💚🇹🇭💚มาลาริน/20ก.ค.โควิดไทยอันดับ27โลก/ป่วย2,886คน หายป่วย2,029คน เสียชีวิต19 คน/พบสายพันธุ์ BA.2.75 ที่จ.ตรัง1ราย


https://www.bangkokbiznews.com/social/1016299

https://www.bangkokbiznews.com/social/1016336

เพี้ยนแคปเจอร์สธ. พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ BA.2.75 ที่จ.ตรัง 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 53 ปี
 


นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยข้อเท็จจริงถึงกรณีประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ว่า ผู้ติดเชื้อเป็นชาวไทยอายุ 53 ปี ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดตรัง เดินทางไปประชุมที่ภูเก็ต ที่มีชาวต่างชาติร่วมประชุมด้วย จากนั้นมีอาการและได้ตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ขึ้น 2 ขีด และตรวจยืนยันด้วย RT-PCR พบติดเชื้อ และโรงพยาบาลได้ส่งตัวอย่างมาตรวจสายพันธุ์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง และกรมวิทย์ฯ ได้รับตัวอย่างส่งต่อเพื่อยืนยันสายพันธุ์ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 กรมวิทย์ฯ จึงนำส่งข้อมูลเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 65 และ GISAID ได้ตรวจสอบและประกาศขึ้นระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 65

สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 พบครั้งแรกที่ต่างประเทศตั้งแต่เดือนม.ค. 65 แต่มีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในอินเดีย ช่วงเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ล่าสุดฐานข้อมูล GISAD มีรายงานตรวจพบจากทั่วโลกแล้ว จำนวน 359 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ก.ค. 65)

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า BA.2.75 เบื้องต้นพบมีการกลายพันธุ์บน spike protein หลายตำแหน่งที่ต่างจากสายพันธุ์ย่อย BA.2 โดยสองตำแหน่งสำคัญ ได้แก่ ตำแหน่งกลายพันธุ์ G446S อาจทำให้เกิดการหลบภูมิคุ้มกัน ที่สร้างขึ้นภายหลังการติดโรคโควิด-19 หรือจากการฉีดวัคซีน ทำให้โอกาสการติดเชื้อซ้ำจากไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์เพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น และการกลายพันธุ์ตำแหน่ง R493Q ทำให้ไวรัสจับกับเซลล์มนุษย์และรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการแพร่กระจาย

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) จัด BA.2.75 ให้อยู่ในกลุ่มสายพันธ์ที่น่ากังวลที่ต้องจับตาดู (VOC-LUM) ขณะความเร็วในการแพร่เชื้อและความรุนแรง ยังไม่มีข้อมูลที่มากพอจึงยังไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป

“กรมวิทย์ฯ และกระทรวงสาธารณสุข เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการรายงานผลการตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์ขึ้นระบบฐานข้อมูลกลาง GISAID อย่างสม่ำเสมอ และขอเน้นย้ำการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อให้มีภูมิคุ้มกันสูงมากพอ ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ รวมถึงมาตรการการป้องกันตนเองที่เหมาะสม เช่น การสวมหน้ากาก การล้างมือ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงที่จะรับหรือแพร่เชื้อ”
นพ.ศุภกิจ กล่าว

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (20 ก.ค. 65)

https://www.infoquest.co.th/2022/218241

...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 18

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0mUk9KeH6L1hV9EpiTKVuRR4McNcx5AoLFEB12iKBr9nQpLa2jBX8A9b6xB2PJNeal


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 19 ก.ค. 2565)
รวม 140,827,531 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 19 กรกฎาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 61,835 โดส

เข็มที่ 1 : 5,709 ราย
เข็มที่ 2 : 11,895 ราย
เข็มที่ 3 : 44,231 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 57,068,004 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 53,349,551 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 30,409,976 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0V6WPYEL4azkakK6BTRGMyQTnArRQtr8aZqf51f1Lhaj8ET8pJoa3rdgvtgkwY9y8l


กรมการแพทย์ ต่อยอด ระบบการดูแลผู้ป่วยโควิด
แบบ “สแกน-แจก-จบ”
เพิ่มช่องทางรักษาผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง

ที่มา : กรมการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02AjP1aPVxmLnXf528gV5vAYoMhj6GkTBmeJk3ftWbSp6MvEsioRaCf4hzX3n4sCkvl


กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้ทำการสำรวจการเฝ้าระวังการตัดสินใจ ต่อมาตรการปลดล็อกการสวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่เฝ้าระวังและพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ผ่านระบบออนไลน์ พบว่า
ประชาชนร้อยละ 36.3 เลือกจะสวมหน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัดเหมือนเดิม ขณะที่ประชาชนร้อยละ 62.8 เลือกถอดหน้ากากอนามัยบางพื้นที่ ส่วนประชาชนร้อยละ 0.9 เลือกไม่สวมหน้ากากอนามัยเลย และขอให้กลุ่มเสี่ยงสูงสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

