ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊กค่ะ
มาอีกแล้วครับ...หนังขายยา
อีก ๑ สัปดาห์เต็มๆ จะถึงวันซักฟอกรัฐบาล ฝ่ายค้านขึงจอฉายหนังตัวอย่างซ้ำไปซ้ำมา ตีปี๊บ คราวนี้รัฐบาลไม่รอดแน่
ในทางการเมือง ถ้ารัฐบาลไปไม่รอด ก็มี ๒ ทางเลือกครับ
นายกฯ ยุบสภา หรือไม่ก็ลาออก
แต่ถ้ารอดก็อยู่ยาว เพราะฝ่ายค้านหมดโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว
มาทบทวนกันหน่อยครับ รอบ ๔ ปีมานี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๔
๓ ครั้งที่ผ่านมาแทบเขย่ารัฐบาลไม่ได้
วันนี้มาว่ากันเรื่องข้อมูลดิบ สถิติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านชุดนี้ครับ
ฝ่ายค้านนำโดยพรรคเพื่อไทย ยื่นญัตติอภิปรายฯ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๕ คน รวมเป็น ๖ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๔.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
๕.ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๖.ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การอภิปรายฯ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๙ คน รวมเป็น ๑๐ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๔.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
๕.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๖.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๗.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
๘.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๙.นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑๐.ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การอภิปรายฯ ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๓ กันยายน ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๕ คน รวมเป็น ๖ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๓.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
๔.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๕.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๖.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๓ กรกฎาคม ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๑๐ คน รวมเป็น ๑๑ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๔.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๕.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๖.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
๗.จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๘.สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
๙.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
๑๐.นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑๑.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ทีนี้มาดูสถิติส่วนตัวสำหรับผู้ที่ถูกอภิปรายในครั้งนี้ครับ
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๔ ครั้ง
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๔.อนุทิน ชาญวีรกูล ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๕.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๖.สุชาติ ชมกลิ่น ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๗.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๘.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๙.นิพนธ์ บุญญามณี ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๑๐.จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๑ ครั้ง
๑๑.สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ๑ ครั้ง
ครับ... จากสถิติที่เห็นพี่น้อง "๓ ป." ถือเป็นขาประจำ ก็ไม่แปลก เพราะหากฝ่ายค้านโค่น ๓ ป.ลงได้ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้
การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นมาตรการสูงสุดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยฝ่ายค้าน ฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ
ประเด็นที่ฝ่ายค้านนำมาซักฟอกรัฐบาลคือ การคอร์รัปชัน
นี่คือเรื่องใหญ่!
ระบอบรัฐสภาในประเทศพัฒนาแล้ว รัฐบาลไหนถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องการทุจริตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรอด นายกฯ จะต้องลาออก หรือยุบสภาตามมาทีหลัง
เพราะการเปิดโปงการฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ทำกันอย่างจริงจัง ไม่มีการรอมชอม
นั่นเป็นเพราะคอร์รัปชันคือหายนะของชาติ
อภิปรายเรื่องทุจริต ฝ่ายค้านต้องส่งให้ ป.ป.ช.ลงดาบ ก่อนส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฟันอีกที ฉะนั้นการปราบคอร์รัปชันจะสัมฤทธิผลหรือไม่อยู่ที่หลักฐานที่นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เช่นกรณี "หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม" กางหลักฐานทุจริตจำนำข้าว และโกงข้าวจีทูจี จนรัฐมนตรีติดคุก นายกรัฐมนตรีหนีไปต่างประเทศ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ของรัฐบาลประยุทธ์ยังเหนือกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มากโข โดยครั้งล่าสุด ฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ๔ เรื่อง
๑.การบริหารราชการผิดพลาด ล้มเหลว ทุจริตต่อหน้าที่เรื่องโควิด-๑๙ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารวัคซีนผิดพลาด การทุจริตในการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค การผูกขาดวัคซีนแอสตร้า เซนเนก้า
๒.การทุจริตจัดซื้อชุดตรวจ ATK
๓.การใช้วัคซีนไร้คุณภาพฉีดให้ประชาชน
และ ๔.การทุจริตสต๊อกยางพารา การเอื้อประโยชน์ให้เกิดการทุจริต
