JJNY : เสียชีวิต 35 ป่วยใหม่ 2,381│คิงส์เกตถือไพ่“เหนือ”ไทย│ชัชชาติ ลุยคลองสามวา│“ไชยันต์”จี้”ตู่”ลงจากตำแหน่งหลังครบ8ปี

เสียชีวิตเพิ่ม 35 คน ไทยป่วยโควิดใหม่ 2,381 ราย กำลังรักษา 21,250 คน
https://www.matichon.co.th/covid19/news_3492349
 
 
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ศูนย์ข้อมูลโควิด 19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2565
ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 2,381 ราย จำแนกเป็น
ผู้ป่วยในประเทศ 2,381 ราย
ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย
ผู้ป่วยสะสม 2,379,924 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 2,209 ราย
หายป่วยสะสม 2,382,054 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 21,250 ราย
เสียชีวิต 35 ราย
เสียชีวิตสะสม 9,863 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ
รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 910 ราย
 

 
คิงส์เกตถือไพ่ “เหนือ” ไทย 5 เดือนต่อรองทำเหมืองเพิ่ม
https://www.prachachat.net/economy/news-1005659

ผู้ประกอบการเหมืองแร่ทองคำชาตรีในพื้นที่รอยต่อจังหวัดพิจิตร-เพชรบูรณ์ ได้หวนกลับมาอีกครั้ง โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวภายหลังการรับทราบรายงานความคืบหน้าในการแก้ปัญหาของกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งว่า ยังอยู่ในขั้นของการเจรจาเพื่อประนอมข้อพิพาทระหว่างไทย กับคิงส์เกต ตามคำแนะนำของอนุญาโตตุลาการ และจะชี้ขาดอีกครั้งในช่วงสิ้นปี 2565 “ต้องรอข้อสรุปผลการเจรจาออกมาก่อนว่าจะเป็นอย่างไร ถ้าผลการเจรจาเป็นที่น่าพอใจ Kingsgate ก็อาจจะถอนเรื่องออกจากอนุญาโตตุลาการได้” นายวิษณุกล่าว
 
ต้นเหตุคำสั่ง คสช.
 
ข้อพิพาทดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 72/2559 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรื่องการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ โดย คสช.ได้สั่งระงับการอนุญาตให้สำรวจและทำเหมืองแร่ การต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำและการต่ออายุใบอนุญาตประกอบโลหกรรมแร่ทองคำ ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2559
 
คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้เหมืองแร่ทองคำชาตรี (Chatree Gold Mine) พื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดพิจิตรกับจังหวัดเพชรบูรณ์ ของบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Kingsgate Consolidated ต้อง “ปิดกิจการ” ลงไปเป็นเวลาถึง 5 ปี
 
และตามมาด้วยข้อขัดแย้งระหว่างบริษัท Kingsgate กับรัฐบาลไทย ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า การระงับสัมปทานเหมืองแร่ทองคำชาตรีของรัฐบาลไทย (คสช.) นั้น เป็นการ “ละเมิด” ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) โดยอ้างเหตุผลเรื่องของปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทั้ง ๆ ที่ยังมีข้อโต้แย้งและไม่สามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดว่า สารพิษตกค้างในพื้นที่เกิดจากกระบวนการทำเหมืองแร่ของบริษัทอัคราฯ และตามมาด้วยการยื่นเรื่องต่อคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2560 เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น
พร้อมกับเรียกร้องให้รัฐบาลไทยชดใช้ค่าเสียหาย
 
