แจงโควิด "BQ.1" รายแรกในไทย พบนานแล้ว แค่เปลี่ยนชื่อใหม่ อยู่ใน "โอมิครอน Family" ไม่รุนแรง
กรมวิทย์แจงพบ "โควิด" สายพันธุ์ BQ.1 รายแรก ตรวจเจอตั้งแต่ปลาย ส.ค. แต่ GISAID จัดว่าเป็น BE.1.1 เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็น BQ.1 เมื่อ 18 ต.ค. หลังมีข้อมูลมากขึ้น ชี้เป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ชี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ต้องจับตา อัตราแพร่เร็ว แต่น้อยกว่า XBB ผู้ป่วยอาการไม่มาก หายดีนานแล้ว ย้ำสายพันธุ์ย่อยต่างๆ เป็น "โอมิครอน Family" ไม่มีหลักฐานว่ารุนแรง
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข่าวพบโควิด 19 สายพันธุ์ BQ.1 เป็นรายแรกของไทย ว่า ข้อเท็จจริงๆ คือ คนไข้คนนี้เป้นชายต่างชาติอายุ 40 ปี เดินทางมาจากประเทศจีน เมื่อป่วยมารักษา รพ.แห่งหนึ่งใน กทม. ตั้งแต่ปลาย ส.ค. 2565 และไม่มีอาการอะไรมาก หายเป็นปกติดี ทาง รพ.จึงส่งตัวอย่างมาตรวจทางห้องปฏิบัติการและสุ่มตรวจสายพันธุ์ เราจึงส่งข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมไปยังฐานข้อมูลโลก GISAID ซึ่งตอนนั้นช่วง ก.ย. GISAID กำหนดว่าเข้าได้กับสายพันธุ์ BE.1.1 ซึ่งมาจากลูกหลานของ BA.5.3 แต่เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น ดังนั้น วันที่ 18 ต.ค. GISAID จึงเพิ่งเปลี่ยนจาก BE.1.1 มาเป็น BQ.1
"เป็นหลักปกติ เมื่อเราส่งข้อมูลไปในถังกลางของโลกไม่มากพอ ตอนแรกอาจถูกกำหนดเป็นเชื้อชนิดหนึ่ง เมื่อมีข้อมูลมากพอก็อาจเปลี่ยนเป็นตัวอื่นได้ เพราะข้อมูลพวกนี้เป็นแบบไดนามิกว่า ตอนนั้นเข้ากับอะไรที่มีความรู้ เช่น ตอนแรกเป็น BE แต่พอมีคนส่งข้อมูลมามากขึ้น ก็อาจจะเห็นว่าไม่น่าใช่ เพราะมีบางส่วนที่ต่างออกไป คือ ตำแหน่ง N406K เมื่อมีแบบนี้เหมือนกันมากขึ้น จึงยกเป็นตัวใหม่ก็กลายเป็น BQ ทำให้เรียกชื่อเปลี่ยนไป ไม่ได้ปิดบัง เพราะสามารถดูสายเส้นทางการกลายพันธุ์ได้ อย่างก่อนหน้านี้ที่เราพบ BF.7 ก็เป็นการเปลี่ยนชื่อเช่นกัน" นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า สำหรับ BQ.1 อยู่ในหลายตัวที่องค์การอนามัยโลกให้จับตาดู ซึ่งจะดูจากอำนาจการแพร่กระจายเชื้อหรือว่ามีการโตเร็วแค่ไหน โดยขณะนี้สูงสุดตอนนี้คือ XBB ที่ห่วงมากที่สุด ต่อมาคือ BQ.1.1 เป็นลูกหลานของ BQ.1 อีกที ซึ่งประเทศไทยยังตรวจไม่พบ ต่อมาคือ BN.1 และ BQ.1 ฉะนั้น ขณะนี้ประเทศไทยที่มีคือ BF.7 BN.1 BQ.1 และ XBB นั้น ก็ถือว่า BQ.1 อาจแพร่เร็ว แต่ยังสู้ XBB ไม่ได้ ซึ่งเราพบ 2 รายแล้ว และ ผู้ป่วยที่เป็น BQ.1 ก็หายดีแล้ว เราคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องไป เราจะยังพบสายพันธุ์ที่เป็นแขนงออกไปเรื่อยๆ
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า มาตรการต้องเปลี่ยนไหมและหน้าหนาวน่ากังวลหรือไม่นั้น หน้าหนาวมาโอกาสคนเราเป็นหวัดหรือมีการแพร่เชื้อจะเยอะขึ้น แต่ถ้าเรายังป้องกันโดยใส่หน้ากาก ล้างมืออย่างเข้มงวด ไม่หย่อนเกินไป และร่วมกับฉีดวัคซีนกันมากพอสมควรก็จะช่วยให้ประเทศไทยไม่มีปัญหามากนัก เพราะอย่างสิงคโปร์ที่ระบาดมากขึ้น ก็มีการเลิกใส่หน้ากาก หรืออย่างอินเดีย และยุโรป ส่วนญี่ปุ่นเมื่อระบาดเยอะๆ ก็กลับมาใส่หน้ากากมากขึ้น วันนี้คิดว่าถ้าคนไทยจะไปที่ชุมนุมชนก็ใส่หน้ากากไว้ ล้างมือบ่อยๆ ก็จะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วย ทั้งนี้ การกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ทุกวันนี้ยังยืนยันว่า สายพันธุ์ต่างๆ ที่ออกมา เช่น BQ.1 XBB หรืออะไรก็ตาม ยังเป็นตระกูลโอมิครอน ยังไม่มีหลักฐานอะไรว่ารุนแรงมากขึ้น อาจจะป่วยมากขึ้นได้ แต่ไม่ค่อยมีอาการ หรืออาจไม่มีอาการอะไรด้วยซ้ำ ที่ทราบยังไม่มีใครเสียชีวิตจากสายพันธุ์ที่เราเจอ
