัย"
"ความโกรธคือการไม่ยอมรับสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม หากเรายอมรับมันก็จะกลายเป็นความอดทน"
ผมว่าสองคำนี้สำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในต่างประเทศ เราปฏิเสธความกลัวไม่ได้เมื่อไปอยู่ต่างแดน ทุกอย่างที่เราไม่เคยทำ ไม่เคยเจอ ล้วนสร้างความกลัวให้เราได้ทุกเมื่อ หลงทาง เจอคนแปลกหน้า โดนเอาเปรียบ ถ้าเราไม่ยอมรับมัน...เราก็จะต้องกลัวอยู่ร่ำไป ชีวิตที่อยู่กับความกลัวไม่มีทางมีความสุขได้ ผมเองก็พยายามเปลี่ยนความกลัวให้เป็นการผจญภัยในทุกวัน ซึ่งบางทีผมก็ผจญภัยมากไป
.
กับความโกรธก็เช่นกัน บางครั้งเราก็ต้องเจอกับฝนตก ฟ้าร้อง รถเมล์ไม่จอดรับ โดนแซงคิว โดนโกง การพยายามทำทุกอย่างให้เป็นดั่งใจเราคาดหวังในประเทศบ้านเกิดว่ายากแล้ว ยามที่อยู่ต่างแดนให้คูณสองเข้าไป ผมเคยโกรธหลายๆ อย่างที่อินเดีย โกรธความห่วยแตกของหน่วยงานราชการ ที่เรียกผมไปรายงานตัว เดินทาง 2 ชั่วโมง เพื่อถามผมแค่คำถามเดียว และไม่อนุมัติคำขอที่ผมต้องการให้ โกรธธนาคารที่ยื่นขอเปิดบัญชีไป 3 อาทิตย์แล้ว ยังไม่สามารถใช้งานบัญชีธนาคารได้เลย เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับความโกรธแค่ทิ้งมันไว้เฉยๆ ไม่โต้ตอบมันก็จะกลายเป็นความอดทน
ผมว่าการมาใช้ชีวิตต่างประเทศ ภูมิคุ้มกันในชีวิตที่ประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ หลายสิ่งง่ายขึ้น เมื่อเราเคยรับผิดชอบชีวิตด้วยตัวเอง ถ้าสามารถรับผิดชีวิตตัวเองที่ไทยได้ อยู่ที่ไหนก็ได้ไม่ยากนัก มันสำคัญมากที่จะได้ฝึกการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ก่อนการมาใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน
.
ส่วนเรื่องชีวิตประจำวันสำหรับอาทิตย์นี้ ผมเริ่มเรียนโยคะแล้ว โยคะที่อินเดียท่วงท่าไม่ต่างจากที่ไทย เพียงแต่เขาไม่เน้นให้เราทำท่ายากๆ ท่าสวยๆ เหมือนที่ผมเคยเรียนโยคะที่ไทย
.
โยคะในอินเดียสำหรับมือใหม่เช่นผม มันคือการผสมผสานการออกกำลังกายไปพร้อมกับการทำสมาธิ ไม่มีสะพานโค้ง ห้อยหัว ฉีกแข้งฉีกขา แบบที่ผมเคยเจอที่ไทย มีแต่การอยู่กับลมหายใจ และค่อยๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อออกไป...ผมคงได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายสำหรับเรื่องโยคะ และสำหรับเรื่องชีวิตก็เช่นกัน ผมคงต้องพยายามอยู่กับปัจจุบัน และค่อยๆ ให้เวลามันคืบคลานไปตามทางของมัน...รอวันที่จะได้ลากกระเป๋ากลับบ้าน เหมือนหนุ่มบาห์เรนวันนี้ ผมจำจดรอยยิ้มของเขา มันเป็นยิ้มที่อินเดียฝากความทรงจำมากมายไว้กับเขา รอยยิ้มที่อินเดียฝากไว้มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมัน
สัปดาห์นี้ผมมีประสบการณ์หนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง
"Home is where the heart is."
.
เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน มีข้อความทักเข้ามาจาก app Counchsufing มีเปิดดูโปรไฟล์ผู้ที่ทักเข้ามา ก็พบว่าเป็นชายชรา ที่ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เจอในแอปนี้
.
ยัศปาล (Yashpal) กล่าวทักทายว่าจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ เผื่อจะได้มาเจอกัน ผมบอกเขาว่าตอนนี้ผมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปูเน่ ประเทศอินเดีย เป็นความบังเอิญที่เขาก็อาศัยอยู่ในเมืองเดียวกับผม
.
ผมบอกเขาว่าผมยินดีที่จะช่วยเขาวางแผนทริปมาเมืองไทย ถ้าเขาว่างวันไหนให้ทักข้อความมา เราสามารถหาร้านกาแฟนั่งคุยกันได้ในสักวัน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้เจอกันสักที จนผมคิดว่าคงไม่ได้เจอเขา
.
อีกอย่างหนึ่ง ผมไม่เคยมีเพื่อนอายุมากเท่านี้ และก็กังวลว่าการเจอกันคุยกัน เราจะคุยกันรู้เรื่องไหม ช่องว่างของอายุย่อมทำให้เรามีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันออกไป บางทีการเจอกันเราอาจจะคุย จะมองโลกกันคนละแบบก็ได้
.
จนกระทั่งวันเสาร์นี้ น่าจะเป็นวันเสาร์แรกที่ตัวเองสิงสถิตอยู่หอพัก ยัศปาล ทักข้อความมาพอดีว่าวันนี้เขาว่าง พร้อมส่งโลเคชั่นร้านกาแฟมาให้ผม แต่ผมก็ตอบกลับเขาไปว่ามันไกลจากที่พักผมเกินไป ผมพักอยู่แถวห้าง Westend เขาตอบกลับมาว่าไม่มีปัญหาเราเจอกันที่นั่นได้
.
เขาใช้เวลาขับมอเตอร์ไซต์ชั่วโมงกว่าๆ มาถึงที่นัดหมาย ผมประหม่าพอสมควร แต่แอคชั่นแรกที่ผมเห็นเขายิ่งทำให้ผมประหม่ายิ่งกว่า เมื่อเขารีบวิ่งไปจองโต๊ะอาหาร ในขณะที่ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังจะนั่งที่เก้าอี้ เขาพูดเป็นภาษาท้องถิ่นประมาณเขามาก่อน และไล่ชายหนุ่มคนดังกล่าวให้ไปนั่งที่อื่น
.
"ไม่ต้องตกใจ อินเดียคุณจำเป็นต้องทำแบบนี้ มันเป็นเรื่องปกติของที่นี่"
เขากล่าว แต่สำหรับผมมันไม่ใช่เรื่องปกติ แต่พอเข้าใจได้ว่าใครๆ ที่นี่เขาก็ทำกัน โดยเฉพาะเมื่อแก่ตัวลง เราจะแคร์คนอื่นน้อยลง มันคงเป็นเช่นนั้น
.
ยัศปาล ทำงานเป็นนักข่าวเหมือนกันกับผม เขาทำงานอยู่ในแวดวงสื่อ 35 ปี จากหนังสือพิมพ์มาสู่โทรทัศน์ และช่วงสุดท้ายเขาทำงานในวงการ Film เรื่องราวของเขาน่าสนใจใช่ย่อย เขาเดินทางเที่ยวมาเกือบทั่วโลกแล้ว ไม่มีครอบครัว อาศัยอยู่กับแม่ ถ้ามองจากภายนอก บุคลิกและท่าทางของเขาอาจจะดูไม่น่าคุยด้วยเสียเท่าไหร่เลย แต่เมื่อได้ลองนั่งคุย กับพบว่าเขาเป็นคู่สนทนาที่ดี
.
เขาถามผมหลายคำถาม ผมบอกเขาว่ามีแผนที่จะเรียนต่อปริญญาโทในอินเดียอยู่เหมือนกัน ผมบอกว่าสนใจเรียนสาขาปรัชญา กับ Jounalist เขาถามว่าทำไมถึงอยากเรียนปรัชญามันหางานยากมากเลยนะ
.