ที่มา : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สบส. กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0oXZjp9RtPyvnuyDpe3QfFAuvnV5VYzt4gj9xMuMR2LZL9tyM6xK8wz7ZE3f3XBq1l


การอ่านและแปลผล ชุดตรวจ ATK ถ้าติดโควิดจะขึ้นกี่ขีด? เช็คเลย

ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02fCrYutxmjJnavn2XyrouScoBwSpB4Qp2aaJCtb58EVZunnNNen3UxQq8tD5CcYwwl


กทม.แนะ ผู้ป่วยโควิด รับบริการตามสิทธิ
ลดความหนาแน่นและได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง

ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า การให้บริการคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ (ARI) ของศูนย์บริการสาธารณสุข เปิดให้บริการคลินิก เจอ แจก จบ โดยรักษาผู้ป่วย ทุกสิทธิการรักษา ให้บริการวันราชการ ในเวลา 08.00 - 16.00 น. และทุกวันเสาร์ 08.00 - 12.00 น. กรณีผู้ป่วยกลุ่ม 608 และผู้ป่วยสิทธิประกันสังคม จะมีการติดตามผู้ป่วยใน 48 ชั่วโมง หากผู้ติดเชื้อโควิด-19 มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก (OPD) เจ้าหน้าที่จะทำการซักประวัติและประเมินอาการ โดยแบ่งเป็น 1. ผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่ใช่กลุ่ม 608 ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก 2. ผู้ป่วยสีเขียว กลุ่ม 608 ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยขอความร่วมมือให้ติดตามอาการ 1 ครั้ง ที่ 48 ชั่วโมง และแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการ ถ้ามีอาการแย่ลง จะทำการส่งต่อตามสิทธิ หรือศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 3. ผู้ป่วยสีเหลือง/แดง จะทำการส่งต่อตามสิทธิ หรือศูนย์เอราวัณ โทร. 1669 ซึ่งรักษาตามแนวทางการใช้ยาของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โดยการเบิก-จ่ายค่ารักษาแบบผู้ป่วยนอกจะเป็นไปตามสิทธิ ในการเข้ารับรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโควิด-19 ขอให้ผู้ป่วยใช้บริการในสถานพยาบาลตามสิทธิของตนเอง เพื่อลดความหนาแน่นแออัดในการให้บริการ และเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาเป็นไปอย่างทั่วถึง

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0J3LP6NHE8X9vzVNvTnzAUEoeaeU37uyfcTUw5P3ECSUtx5JpCXqLViQMTiWbLSiul


4 กลุ่มอาการ "ผู้ป่วยโควิด" ป่วยแบบไหน แพทย์ต้องจ่ายยาต้านไวรัส

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด 19 ในขณะนี้ มีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประชาชนบางส่วนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับแนวทางการจ่ายยาผู้ป่วยโควิด 19 และมีความเข้าใจผิดว่าผู้ป่วยทุกรายต้องได้รับยาต้านไวรัส กรมการแพทย์ขอยืนยันว่าผู้ป่วยโควิด 19 ควรได้รับการรักษาตามแนวทางการรักษาที่กรมการแพทย์ร่วมมือกับคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างานมีการทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ปัจจุบันมีการประกาศใช้แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 24 วันที่ 11 ก.ค. 65 มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้ดูแลรักษาตามอาการไม่ให้ยาต้านไวรัส โดยดูแลการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation) เนื่องจากส่วนมากหายได้เอง แพทย์อาจให้ยาฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรงได้
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ กลุ่มนี้ แพทย์อาจให้ favipiravir ในช่วง 4 วันแรก หลังมีอาการ หาก ผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการ แพทย์อาจไม่ให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญหรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัส 1 ชนิด ตั้งแต่เริ่มมีอาการ โดยแพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัยร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง ประวัติโรคประจำตัว ข้อห้ามการใช้ยา ปฏิกิริยาต่อกันของยาต้านไวรัสกับยาเดิมของผู้ป่วย
4. กลุ่มที่มีอาการปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน ผู้ป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เป็นไปตามแนวทาง ที่กำหนดตามแนวทางเวชปฏิบัติ ฯ ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะยาทุกตัวเป็น emergency used

ที่มา : กรมการแพทย์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02SQ1SWatroRQvwNPVc61TwYQ8sATjBvi7L46zJphGpW65v6NExVjdYpD38JHyhQuLl


ต่อให้ภาครัฐฯ จะประกาศผ่อนปรนถอดหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะได้บ้างแล้ว
แต่ในจังหวะที่โควิดก็ยังไม่หายแบบสิ้นซาก ก็ยังอยากใส่เพื่อความสบายใจไว้ก่อน เพราะเราก็ไม่รู้ว่าจะไปพลาดติดเชื้อตอนไหนและที่ไหนได้บ้าง

