สัปดาห์ก่อน CPI ล่าสุด 9.1 new high กันไปเลย
ปกติ เงินเฟ้อจะมาเมื่อเศรษฐกิจร้อนแรง
และเงินฝืดมักมาเมื่อเศรษฐกิจถดถอย
แต่ความมหัศจรรย์มีจริง เมื่ออยู่ในมือ FED
พวกเขากำลังฉีกทุกตำรา และกำลังทำให้สองสิ่งนี้มาบรรจบกันได้ที่ stagflation
ในฐานะที่ผมยังโปรการถือครองหุ้น ผมจะพยายามหาข้อมูลโปรๆมาแย้งว่า recession อาจจะไม่เกิด และหากเกิดก็เป็นเบาๆ และ FED จะเอาตัวรอดไปได้อีกด้วย soft landing
1 เดา inflation ว่า peak ไปแล้ว
รอดูเดือนหน้าจะลงมาแถว 8.5 จริงไหม
หลายครั้งเมื่อ inflation peak ตลาดหุ้นมัก bottom
2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละรัฐในอเมริกา ยังดูดีถึงดีมาก และผลประกอบการณ์บริษัทจดทะเบียนยังไม่ติดลบ
สีเทาคือ recession หลายครั้งผลประกอบการณ์ต้องติดลบก่อน1-2 ไตรมาส recession ถึงจะมา ดูปีนี้ดิ ยังไม่ใกล้ 0 เลย
ทุกรัฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเติบโตดี และข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ FED สาขา Chicago ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ใกล้เคียงติดลบ
3 ประชาชนชาวอเมริกันมีหนี้ไม่เยอะ เมื่อเทียบกับสมัย crisis ต่างๆ
ตอน hamburger crisis อยู่แถว 13 ปัจจุบัน แค่ 9 แทบจะต่ำสุดในรอบ 40 ปี
ปัจจุบันมี net cash สูงสุดในรอบเกือบ 20 ปี
ยังมีเงินเหลือให้ใช้ หากว่าเกิดวิกฤติ มากกว่าค่าเฉลี่ย และมากกว่าสมัย hamburger crisis ถึง 2-3 เท่า
4 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับแทบจะต่ำสุด
ลองดูวงกลมสีแดง ซึ่งเป็นภาวะก่อนเกิด recession ถ้าจะเกิดจริง อัตราการว่างงานต้องผงกหัวขึ้นก่อน เกือบปี recession ถึงจะมา ปัจจุบันยังนิ่งสนิทแทบไม่กระเพื่อม และต่ำสุดในรอบ30 ปี
u-6 rate ต่ำสุดในรอบ 30ปี
5 inverted yield curve กับ recession
ข้อมูลนี้คือ สิ่งที่ตามมาหลังเกิด inverted yield curve
1 S&P 500 จะ peak เร็วสุด 1 เดือน ช้าสุด 21 เดือน หลายครั้งขึ้นสวนแล้วไป peak ข้างบนก่อน
2 Job loss จะเกิดขึ้นหลัง inverted yield curve 2-14 เดือน
ปัจจุบัน การจ้างงานยังไม่ลดลง ขาดแรงงานด้วยซ้ำ
3 recession ตามมา ใน 6-23 เดือน
ที่น่ากังวลคือ recession ที่มักตามมาจริงๆนั่นแหละ แต่ตลาดหุ้นอาจขึ้นหรือลงก่อนได้
ตบท้ายด้วยข้อมูลบวกๆ
ตารางนี้แสดง recession ในปีหลังๆ
ช่องแรกคือ % ของจุดต่ำสุดที่ลบลงมาในปีนั้น จากจุดต่ำสุด(แน่นอนว่าเมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้ว ในขณะที่ปัจจุบัน เรายังไม่รู้ว่าต่ำสุดหรือยัง) % ผลตอบแทน 3-6-12 เดือน เขียวปี๋
ที่น่าสนใจคือสีฟ้า คือปี midterm election year
ตลาดหุ้นลงบ่อยมากในปีที่ว่านี้ แต่เมื่อหาจุดต่ำสุดได้ ก็เหมือนเดิม ขึ้นกระฉูด
หลังจากนี้ผมคงไม่โพสต์ทุกอาทิตย์แล้ว (เริ่มซ้ำๆเดิมๆ)
แต่จะให้มุมมองเหมือนเดิม
1 เมื่อเงินเฟ้อ peak ตลาดหุ้นจะ bottom ซึ่งผมเชื่อมาตั้งแต่ต้น ว่าน่าจะ peak ไม่เกินไตรมาส 3
2 เมื่อ US10Y yield peak ตลาดจะ bottom
ไป monitor 2 ตัวนี้ต่อเองได้ครับ น่าจะหาจังหวะลงทุนที่ดีได้
ขอให้โชคดีกับการลงทุน
จบเงินเฟ้อแล้วไป recession จริงหรือ?
