คำอธิบาย เรื่อง นกุลปิตาสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่

กระทู้สนทนา
กระทู้ชื่อ นกุลปิตาสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่
https://ppantip.com/topic/41547119
---------
อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มูลปัณณาสก์ นกุลปิตวรรคที่ ๑นกุลปิตาสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่
(ลิงค์อ่านเพิ่มเติม https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=1 )
สารัตถปกาสินี               
               อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค  อรรถกถานกุลปิตุสูตรที่ ๑ นกุลปิตุวรรคสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
---------
- เมื่อได้อ่านพระอรรถกถาชื่อ พระสารัตถปกาสินี ท่านได้อธิบายทำให้ได้รับความรู้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นครับ
- จะขอสรุปประเด็นสำคัญๆสั้นๆ เอาไว้ให้นะครับ ส่วนรายละเอียดนั้นอยู่ในลิงค์ที่แปะไว้ข้างบนแล้วครับ
- ...สรีระนั้นย่อมมีความกระสับกระส่าย ๓ อย่าง คือ กระสับกระส่ายเพราะชรา ๑ กระสับกระส่ายเพราะพยาธิ ๑ กระสับกระส่ายเพราะมรณะ ๑.
- ...สอนครั้งแรกชื่อว่าโอวาท สอนครั้งต่อๆ ไปชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง สอนในเรื่องที่มีแล้วชื่อว่าโอวาท สอนตามแบบแผนคือตามประเพณีนั่นแหละในเรื่องที่ยังไม่มีชื่อว่าอนุสาสนี. อีกอย่างหนึ่ง คำว่าโอวาทก็ดี คำว่า อนุสาสนี ก็ดี โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกันทีเดียว ต่างกันเพียงพยัญชนะเท่านั้นเอง.
- ...ความว่า เป็นเหมือนฟองไข่ ใช้การไม่ได้ ฟองไข่ไก่ก็ตาม ฟองไข่นกยูงก็ตามที่คนเอามาทำเป็นลูกข่าง จับโยนหรือขว้างไป ไม่อาจจะเล่นได้ ย่อมแตกในขณะนั้นนั่นเอง ฉันใด กายแม้นี้ก็ฉันนั้น เมื่อคนเหยียบชายผ้าก็ดี สะดุดตอก็ดี ล้มลง ย่อมแตกเป็นเหมือนฟองไข่ 
- ...ได้แก่ เพียงผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้ เพราะฟองไข่มีเปลือกแข็งหุ้มไว้ ฉะนั้นแม้เหลือบยุงเป็นต้นแอบเข้าไปเจาะผิวที่ฟองไข่นั้น ก็ไม่อาจให้น้ำเยื่อไข่ไหลออกมาได้ แต่ที่กายนี้ เจาะผิวหนังทำได้ตามปรารถนา กายนี้ผิวหนังที่ละเอียดหุ้มไว้อย่างนี้.
- ...จริงอยู่ ท่านพระสารีบุตรนี้ ท่านเรียกว่า ปริโยทาโต เพราะท่านปราศจากอุปกิเลสนั่นเอง มิใช่เพราะเป็นคนขาว. คฤหบดีพอเห็นความผ่องแผ้วของพระสารีบุตรเท่านั้น ก็รู้ว่าท่านมีอินทรีย์ผ่องใส.
- ... เหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
                         บุคคลใดแล เป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็นนักปราชญ์
                         เป็นกัลยาณมิตร และเป็นผู้มีความภักดีอันมั่นคง
                         กระทำกิจของผู้ได้รับทุกข์โดยเคารพ บัณฑิตทั้ง
                         หลายเรียกบุคคลผู้เช่นนั้นว่า เป็นสัปปุรุษ.
- ...ผู้ใดมีปกติไม่เห็นพระอริยะเจ้าเหล่านั้นในบัดนี้ และไม่ทำความดีในการเห็น ผู้นั้นพึงทราบว่าเป็นผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้า และผู้ไม่เห็นพระอริยะเจ้านั้นมี ๒ จำพวก คือผู้ไม่เห็นด้วยจักษุพวกหนึ่ง ผู้ไม่เห็นด้วยญาณพวกหนึ่ง. ใน ๒ พวกนั้น ผู้ไม่เห็นด้วยญาณท่านประสงค์เอาในที่นี้.
- ...แม้ผู้ที่เห็นพระอริยะเจ้าด้วยมังสจักษุ หรือด้วยทิพยจักษุ ก็ชื่อว่าเป็นอันไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะถือเอาเพียงสี (รูป) แห่งจักษุเหล่านั้น ไม่ใช่ถือเอาโดยเป็นอารมณ์แห่งอริยปัญญา
- ...ท่านขอรับ ขึ้นชื่อว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร.....พระเถระตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนแก่ ถือบาตรและจีวรของพระอริยะทั้งหลาย ทำวัตรปฏิบัติ แม้เที่ยวไปด้วยกัน ก็ไม่รู้จักพระอริยะ ผู้มีอายุ พระอริยะทั้งหลายรู้ได้ยากอย่างนี้.
               แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ท่านก็ยังไม่รู้อยู่นั้นเอง. 
