พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๙. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส๒- จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
๒. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
๓. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
๔. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตซัดส่าย สำคัญผิด
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ
ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า
ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑- นี้
ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิ พ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาสสูตรที่ ๙ จบ
--------
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=49
-----
@เชิงอรรถ :
@๑ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๘/๓๔๖)
@๒ สัญญาวิปลาส ความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ หมายถึงการรับรู้สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเป็นต้น
@(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๖)
@เชิงอรรถ :
@๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจธรรม ๔ ประการ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๗)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๐}
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๙}
เมื่อคืนฟังหลวงพ่อปราโมชย์เทศน์ นอนฟังไปพิจารณาตามไป ก็เข้าใจชัดเจนมากขึ้น จึงยกเรื่อง วิปัลลาส ขึ้นมา
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
๙. วิปัลลาสสูตร
ว่าด้วยวิปลาส
[๔๙] ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส๒- จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
๔. สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้
สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
๒. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
๓. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
๔. สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่าไม่งาม
ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล
เหล่าสัตว์ผู้ถูกมิจฉาทิฏฐิทำลาย
มีจิตซัดส่าย สำคัญผิด
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข
หมายรู้ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา
หมายรู้ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่าติดอยู่ในเครื่องประกอบของมาร
ไม่มีความเกษมจากโยคะ
ประสบกับความเกิดและความตาย
ท่องเที่ยวไปสู่สังสารวัฏ
ก็ในกาลใดพระพุทธเจ้า
ผู้จุดประกายให้แสงสว่าง เสด็จอุบัติขึ้นในโลก
ในกาลนั้นพระองค์ย่อมประกาศธรรม๑- นี้
ที่ให้สัตว์ถึงความดับทุกข์
สัตว์เหล่านั้นผู้มีปัญญา
ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น
กลับได้ความคิดเป็นของตนเอง
ได้เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง
ได้เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์
ได้เห็นสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา
ได้เห็นสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นของไม่งาม
ยึดถือสัมมาทิฏฐิ พ้นทุกข์ทั้งหมดได้
วิปัลลาสสูตรที่ ๙ จบ
--------
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=21&siri=49
-----
@เชิงอรรถ :
@๑ หมายถึงโลกุตตรธรรม ๙ ประการ (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๘/๓๔๖)
@๒ สัญญาวิปลาส ความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ หมายถึงการรับรู้สิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเป็นต้น
@(องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๖)
@เชิงอรรถ :
@๑ ธรรม ในที่นี้หมายถึงสัจธรรม ๔ ประการ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) (องฺ.จตุกฺก.อ. ๒/๔๙/๓๔๗)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๘๐}
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๑ หน้า : ๗๙}