What goes on, y'all?!
บทนี้กลับมาดูเรื่อง tense กันต่อสักหน่อย ยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
1) เรื่องแรกคือการใช้ "used to" คำนี้แปลว่า เคย เช่น I used to be a kid. (ฉันเคยเป็นเด็ก) / They used to be friends. (พวกเขาเคยเป็นเพื่อนกัน) แต่คำว่า 'เคย' ของฝรั่งบางครั้งมันต่างจากคนไทย เพราะบางทีฝรั่งเขาบอกว่า เคยทำ ไม่ใช่เพื่ออ้างถึงประสบการณ์ แต่เพื่อเป็นการบอกว่า ตอนนี้ฉันไม่ทำแบบนั้นแล้ว เช่น คนไทย: "ฉันก็เคยมีเงิน" (อาจใช้เพื่อบอกว่า ฉันก็เคยมีประสบการณ์เป็นคนรวยเหมือนกัน *อ้างถึงประสบการณ์) ในขณะที่ภาษาอังกฤษ "I used to be rich." อาจใช้เพื่อบอกว่า Now I am poor. (ตอนนี้ฉันไม่เงิน) ก็ได้
2) ถ้าไม่เคยทำอะไร (แต่ตอนนี้เคยแล้ว) ให้ใช้ didn't use to นะ เพราะถ้าเราไปใช้ have never ความหมายอาจจะต่าง เช่น I have never smoked. อันนี้แปลว่า "ไม่เคยสูบบุหรี่" ส่วน I didn't use to smoke. อันนี้แปลว่า "ฉันไม่เคยสูบมาก่อน" (แต่ตอนนี้สูบแล้ว) มันคือความ "ไม่เคย" ที่ต่างกัน
3) เวลาตั้งคำถาม ว่าเคยทำโน่น/ทำนี่ไหม ปกติเราก็จะใช้ present perfect นี่แหละ (บางครั้งเติม ever ด้วย) เช่น Have you ever been to England? (เคยไปที่ประเทศอังกฤษไหม) หรือ Has he done that before? (เขาเคยทำแบบนี้มาก่อนไหม) เราไม่ค่อยใช้ used to ในการแต่งประโยคคำถามเพราะมันฟังแปลก ๆ หน่อย เช่น Did you use to go to England? มันจะไม่ได้แปลว่า เคยไปอังกฤษไหม แบบตรง ๆ หรอก มันจะแปลว่า เคยไปอังกฤษ (บ่อย ๆ) ไหม? มันเลยเป็นคำถามที่เราไม่ค่อยใช้กัน
4) จำง่าย ๆ "used to" ไม่ค่อยใช้ในประโยคคำถาม หรือแม้แต่ประโยคปฏิเสธยังไม่ค่อยเจอ ส่วนมากจะใช้ในการเล่าเรื่อง ว่าเคยทำโน่นทำนี่ เช่น I used to play golf. / She used to be a caddie. (แต่ก็ต้องมาคำนึงอีกว่า ต้องเป็นเรื่องที่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้วด้วย ถึงจะใช้ used to ได้) โดยรวม ๆ เราเลยไม่ค่อยเจอวลีนี้สักเท่าไหร่ นอกจากใน essay ที่เขียนเล่าอดีตของตัวเอง หรือในบทสนทนาที่คุยกันถึงวันวาน
5) ต่อมาคือการใช้ present continuous เพื่อพูดถึงเรื่องในอนาคต เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญมากในเรื่อง tense แต่ครูไม่ค่อยสอนเพราะต้องอธิบายเยอะ แต่เอาจริง มันไม่ได้ยากขนาดนั้น มันมีหลักการคิดง่าย ๆ คือ 'ถ้าเรามั่นใจว่าจะทำสิ่งใดแน่ ๆ แบบร้อยเปอร์เซนต์ เราสามารถใช้ verb to be + v-ing แทน will (หรือ be going to) ได้' ตัวอย่างเช่นเรานัดเจอเพื่อนตอนเลิกงาน คือเพื่อนมารอหน้าออฟฟิศแล้วตอนนี้ ยังไงก็เจอแน่ ๆ เราก็อาจไม่บอกว่า "I will meet my friends after work." หรือแม้แต่ "I'm gonna meet my friends after work." (*gonna = going to) แต่เพราะเรามั่นใจสุด ๆ เราเลยบอกว่า "I'm meeting my friends after work." ไปเลย
