ติดเชื้อใหม่วันนี้ 1,843 ดับ 27 ปอดอัดเสบ 916
https://www.matichon.co.th/local/news_3484675
ติดเชื้อใหม่วันนี้ 1,843 ดับ 27 ปอดอัดเสบ 916
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,843 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 1,843 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,370,692 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 2,514 ราย หายป่วยสะสม 2,372,190 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 22,012 ราย
เสียชีวิต 27 ราย เสียชีวิตสะสม 9,733 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 916 ราย
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ร้านอาหารวอนรบ.ดูแลหลัง “ก๊าซหุงต้ม” ขึ้นราคา
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_383917/
ร้านอาหารรับ “ก๊าซหุงต้ม” (LPG) ขึ้นราคาทำต้นทุนเพิ่ม วอนรัฐบาลลงพื้นที่ดูแลความเดือดร้อนประชาชน
จากการลงพื้นที่ตลาดละลายทรัพย์รัชดาซอย 4 สำรวจร้านอาหารกับวันแรกของการปรับขึ้นราคา “
ก๊าซหุงต้ม” (LPG) 15 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ตามมติของ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมีมติให้ทยอยปรับขึ้นตั้งแต่เดือน กรกฏาคม ที่ผ่านมา และจะปรับอีกครั้งเดือน กันยายน 2565 พบว่าร้านอาหารหลายร้านส่วนใหญ่ บอกว่าการปรับขึ้นครั้งนี้เหมือนเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบ จากเดิมที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากวัตุดิบ เครื่องปรุง ราคาพุ่งขึ้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม แม้น้ำมันปาล์มราคาจะลดลง แต่สินค้าอื่นๆก็แพงขึ้น
ทั้งนี้ในส่วนขอราคาอาหารทางร้านจะไม่มีการปรับขึ้นเนื่องจากมองว่าปัจจุบันค่าครองชีพของประชาชนนั้นสูงอยู่แล้ว หากปรับขึ้นราคาค่าอาหารจะทำให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งทางร้านจะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเช่นการปรับลดปริมาณลงหรือการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนวัตถุดิบที่แพงและเพิ่มเมนูที่มีส่วนประกอบของผักมากขึ้น ทางร้านยอมแบกรับต้นทุนไว้ เพื่อรักษาลูกค้าไว้ เพราะปัจจุบันยอดขายก็ลดลง อยู่แล้วยิ่งปรับราคาขึ้นอาจทำให้ลูกค้าลดลง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก ราคาน้ำมันแพง สินค้าแพง ราคาก๊าซหุงต้มยังปรับขึ้นทุกเดือน ซึ่งอยากให้รัฐบาลลงพื้นทีดูแลประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน
ขึ้นอุดหนุน 4 ปี เท่ากับเรียนฟรีทิพย์ ลดเดือดร้อนแค่ 20% 'สมพงษ์' ชี้ 'รัฐบาล' แค่หาเสียงก่อนหมดวาระ
https://www.matichon.co.th/education/news_3481817
ขึ้นอุดหนุน 4 ปี เท่ากับเรียนฟรีทิพย์ ลดเดือดร้อนแค่ 20%-พ่อแม่แบกภาระ 80% ‘สมพงษ์’ ชี้ ‘รัฐบาล’ แค่หาเสียงก่อนหมดวาระ
ดร.
ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) เปิดเผยกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถม ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือก โดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2566-2569 รวมกว่า 8 พันล้านบาท ว่า ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ช่วยเหลือโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนโรงเรียนเอกชนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ทำให้โรงเรียนมีเงินจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป
“ขอฝากให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ช่วยผลักดันเพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวันให้นักเรียนด้วย เพราะขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กลำบากมาก เนื่องจากต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนหัวละ 21 บาทเท่าเดิม” ดร.ศุภเสฏฐ์ กล่าว
ศ.ดร.
สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนนั้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 20% เท่านั้น อีก 80% ผู้ปกครองจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรียนฟรี 15 ปี ไม่มีอยู่จริง เป็นการเรียนฟรีทิพย์ และการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวครั้งนี้ ถือเป็นการซ่อมผลงานทางการเมืองของรัฐบาล เพราะจะเห็นว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีผลงานด้านการศึกษาออกมาเลย เมื่อใกล้จะหมดวาระ จึงผลักดันเรื่องนี้ ดังนั้น น.ส.ตรีนุช จึงประสบความสำเร็จที่สามารถสร้างผลงานที่เป็นไฮไลต์ได้ เชื่อว่าผลงานนี้จะถูกนำไปใช้หาเสียงทางการเมือง
ศ.ดร.
สมพงษ์กล่าวต่อว่า แต่ถ้ามองในภาพรวม การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเป็นเรื่องดี แต่ในความจริงแล้ว เป็นการเพิ่มเงินที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินเดือน ค่าตอบแทนของครูและบุคลากรทางการศึกษา การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการบรรเทาภาระของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้ โดยเฉพาะความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ปัจจุบันมีคนยากจนเพิ่มมากขึ้นเกือบ 20% ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะความยากจนกับความเหลื่อมล้ำในสังคมยังคงอยู่ รัฐควรจะเปลี่ยนมุมมองในการให้สวัสดิการประชาชนใหม่ จากที่ผ่านมาให้สวัสดิการถ้วนหน้าที่เน้นแจก มาให้สวัสดิการโดยเน้นเฉพาะกลุ่ม และคนที่มีปัญหาเร่งด่วน เช่น ให้สวัสดิการเด็กที่ออกจากระบบการศึกษากลางคันก่อน เป็นต้น
“การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายหัว จะปรับเพิ่ม 2 ส่วน คือ
1.ค่าใช้จ่ายด้านผู้เรียน คือ ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบ
2.ค่าใช้จ่ายด้านสถานศึกษา ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทั้งในระบบ และนอกระบบ
แม้จะเป็นเรื่องดี แต่มีคำถามว่าการเพิ่มเงินให้สถานศึกษา จะทำให้ผู้เรียนมีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น มีการเรียนแบบ Active Learning และสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้จริงหรือ” ศ.ดร.
สมพงษ์ กล่าว
ศ.ดร.
สมพงษ์กล่าวอีกว่า การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน มองว่านอกจากจะปฏิรูปโครงสร้าง และตัวระบบแล้ว ต้องมีนวัตกรรมใหม่ ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ศึกษามากว่า 3 ปี พบว่า การปฏิรูประบบการเงิน เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปฏิรูปการศึกษาได้ ดังนั้น นอกจากเปลี่ยนโครงสร้าง และตัวระบบแล้ว ควรปฏิรูประบบการเงินด้วย ซึ่งจะแก้ไขปัญหาการศึกษาแบบเที่ยงธรรม และลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ถ้ารัฐยังใช้ระบบการจ่ายเงินแบบเดิม คือ ใช้ระบบงบประมาณประจำปี จะทำให้การศึกษาติดอยู่กับระบบราชการ และท้ายสุดการศึกษาจะไม่พัฒนาได้มากพอ
JJNY : ติดเชื้อ 1,843 ดับ 27│ร้านอาหารวอนดูแลหลัง “ก๊าซ”ขึ้นราคา│ขึ้นอุดหนุน4ปี เท่ากับเรียนฟรีทิพย์│ยูเครนปลื้มได้อาวุธ
https://www.matichon.co.th/local/news_3484675
ติดเชื้อใหม่วันนี้ 1,843 ดับ 27 ปอดอัดเสบ 916
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 รายงานผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 1,843 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยในประเทศ 1,843 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ – ราย ผู้ป่วยสะสม 2,370,692 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