ผมอธิบายให้เขาฟัง กลัวเหมือนกันว่าเขาจะตัดสินความคิดเห็นของผม แต่ไม่ใช่...เขาเพียงแนะนำว่าถ้าสนใจปรัชญาคุณสามารถอ่านจากหนังสือได้ ให้ลองคิดดีๆ ก่อนตัดสินใจเรียน
.
.
บทสนทนาไหลลื่น 1-2 ชั่วโมง การคุยกับเขาสนุกอย่างเหลือเชื่อ แถมเขายังเป็นครูภาษาอังกฤษที่ดีชั้นเยี่ยมเวลาสนทนากับเขา เขาบอกว่าปีหน้าอยากมาเที่ยวแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่กัมพูชา ยัศปาล อายุ 70 ปีแล้ว แต่พลังวัยหนุ่มของเขายังเหลือเฟือ
.
ท้องฟ้านอกหน้าต่างเริ่มมืดและครึ้มฝน เขาบอกผมว่าไว้คราวหน้าจะชวนไปดูหนังอินเดียในโรงหนังอินเดีย การได้พบเจอและพูดคุยกับเขาเป็นประสบการณ์ที่ดี แม้จะมีอายุต่างกันราวคุณปู่กับหลาน ก็ใช่ว่าเราจะไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงและร้อยเรียงเรื่องราวสู่กันและกัน
.
กลับกันการได้แลกเปลี่ยนกับเขา ผมเองก็ได้มุมมองใหม่ๆ และก็เชื่อว่าเขาเองก็ได้รับมุมมองใหม่ๆ จากคนหนุ่มแบบผมเช่นกัน
.
Keep in touch ยัศปาลกล่าวกับผม ก่อนค่อยๆ เดินไปสตาร์ทมอเตอร์ไซต์
.
EP.7 Tung Fort พิชิตยอดเขาในอินเดียตะวันตก
https://ppantip.com/topic/41581633
(ภาพส่วนใหญ่จากบทความชิ้นนี้มาจากงานเต้นรำกลางสี่แยกเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เฉลิมฉลองให้กับนักกิจกรรมทางสังคมท่านหนึ่ง ที่เป็นตัวแทนการต่อสู้ของแรงงาน)
.
Yesh in India อยู่อินเดียไม่มีเหงา EP.6 รอยยิ้มที่อินเดียฝากความทรงจำกับนักเรียนต่างชาติ
EP.5 ชีวิตต่างแดนต้องใจเย็น...เดี๋ยวทุกอย่างจะดีขึ้น
https://ppantip.com/topic/41566217
.
เวลาเห็นนักศึกษาต่างชาติ เรียนจบแล้วลากกระเป๋าเดินทางกลับประเทศ บางทีก็เป็นโมเม้นที่น่าอิจฉาฉิบเป๋ง เหมือนทุกคนต่างเดินทางไกล หอบความหวัง ความฝัน และคาดหวังความสำเร็จไว้ในมือ วันที่เดินทางกลับคงเป็นวันที่พวกเขา สามารถปล่อยให้สิ่งที่เขาคาดหวังตอนมาทิ้งไว้ที่อินเดีย และเก็บเอาประสบการณ์ทั้งดี ร้ายกลับไปยังที่ที่เขาจากมา
.
สำหรับคนที่ยังต้องหอบความฝันไว้ในมือเช่นผม คงมองพวกเขาลากกระเป๋า รอรถไปสนามบิน พูดคุยถึงประสบการณ์ที่เขาได้รับในดินแดนภารตะแห่งนี้ อวยพรขอให้เขาโชคดีในเส้นทางข้างหน้า ผมคุยกับเพื่อนคนบาห์เรนคนหนึ่ง
.
"วันแรกที่ผมมาที่นี่ ผมพูดได้แค่ Yes No Ok Thank you คุณดูผมวันนี้สิ แทบจะคนละคนจากวันที่เดินทางมา"
.
