วิกฤติเศรษฐกิจที่ถาโถม กับรัฐบาลที่อ่อนแรง
https://www.bangkokbiznews.com/business/1014710
เมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยเร็วกว่าที่คาดไว้ แผนการรับมือที่รัฐบาลประกาศออกมาไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น สถานการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีต้องปรับแนวทางการทำงานเพื่อรับมือให้ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอยอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้
สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เริ่มต้นนับวาระตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค.2562 โดยพรรคพลังประชารัฐได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นรัฐบาลผสมที่มีเสถียรภาพไม่ค่อยมั่นคงนัก ซึ่งหากรัฐบาลอยู่ครบวาระก็จะไม่เกินเดือน มี.ค.2566
แต่สถานการณ์การเมืองไม่มีอะไรที่แน่นอน และ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาจประกาศยุบสภาก่อนครบวาระ เพื่อรักษาการในช่วงการเลือกตั้งและช่วงรอยต่อของการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในอนาคต
ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.
ประยุทธ์ ประกาศตัวเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง เพราะความเป็นรัฐบาลผสมทำให้มีการกระจายกระทรวงเศรษฐกิจให้กับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐที่รวมถึงโควตารัฐมนตรีเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี
แต่ความเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนในการรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่โถมเข้าสู่รัฐบาลได้ และทำให้หลายครั้งรัฐบาลอยู่ในภาวะตั้งรับสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ถูก
รัฐบาลถูกตั้งคำถามในการรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 ถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถขับเคลื่อนแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ที่ผ่านมาเมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ รัฐบาลพยายามนำเสนอการปรับประเทศสู่โหมดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง และท้ายที่สุดรัฐบาลมาจมกับปัญหาเฉพาะหน้าที่การแก้ไขไม่ได้รับความร่วมมือจากพรรคร่วมรัฐบาลที่เพียงพอ
กลไกหลายด้านถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ นับตั้งแต่การจัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) และเมื่อโรคโควิด-19 แพร่ระบาดระยะหนึ่งมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.)
ล่าสุดมีการใช้กลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อรับมือกับวิกฤติพลังงาน โดยจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งทุกชุดมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
นอกจากวิกฤติพลังงานที่กำลังพัดใส่ประเทศอย่างรุนแรงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี รวมถึงประชาชนและผู้ประกอบการมีต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาก และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพน้ำมันและก๊าซติดลบเกิน 100,000 ล้านบาทเป็นครั้งแรก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมองไม่เห็นทางออก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยเร็วกว่าที่คาดไว้ แผนการรับมือที่รัฐบาลประกาศออกมาไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น
สถานการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีต้องปรับแนวทางการทำงานเพื่อรับมือให้ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอยอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้
หยุดสุญญากาศ เรียกร้องรัฐบาล ชะลอ ‘กัญชาเสรี’ จนกว่า กม.ควบคุมจะเริ่มใช้
https://thematter.co/brief/180108/180108
ครบ 1 เดือนหลังเปิด ‘เสรีกัญชา’ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถอดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีผลบังคับใช้
เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2565 ถึงนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชา และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า การเปิดเสรีกัญชาก่อนที่จะมีกฎหมายออกควบคุมการใช้ในทางที่ผิด ทำให้เกิดสภาวะ ‘
สุญญากาศ’ และเกิดผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งการบริโภคแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนมีการขายกัญชาเพื่อนันทนาการแพร่หลายไปหมด ทั้งๆ ที่เป็นนโยบายที่ออกมาโดยอ้างว่าจะทำให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจรุนแรงขึ้นหากประชาชนปลูกกัญชาในครัวเรือนมากขึ้น และอาจส่งกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยในระยะยาว
