คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 16
กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ XBC (เดลตาครอน) รายแรกของไทย สัดส่วน BA.2.75 เพิ่มเป็น 63.3% แม้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรง แต่ต้องไม่ประมาท
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวล ในรอบสัปดาห์ (19-25 พ.ย.) ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% (จาก 42.9% สัปดาห์ก่อน) และจากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ในประเทศ พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลาน เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวม 216 ราย) และพบว่า BN.1 - ลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนถึง 4 เท่าตัว (มีความเป็นไปได้ที่จะทดแทนสายพันธุ์เดิม)
ทั้งนี้ ยังพบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 ราย และ BQ.1 จำนวน 7 ราย โดยสายพันธุ์ XBC หรือ เดลตาครอน (ลูกผสมของเดลตา+โอมิครอน BA.2) ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว 1 ราย ปัจจุบันหายเป็นปกติดีแล้ว สำหรับ ข้อมูล ณ 20 พ.ย. 2565 พบสายพันธุ์ XBC จากหลายประเทศบนฐานข้อมูลสากล GISAID จำนวน 153 ราย ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น
สถานการณ์ทั่วโลกรายสัปดาห์
● BA.5 และสายพันธุ์ลูกหลาน ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลก คิดเป็น 72.1%
● BA.4 และสายพันธุ์ลูกหลาน ลดจากสัปดาห์ก่อนจาก 3.6% เป็น 3.0%
● BA.2 และสายพันธุ์ลูกหลาน คิดเป็น 9.2% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
● BA.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบน้อยกว่า 1%
● BQ.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 19.1% พบเพิ่มเป็น 23.1%)
● XBB (สายพันธุ์ลูกผสมของ BA.2.10.1 และ BA.2.75) และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 2.0% พบเพิ่มเป็น 3.3%)
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 รวมถึงผลกระทบ – ความรุนแรง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการออกแบบการรักษา ช่วงนี้มาตรการส่วนบุคคลยังจำเป็น เช่น สวมหน้ากาก, ล้างมือ, การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (ลดความรุนแรง - โดยเฉพาะกลุ่ม 608)
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid025u7WVrXycETzR4ntNZmCnLWcmFgkgssUNVd3u5bFou3TnPATBUcuR61pzj7HEE38l
กรมการแพทย์ปรับแนวทางรักษาโควิด ผู้ป่วยปอดอุดกั้น-หัวใจ-เบาหวาน เข้าถึงยาต้านไวรัสง่ายขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เป็นตัวเลือกรักษากลุ่มนี้ คาดประกาศใช้วันนี้! 30 พ.ย.65
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ ปรับปรุงแนวทางรักษาโรคโควิด- 19 ฉบับที่ 26 ซึ่งผ่านการพิจารณาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโควิด 19 แล้ว คาดว่าจะประกาศใช้ในวันนี้ 30 พ.ย.65 โดยฉบับล่าสุดที่มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรง จากเดิมที่มีรายละเอียดมาก ก็ปรับให้เป็นการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตนตาม DMHT อย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจแพทย์ หากต้องให้ยาต้านไวรัสก็อาจให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ได้ปรับเกณฑ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เพื่อให้เข้าถึงยาต้านไวรัสได้สะดวกขึ้นใน 3 กลุ่ม คือ 1)โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ในระยะ 2 ขึ้นไป 2)โรคหัวใจและหลอดเลือด Class 2 ขึ้นไป และ 3)โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปรับเป็นไม่มีระยะของโรคและเป็นโรคเบาหวานธรรมดา แพทย์สามารถให้ยาตามดุลยพินิจได้ สำหรับการให้ยาต้านไวรัสในกลุ่มนี้ ได้เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เข้ามาด้วย ซึ่งอาจให้ LAAB ตัวเดียวหรือให้ร่วมกับยาต้านไวรัสตัวอื่นก็ได้ตามอาการหรือตามดุลยพินิจของแพทย์
