ก่อนตัดสินใจเดินทางไปเรียน ผมเคยตั้งกระทู้ถามคนในพันทิปด้วยคำถามว่า ‘งบ 3 แสน อยากไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอก 1 ปี ไปที่ไหนดี’ และนี่คือบางส่วนของคำตอบที่ได้รับ
"ยากครับ 3 แสนได้ที่อินเดียสักกึ่งปี ยิ่งช่วงนี้ค่าเงินบาทอ่อนโคตรๆ เลยนะครับ ประเทศอื่น ถูกๆ ก็ต้องมี 8 แสนต่อปีครับ"
"ถ้ามีงบเท่านี้จริงๆ ไม่ว่าประเทศไหน ฟิลิปปินส์ ปีนัง(มาเลย์) อินเดีย ยังไงก็ได้ไม่ถึงปีแน่นอนครับ เต็มที่เลย ผมให้ 8-10เดือน เท่านั้นแหละ"
"คหสต. 3 แสนไม่น่าพอสำหรับ 1 ปีนะคะ ยิ่งไม่ได้ทำงานพิเศษเสริมด้วยอีก"
“300,000/12 เดือน=25,000 บาท/เดือน เรียนอยู่ไทยยังลำบากเลย”
.
สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำว่า อย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลที่ได้รับ จากคนที่เรายังไม่รู้จริงๆ ว่าเขาเคยมีประสบการณ์ที่จะตอบคำถามเรา หรือเพียงตอบออกมาจากการคาดคะเนของตัวเอง จริงๆ ทุกความคิดเห็นเต็มไปด้วยความหวังดี แน่นอนมันทำให้ผมเป็นกังวลใจอย่างมากก่อนการเดินทาง แต่เมื่อผมคำนวณค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองดูแล้ว จากการหาข้อมูลจากคนที่เคยไปเรียนมา ผมก็มั่นใจว่างบ 3 แสนที่ผมมีนั้นเพียงพออย่างแน่นอน
.
เมืองปูเน่, อินเดีย
.
ผมตัดสินใจส่งเมลไปสมัครเรียนกับทางสถาบันที่ชื่อว่า ELTIS ในเมืองปูเน่ โดยคอร์สเรียนมีแบบ 6 เดือนกับ 1 ปี ควรสมัครเรียนล่วงหน้า 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ส่วนระยะเวลานั้นตอนนี้เข้าใจว่า มีเปิดทำการเรียนการสอนตลอดทั้งปี
.
Email เจ้าหน้าที่สำหรับสมัครเรียน: is.coord@eltis.edu.in (Name: Sarah)
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการสมัครเรียน:
1.ใบสมัครเรียน
2.สำเนาใบรายงานผลการเรียน
3.สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
4.รูปถ่ายขนาดบัตรประจำตัว 1 รูป
.
หลังจากสมัครเรียนเรียบร้อย เราจะต้องจ่ายค่าสมัครเรียนด้วยการโอนเงินไปต่างประเทศ สามารถทำรายการได้ที่ธนาคารในไทย หลังจ่ายเงินเรียบร้อยเราจะได้ใบตอบรับการเข้าเรียน ก็ถึงเวลาไปขอวีซ่า โดยการยื่นขอวีซ่านั้น สามารถทำผ่านทางเอเจนซี่ที่มีชื่อว่า VFS Team โดยต้องมีการส่งเอกสารทางออนไลน์ไปก่อน ถึงจะสามารถนัดวันทำวีซ่าได้ ตามลิงก์นี้
https://indianvisaonline.gov.in/visa/index.html
.
เอกสารที่ต้องใช้คือ
- รูปถ่ายพื้นหลังสีขาว 2 นิ้ว X 2 นิ้ว 2 รูป อายุรูปไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรบัตรประชาชน 1 ฉบับ เตรียมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- สำเนาทะเบียนบ้าน เตรียมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (ขอสำเนาภาษาอังกฤษได้ที่เขต)
- สำเนาสูติบัตร ไทยและอังกฤษ (แปลและรับรองจากศูนย์แปล)
- สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ ฉบับไทยและอังกฤษ(แปลและรับรองจากศูนย์แปล)
- ใบตอบรับจากทางโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย (BONAFIDE) ฉบับจริงพร้อมฉบับสำเนา
- สำเนาใบรายงานผลการเรียน ฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) จำนวน 1 ฉบับ
- เอกสารเพื่อยืนยันว่าสถาบันไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ AICTE (คุยกับทางสถาบันที่เราสมัครเรียน)
- Bank Statement จะต้องแสดงรายการเดินบัญชีธนาคาร(Bank Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน ยอดถึงเดือนที่มายื่นขอวีซ่า และต้องเป็นยอดล่าสุดก่อนมายื่นไม่เกิน 4 วันทำการ (วันที่มานำสมุดบัญชีเงินฝากมาด้วย)"
- ก่อนไปยื่น 2-3 วัน กรอกแบบฟอร์มออนไลน์
https://indianvisaonline.gov.in/visa/Registration และปริ้นออกมา
.