6) Present continous ไม่ได้แปลว่า 'กำลังทำอยู่' เสมอไป บางครั้งมันแปลว่า 'จะทำแน่นอน' ตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น I'm gettiing promoted next week. (อาทิตย์หน้าได้เลื่อนตำแหน่งแล้ว) / We're having a movie night this weekend! (สุดสัปดาห์นี้พวกเราเตรียมดูหนังกัน) / I'm staying at home tomorrow. (พรุ่งนี้อยู่บ้านทั้งวัน) สังเกตว่าเวลาแปลไทยผมจะละคำว่า "จะ" ออกหมดเลย เพราะอย่างที่บอกว่าการที่เราใช้ present continuous พูดถึงอนาคตเนี่ยคือเรามั่นใจสุดแล้ว ไม่ต้องมี 'จะ' อีก
7) คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเมื่อไรที่ present continuous มันกำลังถูกใช้เพื่อพูดถึงอนาคตอยู่?? จริง ๆ ดูจากความหมายและบริบทก็เข้าใจได้แล้ว พอไปเจอในชีวิตจริงมันไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่อีกจุดที่ให้สังเกตคือพวก time expression (วลีที่บอกเวลา) ที่เป็นเวลาในอนาคตทั้งหลาย เช่น tomorrow, tonight, next week, on Monday, after work, this weekend, this evening เหล่านี้ล้วนใช้พูดถึงอนาคตทั้งนั้น (อนาคตอันใกล้)
8) และไม่ได้เจอแค่ประโยคบอกเล่า เราจะเจอการใช้ present continous เพื่อพูดถึงอนาคตทั้งในประโยคคำถาม เช่น What are you doing tomorrow? (พรุ่งนี้คุณทำอะไร) / What are we having tonight? (คืนนี้ทานอะไรดี) และในประโยคปฏิเสธ เช่น I'm not giving up. (ผมไม่ยอมแพ้แน่นอน) / She's not getting what she wants. (เธอไม่ได้สิ่งที่ต้องการแน่นอน) เจอบ่อยไม่แพ้ประโยคบอกเล่าเลย
9) อีกจุดนึงที่ไม่พูดไม่ได้คือ เราจะไม่ใช่ future tense กับสิ่งไม่มีชีวตสักเท่าไหร่นะ เช่นเราจะไม่พูดว่า The train will leave at 10 a.m. หรือ The train is going to leave at 10 a.m. หรือแม้แต้ The train is leaving at 10 a.m! ทำไมกันเล่า?! ก็ไหนบอกว่าถ้ามั่นใจแบบสุด ๆ ก็ให้ใช้ present continuous ไปเลยไง?? นั่นก็เพราะว่าเรามีสิ่งที่แสดงความมั่นใจได้มากกว่านั้นอีก!!
10) เมื่อพูดถึง 'ตารางเวลา' ของบางสิ่ง เป็นกำหนดการที่ต้องเกิดอยู่แล้ว ให้ใช้ present simple ไปเลย (พูดแบบเป็น fact ไปเลย) เช่น The train leaves at 10 a.m. / The movie starts at 8.30. / The final episode comes tomorrow. ไม่ต้องเติม will หรือ going to ใด ๆ อีกแล้ว เพราะนี่เป็นตารางเวลาที่ต้องเกิดขึ้นตามลำดับของมัน
เซคชันนี้จะจบที่ Part 10 เหมือนเดิมนะครับสำหรับเดือนนี้ แต่มันยังไม่จบแค่นี้ (ผมมีไอเดียถึง part 100 โน่น!) และมันจะเข้มข้นและอัดแน่นขึ้นแน่นอน ช่วงแรก ๆ ก็น่าเบื่อแบบนี้แหละ แต่ระวังรู้ตัวอีกทีจะกลายเป็น Grammar nerd โดยไม่รู้ตัว! อิอิ
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay knowledge-hungry
JGC.