นอกจากนี้ ยังปรับคำแนะนำการให้ยา โดยแพกซ์โลวิดควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ให้ยา 5 วัน 10 โดส เรมดิซิเวียร์ ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ ให้ 3 วัน 3 โดส LAAB ควรเริ่มใน 7 วันตั้งแต่มีอาการให้ 1 โดส และโมลนูพิราเวียร์ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จำนวน 5 วัน 10 โดส
สำหรับสถานการณ์โควิด กรณีผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่มากกว่า 70% เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีหรือรับวัคซีนน้อยกว่าเข็ม 3 และเข็มสุดท้ายนานเกิน 3 เดือน และบางส่วนมีอาการแล้วไม่ได้สังเกตหรือไม่ได้ตรวจ คิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น หากมีไข้สูงลอย ไอมาก เริ่มหอบเหนื่อย ควรรีบมาโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่ม 608 และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับไม่ครบ อาการจะเปลี่ยนแปลงเร็ว จึงขอให้รับมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและดูแลรักษาได้ทันท่วงที ส่วนสถานการณ์เตียงโควิด ขณะนี้ ได้คืนเตียงไปดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ แล้ว เหลือเตียงดูแลเฉพาะโควิด 7,564 เตียง ใช้ประมาณ 1,168 เตียง หรือใช้ 19.4% เฉพาะเตียงระดับ 2-3 ที่ดูแลกลุ่มปานกลางถึงรุนแรงใช้ประมาณ 35% แม้ช่วงปีใหม่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าผู้ป่วยอาการรุนแรงจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ประเมินว่าการใช้เตียงจนถึงปีใหม่นี้อาจจะไม่ถึง 50%
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0Bg4X2fCvM8wcDYPCm2cqBvNnz74GL4L4v56ofUqUpkRvXhYrftB5DEwPeBE6zRBtl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4 ข้อ ลดความเสี่ยงจากโควิด 19
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02LLs3zX798cqtdGchaq6PERihLjCiwm5t8VBGDyW4kaqjXYqMZ8KSErGxNwKWSderl&id=100068069971811
หนาวนี้ ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิสู้โควิด 19
ขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง ฉีดวัควีนโควิด 19 หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB โดยเร็ว !!
ฉีดวัคซีน เข็มที่ 4 เพื่อความปลอดภัย
ฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02vhqbMmdD7EWmBM23revWZtAoGn54g81eM2CDgRHanfavWhAYzycFMHMd2zgjRsT4l&id=100068069971811
ชวนประชาชน “ฉีดวัคซีนโควิด-19” เข็มกระตุ้นฟรี! รับบริการได้ที่ 11 รพ. และศูนย์เยาวชน กทม.
ประชาชนทุกสัญชาติรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นฟรี โดย Walk in หรือจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน QueQ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ โทร.1646 ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป รับบริการได้ที่ รพ. สังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่งในวันทำการ ดังนี้
- รพ.กลาง จ. – ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.ตากสิน ที่ศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่ จ. – ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จ. – ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ จ. เวลา 13.00 – 16.00 น. และ อ. เวลา 8.00 – 12.00 น.
- รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ จ. เวลา 13.00 – 16.00 น.
- รพ.ลาดกระบัง จ.- ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.ราชพิพัฒน์ จ.- ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.สิรินธร ศ. เวลา 13.00 – 15.00 น.
- รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน จ. - ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.คลองสามวา พ. - ศ. เวลา 13.00 – 14.00 น.
- รพ.บางนา จ. - พ. เวลา 8.00 – 11.00 น.
.
สำหรับวันเสาร์ - อาทิตย์ ตลอดเดือน ธ.ค. 65 ผู้มีอายุ 5 ปีขึ้นไปทุกสัญชาติ รับวัคซีนได้ที่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เวลา 8.00 – 16.00 น.
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid0uRaQXBJdFQyPiUmb7WtfEGWp9djN9qYqSW1QUykZuSjTz64zccsJbAYyjTuRqDXql
โรคติดต่อทางเดินหายใจป้องกันได้….