เขาพูดอังกฤษคล่องแคล่ว สำเนียงฟังง่าย ผมไม่ได้ถามชื่อเขา แต่เขามาเรียนอินเดียได้ 5 ปีแล้ว ปีแรกเรียนภาษาอังกฤษ อีกสี่ปีเรียนมหาลัย รอยยิ้มบนใบหน้าของเขา คงพอบอกได้ว่าดินแดนแห่งนี้ฝากความทรงจำอะไรไว้ให้เขาบ้าง
.
และแน่นอนกว่าจะถึงวันนั้น แต่ละคนต่างต้องผ่านทั้งทุกข์และสุข การใช้ชีวิตในต่างประเทศทำให้ผมรู้ว่าทุกอย่างจะไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง ปัญหาจะเข้ามาหาทุกเมื่ออย่างที่เราปฏิเสธไม่ได้
ผมชอบคำพูดหนึ่งที่ได้อ่านจากเพื่อนใน facebook แชร์
"ความกลัวคือการไม่ยอมรับความไม่แน่นอน ถ้าหากใจเรายอมรับความไม่แน่นอนได้ ชีวิตจะกลายเป็นการผจญภัย"
"ความโกรธคือการไม่ยอมรับสิ่งที่อยู่เหนือการควบคุม หากเรายอมรับมันก็จะกลายเป็นความอดทน"
ผมว่าสองคำนี้สำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในต่างประเทศ เราปฏิเสธความกลัวไม่ได้เมื่อไปอยู่ต่างแดน ทุกอย่างที่เราไม่เคยทำ ไม่เคยเจอ ล้วนสร้างความกลัวให้เราได้ทุกเมื่อ หลงทาง เจอคนแปลกหน้า โดนเอาเปรียบ ถ้าเราไม่ยอมรับมัน...เราก็จะต้องกลัวอยู่ร่ำไป ชีวิตที่อยู่กับความกลัวไม่มีทางมีความสุขได้ ผมเองก็พยายามเปลี่ยนความกลัวให้เป็นการผจญภัยในทุกวัน ซึ่งบางทีผมก็ผจญภัยมากไป
.
กับความโกรธก็เช่นกัน บางครั้งเราก็ต้องเจอกับฝนตก ฟ้าร้อง รถเมล์ไม่จอดรับ โดนแซงคิว โดนโกง การพยายามทำทุกอย่างให้เป็นดั่งใจเราคาดหวังในประเทศบ้านเกิดว่ายากแล้ว ยามที่อยู่ต่างแดนให้คูณสองเข้าไป ผมเคยโกรธหลายๆ อย่างที่อินเดีย โกรธความห่วยแตกของหน่วยงานราชการ ที่เรียกผมไปรายงานตัว เดินทาง 2 ชั่วโมง เพื่อถามผมแค่คำถามเดียว และไม่อนุมัติคำขอที่ผมต้องการให้ โกรธธนาคารที่ยื่นขอเปิดบัญชีไป 3 อาทิตย์แล้ว ยังไม่สามารถใช้งานบัญชีธนาคารได้เลย เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรกับความโกรธแค่ทิ้งมันไว้เฉยๆ ไม่โต้ตอบมันก็จะกลายเป็นความอดทน
ผมว่าการมาใช้ชีวิตต่างประเทศ ภูมิคุ้มกันในชีวิตที่ประเทศไทยเป็นสิ่งสำคัญ หลายสิ่งง่ายขึ้น เมื่อเราเคยรับผิดชอบชีวิตด้วยตัวเอง ถ้าสามารถรับผิดชีวิตตัวเองที่ไทยได้ อยู่ที่ไหนก็ได้ไม่ยากนัก มันสำคัญมากที่จะได้ฝึกการใช้ชีวิตด้วยตัวเอง ก่อนการมาใช้ชีวิตอยู่ต่างแดน
.