- ...เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ประโยชน์อะไรด้วยกายเน่าที่ท่านเห็นอยู่นี้. ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา. ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม.
- ...เพราะฉะนั้น แม้ผู้ที่เห็นด้วยจักษุไม่เห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นที่พระอริยะทั้งหลายเห็นด้วยญาณ และไม่บรรลุธรรมที่พระอริยะบรรลุแล้ว พึงทราบว่าไม่เห็นพระอริยะ เพราะไม่เห็นธรรมอันกระทำความเป็นพระอริยะ และไม่เห็นความเป็นพระอริยะ.
- ...ขึ้นชื่อว่าวินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้ แต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง ท่านเรียกปุถุชนนี้ว่า มิได้รับแนะนำ เพราะไม่มี วินัยนั้น.
ก็วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑
และในวินัย ๒ อย่างนี้ วินัยแต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง.
               แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร.
               แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน.
- ...***อนึ่ง ในวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละอนัตถะนั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วยแสงประทีปนั่นแล โดยความเป็นปฏิปักษ์กัน คือละสักกายทิฏฐิด้วยการกำหนดนามรูป ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและทิฏฐิที่มีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย ละวิจิกิจฉาด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิอันเป็นส่วนเบื้องปลายแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นแหละ ละการยึดถือว่าเรา ของเรา ด้วยการพิจารณานามรูปโดยเป็นกลาป ละสัญญาในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่าเป็นทางด้วยมัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดของนามรูป ละสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับของนามรูป ละสัญญาในสิ่งที่มีภัยว่าไม่มีภัยด้วยการเห็นนามรูปว่าเป็นภัย ละสัญญาในอัสสาทะความยินดีด้วยการเห็นอาทีนพโทษ ละสัญญาในอภิรติความยินดีด้วยนิพพิทานุปัสสนา ละความไม่อยากปล่อยด้วยมุญจิตุกามยตาญาณ ละความไม่วางเฉยด้วยอุเบกขาญาณ ละธรรมฐิติด้วยอนุโลมญาณ ละภาวะที่เป็นปฏิโลมด้วยพระนิพพาน ละการยึดถือนิมิตในสังขารด้วยโคตรภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังคปหาน.
               อนึ่ง การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้นนั้นๆ ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธินั่นแล เหมือนการกั้นสาหร่ายบนผิวน้ำด้วยการกั้นด้วยไม้ โดยห้ามภาวะคือความเป็นไปเสีย นี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.
               การละหมู่กิเลสที่เป็นฝักฝ่ายสมุทัยที่กล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนโดยมรรคนั้นๆ เพราะทำอริยมรรค ๔ ให้เกิด โดยมิให้เกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด นี้ชื่อว่าสมุจเฉทปหาน.
               อนึ่ง การระงับกิเลสทั้งหลายในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่าปฏิปัสสัทธิปหาน.
               พระนิพพานที่ละสังขตธรรมได้หมด เพราะสลัดสังขตธรรมทั้งหมดได้ นี้ชื่อว่า นิสสรณปหาน.
               อีกอย่างหนึ่ง ปหานทั้งหมดนี้ เหตุที่ท่านเรียกว่าปหาน เพราะอรรถว่าสละ เรียกว่าวินัยเพราะอรรถว่ากำจัด ฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย.
               อีกอย่างหนึ่ง ปหานนี้ ท่านเรียกว่าปหานวินัย เพราะมีการละกิเลสนั้นๆ และเพราะมีการกำจัดกิเลสนั้นๆ แม้ปหานวินัย ก็พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ ด้วยประการฉะนี้.
               วินัยนี้โดยสังเขปมี ๒ อย่าง โดยประเภทมี ๑๐ อย่าง ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้ศึกษานั้น เพราะเป็นผู้ทำลายสังวร และเพราะไม่ละ สิ่งที่ควรละ ฉะนั้นปุถุชนนี้ท่านจึงเรียกว่า ผู้ไม่ได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น.
- มีอีกเยอะ ฯลฯ
----------------
- พระอรรถกถาจารย์ท่านทรงมีพระเมตตากรุณาธิคุณให้คำอธิบายไว้เป็นประโยชน์ในการทำความเข้าใจได้อย่างนี้แล้ว ทำให้มีความเข้าใจพระธรรมได้ลึกซึ้งขึ้น
- ที่ว่าตัวผมเข้าใจแต่ก่อนนั้นอย่างนี้อย่างนั้น เมื่อเจอคำอธิบายอย่างนี้เข้าก็รู้และเข้าใจว่าสิ่งที่เข้าใจไปด้วยการคิดเองด้วยหลงตนในมิจฉาทิฏฐินั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วนั้น นั้นเพราะสักกายทิฏฐิ ที่บดบังทำให้เข้าใจ ผิด เป็น ถูก 
- เมื่อมีคำอธิบายของพระอรรถกถาก็ทำให้เข้าใจได้ถูกต้องตรงทางไม่กล้าคิดเองต่อไป 
--------------
- เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อท่านกัลยาณมิตรครับจึงขอแปะไว้สั้นๆ เพื่อพิจารณาอ่านศึกษาตามความประสงค์ต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่