หลังจากเตรียมเอกสารทั้งหมดนี้แล้ว ให้ถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมดนี้อีก 1 ชุด* ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาเอกสารทุกหน้า (ยกเว้น หนังสือตอบรับจากทางโรงเรียน BONAFIDE ตัวจริง) ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาเอกสารให้เหมือนกับลายเซ็นที่แสดงในเล่มหนังสือเดินทาง วีซ่านักเรียนใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อย 10 วันทำการ ระหว่างพิจารณาอาจมีเรียก INTERVIEW/ขอเอกสารเพิ่มเติม
.
สำหรับระยะเวลาในการรอวีซ่านั้น ยากเกินจะคาดเดา บางคนไม่ถึง 1 อาทิตย์ก็ได้ บางคนรอเกือบเดือน ทั้งเมื่อได้วีซ่ามาแล้วต้องตรวจสอบดูให้ดีๆ อย่างของผมไปเรียน 1 ปี ได้วีซ่ามาแค่ 10 เดือน ต้องเสียเวลาไปต่อวีซ่าที่อินเดียอีกรอบ สิ่งเดียวที่ต้องทำไว้เยอะๆ ก่อนไปอินเดียคือทำใจ
ช่องทางติดต่อเบอร์ศูนย์วีซ่า 021687743 0611756304 อีเมล: info.inbkk@vfshelpline.com
.
.
หลังจากได้วีซ่าแล้วก็สามารถดำเนินการทำรายการต่อไปดังนี้ได้
- จองตั๋วเครื่องบิน (แนะนำการบินไทย)
- ฉีดวัคซีนโรคเขตร้อน (จำเป็น) ที่นี่
https://www.tropmedhospital.com/covid-vaccine
- ซื้อประกันสุขภาพ
- ทำใบขับขี่สากล (ในกรณีที่จะซื้อรถมาไว้ใช้ สามารถจองคิวและไปทำได้ตามขนส่ง)
- อัปโหลดสำเนาเอกสารทั้งหมดขึ้น Cloud Storage
- ซื้อซิมผมใช้ Sim to fly ของ AIS ในช่วงแรก แนะนำว่าควรซื้อไปจากไทย เพราะการเปิดซิมอินเดียค่อนข้างยาก
.
- หาที่พักในอินเดีย สามารถแจ้งทางสถาบันที่เรียนให้ช่วยแนะนำให้ได้ โดยมีทั้งหอใน หอนอก แนะนำว่าช่วงแรกให้ฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ เพราะหอพักส่วนใหญ่ที่เขาแนะนำไว้ใจได้ระดับหนึ่ง อย่าเพิ่งตัดสินใจหาหอพักด้วยตัวเองเพราะเสี่ยงถูกโกง ถ้าคิดไม่ออกให้มาอยู่ที่หอพักชื่อ Better living ที่นี่เจ้าของคุยง่าย ทำเอกสารให้เราไวมาก หลังจากนั้นจะย้ายออกก็ทำได้ง่าย เพราะที่นี่เราไม่ต้องเสียค่ามัดจำ แม้ว่าจะพักแค่ 1-2 เดือน
.
- แลกเงินค่าเทอม / ค่ากินอยู่ช่วงแรก โดยค่าเทอมจ่ายเป็นดอลลาร์ ส่วนค่ากินอยู่ช่วงแรกนั้นผมแลกเงินรูปีไปจากไทยประมาณ 40,000 รูปี สำหรับค่าแรกเข้าหอพัก และค่ากินในเดือนแรก
.
สำหรับการใช้เงินที่อินเดียนั้น สามารถใช้บัตรเดบิตไทยกดเงินที่ตู้ได้ ผมใช้บัตรกรุงไทยทราเวลการ์ด ส่วนเพื่อนคนอื่นก็จะมีบางคนใช้ TTB all free นอกจากนี้เวลาซื้อของในห้าง ก็ใช้บัตรรูดได้เลย ไม่ต้องห่วงเรื่องการกดเงิน หรือเปิดบัญชีธนาคารอินเดียให้วุ่นวาย แนะนำว่าเวลากดเงินให้เลือกกดจากตู้ธนาคาร SBI เพราะค่าธรรมเนียมถูก
.
ภาพระหว่างการท่องเที่ยวอินเดียเหนือ เทือกเขาหิมาลัย
.