แต่เนื่องจากหลักฐานส่วนใหญ่เป็นเพียงคำอภิปราย และเรื่องเขาเล่าว่า การพิจารณาของ ป.ป.ช.เดินไปไม่ถึงไหน ขณะฝ่ายค้านกลับโจมตี ป.ป.ช.ว่าดองเรื่อง
แต่ทั้งหมดทั้งมวล การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีหลักฐานการทุจริตชัดเจน เช่นกรณีทีจูทีข้าวเก๊ ไม่มีทางที่ ป.ป.ช.จะดองเรื่อง
และยากที่นักการเมืองจะพ้นผิด
ครั้งนี้ฝ่ายค้านขู่อีกครั้งว่ารัฐบาลประยุทธ์ไม่รอดแน่ หลังจากพูดมาแล้วถึง ๓ ครั้ง
การเปิดซักฟอกรัฐบาลจะสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งอยู่ที่ฝีมือของฝ่ายค้าน ว่ามีประสิทธิภาพในการปราบคอร์รัปชันจริงหรือไม่
วันนี้พรรคการเมืองที่เคยสนับสนุนรัฐมนตรีโกงจนติดคุก นายกฯ หนีไปต่างประเทศ กำลังทำหน้าที่ปราบโกง
หน้าเสื่อแบบนี้ น่ากังวลจริงๆ
https://www.thaipost.net/columnist-people/178536/
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน ก็เหมือนฉายหนังขายยาอย่างบทความว่า...จริงด้วยค่าาาา
ฉายซ้ำๆวนไป ขายยาหลอกเด็กไป อวดสรรพคุณพรรคตัวเองไปว่าดีกว่าฝ่ายรัฐบาล
สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้ตามเคยค่าาาา
ก็พูดว่านายกฯทีไรโดนฝ่ายตัวเองทุกที....
💛มาลาริน/มาอีกแล้วค่าาา...หนังขายยาของพรรคที่ครั้งหนึ่งเคยมี รมต.โกงจนติดคุก มีนายกฯหนีคุกไปตปท.
อีก ๑ สัปดาห์เต็มๆ จะถึงวันซักฟอกรัฐบาล ฝ่ายค้านขึงจอฉายหนังตัวอย่างซ้ำไปซ้ำมา ตีปี๊บ คราวนี้รัฐบาลไม่รอดแน่
ในทางการเมือง ถ้ารัฐบาลไปไม่รอด ก็มี ๒ ทางเลือกครับ
นายกฯ ยุบสภา หรือไม่ก็ลาออก
แต่ถ้ารอดก็อยู่ยาว เพราะฝ่ายค้านหมดโควตาอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว
มาทบทวนกันหน่อยครับ รอบ ๔ ปีมานี้ พรรคร่วมฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครั้งนี้เป็นครั้งที่ ๔
๓ ครั้งที่ผ่านมาแทบเขย่ารัฐบาลไม่ได้
วันนี้มาว่ากันเรื่องข้อมูลดิบ สถิติการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านชุดนี้ครับ
ฝ่ายค้านนำโดยพรรคเพื่อไทย ยื่นญัตติอภิปรายฯ ครั้งที่ ๑ ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๕ คน รวมเป็น ๖ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๔.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
๕.ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
๖.ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การอภิปรายฯ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๖-๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๙ คน รวมเป็น ๑๐ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๔.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
๕.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๖.ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
๗.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
๘.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๙.นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑๐.ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การอภิปรายฯ ครั้งที่ ๓ ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม - ๓ กันยายน ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๕ คน รวมเป็น ๖ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๓.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
๔.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๕.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๖.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และครั้งนี้ เป็นครั้งที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๓ กรกฎาคม ฝ่ายค้านอภิปรายฯ นายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีอีก ๑๐ คน รวมเป็น ๑๑ คน ดังนี้
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๔.อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
๕.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
๖.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
๗.จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๘.สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
๙.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
๑๐.นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑๑.สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ทีนี้มาดูสถิติส่วนตัวสำหรับผู้ที่ถูกอภิปรายในครั้งนี้ครับ
๑.พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๔ ครั้ง
๒.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๓.พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๔.อนุทิน ชาญวีรกูล ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๕.ศักดิ์สยาม ชิดชอบ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๖.สุชาติ ชมกลิ่น ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้ง
๗.จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๘.ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๙.นิพนธ์ บุญญามณี ถูกยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๒ ครั้ง
๑๐.จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ๑ ครั้ง
๑๑.สันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ๑ ครั้ง
ครับ... จากสถิติที่เห็นพี่น้อง "๓ ป." ถือเป็นขาประจำ ก็ไม่แปลก เพราะหากฝ่ายค้านโค่น ๓ ป.ลงได้ รัฐบาลก็อยู่ไม่ได้
การอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นมาตรการสูงสุดในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยฝ่ายค้าน ฉะนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ
ประเด็นที่ฝ่ายค้านนำมาซักฟอกรัฐบาลคือ การคอร์รัปชัน
นี่คือเรื่องใหญ่!
