เซโรโทนิน มีผลต่อโรคซึมเศร้ามั้ย หลักฐานจากงานวิจัยว่าไว้ยังไงบ้าง ? 🤔

📌 บอกก่อนตัวโตๆ ว่าอันนี้ผมนำเสนอจากงานวิจัยชิ้นนี้นะเว้ย ไม่ได้คิดเองเออเอง และแน่นอน ไม่ได้ศึกษาเองอย่างละเอียดเหมือนเขา แต่เห็นว่ามันมีประเด็นที่เขาเขียนแล้วค่อนข้างน่าสนใจ (มาก) เลยนำมาแชร์กัน


📚 งานนี้เป็น Systematic umbrella review นะครับ โดยเขาพูดถึงสมมุติฐานหรือทฤษฎีที่ว่าโรคซึมเศร้าเนี่ยเกิดจาก เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งก็ว่ากันแบบนี้มาเป็นทศวรรษๆแล้ว ตั้งแต่ปี 1960 นู๊นน แล้วก็มีตีพิมพ์ในหนังสือ ทำให้นักวิจัยเชื่อถือ มีการสำรวจพบว่า 80% ของคนทั่ไปเชื่อว่า ซึมเศร้าเกิดจาก "สารเคมีไม่สมดุลย์" (เอาจริงๆผมก็เชื่อมาก่อนนะ OMG)

🤔 แต่มันก็มีการตั้งคำถามต่อแนวคิดนี้แหละ เขาก็เลยเริ่มศึกษาแบบ Umbrella จากงานต่างๆ ที่มีออกมาแล้ว เพื่อดูว่ามันมีหลักฐาน ว่าเซโรโทนินเป็นสาเหตุของซึมเศร้า โดยเฉพาะที่ว่าซึมเศร้าเนี่ยมันสัมพันธ์กับการที่เซโรโทนินมีระดับต่ำจริงรึเปล่า วิธีการวิจัยก็เริ่มจากการค้นข้อมูลนะครับ ตรงนี้ ไปดูรายละเอียดที่เขาค้นในงานกันเอาเลย

📝 เกณฑ์คร่าวๆที่เขาเลือกคือเป็นงานแบบ Systematic, meta-analysis, Umbrella review ต่างๆ ที่ศึกษาในคน ไม่เอาการศึกษาในสัตว์ การศึกษามีกลุ่มควบคุม ผลลัพธ์ที่ต้องการต้องมีความชัดเจนกับที่เขาหาคำตอบอยู่ ถ้ามีงานที่เข้าเกณฑ์มากกว่า 5 เขาจะคัดแค่ 5 งานล่าสุด 

📚 เขาก็รวบรวมงานมาศึกษาอยู่ 17 งาน แล้วก็ศึกษาด้านต่างๆ ทีนี้ตรงส่วนอภิปรายผล เขาก็ว่าไว้ว่าจากงานส่วนใหญ่ ไม่พบว่ามีหลักฐานว่า ในคนที่เป็นซึมเศร้า มีระดับเซโรโทนิน ต่ำกว่าคนที่ไม่ได้เป็น แล้วก็การใช้ tryptophan เพื่อลดระดับเซโรโทนิน ก็ไม่ได้มีผลคงที่ว่ามีผลต่ออารมณ์ที่ลดลงในกลุ่มอาสาสมัคร (ก็แปลว่าลดบ้างไม่ลดบ้าง) 🙄

🔎 เมื่อดูจากงานที่ศึกษาเกี่ยวกับพันธุกรรม ที่เกี่ยวกับเซโรโทนิน และงานที่เกี่ยวกับตัวรับ (receptor) และตัวพา (SERT) มันก็ไม่ค่อยมี evidence ที่สนับสนุน เขากล่าวว่าทฤษฎีเกี่ยวกับ เคมีเสียสมดุลย์เนี่ย มันทำให้บางคนต้องกินยาไปตลอด ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกจากการรักษาได้

📝 ซึ่งเขาก็ได้พูดถึงการศึกษาไว้หลายงานว่า บางอย่างเป็นผลระยะสั้นแล้ว พอเป็นระยะยาว มันก็มีสิ่งที่ร่างกายชดเชย (compensatory) ต่อการเปลี่ยนแปลงระดับสารเคมีนี้ขึ้นมา ไล่ไปจนถึงสรุปเขาก็บอกว่า หลักฐานต่างๆ ที่เคยศึกษากันสมมุติฐานว่าเซโรโทนินเป็นสาเหตุอ่ะ มันไม่เพียงพอ เขาว่ามันได้เวลาแล้ว ที่ต้องยอมรับกันว่าทฤษฎีเซโรโทนิน มันไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์เพียงพอ

🤔 สำหรับเราๆในระดับคนทั่วไปเนี่ย การศึกษานี้ก็เป็นหนึ่งอันที่อาจจะดูไว้เหมือนว่าเป็นข่าวๆนึงอ่ะนะ ที่เหลือที่เป็นเรื่องของการรักษา วิจัย ต่างๆ ก็คงต้องรอให้คนที่เขาเชี่ยวชาญ เขาศึกษาเฉพาะด้าน เขารักษาด้านพวกนี้อยู่ เขาศึกษาและอัพเดตกันอีกที หลังจากนี้อาจจะมีการทบทวน กระบวนการศึกษา การรักษาต่างๆกันมั้ยรึเปล่าก็ไม่รู้เหมือนกันนะครับ 

🤔 บอกตรงๆว่า นี่ก็ต่างจากไอ้ที่เคยอ่านเคยศึกษามาเหมือนกัน ใครอ่านแล้วคิดเห็นแตกต่างจากที่งานนี้เขาบอกไว้อะไร ก็ไปแย้งเขาเอาเองนะเว้ย ไม่ต้องมาทัวร์ลงตรงผมน่อ

ทั้งนี้นำมาแชร์เพราะเห็นว่างานนนี้มีจุดที่น่าสนใจในทางวิชาการนะครับ ใครต้องรักษาอะไรยังไง ก็ Follow ต่อนะครับ ไม่ได้มาบอกให้หยุดยาอะไรงี้นา

ที่มาและแหล่งอ้างอิง
https://www.fatfighting.net/article-2022-07-24-the-serotonin-theory-of-depression-review-of-the-evidence/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่