https://mgronline.com/qol/detail/9650000100089
โควิดยังอยู่ ยุโรปยอดติดเชื้อพุ่ง ส่งสัญญาณอันตรายต่อสหรัฐฯ
ยอดติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปเพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความกังวลให้หน่วยงานสาธารณสุขหลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯ ที่ต้องเร่งเตรียมพร้อมรับการระบาดในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึง
สภาพอากาศที่หนาวเย็นลงในยุโรปถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประชาชนต่างหลบลมหนาวเข้าไปอยู่ในตัวอาคารหรือพื้นที่ปิดร่วมกันมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้สวมหน้ากากป้องกันอีกต่อไป
คาดว่าหน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐฯ ก็คงเห็นสัญญาณบางอย่าง จึงเร่งอนุมัติใช้วัคซีนรุ่นอัปเดตใหม่ให้แก่เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปแล้ว เพื่อหวังจะสกัดการระบาดก่อนหน้าหนาว
แม้ว่าข่าวคราวเกี่ยวกับโควิด-19 จะซาไปในช่วงหลัง เนื่องจากแต่ละประเทศต่างเดินหน้าอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ แต่เชื้อไวรัสมรณะตัวนี้ยังไม่ได้หายไปไหน ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรป พบว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึงราว 1.5 ล้านรายในหนึ่งสัปดาห์ และมีอัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในลพยาบาลเพิ่มขึ้นด้วย
ในฝรั่งเศส อัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นถึง 31 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ขณะที่อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมทั้งอัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้มีการระบุตัวเลขที่แน่ชัด
ส่วนในประเทศอังกฤษ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ก่อนสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่า ประชากรราว 1 ใน 50 หรือราว 1,105,400 คน ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 65 คน หรือราว 857,400 คนจากสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้จากข้อมูลของรัฐบาลยังชี้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 เฉลี่ยในรอบ 7 วันของอังกฤษ ยังอยู่ที่ 65 ศพ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนอีกด้วย
โดยสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงในยุโรปถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประชาชนต่างหลบลมหนาวเข้าไปอยู่ในตัวอาคารหรือพื้นที่ปิดร่วมกันมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้สวมหน้ากากป้องกันอีกต่อไป และทุกครั้งที่การระบาดในยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังสหรัฐฯว่าอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันในไม่ช้า
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2527545
ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ....