ปกติ เงินเฟ้อจะมาเมื่อเศรษฐกิจร้อนแรง
และเงินฝืดมักมาเมื่อเศรษฐกิจถดถอย
แต่ความมหัศจรรย์มีจริง เมื่ออยู่ในมือ FED
พวกเขากำลังฉีกทุกตำรา และกำลังทำให้สองสิ่งนี้มาบรรจบกันได้ที่ stagflation
ในฐานะที่ผมยังโปรการถือครองหุ้น ผมจะพยายามหาข้อมูลโปรๆมาแย้งว่า recession อาจจะไม่เกิด และหากเกิดก็เป็นเบาๆ และ FED จะเอาตัวรอดไปได้อีกด้วย soft landing
1 เดา inflation ว่า peak ไปแล้ว
รอดูเดือนหน้าจะลงมาแถว 8.5 จริงไหม
หลายครั้งเมื่อ inflation peak ตลาดหุ้นมัก bottom
2 กิจกรรมทางเศรษฐกิจของแต่ละรัฐในอเมริกา ยังดูดีถึงดีมาก และผลประกอบการณ์บริษัทจดทะเบียนยังไม่ติดลบ
สีเทาคือ recession หลายครั้งผลประกอบการณ์ต้องติดลบก่อน1-2 ไตรมาส recession ถึงจะมา ดูปีนี้ดิ ยังไม่ใกล้ 0 เลย
ทุกรัฐกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังเติบโตดี และข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ FED สาขา Chicago ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่ใกล้เคียงติดลบ
3 ประชาชนชาวอเมริกันมีหนี้ไม่เยอะ เมื่อเทียบกับสมัย crisis ต่างๆ
ตอน hamburger crisis อยู่แถว 13 ปัจจุบัน แค่ 9 แทบจะต่ำสุดในรอบ 40 ปี
ปัจจุบันมี net cash สูงสุดในรอบเกือบ 20 ปี
ยังมีเงินเหลือให้ใช้ หากว่าเกิดวิกฤติ มากกว่าค่าเฉลี่ย และมากกว่าสมัย hamburger crisis ถึง 2-3 เท่า
4 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับแทบจะต่ำสุด
ลองดูวงกลมสีแดง ซึ่งเป็นภาวะก่อนเกิด recession ถ้าจะเกิดจริง อัตราการว่างงานต้องผงกหัวขึ้นก่อน เกือบปี recession ถึงจะมา ปัจจุบันยังนิ่งสนิทแทบไม่กระเพื่อม และต่ำสุดในรอบ30 ปี
u-6 rate ต่ำสุดในรอบ 30ปี
5 inverted yield curve กับ recession
ข้อมูลนี้คือ สิ่งที่ตามมาหลังเกิด inverted yield curve
1 S&P 500 จะ peak เร็วสุด 1 เดือน ช้าสุด 21 เดือน หลายครั้งขึ้นสวนแล้วไป peak ข้างบนก่อน
2 Job loss จะเกิดขึ้นหลัง inverted yield curve 2-14 เดือน
ปัจจุบัน การจ้างงานยังไม่ลดลง ขาดแรงงานด้วยซ้ำ
3 recession ตามมา ใน 6-23 เดือน
ที่น่ากังวลคือ recession ที่มักตามมาจริงๆนั่นแหละ แต่ตลาดหุ้นอาจขึ้นหรือลงก่อนได้
ตบท้ายด้วยข้อมูลบวกๆ
ตารางนี้แสดง recession ในปีหลังๆ
ช่องแรกคือ % ของจุดต่ำสุดที่ลบลงมาในปีนั้น จากจุดต่ำสุด(แน่นอนว่าเมื่อเจอจุดต่ำสุดแล้ว ในขณะที่ปัจจุบัน เรายังไม่รู้ว่าต่ำสุดหรือยัง) % ผลตอบแทน 3-6-12 เดือน เขียวปี๋
ที่น่าสนใจคือสีฟ้า คือปี midterm election year
ตลาดหุ้นลงบ่อยมากในปีที่ว่านี้ แต่เมื่อหาจุดต่ำสุดได้ ก็เหมือนเดิม ขึ้นกระฉูด
หลังจากนี้ผมคงไม่โพสต์ทุกอาทิตย์แล้ว (เริ่มซ้ำๆเดิมๆ)
แต่จะให้มุมมองเหมือนเดิม
1 เมื่อเงินเฟ้อ peak ตลาดหุ้นจะ bottom ซึ่งผมเชื่อมาตั้งแต่ต้น ว่าน่าจะ peak ไม่เกินไตรมาส 3
2 เมื่อ US10Y yield peak ตลาดจะ bottom
ไป monitor 2 ตัวนี้ต่อเองได้ครับ น่าจะหาจังหวะลงทุนที่ดีได้
ขอให้โชคดีกับการลงทุน