ของอื่นๆ ที่ต้องเตรียมไป ก็ยาสามัญทั่วไป แต่ทั้งนี้ที่อินเดียและที่สถาบันการเรียน ก็มีหมอมียาให้ ไม่ต้องห่วง รวมทั้งเรื่องของกินก็พกน้ำพริกแห้งไว้บ้างก็ดี เพราะกินเครื่องเทศอินเดียบ่อยๆ แล้วคิดถึงกลิ่นอาหารไทย
.
นอกจากนี้ก็เสื้อผ้า ในอินเดียฤดูกาลจะเป็นไปตามธรรมชาติ กล่าวคือในเมืองปูเน่ ฤดูฝน ฝนก็ตกติดต่อกันเป็นเดือนๆ ฤดูหนาวก็ได้หยิบเสื้อหนาวมาใส่จนเบื่อ ฤดูร้อนก็ร้อน
ดังนั้นเตรียมตัวรับการสภาพอากาศตามแต่ที่สะดวก
.
หลังจากเตรียมตัวทุกอย่างเรียบร้อยก็ถึงเวลาออกเดินทาง ส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินจะมาปล่อยเราทิ้งไว้ที่เมืองมุมไบ ก่อนต้องหารถไปเมืองปูเน่ สิ่งที่แนะนำได้คือให้ใช้บริการรถของ KK Travel เวลาออกมาจากอาคารสนามบิน ให้มองหาป้าย KK Travel เขามีลูกค้าคนไทยเยอะ แค่บอกเขาว่าจะไปเมืองปูเน่ เขาจะให้เราเลือกแบบเหมาคัน กับแชร์ไปกับผู้โดยสารคนอื่น โดยส่วนใหญ่เป็นรถ SUV นั่งสะดวกสบาย 3-4 ชั่วโมงก็ถึงเมืองปูเน่แล้ว ถ้าแชร์ผู้โดยสารค่าโดยสารประมาณ 1000 - 1500 รูปี แล้วแต่อารมณ์คนขายตั๋ว
.
เมื่อมาถึงเมืองปูเน่ อย่างแรกควรหาที่ซุกหัวนอนก่อน เมื่อหาได้แล้วก็เดินทางไปจ่ายค่าเทอม และขอคำแนะนำเรื่องหอพักจากทางโรงเรียน โดยต้องจำไว้ว่าเราต้องทำเรื่องหอพักให้เสร็จภายใน 14 วัน เพราะเราต้องลงทะเบียนเข้าเมืองให้เรียบร้อย
.
ห้องพักที่หอ Better living
.
การลงทะเบียนเข้าเมืองนั้นต้องบอกว่าไม่ง่าย ยุ่งยากและเสียเวลา บางคนถึงขั้นปาดเหงื่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเอกสารและที่พักของคุณ ของผมเจ้าของหอพักบอกให้จ่ายเงินให้เขา 1,500 รูปี เพียงแค่ 2 วัน ผมก็ได้เอกสาร House Agreement & C-Form ที่เป็นเอกสารสำคัญสำหรับใช้ลงทะเบียนเข้าเมือง ถ้าไปเจอหอพักหรือเอเจนซี่ไม่ดี เราต้องเดินเรื่องทำเอกสารพวกนี้เอง ทั้งยังต้องไปติดต่อกับสถานีตำรวจในท้องที่ด้วย
.
เมื่อได้ House Agreement & C-Form มาแล้ว ก็สามารถไปลงทะเบียนกับ FRRO ได้ที่ลิงก์นี้
http://indianfrro.gov.in/frro/ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ต้องห่วง ระหว่างขั้นตอนต่างๆ นี้ ทางโรงเรียนจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลเรา เวลาติดขัดมีปัญหาแม้มันจะยากไปบ้าง แต่ก็ไม่มีนักเรียนคนไหนจะทำไม่ผ่านถ้าคิดในอีกมุมหนึ่ง
.
หากใครโชคดียื่นเอกสารออนไลน์ รอสัก 1-2 อาทิตย์ก็ผ่าน แต่บางคนก็ต้องเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน แต่ไม่ต้องตกใจกลัวไป เขาเพียงแค่ต้องการเอกสารตัวจริง และอยากเห็นหน้าเราก็เท่านั้น
.
โดยในระหว่างที่รอ RP หรือการลงทะเบียนเข้าเมืองนั้น เราสามารถเดินทางไปเปิดซิมการ์ดได้ โดยผมเลือกเปิดซิมกับเครือข่าย Airtel ด้วยเหตุผลที่เปิดง่ายสุด สำหรับสถานที่เปิดซิมนั้น ก็ตามช็อปมือถือทั่วไปข้างทาง อย่าไปที่ช็อปของเครือข่ายมือถือเพราะส่วนใหญ่มันไม่เปิดให้ ถ้าให้ดีควรหาเพื่อนคนอินเดียให้ช่วยพาไปเปิดซิม ไม่ต้องห่วงเรื่องการหาเพื่อนเป็นคนอินเดียสักคน ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ก่อนเป็นเพื่อนกับใครก็ดูดีๆ
.