สวมหน้ากากอนามัย เมื่อไม่สบายหรือไปในสถานที่แออัด
ช่วยป้องกันโรคโควิด 19 และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้
เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ RSV
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Q2okwXthPzk71GpZAxNWXCnVWbvwqKmive3LRwk5gQDnPPHX1bCd3gbv4GqJgvkMl
กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ XBC (เดลตาครอน) รายแรกของไทย สัดส่วน BA.2.75 เพิ่มเป็น 63.3% แม้ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรง แต่ต้องไม่ประมาท
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวล ในรอบสัปดาห์ (19-25 พ.ย.) ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% (จาก 42.9% สัปดาห์ก่อน) และจากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ในประเทศ พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลาน เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวม 216 ราย) และพบว่า BN.1 - ลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนถึง 4 เท่าตัว (มีความเป็นไปได้ที่จะทดแทนสายพันธุ์เดิม)
ทั้งนี้ ยังพบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 ราย และ BQ.1 จำนวน 7 ราย โดยสายพันธุ์ XBC หรือ เดลตาครอน (ลูกผสมของเดลตา+โอมิครอน BA.2) ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว 1 ราย ปัจจุบันหายเป็นปกติดีแล้ว สำหรับ ข้อมูล ณ 20 พ.ย. 2565 พบสายพันธุ์ XBC จากหลายประเทศบนฐานข้อมูลสากล GISAID จำนวน 153 ราย ยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น
สถานการณ์ทั่วโลกรายสัปดาห์
● BA.5 และสายพันธุ์ลูกหลาน ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลก คิดเป็น 72.1%
● BA.4 และสายพันธุ์ลูกหลาน ลดจากสัปดาห์ก่อนจาก 3.6% เป็น 3.0%
● BA.2 และสายพันธุ์ลูกหลาน คิดเป็น 9.2% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
● BA.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบน้อยกว่า 1%
● BQ.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 19.1% พบเพิ่มเป็น 23.1%)
● XBB (สายพันธุ์ลูกผสมของ BA.2.10.1 และ BA.2.75) และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 2.0% พบเพิ่มเป็น 3.3%)
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง (การกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 รวมถึงผลกระทบ – ความรุนแรง เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการออกแบบการรักษา ช่วงนี้มาตรการส่วนบุคคลยังจำเป็น เช่น สวมหน้ากาก, ล้างมือ, การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (ลดความรุนแรง - โดยเฉพาะกลุ่ม 608)
https://web.facebook.com/realnewsthailand/posts/pfbid025u7WVrXycETzR4ntNZmCnLWcmFgkgssUNVd3u5bFou3TnPATBUcuR61pzj7HEE38l
กรมการแพทย์ปรับแนวทางรักษาโควิด ผู้ป่วยปอดอุดกั้น-หัวใจ-เบาหวาน เข้าถึงยาต้านไวรัสง่ายขึ้น เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เป็นตัวเลือกรักษากลุ่มนี้ คาดประกาศใช้วันนี้! 30 พ.ย.65
กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ ปรับปรุงแนวทางรักษาโรคโควิด- 19 ฉบับที่ 26 ซึ่งผ่านการพิจารณาของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุข (อีโอซี) กรณีโควิด 19 แล้ว คาดว่าจะประกาศใช้ในวันนี้ 30 พ.ย.65 โดยฉบับล่าสุดที่มีการปรับเปลี่ยน ดังนี้
1. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงเป็นโรครุนแรง จากเดิมที่มีรายละเอียดมาก ก็ปรับให้เป็นการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยนอก ปฏิบัติตนตาม DMHT อย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการตามดุลยพินิจแพทย์ หากต้องให้ยาต้านไวรัสก็อาจให้ยาโมลนูพิราเวียร์ หรือยาฟาวิพิราเวียร์ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางที่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ได้ปรับเกณฑ์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง เพื่อให้เข้าถึงยาต้านไวรัสได้สะดวกขึ้นใน 3 กลุ่ม คือ 1)โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรวมโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ในระยะ 2 ขึ้นไป 2)โรคหัวใจและหลอดเลือด Class 2 ขึ้นไป และ 3)โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ปรับเป็นไม่มีระยะของโรคและเป็นโรคเบาหวานธรรมดา แพทย์สามารถให้ยาตามดุลยพินิจได้ สำหรับการให้ยาต้านไวรัสในกลุ่มนี้ ได้เพิ่มภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป (LAAB) เข้ามาด้วย ซึ่งอาจให้ LAAB ตัวเดียวหรือให้ร่วมกับยาต้านไวรัสตัวอื่นก็ได้ตามอาการหรือตามดุลยพินิจของแพทย์