ระบอบรัฐสภาในประเทศพัฒนาแล้ว รัฐบาลไหนถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในเรื่องการทุจริตส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรอด นายกฯ จะต้องลาออก หรือยุบสภาตามมาทีหลัง
เพราะการเปิดโปงการฉ้อราษฎร์บังหลวงนั้น ทำกันอย่างจริงจัง ไม่มีการรอมชอม
นั่นเป็นเพราะคอร์รัปชันคือหายนะของชาติ
อภิปรายเรื่องทุจริต ฝ่ายค้านต้องส่งให้ ป.ป.ช.ลงดาบ ก่อนส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองฟันอีกที ฉะนั้นการปราบคอร์รัปชันจะสัมฤทธิผลหรือไม่อยู่ที่หลักฐานที่นำมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เช่นกรณี "หมอวรงค์ เดชกิจวิกรม" กางหลักฐานทุจริตจำนำข้าว และโกงข้าวจีทูจี จนรัฐมนตรีติดคุก นายกรัฐมนตรีหนีไปต่างประเทศ
อภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ ครั้งที่ผ่านมา สถานการณ์ของรัฐบาลประยุทธ์ยังเหนือกว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มากโข โดยครั้งล่าสุด ฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อ ป.ป.ช. ๔ เรื่อง
๑.การบริหารราชการผิดพลาด ล้มเหลว ทุจริตต่อหน้าที่เรื่องโควิด-๑๙ เป็นประเด็นเกี่ยวกับการบริหารวัคซีนผิดพลาด การทุจริตในการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค การผูกขาดวัคซีนแอสตร้า เซนเนก้า
๒.การทุจริตจัดซื้อชุดตรวจ ATK
๓.การใช้วัคซีนไร้คุณภาพฉีดให้ประชาชน
และ ๔.การทุจริตสต๊อกยางพารา การเอื้อประโยชน์ให้เกิดการทุจริต
แต่เนื่องจากหลักฐานส่วนใหญ่เป็นเพียงคำอภิปราย และเรื่องเขาเล่าว่า การพิจารณาของ ป.ป.ช.เดินไปไม่ถึงไหน ขณะฝ่ายค้านกลับโจมตี ป.ป.ช.ว่าดองเรื่อง
แต่ทั้งหมดทั้งมวล การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่มีหลักฐานการทุจริตชัดเจน เช่นกรณีทีจูทีข้าวเก๊ ไม่มีทางที่ ป.ป.ช.จะดองเรื่อง
และยากที่นักการเมืองจะพ้นผิด
ครั้งนี้ฝ่ายค้านขู่อีกครั้งว่ารัฐบาลประยุทธ์ไม่รอดแน่ หลังจากพูดมาแล้วถึง ๓ ครั้ง
การเปิดซักฟอกรัฐบาลจะสำเร็จหรือไม่ส่วนหนึ่งอยู่ที่ฝีมือของฝ่ายค้าน ว่ามีประสิทธิภาพในการปราบคอร์รัปชันจริงหรือไม่
วันนี้พรรคการเมืองที่เคยสนับสนุนรัฐมนตรีโกงจนติดคุก นายกฯ หนีไปต่างประเทศ กำลังทำหน้าที่ปราบโกง
หน้าเสื่อแบบนี้ น่ากังวลจริงๆ
https://www.thaipost.net/columnist-people/178536/
การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้าน ก็เหมือนฉายหนังขายยาอย่างบทความว่า...จริงด้วยค่าาาา
ฉายซ้ำๆวนไป ขายยาหลอกเด็กไป อวดสรรพคุณพรรคตัวเองไปว่าดีกว่าฝ่ายรัฐบาล
สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้ตามเคยค่าาาา
ก็พูดว่านายกฯทีไรโดนฝ่ายตัวเองทุกที....