พื้นฐานหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (Part 9) - Tenses (continued)
บทนี้กลับมาดูเรื่อง tense กันต่อสักหน่อย ยังมีอีกหลายจุดที่น่าสนใจ
1) เรื่องแรกคือการใช้ "used to" คำนี้แปลว่า เคย เช่น I used to be a kid. (ฉันเคยเป็นเด็ก) / They used to be friends. (พวกเขาเคยเป็นเพื่อนกัน) แต่คำว่า 'เคย' ของฝรั่งบางครั้งมันต่างจากคนไทย เพราะบางทีฝรั่งเขาบอกว่า เคยทำ ไม่ใช่เพื่ออ้างถึงประสบการณ์ แต่เพื่อเป็นการบอกว่า ตอนนี้ฉันไม่ทำแบบนั้นแล้ว เช่น คนไทย: "ฉันก็เคยมีเงิน" (อาจใช้เพื่อบอกว่า ฉันก็เคยมีประสบการณ์เป็นคนรวยเหมือนกัน *อ้างถึงประสบการณ์) ในขณะที่ภาษาอังกฤษ "I used to be rich." อาจใช้เพื่อบอกว่า Now I am poor. (ตอนนี้ฉันไม่เงิน) ก็ได้
2) ถ้าไม่เคยทำอะไร (แต่ตอนนี้เคยแล้ว) ให้ใช้ didn't use to นะ เพราะถ้าเราไปใช้ have never ความหมายอาจจะต่าง เช่น I have never smoked. อันนี้แปลว่า "ไม่เคยสูบบุหรี่" ส่วน I didn't use to smoke. อันนี้แปลว่า "ฉันไม่เคยสูบมาก่อน" (แต่ตอนนี้สูบแล้ว) มันคือความ "ไม่เคย" ที่ต่างกัน
3) เวลาตั้งคำถาม ว่าเคยทำโน่น/ทำนี่ไหม ปกติเราก็จะใช้ present perfect นี่แหละ (บางครั้งเติม ever ด้วย) เช่น Have you ever been to England? (เคยไปที่ประเทศอังกฤษไหม) หรือ Has he done that before? (เขาเคยทำแบบนี้มาก่อนไหม) เราไม่ค่อยใช้ used to ในการแต่งประโยคคำถามเพราะมันฟังแปลก ๆ หน่อย เช่น Did you use to go to England? มันจะไม่ได้แปลว่า เคยไปอังกฤษไหม แบบตรง ๆ หรอก มันจะแปลว่า เคยไปอังกฤษ (บ่อย ๆ) ไหม? มันเลยเป็นคำถามที่เราไม่ค่อยใช้กัน
4) จำง่าย ๆ "used to" ไม่ค่อยใช้ในประโยคคำถาม หรือแม้แต่ประโยคปฏิเสธยังไม่ค่อยเจอ ส่วนมากจะใช้ในการเล่าเรื่อง ว่าเคยทำโน่นทำนี่ เช่น I used to play golf. / She used to be a caddie. (แต่ก็ต้องมาคำนึงอีกว่า ต้องเป็นเรื่องที่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้วด้วย ถึงจะใช้ used to ได้) โดยรวม ๆ เราเลยไม่ค่อยเจอวลีนี้สักเท่าไหร่ นอกจากใน essay ที่เขียนเล่าอดีตของตัวเอง หรือในบทสนทนาที่คุยกันถึงวันวาน
5) ต่อมาคือการใช้ present continuous เพื่อพูดถึงเรื่องในอนาคต เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่สำคัญมากในเรื่อง tense แต่ครูไม่ค่อยสอนเพราะต้องอธิบายเยอะ แต่เอาจริง มันไม่ได้ยากขนาดนั้น มันมีหลักการคิดง่าย ๆ คือ 'ถ้าเรามั่นใจว่าจะทำสิ่งใดแน่ ๆ แบบร้อยเปอร์เซนต์ เราสามารถใช้ verb to be + v-ing แทน will (หรือ be going to) ได้' ตัวอย่างเช่นเรานัดเจอเพื่อนตอนเลิกงาน คือเพื่อนมารอหน้าออฟฟิศแล้วตอนนี้ ยังไงก็เจอแน่ ๆ เราก็อาจไม่บอกว่า "I will meet my friends after work." หรือแม้แต่ "I'm gonna meet my friends after work." (*gonna = going to) แต่เพราะเรามั่นใจสุด ๆ เราเลยบอกว่า "I'm meeting my friends after work." ไปเลย
