คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
AMRAAM AIM-120
ของไทยคือรุ่น AIM-120C-5
https://en.missilery.info/missile/aim120
เริ่มใช้งานเมื่อปี คศ 1991
ระบบนำวิถีเป็นแบบ Active radar homing อธิบายคร่าวๆ ได้ว่า
เมื่อระบบเรดาร์ตรวจจับเครื่องบินฝ่ายศัตรูได้แล้ว จะป้อนข้อมูลทิศทางให้จรวด ข้อมูลนี้อาจจะมาจากเครื่องบินลำอื่นที่แชร์ข้อมูลมาให้ผ่านระบบ data link
เครื่องบินที่ทำหน้าที่ shooter ก็จะยิงจรวดออกไป จรวดจะวิ่งด้วยความเร็วมัค 4 ไปตามทิศทางข้อมูลที่ป้อนให้ ด้วยระบบนำทางแบบแรงเฉื่อย (INS)
ในระหว่างนี้สามารถ mid course update อัพเดตทิศทางเปลี่ยนไปยังเป้าหมายอื่นได้ ผ่านระบบ data link
เมื่อจรวดเดินทางใกล้ถึงเป้าหมาย เรดาร์ในตัวจรวดสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ ก็จะวิ่งเข้าสู่เป้าหมายด้วยตัวเอง
ถ้าเรดาร์ในตัวจรวดถูกก่อกวน ระบบนำวิถีจะเปลี่ยนโหมดโดยอัตโนมัติจาก active เป็น passive วิ่งเข้าหาแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน
ในกรณีระยะประชิด สามารถปล่อยจรวดออกไปได้เลย ระบบนำวิถีในตัวจะวิ่งเข้าหาเป้าหมายที่ตรวจเจอเองโดยอัตโนมัติ
สรุปแล้วคือ เป็นจรวดชนิดยิงแล้วลืม fire and forget เมื่อยิงแล้วสามารถหลบไปทางอื่นได้เลย
IRIS-T ย่อมาจาก (Infra Red Imaging Seeker/system - Tail/thrust vector controlled)
ผลิตโดยเยอรมันและหุ้นส่วนในยุโรปอีก 6 ประเทศ เปิดตัวเมื่อปี คศ 2005
https://en.missilery.info/missile/iris-t
เป็นจรวดชนิดยิงแล้วลืม ระยะประชิด นำวิถีด้วยอินฟราเรด เป็นจรวด AAM ยุคที่ 5
จุดเด่น ความเร็ว มัค 3
มีระบบ thrust vector control ที่ส่วนท้ายจรวดมีระบบบังคับทิศทางด้วยการเปลี่ยนทิศทางแรงขับ เมื่อยิงแล้วจรวดสามารถกลับหลังหันไปยังเป้าหมายด้านหลังเครื่องบินได้ รัศมีการเลี้ยวแคบกว่าจรวดรุ่น R-73 ครึ่งนึง ทนแรง G ได้ถึง 60G
ระบบตรวจจับอินฟราเรด ขยับส่ายได้ด้วยความเร็ว 60 องศา/วินาที มีรัศมีตรวจจับ 90 องศา มากกว่าจรวด R-73 ของพม่า (45 องศา)
เมื่อจรวดเดินทางเข้าใกล้เป้าหมาย ระบบ thermal imaging จะเปรียบเทียบรูปภาพของเป้าหมายกับข้อมูลในหน่วยความจำ ดังนั้น การหลอกล่อโดยเป้าลวงก็ทำได้ยาก นอกจากนั้น ยังสามารถโปรแกรมให้จรวดได้อีกว่า จะเลือกจิ้มตรงส่วนไหนของเป้าหมาย
มีความสามารถ LOAL - "Lock-On After Launch" ยิงไปก่อนแล้วค่อยล็อคเป้า ทำให้เก็บจรวดในช่องเก็บอาวุธในลำตัวได้
ใช้งานควบคู่กับหมวกเล็งเป้าได้ JHMCS (Joint Helmet Mounted Cueing System)
จรวดยุคเก่าจะทำได้แต่ LOBL - "Lock-On Before Launch"
จรวด AAM ของรัสเซีย
เลือกใช้ตามสถานการณ์ ดังภาพ (ข้อมูลของเครื่องบินรุ่น SU-35)
R-73 guided short-range missile