อย่างไรก็ตาม หลังการต่อสู้ในคณะอนุญาโตตุลาการมาได้ 4 ปี มีรายงานข่าวจากผู้เกี่ยวข้องเข้ามาว่า ฝ่ายไทยไม่สามารถ “พิสูจน์” ข้อกล่าวหาที่ว่า สารพิษตกค้างในพื้นที่นั้นเกิดจากกระบวนการทำเหมืองแร่ เนื่องจากไทยไม่มีรายงานการตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การตกค้าง ก่อนการทำเหมืองแร่จะเริ่มต้นขึ้น จนกลายมาเป็นจุดอ่อน ประกอบกับการใช้คำสั่ง คสช.เพื่อระงับการทำเหมืองแร่ การสำรวจ การต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ทองคำ “เป็นการทั่วไป” โดยที่ไม่ได้ระบุไว้ว่า เป็นคำสั่งปิดเหมืองชาตรีโดยตรง ในทางปฏิบัติ คำสั่ง คสช.ไม่เป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีข้อตกลง FTA กับประเทศไทย ขณะที่ห้วงเวลาในการสั่งระงับการทำเหมืองแร่ทองคำก็มี บริษัทอัคราฯเพียงบริษัทเดียวที่ทำเหมืองแร่อยู่ที่จังหวัดพิจิตร
พ.ร.บ.แร่เปิดทาง Kingsgate
 
ในเมื่อสถานการณ์ของฝ่ายไทยในคณะอนุญาโตตุลาการ “ตกเป็นรอง” ฝ่าย Kingsgate มาตั้งแต่เริ่มต้นและมีแนวโน้มที่จะแพ้ ในทางปฏิบัติจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาล ด้วยการอาศัยอำนาจตาม “พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ (2560)” ในช่วงระหว่างปี 2563-2564 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ได้หวนกลับมาพิจารณาอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำ ประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ และคำขอต่ออายุประทานบัตรของ บมจ.อัครา รีซอร์สเซส ซึ่งถูก คสช.ที่ 72/2559 ให้ “ระงับ” การดำเนินการทั้งหมดไปตั้งแต่ปี 2560
 
โดยในเดือนตุลาคม 2563 คณะกรรมการแร่ตาม พ.ร.บ.แร่ 2560 ได้ให้ความเห็นชอบ “อนุญาต” อาชญาบัตรพิเศษที่ 3/2563-46/2563 ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2568 เพื่อการสำรวจแร่ทองคำจำนวน 44 แปลง (397,696 ไร่) ในพื้นที่ อ.ชนแดน กับ อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ (คำขอที่ บมจ.อัคราฯ ยื่นไว้ตั้งแต่ปี 2546 และปี 2548) อาชญาบัตรพิเศษฉบับใหม่นี้ให้มีอายุในการสำรวจไม่เกินแปลงละ 5 ปี
และล่าสุดในเดือนธันวาคม 2564 คณะกรรมการแร่ ก็ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ “ต่ออายุ” ประทานบัตรเพื่อการทำเหมืองแร่ทองคำและเงินจำนวน 4 แปลง แบ่งเป็น 1) ประทานบัตรที่ 25528/14714 ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ 2) ประทานบัตรที่ 26910/15365 3) ประทานบัตรที่ 6911/15366 และ 4) ประทานบัตรที่ 26912/15367 ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ออกไปอีก 10 ปี มีอายุตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2574
 
นอกจากนี้ กพร.ยังได้ “ต่ออายุ” ใบอนุญาตประกอบโลหกรรมที่ 1/2551 (ใบอนุญาตแปรรูปทองคำ-เงิน) ที่ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร กับที่ ต.ท้ายดง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ ออกไปอีก 5 ปี (19 มกราคม 2565-18 มกราคม 2570) โดยให้เหตุผลที่ว่า คำขอต่ออายุประทานบัตรทั้งหมดเป็นคำขอที่ บมจ.อัคราฯ ได้ยื่นไว้ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ. 2510 และ พ.ร.บ.แร่ 2560 ในพื้นที่ประทานบัตรเดิม และต่อมาได้ยื่นเอกสารประกอบคำขอเพิ่มเติมตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.แร่ฉบับใหม่ (2560)
 
บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จึงได้หวนกลับมาเปิดดำเนินการทำเหมืองแร่ทองคำชาตรีอีกครั้งเมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ท่ามกลางการตั้งข้อสังเกตของผู้เกี่ยวข้องที่ว่า บริษัท Kingsgate แสดงความยินดีที่เหมืองจะกลับมาเปิดดำเนินการ
 