ส่วนเรื่องชีวิตประจำวันสำหรับอาทิตย์นี้ ผมเริ่มเรียนโยคะแล้ว โยคะที่อินเดียท่วงท่าไม่ต่างจากที่ไทย เพียงแต่เขาไม่เน้นให้เราทำท่ายากๆ ท่าสวยๆ เหมือนที่ผมเคยเรียนโยคะที่ไทย
.
โยคะในอินเดียสำหรับมือใหม่เช่นผม มันคือการผสมผสานการออกกำลังกายไปพร้อมกับการทำสมาธิ ไม่มีสะพานโค้ง ห้อยหัว ฉีกแข้งฉีกขา แบบที่ผมเคยเจอที่ไทย มีแต่การอยู่กับลมหายใจ และค่อยๆ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อออกไป...ผมคงได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายสำหรับเรื่องโยคะ และสำหรับเรื่องชีวิตก็เช่นกัน ผมคงต้องพยายามอยู่กับปัจจุบัน และค่อยๆ ให้เวลามันคืบคลานไปตามทางของมัน...รอวันที่จะได้ลากกระเป๋ากลับบ้าน เหมือนหนุ่มบาห์เรนวันนี้ ผมจำจดรอยยิ้มของเขา มันเป็นยิ้มที่อินเดียฝากความทรงจำมากมายไว้กับเขา รอยยิ้มที่อินเดียฝากไว้มีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวมัน
สัปดาห์นี้ผมมีประสบการณ์หนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง
"Home is where the heart is."
.
เมื่อสองสามสัปดาห์ก่อน มีข้อความทักเข้ามาจาก app Counchsufing มีเปิดดูโปรไฟล์ผู้ที่ทักเข้ามา ก็พบว่าเป็นชายชรา ที่ไม่ใช่เรื่องปกตินักที่เจอในแอปนี้
.
ยัศปาล (Yashpal) กล่าวทักทายว่าจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ เผื่อจะได้มาเจอกัน ผมบอกเขาว่าตอนนี้ผมมาอาศัยอยู่ที่เมืองปูเน่ ประเทศอินเดีย เป็นความบังเอิญที่เขาก็อาศัยอยู่ในเมืองเดียวกับผม
.
ผมบอกเขาว่าผมยินดีที่จะช่วยเขาวางแผนทริปมาเมืองไทย ถ้าเขาว่างวันไหนให้ทักข้อความมา เราสามารถหาร้านกาแฟนั่งคุยกันได้ในสักวัน แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่ได้เจอกันสักที จนผมคิดว่าคงไม่ได้เจอเขา
.
อีกอย่างหนึ่ง ผมไม่เคยมีเพื่อนอายุมากเท่านี้ และก็กังวลว่าการเจอกันคุยกัน เราจะคุยกันรู้เรื่องไหม ช่องว่างของอายุย่อมทำให้เรามีทัศนคติต่อสิ่งต่างๆ แตกต่างกันออกไป บางทีการเจอกันเราอาจจะคุย จะมองโลกกันคนละแบบก็ได้
.
จนกระทั่งวันเสาร์นี้ น่าจะเป็นวันเสาร์แรกที่ตัวเองสิงสถิตอยู่หอพัก ยัศปาล ทักข้อความมาพอดีว่าวันนี้เขาว่าง พร้อมส่งโลเคชั่นร้านกาแฟมาให้ผม แต่ผมก็ตอบกลับเขาไปว่ามันไกลจากที่พักผมเกินไป ผมพักอยู่แถวห้าง Westend เขาตอบกลับมาว่าไม่มีปัญหาเราเจอกันที่นั่นได้
.
เขาใช้เวลาขับมอเตอร์ไซต์ชั่วโมงกว่าๆ มาถึงที่นัดหมาย ผมประหม่าพอสมควร แต่แอคชั่นแรกที่ผมเห็นเขายิ่งทำให้ผมประหม่ายิ่งกว่า เมื่อเขารีบวิ่งไปจองโต๊ะอาหาร ในขณะที่ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังจะนั่งที่เก้าอี้ เขาพูดเป็นภาษาท้องถิ่นประมาณเขามาก่อน และไล่ชายหนุ่มคนดังกล่าวให้ไปนั่งที่อื่น
.