เป็นจรวดยุคที่ 4 แบบแรก เริ่มใช้งานปี คศ 1983 เมื่อเยอรมันตะวันออกรวมกับเยอรมันตะวันตก ทางฝ่ายนาโต้ได้ทดสอบใช้งาน MiG-29 และจรวด R-73 ทำให้ได้รู้ว่า ประเมินขีดความสามารถของจรวดรุ่นนี้ต่ำเกินไป เลยทำให้ต้องกลับมาปรับปรุงจรวดของตัวเองให้เหนือกว่า ดีกว่า
ออกมาเป็น Sidewinder AIM-9X , IRIS-T, AIM-132 ASRAAM
ระบบอินฟราเรด มีมุมตรวจจับ 45 องศา ใช้งานคู่กับหมวกเล็งได้
เป็นจรวดแบบแรก ที่มีสามารถวิ่งเข้าไปดักหน้าเป้าหมายได้ แทนที่จะวิ่งตามหลังเป้าหมายเหมือนจรวดยุคก่อน
จรวดตระกูล R-27
เริ่มใช้งานปี คศ 1987
https://en.missilery.info/missile/p27
หลักนิยมของรัสเซียคือยิงเป็นคู่เพื่อเพิ่มอัตราการทำลายเป้าหมาย เลยพัฒนาจรวดให้มีระบบนำวิถี 2 แบบ ในจรวดรุ่นเดียวกัน
R-27R นำวิถีด้วยเรดาร์แบบ semi-active เช่นเดียวกับ AIM-7 Sparrow ของสหรัฐฯ จุดด้อยคือ เครื่องบินต้องใช้เรดาร์ควบคุมชี้ทิศทางจนกว่าจรวดจะชนเป้าหมาย
R-27T นำวิถีด้วยอินฟราเรด จุดเด่นคือ สามารถยิงแล้วลืมได้ สามารถใช้การตรวจจับแบบ passive ไม่ต้องเปิดเรดาร์ค้นหา โดยใช้อุปกรณ์ IRST (Infrared Search and Tracking) ตรวจจับอินฟราเรดจากระยะไกล ซึ่งระบบ IRST นี้ ไม่มีใน F-16 แต่มีใน F-18E/F, F-35
MiG-29 มีอุปกรณ์ IRST ทั้งรุ่นที่นั่งเดี่ยวและรุ่นฝึก 2 ที่นั่งที่ไม่ติดเรดาร์ ระยะตรวจจับประมาณ 60-80 กม. แล้วแต่สภาพอากาศ
ของไทยคือรุ่น AIM-120C-5
https://en.missilery.info/missile/aim120
เริ่มใช้งานเมื่อปี คศ 1991
ระบบนำวิถีเป็นแบบ Active radar homing อธิบายคร่าวๆ ได้ว่า
เมื่อระบบเรดาร์ตรวจจับเครื่องบินฝ่ายศัตรูได้แล้ว จะป้อนข้อมูลทิศทางให้จรวด ข้อมูลนี้อาจจะมาจากเครื่องบินลำอื่นที่แชร์ข้อมูลมาให้ผ่านระบบ data link
เครื่องบินที่ทำหน้าที่ shooter ก็จะยิงจรวดออกไป จรวดจะวิ่งด้วยความเร็วมัค 4 ไปตามทิศทางข้อมูลที่ป้อนให้ ด้วยระบบนำทางแบบแรงเฉื่อย (INS)
ในระหว่างนี้สามารถ mid course update อัพเดตทิศทางเปลี่ยนไปยังเป้าหมายอื่นได้ ผ่านระบบ data link
เมื่อจรวดเดินทางใกล้ถึงเป้าหมาย เรดาร์ในตัวจรวดสามารถตรวจจับเป้าหมายได้ ก็จะวิ่งเข้าสู่เป้าหมายด้วยตัวเอง
ถ้าเรดาร์ในตัวจรวดถูกก่อกวน ระบบนำวิถีจะเปลี่ยนโหมดโดยอัตโนมัติจาก active เป็น passive วิ่งเข้าหาแหล่งกำเนิดสัญญาณรบกวน
ในกรณีระยะประชิด สามารถปล่อยจรวดออกไปได้เลย ระบบนำวิถีในตัวจะวิ่งเข้าหาเป้าหมายที่ตรวจเจอเองโดยอัตโนมัติ
สรุปแล้วคือ เป็นจรวดชนิดยิงแล้วลืม fire and forget เมื่อยิงแล้วสามารถหลบไปทางอื่นได้เลย
IRIS-T ย่อมาจาก (Infra Red Imaging Seeker/system - Tail/thrust vector controlled)
ผลิตโดยเยอรมันและหุ้นส่วนในยุโรปอีก 6 ประเทศ เปิดตัวเมื่อปี คศ 2005
https://en.missilery.info/missile/iris-t
เป็นจรวดชนิดยิงแล้วลืม ระยะประชิด นำวิถีด้วยอินฟราเรด เป็นจรวด AAM ยุคที่ 5