นอกจากนี้ ยังปรับคำแนะนำการให้ยา โดยแพกซ์โลวิดควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการ ให้ยา 5 วัน 10 โดส เรมดิซิเวียร์ ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ ให้ 3 วัน 3 โดส LAAB ควรเริ่มใน 7 วันตั้งแต่มีอาการให้ 1 โดส และโมลนูพิราเวียร์ควรเริ่มใน 5 วันตั้งแต่มีอาการ จำนวน 5 วัน 10 โดส
สำหรับสถานการณ์โควิด กรณีผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่มากกว่า 70% เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีหรือรับวัคซีนน้อยกว่าเข็ม 3 และเข็มสุดท้ายนานเกิน 3 เดือน และบางส่วนมีอาการแล้วไม่ได้สังเกตหรือไม่ได้ตรวจ คิดว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น หากมีไข้สูงลอย ไอมาก เริ่มหอบเหนื่อย ควรรีบมาโรงพยาบาล โดยเฉพาะกลุ่ม 608 และกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีนหรือรับไม่ครบ อาการจะเปลี่ยนแปลงเร็ว จึงขอให้รับมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและดูแลรักษาได้ทันท่วงที ส่วนสถานการณ์เตียงโควิด ขณะนี้ ได้คืนเตียงไปดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ แล้ว เหลือเตียงดูแลเฉพาะโควิด 7,564 เตียง ใช้ประมาณ 1,168 เตียง หรือใช้ 19.4% เฉพาะเตียงระดับ 2-3 ที่ดูแลกลุ่มปานกลางถึงรุนแรงใช้ประมาณ 35% แม้ช่วงปีใหม่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าผู้ป่วยอาการรุนแรงจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ประเมินว่าการใช้เตียงจนถึงปีใหม่นี้อาจจะไม่ถึง 50%
https://web.facebook.com/Rachadaspoke/posts/pfbid0Bg4X2fCvM8wcDYPCm2cqBvNnz74GL4L4v56ofUqUpkRvXhYrftB5DEwPeBE6zRBtl
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4 ข้อ ลดความเสี่ยงจากโควิด 19
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02LLs3zX798cqtdGchaq6PERihLjCiwm5t8VBGDyW4kaqjXYqMZ8KSErGxNwKWSderl&id=100068069971811
หนาวนี้ ฉีดวัคซีนเพิ่มภูมิสู้โควิด 19
ขอเชิญชวนประชาชนที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนและกลุ่มเสี่ยง ฉีดวัควีนโควิด 19 หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB โดยเร็ว !!
ฉีดวัคซีน เข็มที่ 4 เพื่อความปลอดภัย
ฉีดวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02vhqbMmdD7EWmBM23revWZtAoGn54g81eM2CDgRHanfavWhAYzycFMHMd2zgjRsT4l&id=100068069971811
ชวนประชาชน “ฉีดวัคซีนโควิด-19” เข็มกระตุ้นฟรี! รับบริการได้ที่ 11 รพ. และศูนย์เยาวชน กทม.
ประชาชนทุกสัญชาติรับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นฟรี โดย Walk in หรือจองคิวล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชัน QueQ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนสุขภาพ สำนักการแพทย์ โทร.1646 ตลอด 24 ชั่วโมง
ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป รับบริการได้ที่ รพ. สังกัด กทม. ทั้ง 11 แห่งในวันทำการ ดังนี้
- รพ.กลาง จ. – ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.ตากสิน ที่ศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่ จ. – ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ จ. – ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.หลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ จ. เวลา 13.00 – 16.00 น. และ อ. เวลา 8.00 – 12.00 น.
- รพ.เวชการุณย์รัศมิ์ จ. เวลา 13.00 – 16.00 น.
- รพ.ลาดกระบัง จ.- ศ. เวลา 8.00 – 14.00 น.