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭แจงโควิด"BQ.1"ในไทย พบนานแล้วอยู่ใน"โอมิครอน Family/ยุโรปยอดติดเชื้อพุ่ง ส่งสัญญาณอันตรายต่อสหรัฐฯ
กรมวิทย์แจงพบ "โควิด" สายพันธุ์ BQ.1 รายแรก ตรวจเจอตั้งแต่ปลาย ส.ค. แต่ GISAID จัดว่าเป็น BE.1.1 เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็น BQ.1 เมื่อ 18 ต.ค. หลังมีข้อมูลมากขึ้น ชี้เป็นเรื่องทางเทคนิค ไม่ได้ปิดบังข้อมูล ชี้เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่ต้องจับตา อัตราแพร่เร็ว แต่น้อยกว่า XBB ผู้ป่วยอาการไม่มาก หายดีนานแล้ว ย้ำสายพันธุ์ย่อยต่างๆ เป็น "โอมิครอน Family" ไม่มีหลักฐานว่ารุนแรง
เมื่อวันที่ 19 ต.ค. นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีข่าวพบโควิด 19 สายพันธุ์ BQ.1 เป็นรายแรกของไทย ว่า ข้อเท็จจริงๆ คือ คนไข้คนนี้เป้นชายต่างชาติอายุ 40 ปี เดินทางมาจากประเทศจีน เมื่อป่วยมารักษา รพ.แห่งหนึ่งใน กทม. ตั้งแต่ปลาย ส.ค. 2565 และไม่มีอาการอะไรมาก หายเป็นปกติดี ทาง รพ.จึงส่งตัวอย่างมาตรวจทางห้องปฏิบัติการและสุ่มตรวจสายพันธุ์ เราจึงส่งข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมไปยังฐานข้อมูลโลก GISAID ซึ่งตอนนั้นช่วง ก.ย. GISAID กำหนดว่าเข้าได้กับสายพันธุ์ BE.1.1 ซึ่งมาจากลูกหลานของ BA.5.3 แต่เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น ดังนั้น วันที่ 18 ต.ค. GISAID จึงเพิ่งเปลี่ยนจาก BE.1.1 มาเป็น BQ.1
"เป็นหลักปกติ เมื่อเราส่งข้อมูลไปในถังกลางของโลกไม่มากพอ ตอนแรกอาจถูกกำหนดเป็นเชื้อชนิดหนึ่ง เมื่อมีข้อมูลมากพอก็อาจเปลี่ยนเป็นตัวอื่นได้ เพราะข้อมูลพวกนี้เป็นแบบไดนามิกว่า ตอนนั้นเข้ากับอะไรที่มีความรู้ เช่น ตอนแรกเป็น BE แต่พอมีคนส่งข้อมูลมามากขึ้น ก็อาจจะเห็นว่าไม่น่าใช่ เพราะมีบางส่วนที่ต่างออกไป คือ ตำแหน่ง N406K เมื่อมีแบบนี้เหมือนกันมากขึ้น จึงยกเป็นตัวใหม่ก็กลายเป็น BQ ทำให้เรียกชื่อเปลี่ยนไป ไม่ได้ปิดบัง เพราะสามารถดูสายเส้นทางการกลายพันธุ์ได้ อย่างก่อนหน้านี้ที่เราพบ BF.7 ก็เป็นการเปลี่ยนชื่อเช่นกัน" นพ.ศุภกิจกล่าว
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า สำหรับ BQ.1 อยู่ในหลายตัวที่องค์การอนามัยโลกให้จับตาดู ซึ่งจะดูจากอำนาจการแพร่กระจายเชื้อหรือว่ามีการโตเร็วแค่ไหน โดยขณะนี้สูงสุดตอนนี้คือ XBB ที่ห่วงมากที่สุด ต่อมาคือ BQ.1.1 เป็นลูกหลานของ BQ.1 อีกที ซึ่งประเทศไทยยังตรวจไม่พบ ต่อมาคือ BN.1 และ BQ.1 ฉะนั้น ขณะนี้ประเทศไทยที่มีคือ BF.7 BN.1 BQ.1 และ XBB นั้น ก็ถือว่า BQ.1 อาจแพร่เร็ว แต่ยังสู้ XBB ไม่ได้ ซึ่งเราพบ 2 รายแล้ว และ ผู้ป่วยที่เป็น BQ.1 ก็หายดีแล้ว เราคงต้องเฝ้าระวังต่อเนื่องไป เราจะยังพบสายพันธุ์ที่เป็นแขนงออกไปเรื่อยๆ
นพ.ศุภกิจกล่าวว่า มาตรการต้องเปลี่ยนไหมและหน้าหนาวน่ากังวลหรือไม่นั้น หน้าหนาวมาโอกาสคนเราเป็นหวัดหรือมีการแพร่เชื้อจะเยอะขึ้น แต่ถ้าเรายังป้องกันโดยใส่หน้ากาก ล้างมืออย่างเข้มงวด ไม่หย่อนเกินไป และร่วมกับฉีดวัคซีนกันมากพอสมควรก็จะช่วยให้ประเทศไทยไม่มีปัญหามากนัก เพราะอย่างสิงคโปร์ที่ระบาดมากขึ้น ก็มีการเลิกใส่หน้ากาก หรืออย่างอินเดีย และยุโรป ส่วนญี่ปุ่นเมื่อระบาดเยอะๆ ก็กลับมาใส่หน้ากากมากขึ้น วันนี้คิดว่าถ้าคนไทยจะไปที่ชุมนุมชนก็ใส่หน้ากากไว้ ล้างมือบ่อยๆ ก็จะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ด้วย ทั้งนี้ การกลายพันธุ์จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ทุกวันนี้ยังยืนยันว่า สายพันธุ์ต่างๆ ที่ออกมา เช่น BQ.1 XBB หรืออะไรก็ตาม ยังเป็นตระกูลโอมิครอน ยังไม่มีหลักฐานอะไรว่ารุนแรงมากขึ้น อาจจะป่วยมากขึ้นได้ แต่ไม่ค่อยมีอาการ หรืออาจไม่มีอาการอะไรด้วยซ้ำ ที่ทราบยังไม่มีใครเสียชีวิตจากสายพันธุ์ที่เราเจอ