จุดเด่น ความเร็ว มัค 3
มีระบบ thrust vector control ที่ส่วนท้ายจรวดมีระบบบังคับทิศทางด้วยการเปลี่ยนทิศทางแรงขับ เมื่อยิงแล้วจรวดสามารถกลับหลังหันไปยังเป้าหมายด้านหลังเครื่องบินได้ รัศมีการเลี้ยวแคบกว่าจรวดรุ่น R-73 ครึ่งนึง ทนแรง G ได้ถึง 60G
ระบบตรวจจับอินฟราเรด ขยับส่ายได้ด้วยความเร็ว 60 องศา/วินาที มีรัศมีตรวจจับ 90 องศา มากกว่าจรวด R-73 ของพม่า (45 องศา)
เมื่อจรวดเดินทางเข้าใกล้เป้าหมาย ระบบ thermal imaging จะเปรียบเทียบรูปภาพของเป้าหมายกับข้อมูลในหน่วยความจำ ดังนั้น การหลอกล่อโดยเป้าลวงก็ทำได้ยาก นอกจากนั้น ยังสามารถโปรแกรมให้จรวดได้อีกว่า จะเลือกจิ้มตรงส่วนไหนของเป้าหมาย
มีความสามารถ LOAL - "Lock-On After Launch" ยิงไปก่อนแล้วค่อยล็อคเป้า ทำให้เก็บจรวดในช่องเก็บอาวุธในลำตัวได้
ใช้งานควบคู่กับหมวกเล็งเป้าได้ JHMCS (Joint Helmet Mounted Cueing System)
จรวดยุคเก่าจะทำได้แต่ LOBL - "Lock-On Before Launch"
จรวด AAM ของรัสเซีย
เลือกใช้ตามสถานการณ์ ดังภาพ (ข้อมูลของเครื่องบินรุ่น SU-35)
R-73 guided short-range missile
เป็นจรวดยุคที่ 4 แบบแรก เริ่มใช้งานปี คศ 1983 เมื่อเยอรมันตะวันออกรวมกับเยอรมันตะวันตก ทางฝ่ายนาโต้ได้ทดสอบใช้งาน MiG-29 และจรวด R-73 ทำให้ได้รู้ว่า ประเมินขีดความสามารถของจรวดรุ่นนี้ต่ำเกินไป เลยทำให้ต้องกลับมาปรับปรุงจรวดของตัวเองให้เหนือกว่า ดีกว่า
ออกมาเป็น Sidewinder AIM-9X , IRIS-T, AIM-132 ASRAAM
ระบบอินฟราเรด มีมุมตรวจจับ 45 องศา ใช้งานคู่กับหมวกเล็งได้
เป็นจรวดแบบแรก ที่มีสามารถวิ่งเข้าไปดักหน้าเป้าหมายได้ แทนที่จะวิ่งตามหลังเป้าหมายเหมือนจรวดยุคก่อน
จรวดตระกูล R-27
เริ่มใช้งานปี คศ 1987
https://en.missilery.info/missile/p27
หลักนิยมของรัสเซียคือยิงเป็นคู่เพื่อเพิ่มอัตราการทำลายเป้าหมาย เลยพัฒนาจรวดให้มีระบบนำวิถี 2 แบบ ในจรวดรุ่นเดียวกัน
R-27R นำวิถีด้วยเรดาร์แบบ semi-active เช่นเดียวกับ AIM-7 Sparrow ของสหรัฐฯ จุดด้อยคือ เครื่องบินต้องใช้เรดาร์ควบคุมชี้ทิศทางจนกว่าจรวดจะชนเป้าหมาย
R-27T นำวิถีด้วยอินฟราเรด จุดเด่นคือ สามารถยิงแล้วลืมได้ สามารถใช้การตรวจจับแบบ passive ไม่ต้องเปิดเรดาร์ค้นหา โดยใช้อุปกรณ์ IRST (Infrared Search and Tracking) ตรวจจับอินฟราเรดจากระยะไกล ซึ่งระบบ IRST นี้ ไม่มีใน F-16 แต่มีใน F-18E/F, F-35
MiG-29 มีอุปกรณ์ IRST ทั้งรุ่นที่นั่งเดี่ยวและรุ่นฝึก 2 ที่นั่งที่ไม่ติดเรดาร์ ระยะตรวจจับประมาณ 60-80 กม. แล้วแต่สภาพอากาศ
แสดงความคิดเห็น
MIG 29 กับ F16 ถ้าใช้ในวัตถุประสงค์ ป้องกัน หรือขับไล่ เครื่องบินรุกราน รุ่นไหนจะ ทำงานได้ประสิทธิผลมากกว่าครับ
MIG 29 กับ F16 ถ้าใช้ในวัตถุประสงค์ ป้องกัน หรือขับไล่ เครื่องบินรุกราน รุ่นไหนจะ ทำงานได้ประสิทธิผลมากกว่าครับ