เมื่อกล่าวถึงเรื่องการเข้าพรรษา สาเหตุและที่มา ซึ่งเป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน คือ เกิดจากการที่ชาวบ้านในสมัยพุทธกาล ร้องเรียนกันว่าได้รับความเดือดร้อนจากการที่เหล่าภิกษุออกเดินจาริกบิณฑบาตร เหยียบย่ำพืชไร่ในพื้นที่ ไร่นาและสวนของชาวบ้านเสียหาย ได้รับรู้รับฟังมาอย่างนี้ โดยส่วนตัวไม่ขอเถียงหรือค้านแต่ประการใด หากแต่ แอบสงสัยนิดๆ ว่า จริงไหม เพราะในสมัยนั้น เป็นยุคของสังคมเกษตรกรรม ผู้คนในยุคนั้นคงรู้ดี ว่า เรือกสวนไร่นา มันคืออะไร รวมไปถึงการเดินทางสัญจรไปมากันในวิถีชีวิตปกติ แต่ละเมืองแต่ละชุมชน เขาก็คงมีทางเดินที่เป็นการใช้ประโยชน์ร่วมกัน และรับรู้ร่วมกันว่า ตรงไหนคือ ทางเดิน ตรงไหนคือไร่นา การที่บอกว่าภิกษุเดินย่ำไปในนาข้าวจนพืชผลเสียหาย ผมว่ามันแปลกๆ ที่ท่านจะเดินลุยเข้าไปในทุ่งนาที่มีข้าวออกรวง และไปกันเป็นหมู่คณะหลายรูปมากมายขนาดนั้น (ภิกษุนะครับ ไม่ใช่ฝูงตั๊กแตน) ยิ่งตามสวนผลไม้ก็เถอะ ไม่น่าจะสร้างความเสียหายได้ เพราะผลไม้จะอยู่บนต้น ผมคิดว่า น่าจะมีเหตุผลประการอื่น ที่เหมาะสมกว่านี้ เช่น เป็นการรักษาสุขภาพ หรือเพื่อการรวมตัวเป็นหมู่คณะเพื่อกิจกรรมบางประการ จะได้ไม่ลำบากกับการเดินทางในฤดูฝน เพราะเป็นความไม่สะดวก สำหรับภิกษุ ที่ทั้งตัวมีเพียงจีวรสามผืนและบาตรใบเดียว ไม่มีร่ม ไม่มีผ้าคลุม และยุ่งยากในการหาสถานที่หลบฝน เพราะถึงอยู่โคนไม้ ก็คงเปียกปอน เสี่ยงต่อการเป็นไข้ไม่สบาย พาให้ยุ่งยากกับการพยาบาลรักษา เป็นภาระให้หมู่คณะไปโน่น ที่ว่ามานี้ คือแค่สงสัยครับ เผื่อจะมีผู้รู้ท่านใดผ่านเข้ามาอ่าน และพอจะกรุณาชี้แนะเพื่อเพิ่มมุมมองให้กว้างขึ้นจากเดิม จะขอบพระคุณมาก
"เข้าพรรษา" มูลเหตุและที่มา ขออนุญาตสงสัยนิดนึง