หากได้หอพัก เปิดซิม ลงทะเบียนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีด้วยว่า ชีวิตจะราบรื่นลงไปเยอะ ต่อจากนี้ก็ขอให้สนุกกับชีวิตในอินเดีย แต่ก็อย่าสนุกจนเพลินจนลืมว่าที่นี่คืออินเดีย ไม่ใช่ไทยแลนด์บ้านเกิดของเรา
.
บรรยากาศในโรงเรียน ผู้ชายเสื้อเชิ๊ตสีน้ำตาลตรงกลางภาพนั่นเพื่อนซี้ผม เป็นสุตต่าลมาจากประเทศเยเมน -.-
.
สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้น สามารถแบ่งได้ตามนี้ โดยอ้างอิงค่าเงินจาก 1 รูปี เท่ากับ 0.43 บาทไทย
ค่าหอพัก 12,000 รูปีต่อเดือน (5,160 บาทต่อเดือน) ผมเลือกหอพักที่ถือว่าอยู่ในระดับแพง แพงขนาดที่ว่าเพื่อนอินเดียบอกว่าโง่จ่ายไปได้ยังไงทุกเดือน เพราะโดยส่วนใหญ่นักเรียนอินเดียที่นี่จ่ายค่าหอพัก กันอยู่ราวๆ 6-7 พันรูปีต่อเดือน แต่ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ก็คือการแชร์ห้องกับคนอื่น ที่อินเดียเขาชอบทำห้องพักใหญ่ๆ เริ่มตั้งแต่ 1-3 ห้องนอน และคนเช่าส่วนใหญ่ก็มักจะมาแชร์กัน
.
ส่วนข้อดีของหอพัก Better living ที่ผมอยู่คือ เป็นหอพักนักศึกษาต่างชาติ ที่ได้ฝึกภาษา มีคนทำความสะอาด 1 ห้องน้ำแชร์กัน 3 ห้อง มีห้องครัวและคนไทยคอยทำกับข้าวกินกันตลอด เรียกได้ว่าอยู่ที่นี่เอนจอยไม่มีเหงา
.
ค่ากิน/ค่าเดินทาง 7,000 รูปีต่อเดือน (3,000 บาทต่อเดือน) อาหารการกินของอินเดียคือถูกมาก ทั้งนี้ราคานี้คือผมเน้นกินอาหารข้างทางเป็นหลักนะครับ โดยมื้ออาหารในแต่ละวัน ก็จะเริ่มจากข้าวเช้าโพฮากับชา 30 รูปี ข้าวกลางวันเป็นจาปาตีกับแกง 60-100 รูปี และข้าวเย็นเป็นข้าวผัดไก่ 100 รูปี มีช่วงหลังๆ เริ่มทำกับข้าว วัตถุดิบพวกผักก็ถูกมาก ผมว่าอาหารการกินมาอยู่ที่นี่ไม่ค่อยต่างจากไทยเท่าไหร่ ถ้าไม่นับเรื่องเนื้อสัตว์ที่ได้กินแต่ไข่กับไก่
.
ส่วนการเดินทางนั้นผมใช้รถเมล์ เรียกว่าค่อนข้างสมบุกสมบัน แต่สนุกดี 555 โดยส่วนใหญ่ นักศึกษาต่างชาติมักซื้อมอเตอร์ไซต์มือสอง ราคา 2-3 หมื่นรูปี หรือไม่ก็นั่งริกชอร์ ตกวันละ 100-200 รูปี ส่วนสำหรับผมค่ารถเมล์ขาละ 10 รูปี
.
ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ 14,000 บาท ของการบินไทย มาลงที่มุมไบ และต่อรถมาที่เมืองปูเน่ประมาณ 4 ชั่วโมง
ค่าประกันสุขภาพของ Msig 14,000 บาท ทั้งนี้ที่สถาบันการเรียนก็มีประกันสุขภาพให้ แต่ครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยใน แต่ประกันสุขภาพที่ทำมาก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อนสำหรับผู้ป่วยนอก แถมเวลาจะเบิกก็ยุ่งยากมาก
.