"ไม่ต้องตกใจ อินเดียคุณจำเป็นต้องทำแบบนี้ มันเป็นเรื่องปกติของที่นี่"
เขากล่าว แต่สำหรับผมมันไม่ใช่เรื่องปกติ แต่พอเข้าใจได้ว่าใครๆ ที่นี่เขาก็ทำกัน โดยเฉพาะเมื่อแก่ตัวลง เราจะแคร์คนอื่นน้อยลง มันคงเป็นเช่นนั้น
.
ยัศปาล ทำงานเป็นนักข่าวเหมือนกันกับผม เขาทำงานอยู่ในแวดวงสื่อ 35 ปี จากหนังสือพิมพ์มาสู่โทรทัศน์ และช่วงสุดท้ายเขาทำงานในวงการ Film เรื่องราวของเขาน่าสนใจใช่ย่อย เขาเดินทางเที่ยวมาเกือบทั่วโลกแล้ว ไม่มีครอบครัว อาศัยอยู่กับแม่ ถ้ามองจากภายนอก บุคลิกและท่าทางของเขาอาจจะดูไม่น่าคุยด้วยเสียเท่าไหร่เลย แต่เมื่อได้ลองนั่งคุย กับพบว่าเขาเป็นคู่สนทนาที่ดี
.
เขาถามผมหลายคำถาม ผมบอกเขาว่ามีแผนที่จะเรียนต่อปริญญาโทในอินเดียอยู่เหมือนกัน ผมบอกว่าสนใจเรียนสาขาปรัชญา กับ Jounalist เขาถามว่าทำไมถึงอยากเรียนปรัชญามันหางานยากมากเลยนะ
.
ผมอธิบายให้เขาฟัง กลัวเหมือนกันว่าเขาจะตัดสินความคิดเห็นของผม แต่ไม่ใช่...เขาเพียงแนะนำว่าถ้าสนใจปรัชญาคุณสามารถอ่านจากหนังสือได้ ให้ลองคิดดีๆ ก่อนตัดสินใจเรียน
.
.
บทสนทนาไหลลื่น 1-2 ชั่วโมง การคุยกับเขาสนุกอย่างเหลือเชื่อ แถมเขายังเป็นครูภาษาอังกฤษที่ดีชั้นเยี่ยมเวลาสนทนากับเขา เขาบอกว่าปีหน้าอยากมาเที่ยวแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาจจะไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษที่กัมพูชา ยัศปาล อายุ 70 ปีแล้ว แต่พลังวัยหนุ่มของเขายังเหลือเฟือ
.
ท้องฟ้านอกหน้าต่างเริ่มมืดและครึ้มฝน เขาบอกผมว่าไว้คราวหน้าจะชวนไปดูหนังอินเดียในโรงหนังอินเดีย การได้พบเจอและพูดคุยกับเขาเป็นประสบการณ์ที่ดี แม้จะมีอายุต่างกันราวคุณปู่กับหลาน ก็ใช่ว่าเราจะไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงและร้อยเรียงเรื่องราวสู่กันและกัน
.
กลับกันการได้แลกเปลี่ยนกับเขา ผมเองก็ได้มุมมองใหม่ๆ และก็เชื่อว่าเขาเองก็ได้รับมุมมองใหม่ๆ จากคนหนุ่มแบบผมเช่นกัน
.
Keep in touch ยัศปาลกล่าวกับผม ก่อนค่อยๆ เดินไปสตาร์ทมอเตอร์ไซต์
.
EP.7 Tung Fort พิชิตยอดเขาในอินเดียตะวันตก
https://ppantip.com/topic/41581633
(ภาพส่วนใหญ่จากบทความชิ้นนี้มาจากงานเต้นรำกลางสี่แยกเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เฉลิมฉลองให้กับนักกิจกรรมทางสังคมท่านหนึ่ง ที่เป็นตัวแทนการต่อสู้ของแรงงาน)
.