- รพ.ราชพิพัฒน์ จ.- ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.สิรินธร ศ. เวลา 13.00 – 15.00 น.
- รพ.ผู้สูงอายุบางขุนเทียน จ. - ศ. เวลา 8.00 – 15.00 น.
- รพ.คลองสามวา พ. - ศ. เวลา 13.00 – 14.00 น.
- รพ.บางนา จ. - พ. เวลา 8.00 – 11.00 น.
.
สำหรับวันเสาร์ - อาทิตย์ ตลอดเดือน ธ.ค. 65 ผู้มีอายุ 5 ปีขึ้นไปทุกสัญชาติ รับวัคซีนได้ที่ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย - ญี่ปุ่น) เขตดินแดง เวลา 8.00 – 16.00 น.
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid0uRaQXBJdFQyPiUmb7WtfEGWp9djN9qYqSW1QUykZuSjTz64zccsJbAYyjTuRqDXql
โรคติดต่อทางเดินหายใจป้องกันได้….
สวมหน้ากากอนามัย เมื่อไม่สบายหรือไปในสถานที่แออัด
ช่วยป้องกันโรคโควิด 19 และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ ได้
เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ RSV
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid0Q2okwXthPzk71GpZAxNWXCnVWbvwqKmive3LRwk5gQDnPPHX1bCd3gbv4GqJgvkMl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭กรมวิทย์ฯ เผยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19“เดลตาครอน”รายแรกของไทย/โควิด’กลายพันธุ์!ATK ยังทดสอบได้ ไร้ปัญหา
กรมวิทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ XBC หรือ เดลตาครอน รายแรกของไทย ปัจจุบันผู้ติดเชื้อหายเป็นปกติแล้ว ส่วนโอมิครอน BA.2.75 และลูกหลาน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็น 63.3 % จาก 42.9% ย้ำยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น
วันนี้ (30 พ.ย.) วันนี้ (30 พ.ย.65) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 ในประเทศ และติดตามสายพันธุ์น่ากังวลที่อาจพบจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 19-25 พ.ย.65 ผลการตรวจเฝ้าระวังแบบ SNP/Deletion ด้วยวิธี RT-PCR จำนวน 299 ราย พบว่า ในภาพรวมสัดส่วนของ BA.2.75 เพิ่มขึ้นเป็น 63.3% จากสัปดาห์ก่อนที่มีสัดส่วน 42.9% และเมื่อแยกตามกลุ่ม พบว่า ส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ติดเชื้อในประเทศที่เพิ่มขึ้นจาก 23.2% เป็น 43.9% และล่าสุดเป็น 58.8%
จากการถอดรหัสพันธุกรรมแบบทั้งตัว (Whole genome sequencing) ของตัวอย่างในประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน พบสายพันธุ์ BA.2.75 และลูกหลานของ BA.2.75 เช่น BA.2.75.2, BA.2.75.5.1 (BN.1), BA.2.75.1.2 (BL.2) มากกว่า 468 ราย (จำนวนนี้รวมจำนวน 216 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเข้าเพื่อเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID) โดยพบว่า BN.1 และลูกหลาน มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน ถึง 4 เท่าตัว การเพิ่มจำนวนที่รวดเร็วของเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์กลายพันธุ์ มีความเป็นไปได้ของการเพิ่มจำนวนการติดเชื้อจนกระทั่งทดแทนสายพันธุ์เดิมที่กระจายอยู่ในพื้นที่
นอกจากนี้พบสายพันธุ์ XBB.1 จำนวน 4 ราย และ BQ.1 จำนวน 7 ราย
สำหรับสายพันธุ์ XBC หรือเดลตาครอน ขณะนี้พบในประเทศไทยแล้ว จำนวน 1 ราย ทั้งนี้สายพันธุ์ XBC เป็นสายพันธุ์ลูกผสมของเดลตาและโอมิครอน BA.2 โดยข้อมูล ณ วันที่ 20 พ.ย.65 รายงานพบสายพันธุ์ XBC จากหลายประเทศบนฐานข้อมูลสากล GISAID จำนวน 153 ราย ซึ่งยังไม่พบสัญญาณความรุนแรงของเชื้อที่กลายพันธุ์ แต่อาจจะทำให้มีการแพร่และติดเชื้อง่ายขึ้น โดยในรายของผู้ป่วยที่ตรวจพบสายพันธุ์ XBC เป็นรายแรกของไทยนั้นปัจจุบันหายเป็นปกติดีแล้ว