อ่านเรื่องราวต่อได้ด้านล่าง
กำเงิน 2 แสนบาท ไปเรียนภาษาอังกฤษที่อินเดีย 1 ปี
ก่อนตัดสินใจเดินทางไปเรียน ผมเคยตั้งกระทู้ถามคนในพันทิปด้วยคำถามว่า ‘งบ 3 แสน อยากไปเรียนภาษาอังกฤษที่เมืองนอก 1 ปี ไปที่ไหนดี’ และนี่คือบางส่วนของคำตอบที่ได้รับ
"ยากครับ 3 แสนได้ที่อินเดียสักกึ่งปี ยิ่งช่วงนี้ค่าเงินบาทอ่อนโคตรๆ เลยนะครับ ประเทศอื่น ถูกๆ ก็ต้องมี 8 แสนต่อปีครับ"
"ถ้ามีงบเท่านี้จริงๆ ไม่ว่าประเทศไหน ฟิลิปปินส์ ปีนัง(มาเลย์) อินเดีย ยังไงก็ได้ไม่ถึงปีแน่นอนครับ เต็มที่เลย ผมให้ 8-10เดือน เท่านั้นแหละ"
"คหสต. 3 แสนไม่น่าพอสำหรับ 1 ปีนะคะ ยิ่งไม่ได้ทำงานพิเศษเสริมด้วยอีก"
“300,000/12 เดือน=25,000 บาท/เดือน เรียนอยู่ไทยยังลำบากเลย”
.
สิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำว่า อย่าเพิ่งเชื่อข้อมูลที่ได้รับ จากคนที่เรายังไม่รู้จริงๆ ว่าเขาเคยมีประสบการณ์ที่จะตอบคำถามเรา หรือเพียงตอบออกมาจากการคาดคะเนของตัวเอง จริงๆ ทุกความคิดเห็นเต็มไปด้วยความหวังดี แน่นอนมันทำให้ผมเป็นกังวลใจอย่างมากก่อนการเดินทาง แต่เมื่อผมคำนวณค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองดูแล้ว จากการหาข้อมูลจากคนที่เคยไปเรียนมา ผมก็มั่นใจว่างบ 3 แสนที่ผมมีนั้นเพียงพออย่างแน่นอน
.
เมืองปูเน่, อินเดีย
.
ผมตัดสินใจส่งเมลไปสมัครเรียนกับทางสถาบันที่ชื่อว่า ELTIS ในเมืองปูเน่ โดยคอร์สเรียนมีแบบ 6 เดือนกับ 1 ปี ควรสมัครเรียนล่วงหน้า 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ส่วนระยะเวลานั้นตอนนี้เข้าใจว่า มีเปิดทำการเรียนการสอนตลอดทั้งปี
.
Email เจ้าหน้าที่สำหรับสมัครเรียน: is.coord@eltis.edu.in (Name: Sarah)
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการสมัครเรียน:
1.ใบสมัครเรียน
2.สำเนาใบรายงานผลการเรียน
3.สำเนาหนังสือเดินทาง 1 ฉบับ
4.รูปถ่ายขนาดบัตรประจำตัว 1 รูป
.
หลังจากสมัครเรียนเรียบร้อย เราจะต้องจ่ายค่าสมัครเรียนด้วยการโอนเงินไปต่างประเทศ สามารถทำรายการได้ที่ธนาคารในไทย หลังจ่ายเงินเรียบร้อยเราจะได้ใบตอบรับการเข้าเรียน ก็ถึงเวลาไปขอวีซ่า โดยการยื่นขอวีซ่านั้น สามารถทำผ่านทางเอเจนซี่ที่มีชื่อว่า VFS Team โดยต้องมีการส่งเอกสารทางออนไลน์ไปก่อน ถึงจะสามารถนัดวันทำวีซ่าได้ ตามลิงก์นี้ https://indianvisaonline.gov.in/visa/index.html
.
เอกสารที่ต้องใช้คือ
- รูปถ่ายพื้นหลังสีขาว 2 นิ้ว X 2 นิ้ว 2 รูป อายุรูปไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ
- สำเนาบัตรบัตรประชาชน 1 ฉบับ เตรียมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- สำเนาทะเบียนบ้าน เตรียมทั้งภาษาไทยและอังกฤษ (ขอสำเนาภาษาอังกฤษได้ที่เขต)
- สำเนาสูติบัตร ไทยและอังกฤษ (แปลและรับรองจากศูนย์แปล)
- สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อ ฉบับไทยและอังกฤษ(แปลและรับรองจากศูนย์แปล)
- ใบตอบรับจากทางโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย (BONAFIDE) ฉบับจริงพร้อมฉบับสำเนา
- สำเนาใบรายงานผลการเรียน ฉบับภาษาอังกฤษ (TRANSCRIPT) จำนวน 1 ฉบับ
- เอกสารเพื่อยืนยันว่าสถาบันไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ AICTE (คุยกับทางสถาบันที่เราสมัครเรียน)
- Bank Statement จะต้องแสดงรายการเดินบัญชีธนาคาร(Bank Statement) ย้อนหลัง 6 เดือน ยอดถึงเดือนที่มายื่นขอวีซ่า และต้องเป็นยอดล่าสุดก่อนมายื่นไม่เกิน 4 วันทำการ (วันที่มานำสมุดบัญชีเงินฝากมาด้วย)"
- ก่อนไปยื่น 2-3 วัน กรอกแบบฟอร์มออนไลน์ https://indianvisaonline.gov.in/visa/Registration และปริ้นออกมา
.