เอาเป็นว่าใครอยากถอดหรืออยากใส่แบบปลอดภัยในเวลากัน ลองมาดูแนวทางกันสักนิดว่าเวลาไหนถอดได้ เวลาไหนควรสวมหน้ากาก กันดูจ้า!!
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid04GgTD2GH84NfxbADBwKXGBAKAtzECynpTajjkFQbxiWhp4c6bNK7Ah8nR2t7Bkhnl


ผู้เชี่ยวชาญระบุ หากมีอาการคล้ายเป็นโควิด -19 แต่ตรวจ ATK ไม่พบในครั้งแรก
ไม่ได้แปลว่าไม่ติดโควิด แนะให้ตรวจซ้ำอีกใน 2-3 วันต่อมา

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า

“คงต้องย้ำอีกทีครับว่า บริบทของการตรวจ ATK วันนี้แตกต่างจากเมื่อก่อนที่เรายังไม่ฉีดวัคซีนกันมากๆ ช่วงที่ร่างกายยังไม่มีภูมิจากวัคซีน อาการของโรคจะเกิดจากร่างกายตอบสนองต่อไวรัสที่เพิ่มจำนวนมาในระดับหนึ่งแล้วที่สูงมากพอที่จะตรวจเจอด้วย ATK ดังนั้น เราจะเข้าใจว่าใช้อาการเป็นเกณฑ์ในการวัดจะเจอเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตรงไปตรงมา

ประเด็นเรื่องอาการของโรคมาไวไปไว อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดอีกว่า อาการไข้ลด คอไม่เจ็บแล้ว ไวรัสคงหมดไปแล้ว หรือ ไม่ก็ลดลงเหลือน้อยมากจนไม่แพร่ไปคนอื่นได้ เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ

ภาพที่แสดงมานี้แสดงให้เห็นชัดครับว่า อาการของโรค กับ ปริมาณไวรัสในร่างกายไม่ได้สัมพันธ์กันแบบนั้น ช่วงที่อาการสงบลงอาจเป็นช่วงที่เราพร้อมแพร่กระจายเชื้อได้สูงมากอยู่ครับ การตรวจ ATK หลังอาการหมดลง ในช่วงกักตัวจะมีประโยชน์มากครับในช่วงนี้”
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid0iWC8VRoBWKRR5Yo3uVhB2FkRVo8bBT8fZr19NprqSfnLWTUq8Dp1WqjsJWaHeUALl


Update หน่วยงาน/สถานประกอบการ ให้พนักงานติดเชื้อโควิด “ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง-มีอาการป่วยเล็กน้อย” ทำงานที่บ้าน (WFH) 7 + 3 วัน

กักตัวที่บ้าน 7 วัน และกลับมาทำงาน โดย 3 วันแรก สวมหน้ากากตลอดเวลา งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และเลี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า การพิจารณาสถานการณ์โรคโควิด-19 ของประเทศไทย มีการใช้ข้อมูลทั้งจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้เสียชีวิต และผู้ติดเชื้อที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หรือ Home Isolation ซึ่งขณะนี้พบว่า ผู้ป่วยปอดอักเสบ ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต ดูเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ กทม. ปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ โดยช่วงหยุดยาวที่ผ่านมามีการเดินทางไปต่างจังหวัดกันมาก จึงต้องติดตามว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไร

สำหรับหลังช่วงหยุดยาวย้ำว่า ยังต้องเข้มมาตรการ 2U ได้แก่ Universal Prevention มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ และตรวจ ATK เมื่อมีอาการคล้ายหวัด ซึ่งโอมิครอน BA.4/BA.5 จุดเด่น คือ เจ็บคอ ระคายคอ น้ำมูก หากมีอาการคล้ายไข้หวัดอย่านิ่งนอนใจ ให้ตรวจ ATK และ Universal Vaccination ฉีดวัคซีน ซึ่งขณะนี้คนไปรับวัคซีนเพิ่มขึ้น ส่วนหน่วยงานต่างๆ

หากพบผู้ติดเชื้อ ถ้ามีอาการน้อย ใช้มาตรการ "WFH 7 + 3 วัน ได้ โดยแยกกักตัวที่บ้าน 7 วัน หลังจากนั้นกลับมาทำงานได้ โดยช่วง 3 วันแรก สวมหน้ากากตลอดเวลา งดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และเลี่ยงเข้าร่วมกิจกรรมคนจำนวนมาก

ที่มา : นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์
อธิบดีกรมควบคุมโรค
[19 กรกฎาคม 2565]
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02s3MGf6sBJTPfVRNA2oE7GqKC75mgi2FTFPMsGGj2WnhNRUcL1gZWNa3sKZxbjieWl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่