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกรายสัปดาห์ พบว่า....👇
• BA.5 และสายพันธุ์ลูกหลาน ยังคงเป็นสายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลก คิดเป็น 72.1%
• BA.4 และสายพันธุ์ลูกหลาน ลดจากสัปดาห์ก่อนจาก 3.6% เป็น 3.0%
• BA.2 และสายพันธุ์ลูกหลาน คิดเป็น 9.2% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน
• BA.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบน้อยกว่า 1%
• BQ.1 และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 19.1% พบเพิ่มเป็น 23.1%)
• XBB (สายพันธุ์ลูกผสมของ BA.2.10.1 และ BA.2.75) และสายพันธุ์ลูกหลาน พบเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน (จาก 2.0% พบเพิ่มเป็น 3.3%)
นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่าย ยังคงเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด 19 และเผยแพร่บนฐานข้อมูลสากล GISAID อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามผลกระทบจากสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์น่ากังวล ที่อาจมีต่อความรุนแรงของโรค ประสิทธิผลของมาตรการทางสาธารณสุข หรือคุณสมบัติของอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของเชื้อไวรัส เป็นข้อมูลสนับสนุนการออกแบบการรักษา การให้ยาต้านไวรัส หรือ แอนติบอดีสังเคราะห์ ในช่วงเวลานี้มาตรการส่วนบุคคล เช่น การสวมหน้ากาก ล้างมือ ยังจำเป็น เพื่อลดการระบาดของโรค รวมถึงการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสามารถลดความรุนแรงได้ โดยเฉพาะกลุ่ม 608”
https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000114153
โควิด’กลายพันธุ์!ATK ยังทดสอบได้ ไร้ปัญหา แนะวิธี‘ป้าย’
โควิด’กลายพันธุ์!ATK ยังทดสอบได้ ไร้ปัญหา แนะวิธี‘ป้าย’
30 พฤศจิกายน 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิด” มีเนื้อหาดังนี้...
โควิด 19 การกลายพันธุ์ของไวรัส กับผลตรวจ ATK
การกลายพันธุ์ของไวรัสที่แบ่งกลุ่มย่อยแตกต่างมากมาย ส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของโปรตีนหนาม spike protein การจำแนกสายพันธุ์ย่อยก็จำแนกจากส่วนนี้
การตรวจ ATK จะตรวจหาในส่วน นิวคลีโอแคปสิด Nucleocapsid ของไวรัส เป็นส่วนโครงสร้างของตัวไวรัส ในส่วนนี้จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นน้อยมาก เราจะเห็นว่าเวลาการตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT PCR หรือ ATK จะใช้ในส่วนนี้เป็นการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากค่อนข้างคงตัว
ดังนั้นที่ผ่านมาการใช้ ATK ตรวจหาโควิด 19 จึงยังไม่ได้เป็นปัญหา
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับความไวของการตรวจ ATK ยังขึ้นอยู่กับชนิดน้ำยา เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าความไวน้อยกว่า RT PCR และ วิธีการเก็บตัวอย่างให้ได้และถูกต้อง โดยเฉพาะถ้าต้องเก็บตัวอย่างเอง
การป้ายเข้าไปในจมูก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล้าแยงลงลึก ทำให้เป็นผลลบได้
การป้ายจากคอโดยเฉพาะส่วนลึกของคอ จนถึงกับอาเจียนหรือมีเสมหะออกมา จะตรวจได้ดีกว่า เพราะเก็บตัวอย่างได้มากกว่า
น้ำลายก็เป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาตรวจได้ ถ้าชุดตรวจที่บอกว่าให้ตรวจจากน้ำลาย โดยเฉพาะในเด็ก
https://www.naewna.com/local/695188
ติดตามข่าวโควิดกันต่อค่ะ.....