หลังจากเตรียมเอกสารทั้งหมดนี้แล้ว ให้ถ่ายสำเนาเอกสารทั้งหมดนี้อีก 1 ชุด* ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาเอกสารทุกหน้า (ยกเว้น หนังสือตอบรับจากทางโรงเรียน BONAFIDE ตัวจริง) ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาเอกสารให้เหมือนกับลายเซ็นที่แสดงในเล่มหนังสือเดินทาง วีซ่านักเรียนใช้เวลาพิจารณาอย่างน้อย 10 วันทำการ ระหว่างพิจารณาอาจมีเรียก INTERVIEW/ขอเอกสารเพิ่มเติม
.
สำหรับระยะเวลาในการรอวีซ่านั้น ยากเกินจะคาดเดา บางคนไม่ถึง 1 อาทิตย์ก็ได้ บางคนรอเกือบเดือน ทั้งเมื่อได้วีซ่ามาแล้วต้องตรวจสอบดูให้ดีๆ อย่างของผมไปเรียน 1 ปี ได้วีซ่ามาแค่ 10 เดือน ต้องเสียเวลาไปต่อวีซ่าที่อินเดียอีกรอบ สิ่งเดียวที่ต้องทำไว้เยอะๆ ก่อนไปอินเดียคือทำใจ
ช่องทางติดต่อเบอร์ศูนย์วีซ่า 021687743 0611756304 อีเมล: info.inbkk@vfshelpline.com
.
.
หลังจากได้วีซ่าแล้วก็สามารถดำเนินการทำรายการต่อไปดังนี้ได้
- จองตั๋วเครื่องบิน (แนะนำการบินไทย)
- ฉีดวัคซีนโรคเขตร้อน (จำเป็น) ที่นี่ https://www.tropmedhospital.com/covid-vaccine
- ซื้อประกันสุขภาพ
- ทำใบขับขี่สากล (ในกรณีที่จะซื้อรถมาไว้ใช้ สามารถจองคิวและไปทำได้ตามขนส่ง)
- อัปโหลดสำเนาเอกสารทั้งหมดขึ้น Cloud Storage
- ซื้อซิมผมใช้ Sim to fly ของ AIS ในช่วงแรก แนะนำว่าควรซื้อไปจากไทย เพราะการเปิดซิมอินเดียค่อนข้างยาก
.
- หาที่พักในอินเดีย สามารถแจ้งทางสถาบันที่เรียนให้ช่วยแนะนำให้ได้ โดยมีทั้งหอใน หอนอก แนะนำว่าช่วงแรกให้ฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ เพราะหอพักส่วนใหญ่ที่เขาแนะนำไว้ใจได้ระดับหนึ่ง อย่าเพิ่งตัดสินใจหาหอพักด้วยตัวเองเพราะเสี่ยงถูกโกง ถ้าคิดไม่ออกให้มาอยู่ที่หอพักชื่อ Better living ที่นี่เจ้าของคุยง่าย ทำเอกสารให้เราไวมาก หลังจากนั้นจะย้ายออกก็ทำได้ง่าย เพราะที่นี่เราไม่ต้องเสียค่ามัดจำ แม้ว่าจะพักแค่ 1-2 เดือน
.
- แลกเงินค่าเทอม / ค่ากินอยู่ช่วงแรก โดยค่าเทอมจ่ายเป็นดอลลาร์ ส่วนค่ากินอยู่ช่วงแรกนั้นผมแลกเงินรูปีไปจากไทยประมาณ 40,000 รูปี สำหรับค่าแรกเข้าหอพัก และค่ากินในเดือนแรก
.
สำหรับการใช้เงินที่อินเดียนั้น สามารถใช้บัตรเดบิตไทยกดเงินที่ตู้ได้ ผมใช้บัตรกรุงไทยทราเวลการ์ด ส่วนเพื่อนคนอื่นก็จะมีบางคนใช้ TTB all free นอกจากนี้เวลาซื้อของในห้าง ก็ใช้บัตรรูดได้เลย ไม่ต้องห่วงเรื่องการกดเงิน หรือเปิดบัญชีธนาคารอินเดียให้วุ่นวาย แนะนำว่าเวลากดเงินให้เลือกกดจากตู้ธนาคาร SBI เพราะค่าธรรมเนียมถูก
.