https://mgronline.com/qol/detail/9650000100089
โควิดยังอยู่ ยุโรปยอดติดเชื้อพุ่ง ส่งสัญญาณอันตรายต่อสหรัฐฯ
ยอดติดเชื้อโควิด-19 ในยุโรปเพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา สร้างความกังวลให้หน่วยงานสาธารณสุขหลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯ ที่ต้องเร่งเตรียมพร้อมรับการระบาดในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึง
สภาพอากาศที่หนาวเย็นลงในยุโรปถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประชาชนต่างหลบลมหนาวเข้าไปอยู่ในตัวอาคารหรือพื้นที่ปิดร่วมกันมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้สวมหน้ากากป้องกันอีกต่อไป
คาดว่าหน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐฯ ก็คงเห็นสัญญาณบางอย่าง จึงเร่งอนุมัติใช้วัคซีนรุ่นอัปเดตใหม่ให้แก่เด็กอายุ 5 ปีขึ้นไปแล้ว เพื่อหวังจะสกัดการระบาดก่อนหน้าหนาว
แม้ว่าข่าวคราวเกี่ยวกับโควิด-19 จะซาไปในช่วงหลัง เนื่องจากแต่ละประเทศต่างเดินหน้าอยู่ร่วมกับโควิดให้ได้ แต่เชื้อไวรัสมรณะตัวนี้ยังไม่ได้หายไปไหน ล่าสุดจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปกำลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยุโรป พบว่าช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 8 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน โดยมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึงราว 1.5 ล้านรายในหนึ่งสัปดาห์ และมีอัตราผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในลพยาบาลเพิ่มขึ้นด้วย
ในฝรั่งเศส อัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นถึง 31 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ขณะที่อัตราการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรวมทั้งอัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ได้มีการระบุตัวเลขที่แน่ชัด
ส่วนในประเทศอังกฤษ ข้อมูลล่าสุดระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ก่อนสิ้นเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่า ประชากรราว 1 ใน 50 หรือราว 1,105,400 คน ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจาก 1 ใน 65 คน หรือราว 857,400 คนจากสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้จากข้อมูลของรัฐบาลยังชี้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 เฉลี่ยในรอบ 7 วันของอังกฤษ ยังอยู่ที่ 65 ศพ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบกว่า 1 เดือนอีกด้วย
โดยสภาพอากาศที่หนาวเย็นลงในยุโรปถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น เนื่องจากประชาชนต่างหลบลมหนาวเข้าไปอยู่ในตัวอาคารหรือพื้นที่ปิดร่วมกันมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนจำนวนมากไม่ได้สวมหน้ากากป้องกันอีกต่อไป และทุกครั้งที่การระบาดในยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ก็เป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังสหรัฐฯว่าอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดียวกันในไม่ช้า
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2527545
ติดตามข่าวโควิดวันนี้นะคะ....