หายป่วยกลับบ้าน 2,514 ราย หายป่วยสะสม 2,372,190 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) ผู้ป่วยกำลังรักษา 22,012 ราย
เสียชีวิต 27 ราย เสียชีวิตสะสม 9,733 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบ รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 916 ราย
เนื่องจากตั้งแต่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นมา มีการปรับระบบรายงาน โดยรายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงทำให้รายงานยอดผู้ป่วยสะสม มีจำนวนที่น้อยกว่ายอดผู้หายป่วยสะสม
ร้านอาหารวอนรบ.ดูแลหลัง “ก๊าซหุงต้ม” ขึ้นราคา
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_383917/
ร้านอาหารรับ “ก๊าซหุงต้ม” (LPG) ขึ้นราคาทำต้นทุนเพิ่ม วอนรัฐบาลลงพื้นที่ดูแลความเดือดร้อนประชาชน
จากการลงพื้นที่ตลาดละลายทรัพย์รัชดาซอย 4 สำรวจร้านอาหารกับวันแรกของการปรับขึ้นราคา “ก๊าซหุงต้ม” (LPG) 15 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ตามมติของ คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ซึ่งมีมติให้ทยอยปรับขึ้นตั้งแต่เดือน กรกฏาคม ที่ผ่านมา และจะปรับอีกครั้งเดือน กันยายน 2565 พบว่าร้านอาหารหลายร้านส่วนใหญ่ บอกว่าการปรับขึ้นครั้งนี้เหมือนเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ประกอบ จากเดิมที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นจากวัตุดิบ เครื่องปรุง ราคาพุ่งขึ้นตั้งแต่ช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม แม้น้ำมันปาล์มราคาจะลดลง แต่สินค้าอื่นๆก็แพงขึ้น
ทั้งนี้ในส่วนขอราคาอาหารทางร้านจะไม่มีการปรับขึ้นเนื่องจากมองว่าปัจจุบันค่าครองชีพของประชาชนนั้นสูงอยู่แล้ว หากปรับขึ้นราคาค่าอาหารจะทำให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งทางร้านจะหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเช่นการปรับลดปริมาณลงหรือการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนวัตถุดิบที่แพงและเพิ่มเมนูที่มีส่วนประกอบของผักมากขึ้น ทางร้านยอมแบกรับต้นทุนไว้ เพื่อรักษาลูกค้าไว้ เพราะปัจจุบันยอดขายก็ลดลง อยู่แล้วยิ่งปรับราคาขึ้นอาจทำให้ลูกค้าลดลง
อย่างไรก็ตาม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนมาก ราคาน้ำมันแพง สินค้าแพง ราคาก๊าซหุงต้มยังปรับขึ้นทุกเดือน ซึ่งอยากให้รัฐบาลลงพื้นทีดูแลประชาชน บรรเทาความเดือดร้อน
ขึ้นอุดหนุน 4 ปี เท่ากับเรียนฟรีทิพย์ ลดเดือดร้อนแค่ 20% 'สมพงษ์' ชี้ 'รัฐบาล' แค่หาเสียงก่อนหมดวาระ
https://www.matichon.co.th/education/news_3481817
ขึ้นอุดหนุน 4 ปี เท่ากับเรียนฟรีทิพย์ ลดเดือดร้อนแค่ 20%-พ่อแม่แบกภาระ 80% ‘สมพงษ์’ ชี้ ‘รัฐบาล’ แค่หาเสียงก่อนหมดวาระ
ดร.ศุภเสฏฐ์ คณากูล นายกสมาคมคณะกรรมการประสานและส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ส.ปส.กช.) เปิดเผยกรณีคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินอุดหนุนรายหัวตามความจำเป็นพื้นฐาน ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ตั้งแต่ระดับก่อนประถม ประถม มัธยมต้น มัธยมปลาย และประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทั้งสถานศึกษาของรัฐ และเอกชน ครอบคลุมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาทางเลือก โดยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดต่อเนื่อง 4 ปีงบประมาณ ตั้งแต่ปี 2566-2569 รวมกว่า 8 พันล้านบาท ว่า ขอบคุณ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่ช่วยเหลือโรงเรียนทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนโรงเรียนเอกชนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง ทำให้โรงเรียนมีเงินจัดกิจกรรมที่มีคุณภาพ ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศต่อไป