ภาพระหว่างการท่องเที่ยวอินเดียเหนือ เทือกเขาหิมาลัย
.
ของอื่นๆ ที่ต้องเตรียมไป ก็ยาสามัญทั่วไป แต่ทั้งนี้ที่อินเดียและที่สถาบันการเรียน ก็มีหมอมียาให้ ไม่ต้องห่วง รวมทั้งเรื่องของกินก็พกน้ำพริกแห้งไว้บ้างก็ดี เพราะกินเครื่องเทศอินเดียบ่อยๆ แล้วคิดถึงกลิ่นอาหารไทย
.
นอกจากนี้ก็เสื้อผ้า ในอินเดียฤดูกาลจะเป็นไปตามธรรมชาติ กล่าวคือในเมืองปูเน่ ฤดูฝน ฝนก็ตกติดต่อกันเป็นเดือนๆ ฤดูหนาวก็ได้หยิบเสื้อหนาวมาใส่จนเบื่อ ฤดูร้อนก็ร้อน ดังนั้นเตรียมตัวรับการสภาพอากาศตามแต่ที่สะดวก
.
หลังจากเตรียมตัวทุกอย่างเรียบร้อยก็ถึงเวลาออกเดินทาง ส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินจะมาปล่อยเราทิ้งไว้ที่เมืองมุมไบ ก่อนต้องหารถไปเมืองปูเน่ สิ่งที่แนะนำได้คือให้ใช้บริการรถของ KK Travel เวลาออกมาจากอาคารสนามบิน ให้มองหาป้าย KK Travel เขามีลูกค้าคนไทยเยอะ แค่บอกเขาว่าจะไปเมืองปูเน่ เขาจะให้เราเลือกแบบเหมาคัน กับแชร์ไปกับผู้โดยสารคนอื่น โดยส่วนใหญ่เป็นรถ SUV นั่งสะดวกสบาย 3-4 ชั่วโมงก็ถึงเมืองปูเน่แล้ว ถ้าแชร์ผู้โดยสารค่าโดยสารประมาณ 1000 - 1500 รูปี แล้วแต่อารมณ์คนขายตั๋ว
.
เมื่อมาถึงเมืองปูเน่ อย่างแรกควรหาที่ซุกหัวนอนก่อน เมื่อหาได้แล้วก็เดินทางไปจ่ายค่าเทอม และขอคำแนะนำเรื่องหอพักจากทางโรงเรียน โดยต้องจำไว้ว่าเราต้องทำเรื่องหอพักให้เสร็จภายใน 14 วัน เพราะเราต้องลงทะเบียนเข้าเมืองให้เรียบร้อย
.
ห้องพักที่หอ Better living
.
การลงทะเบียนเข้าเมืองนั้นต้องบอกว่าไม่ง่าย ยุ่งยากและเสียเวลา บางคนถึงขั้นปาดเหงื่อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเอกสารและที่พักของคุณ ของผมเจ้าของหอพักบอกให้จ่ายเงินให้เขา 1,500 รูปี เพียงแค่ 2 วัน ผมก็ได้เอกสาร House Agreement & C-Form ที่เป็นเอกสารสำคัญสำหรับใช้ลงทะเบียนเข้าเมือง ถ้าไปเจอหอพักหรือเอเจนซี่ไม่ดี เราต้องเดินเรื่องทำเอกสารพวกนี้เอง ทั้งยังต้องไปติดต่อกับสถานีตำรวจในท้องที่ด้วย
.
เมื่อได้ House Agreement & C-Form มาแล้ว ก็สามารถไปลงทะเบียนกับ FRRO ได้ที่ลิงก์นี้ http://indianfrro.gov.in/frro/ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ต้องห่วง ระหว่างขั้นตอนต่างๆ นี้ ทางโรงเรียนจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยดูแลเรา เวลาติดขัดมีปัญหาแม้มันจะยากไปบ้าง แต่ก็ไม่มีนักเรียนคนไหนจะทำไม่ผ่านถ้าคิดในอีกมุมหนึ่ง
.
หากใครโชคดียื่นเอกสารออนไลน์ รอสัก 1-2 อาทิตย์ก็ผ่าน แต่บางคนก็ต้องเดินทางไปพบกับเจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน แต่ไม่ต้องตกใจกลัวไป เขาเพียงแค่ต้องการเอกสารตัวจริง และอยากเห็นหน้าเราก็เท่านั้น
.