6) Present continous ไม่ได้แปลว่า 'กำลังทำอยู่' เสมอไป บางครั้งมันแปลว่า 'จะทำแน่นอน' ตัวอย่างเพิ่มเติม เช่น I'm gettiing promoted next week. (อาทิตย์หน้าได้เลื่อนตำแหน่งแล้ว) / We're having a movie night this weekend! (สุดสัปดาห์นี้พวกเราเตรียมดูหนังกัน) / I'm staying at home tomorrow. (พรุ่งนี้อยู่บ้านทั้งวัน) สังเกตว่าเวลาแปลไทยผมจะละคำว่า "จะ" ออกหมดเลย เพราะอย่างที่บอกว่าการที่เราใช้ present continuous พูดถึงอนาคตเนี่ยคือเรามั่นใจสุดแล้ว ไม่ต้องมี 'จะ' อีก
7) คำถามคือ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าเมื่อไรที่ present continuous มันกำลังถูกใช้เพื่อพูดถึงอนาคตอยู่?? จริง ๆ ดูจากความหมายและบริบทก็เข้าใจได้แล้ว พอไปเจอในชีวิตจริงมันไม่ได้ยากขนาดนั้น แต่อีกจุดที่ให้สังเกตคือพวก time expression (วลีที่บอกเวลา) ที่เป็นเวลาในอนาคตทั้งหลาย เช่น tomorrow, tonight, next week, on Monday, after work, this weekend, this evening เหล่านี้ล้วนใช้พูดถึงอนาคตทั้งนั้น (อนาคตอันใกล้)
8) และไม่ได้เจอแค่ประโยคบอกเล่า เราจะเจอการใช้ present continous เพื่อพูดถึงอนาคตทั้งในประโยคคำถาม เช่น What are you doing tomorrow? (พรุ่งนี้คุณทำอะไร) / What are we having tonight? (คืนนี้ทานอะไรดี) และในประโยคปฏิเสธ เช่น I'm not giving up. (ผมไม่ยอมแพ้แน่นอน) / She's not getting what she wants. (เธอไม่ได้สิ่งที่ต้องการแน่นอน) เจอบ่อยไม่แพ้ประโยคบอกเล่าเลย
9) อีกจุดนึงที่ไม่พูดไม่ได้คือ เราจะไม่ใช่ future tense กับสิ่งไม่มีชีวตสักเท่าไหร่นะ เช่นเราจะไม่พูดว่า The train will leave at 10 a.m. หรือ The train is going to leave at 10 a.m. หรือแม้แต้ The train is leaving at 10 a.m! ทำไมกันเล่า?! ก็ไหนบอกว่าถ้ามั่นใจแบบสุด ๆ ก็ให้ใช้ present continuous ไปเลยไง?? นั่นก็เพราะว่าเรามีสิ่งที่แสดงความมั่นใจได้มากกว่านั้นอีก!!
10) เมื่อพูดถึง 'ตารางเวลา' ของบางสิ่ง เป็นกำหนดการที่ต้องเกิดอยู่แล้ว ให้ใช้ present simple ไปเลย (พูดแบบเป็น fact ไปเลย) เช่น The train leaves at 10 a.m. / The movie starts at 8.30. / The final episode comes tomorrow. ไม่ต้องเติม will หรือ going to ใด ๆ อีกแล้ว เพราะนี่เป็นตารางเวลาที่ต้องเกิดขึ้นตามลำดับของมัน
เซคชันนี้จะจบที่ Part 10 เหมือนเดิมนะครับสำหรับเดือนนี้ แต่มันยังไม่จบแค่นี้ (ผมมีไอเดียถึง part 100 โน่น!) และมันจะเข้มข้นและอัดแน่นขึ้นแน่นอน ช่วงแรก ๆ ก็น่าเบื่อแบบนี้แหละ แต่ระวังรู้ตัวอีกทีจะกลายเป็น Grammar nerd โดยไม่รู้ตัว! อิอิ
"ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกอย่างในวันนี้ แค่รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน"
Stay knowledge-hungry
JGC.