ต่อรองคู่ขนานอีก 5 เดือน
 
อย่างไรก็ตาม การได้รับการต่ออายุประทานบัตรจำนวน 4 แปลง การอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษเพื่อสำรวจแร่ทองคำจำนวน 44 แปลง และการกลับมาต่ออายุโรงงานประกอบโลหกรรม อาจยัง “ไม่เพียงพอ” ที่จะสนองความต้องการของบริษัท Kingsgate ในการยื่นถอนกรณีพิพาทกับรัฐบาลไทย ออกจากคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ จนเป็นที่มาของการเลื่อนคำตัดสินชี้ขาดออกไปเป็นช่วงสิ้นปี 2565
 
ในระหว่างนี้ บริษัท Kingsgate ได้ดำเนินการปรับปรุง การเข้าพื้นที่ การเปิดโรงงานโลหกรรมแห่งที่ 2 เพื่อที่จะกลับมาเปิดดำเนินการเหมืองแร่ทองคำชาตรี รวมไปถึงการแต่งตั้งให้ Precious Metal Refining Company Limited หรือ PMR ตั้งโรงงานแปรรูปแร่ทองคำและเงินที่ผลิตได้จากเหมืองแร่ทองคำชาตรีที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของบริษัทที่จะดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำในประเทศไทยต่อไป
 
นอกจากนี้ ในรายงานการสำรวจแร่สำรองฉบับล่าสุดของบริษัทยังแสดงให้เห็นว่า ปริมาณแร่ทองคำสำรองในเหมืองชาตรีได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.3 ล้านออนซ์ทองคำ หรือเพิ่มขึ้นจาก 0.89 ล้านออนซ์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 46) ขณะที่ปริมาณสำรองแร่เงินก็ได้เพิ่มขึ้นจาก 8.3 ล้านออนซ์ เป็น 12.2 ล้านออนซ์ (เพิ่มขึ้น 47%) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในอายุการทำเหมืองชาตรีต่อไปอย่างน้อย 8-10 ปี เพียงแต่ว่าปริมาณสำรองทองคำที่เพิ่มมาใหม่นี้ บางส่วนอยู่นอกพื้นที่ประทานบัตรหรือพื้นที่อาชญาบัตรที่ขอไว้
 
ประเด็นเหล่านี้เองอาจเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลสำคัญที่ว่า ทำไมอนุญาโตตุลาการจึงเลื่อนคำตัดสินชี้ขาดออกไป เพื่อเปิดทางให้ “กระบวนการเจรจาต่อรองผลประโยชน์คู่ขนาน” ระหว่างรัฐบาลไทย กับบริษัท Kingsgate ดำเนินการต่อไปอีก 5 เดือน โดยมีพัฒนาการที่สำคัญจากมติ ครม.วันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่ “เปิดทาง” ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ดำเนินการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พร้อมกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมใน 3 กิจการ คือ กิจการสำรวจแร่, กิจการทำเหมืองแร่และ/หรือแต่งแร่ และกลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม


 
ชัชชาติ ลุยคลองสามวา 'จิรายุ-ส.ก.เขต' ยื่นหนังสือจี้แก้จราจรแยกพระยาสุเรนทร์ อย่าโอ๋แต่กรุงเทพฯชั้นใน
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3492490

ชัชชาติ ลุยคลองสามวา ‘จิรายุ-ส.ก.เขต’ ยื่นหนังสือจี้แก้จราจรแยกพระยาสุเรนทร์ อย่าโอ๋แต่กรุงเทพชั้นใน
 
เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. พร้อมด้วย รศ. ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. และนายไทวุฒิ ขันแก้ว ผอ.สำนักการโยธา กทม. ลงพื้นที่เขตคลองสามวา กทม. หลังวิ่งออกกำลังกายที่สวนวารีภิรมย์ โดยนาย จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทยเขตคลองสามวา และนางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ สมาชิกสภากรุงเทพฯเขตคลองสามวา ยื่นหนังสือเรียกร้องให้แก้ไขปัญหาการจราจร
 