“ขอฝากให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.ช่วยผลักดันเพิ่มเงินอุดหนุนอาหารกลางวันให้นักเรียนด้วย เพราะขณะนี้โรงเรียนขนาดเล็กลำบากมาก เนื่องจากต้นทุนอาหารที่สูงขึ้น แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนหัวละ 21 บาทเท่าเดิม” ดร.ศุภเสฏฐ์ กล่าว
ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนนั้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 20% เท่านั้น อีก 80% ผู้ปกครองจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเรียนฟรี 15 ปี ไม่มีอยู่จริง เป็นการเรียนฟรีทิพย์ และการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวครั้งนี้ ถือเป็นการซ่อมผลงานทางการเมืองของรัฐบาล เพราะจะเห็นว่าตลอด 4 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่มีผลงานด้านการศึกษาออกมาเลย เมื่อใกล้จะหมดวาระ จึงผลักดันเรื่องนี้ ดังนั้น น.ส.ตรีนุช จึงประสบความสำเร็จที่สามารถสร้างผลงานที่เป็นไฮไลต์ได้ เชื่อว่าผลงานนี้จะถูกนำไปใช้หาเสียงทางการเมือง
ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวต่อว่า แต่ถ้ามองในภาพรวม การเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวเป็นเรื่องดี แต่ในความจริงแล้ว เป็นการเพิ่มเงินที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับเงินเดือน ค่าตอบแทนของครูและบุคลากรทางการศึกษา การเพิ่มเงินอุดหนุนเป็นการบรรเทาภาระของผู้ปกครองได้ระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศได้ โดยเฉพาะความยากจน และความเหลื่อมล้ำ ปัจจุบันมีคนยากจนเพิ่มมากขึ้นเกือบ 20% ถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ตรงจุด เพราะความยากจนกับความเหลื่อมล้ำในสังคมยังคงอยู่ รัฐควรจะเปลี่ยนมุมมองในการให้สวัสดิการประชาชนใหม่ จากที่ผ่านมาให้สวัสดิการถ้วนหน้าที่เน้นแจก มาให้สวัสดิการโดยเน้นเฉพาะกลุ่ม และคนที่มีปัญหาเร่งด่วน เช่น ให้สวัสดิการเด็กที่ออกจากระบบการศึกษากลางคันก่อน เป็นต้น
“การปรับเพิ่มอัตราเงินอุดหนุนรายหัว จะปรับเพิ่ม 2 ส่วน คือ
1.ค่าใช้จ่ายด้านผู้เรียน คือ ค่าอุปกรณ์การเรียน และค่าเครื่องแบบ
2.ค่าใช้จ่ายด้านสถานศึกษา ได้แก่ ค่าจัดการเรียนการสอน และค่ากิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ทั้งในระบบ และนอกระบบ
แม้จะเป็นเรื่องดี แต่มีคำถามว่าการเพิ่มเงินให้สถานศึกษา จะทำให้ผู้เรียนมีกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น มีการเรียนแบบ Active Learning และสามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้จริงหรือ” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว
ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า การปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน มองว่านอกจากจะปฏิรูปโครงสร้าง และตัวระบบแล้ว ต้องมีนวัตกรรมใหม่ ที่ผ่านมา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ศึกษามากว่า 3 ปี พบว่า การปฏิรูประบบการเงิน เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปฏิรูปการศึกษาได้ ดังนั้น นอกจากเปลี่ยนโครงสร้าง และตัวระบบแล้ว ควรปฏิรูประบบการเงินด้วย ซึ่งจะแก้ไขปัญหาการศึกษาแบบเที่ยงธรรม และลดความเหลื่อมล้ำได้ แต่ถ้ารัฐยังใช้ระบบการจ่ายเงินแบบเดิม คือ ใช้ระบบงบประมาณประจำปี จะทำให้การศึกษาติดอยู่กับระบบราชการ และท้ายสุดการศึกษาจะไม่พัฒนาได้มากพอ