โดยในระหว่างที่รอ RP หรือการลงทะเบียนเข้าเมืองนั้น เราสามารถเดินทางไปเปิดซิมการ์ดได้ โดยผมเลือกเปิดซิมกับเครือข่าย Airtel ด้วยเหตุผลที่เปิดง่ายสุด สำหรับสถานที่เปิดซิมนั้น ก็ตามช็อปมือถือทั่วไปข้างทาง อย่าไปที่ช็อปของเครือข่ายมือถือเพราะส่วนใหญ่มันไม่เปิดให้ ถ้าให้ดีควรหาเพื่อนคนอินเดียให้ช่วยพาไปเปิดซิม ไม่ต้องห่วงเรื่องการหาเพื่อนเป็นคนอินเดียสักคน ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก แต่ก่อนเป็นเพื่อนกับใครก็ดูดีๆ
.
หากได้หอพัก เปิดซิม ลงทะเบียนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว ก็ขอแสดงความยินดีด้วยว่า ชีวิตจะราบรื่นลงไปเยอะ ต่อจากนี้ก็ขอให้สนุกกับชีวิตในอินเดีย แต่ก็อย่าสนุกจนเพลินจนลืมว่าที่นี่คืออินเดีย ไม่ใช่ไทยแลนด์บ้านเกิดของเรา
.
บรรยากาศในโรงเรียน ผู้ชายเสื้อเชิ๊ตสีน้ำตาลตรงกลางภาพนั่นเพื่อนซี้ผม เป็นสุตต่าลมาจากประเทศเยเมน -.-
.
สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ นั้น สามารถแบ่งได้ตามนี้ โดยอ้างอิงค่าเงินจาก 1 รูปี เท่ากับ 0.43 บาทไทย
ค่าหอพัก 12,000 รูปีต่อเดือน (5,160 บาทต่อเดือน) ผมเลือกหอพักที่ถือว่าอยู่ในระดับแพง แพงขนาดที่ว่าเพื่อนอินเดียบอกว่าโง่จ่ายไปได้ยังไงทุกเดือน เพราะโดยส่วนใหญ่นักเรียนอินเดียที่นี่จ่ายค่าหอพัก กันอยู่ราวๆ 6-7 พันรูปีต่อเดือน แต่ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่ก็คือการแชร์ห้องกับคนอื่น ที่อินเดียเขาชอบทำห้องพักใหญ่ๆ เริ่มตั้งแต่ 1-3 ห้องนอน และคนเช่าส่วนใหญ่ก็มักจะมาแชร์กัน
.
ส่วนข้อดีของหอพัก Better living ที่ผมอยู่คือ เป็นหอพักนักศึกษาต่างชาติ ที่ได้ฝึกภาษา มีคนทำความสะอาด 1 ห้องน้ำแชร์กัน 3 ห้อง มีห้องครัวและคนไทยคอยทำกับข้าวกินกันตลอด เรียกได้ว่าอยู่ที่นี่เอนจอยไม่มีเหงา
.
ค่ากิน/ค่าเดินทาง 7,000 รูปีต่อเดือน (3,000 บาทต่อเดือน) อาหารการกินของอินเดียคือถูกมาก ทั้งนี้ราคานี้คือผมเน้นกินอาหารข้างทางเป็นหลักนะครับ โดยมื้ออาหารในแต่ละวัน ก็จะเริ่มจากข้าวเช้าโพฮากับชา 30 รูปี ข้าวกลางวันเป็นจาปาตีกับแกง 60-100 รูปี และข้าวเย็นเป็นข้าวผัดไก่ 100 รูปี มีช่วงหลังๆ เริ่มทำกับข้าว วัตถุดิบพวกผักก็ถูกมาก ผมว่าอาหารการกินมาอยู่ที่นี่ไม่ค่อยต่างจากไทยเท่าไหร่ ถ้าไม่นับเรื่องเนื้อสัตว์ที่ได้กินแต่ไข่กับไก่
.
ส่วนการเดินทางนั้นผมใช้รถเมล์ เรียกว่าค่อนข้างสมบุกสมบัน แต่สนุกดี 555 โดยส่วนใหญ่ นักศึกษาต่างชาติมักซื้อมอเตอร์ไซต์มือสอง ราคา 2-3 หมื่นรูปี หรือไม่ก็นั่งริกชอร์ ตกวันละ 100-200 รูปี ส่วนสำหรับผมค่ารถเมล์ขาละ 10 รูปี
.
ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ 14,000 บาท ของการบินไทย มาลงที่มุมไบ และต่อรถมาที่เมืองปูเน่ประมาณ 4 ชั่วโมง
ค่าประกันสุขภาพของ Msig 14,000 บาท ทั้งนี้ที่สถาบันการเรียนก็มีประกันสุขภาพให้ แต่ครอบคลุมเฉพาะผู้ป่วยใน แต่ประกันสุขภาพที่ทำมาก็ต้องสำรองจ่ายไปก่อนสำหรับผู้ป่วยนอก แถมเวลาจะเบิกก็ยุ่งยากมาก
.
อ่านเรื่องราวต่อได้ด้านล่าง