นายจิรายุ กล่าวว่าวันนี้ เป็นนิมิตหมายอันดีที่ผู้ว่าฯ กทม. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงมาดูปัญหาของประชาชนในเขตคลองสามวา ซึ่งวันนี้ประชากรในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯพุ่งสูงขึ้นโดยพื้นที่เขตคลองสามวา ตั้งแต่ถนนรามอินทรา, คู้บอน, หทัยราษฎร์, นิมิตใหม่, เลียบคลองสอง, ประชาร่วมใจ และถนนปัญญารามอินทรามีประชาชนอยู่อาศัยกว่า 250,000 คน ไม่นับรวมประชากรแฝงอีกหลายหมื่นคน และมีหมู่บ้านจัดสรรขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยทางกายภาพของพื้นที่กลับไม่มีบริการสาธารณะซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 95 ใช้รถยนต์ส่วนตัว ทำให้ในแต่ละวันมีการจราจรติดขัดอย่างหนัก ยิ่งในช่วงโมงเร่งด่วนจะมีปัญหาอย่างมาก เนื่องจากในพื้นเขตคลองสามวามีแยกใหญ่ กว่า 5 แห่งแต่ไม่มี สะพานลอยข้ามแยกแม้แต่จุดเดียว
 
นายจิรายุ กล่าวว่า ตนได้อภิปรายในรัฐสภาตั้งแต่ ปี 2562 มาจนถึงปัจจุบันมากกว่า 5 ครั้ง เรียกร้องให้ กทม. ดำเนินการแก้ไข แต่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ อาจเป็นเพราะ ส.ก.ก็มาจากการแต่งตั้งของ คสช.เลยไม่ค่อยใกล้ชิดกับประชาชนแถมผู้ว่า กทม.ก็มาจาก ม.44 ของ คสช. กทม.เลยเสียโอกาสไปกว่า5 ปี ขณะที่กรุงเทพฯชั้นใน ที่มีประชากรน้อยแค่หลักหมื่น กลับได้รับการแก้ไขปัญหาทั้งทำอุโมงค์ข้ามแยกสะพานข้ามแยก ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อคนกรุงเทพฯ คลองสามวากว่า 3 แสนคนที่เสียภาษีให้รัฐบาล และ กทม.เหมือนกัน
 
“วันนี้ผมและ ส.ก. จึงเชิญผู้ว่าฯ กทม. มาดูในจุดที่มีปัญหาอย่างหนัก ที่แยกพระยาสุเรนทร์ตัดถนนปัญญาและถนนสุเหร่าคลองหนึ่ง ซึ่งเพราะเป็น 5 แยกโดยเมื่อปี 2562 คุณชัชชาติเคยมาขึ้นกระเช้ากับผมปัญหาการจราจร วันนี้จึงขอให้คุณชัชชาติ ในฐานะผู้ว่า กทม. ได้โปรดให้ความสำคัญชานเมืองด้วยการพิจารณาจัดทำสะพานข้ามแยก ซึ่งจะลดการติดขัดได้มาก ซึ่งในพื้นที่เขตคลองสามวา มีทั้งหมด 4 จุดใหญ่ที่จำเป็นต้องดำเนินการ ซึ่งอาจทยอยทำในแต่ละปีงบประมาณได้ ซึ่งคนที่นี้ เรียกร้องมาตลอดว่า ชานเมืองไม่ใช่ชนบท สิทธิประโยชน์ต้องเท่าเทียม”
 
ด้าน นางสาวนฤนันมนต์ กล่าวว่าในพื้นที่มีสภาพปัญหาที่หมักหมม มานานทั้งในหลักการจัดสรรงบประมาณที่กลับใช้วิธีหารเท่ากันทุกเขต 50 เขต ทั้งๆที่เขตชั้นในมีพื้นที่เล็กประชากรน้อยแค่ 3-4 หมื่น แต่กลับได้งบประมาณใกล้เคียงกับเขตที่มีประชากรกว่า 2.5 แสน ที่ผ่านมาจึงเห็น กทม.ชั้นในเดี๋ยวเปลี่ยนต้นไม้เกาะกลาง เดี๋ยวเปลี่ยนพื้นทางเท้าเป็นประจำ นอกจากนี้การออกแบบถนนการวางแผนแก้ไขปัญหาเพื่อรองรับ ประชากรที่เพิ่มขึ้น ก็ทำอย่างไม่เป็นรูปธรรม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่