1. บนจุดยืนการสนับสนุนนโยบายกัญชาทางสายกลาง คือใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และไม่เห็นด้วยกับการใช้กัญชาเสรี จึงขอเรียกร้องให้
ปิดสถาวะสุญญากาศ โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขชะลอการบังคับใช้การปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีมาตรการควบคุมที่เพียงพอ หรือให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ที่ใช้ในทางการแพทย์ได้ เหมือนมอร์ฟีน หรือออก พ.ร.ก.กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดจนกว่าจะมี พ.ร.บ.กัญชาออกมาบังคับใช้
2. จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อออกแบบนโยบายกัญชาของประเทศไทยอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อประกอบการพิจารณาออก พ.ร.บ.กัญชาต่อไป
“หากทำเช่นนี้ จะทำให้สามารถปิดสภาวะสุญญากาศได้ทันที จะทำให้สถานการณ์นโยบายกัญชากลับไปยังก่อนปลดล็อก คือ กัญชายังเป็นยาเสพติด แต่อนุญาตให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้ แต่ผลกระทบร้ายแรงจะบรรเทาลงทันที ทุกฝ่ายจะได้รับการยอมรับจากสังคมว่าห่วงใยประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง และจะทำให้มีเวลาเพียงพอที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วมออกแบบนโยบายกัญชาของประเทศไทยร่วมกัน อันจะทำให้ผลประโยชน์และผลเสียหายของทุกฝ่ายได้รับการคำนึงถึงอย่างครบถ้วน”
ท้ายจดหมายเปิดผนึกของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดดังกล่าว มีบุคคลหลากหลายวงการร่วมกันลงชื่อ อาทิ นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา, ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนา, นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น, นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย, ไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด เป็นต้น
ทั้งนี้ มีการเปิดแคมเปญเรียกร้องให้ชะลอการเปิดเสรีกัญชาก่อนที่จะมีกฎหมายควบคุม ใครสนใจเข้าไปศึกษาและร่วมลงชื่อกันได้ที่ change.org/DelayCannabisLaw
‘กูรูไพศาล’ มองขาดลำปางแลนด์สไลด์ ปชช.ไม่เลือกพรรคสนับสนุนรัฐบาล!
https://www.dailynews.co.th/news/news_group/politics-news/
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. นาย
ไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “paisal puechmongkol” เรื่องตรงไปตรงมา-ลำปางแลนด์สไลท์!!! มีรายละเอียดดังนี้
ตรงไปตรงมา-ลำปางแลนด์สไลท์!!!
ผลการเลือกตั้งลำปางเมื่อวานนี้ ที่พรรคเสรีรวมไทยชนะแบบแลนด์สไลด์ เป็นบทพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งแล้วว่า“พฤติกรรมในการเลือกตั้งเปลี่ยนไป”แล้ว
ประชนจะไม่คำนึงว่าใครลงสมัคร ส.ส ไม่ว่าจะเป็นแบบเขตหรือบัญชีรายชื่อ
แต่จะเลือกผู้สมัครหรือพรรค เพื่อให้ได้นายกที่ต้องการ
และเพื่อไม่ให้คนที่ไม่ต้องการเป็นนายก!!!
ผลการเลือกตั้งลำปางบอกชัดว่าประชาชนมีฉันทามติไม่เลือกพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลแล้ว!!!
จะกดดันต่อพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์อย่างหนักหน่วง
ส่วนพรรคเศรษฐกิจไทยก็เห็นจะต้องชัดเจนกันแล้ว
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำไอโอเอาแพ้ชนะกัน
แต่เป็นเรื่องการดำรงอยู่หรือความล่มสลายของบ้านเมืองโดยแท้!!!
พึงใคร่ครวญจงหนัก!!!
ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก “paisal puechmongkol”
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02JrQ4PfzikMhtrHDoTdetzEnUPij7XqV4gc7J4kG3E3UH1QgBJkZQrHhDen9AtkTcl
JJNY : วิกฤติศก.ที่ถาโถมกับรบ.ที่อ่อนแรง│ร้องรัฐชะลอ‘กัญชาเสรี’│‘กูรูไพศาล’มองขาดลำปางแลนด์สไลด์│สงครามยูเครนป่วนเวทีG20
https://www.bangkokbiznews.com/business/1014710
เมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยเร็วกว่าที่คาดไว้ แผนการรับมือที่รัฐบาลประกาศออกมาไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น สถานการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีต้องปรับแนวทางการทำงานเพื่อรับมือให้ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอยอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้
สภาผู้แทนราษฎรชุดที่ 25 เริ่มต้นนับวาระตั้งแต่วันที่ 24 มี.ค.2562 โดยพรรคพลังประชารัฐได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล และเป็นรัฐบาลผสมที่มีเสถียรภาพไม่ค่อยมั่นคงนัก ซึ่งหากรัฐบาลอยู่ครบวาระก็จะไม่เกินเดือน มี.ค.2566
แต่สถานการณ์การเมืองไม่มีอะไรที่แน่นอน และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อาจประกาศยุบสภาก่อนครบวาระ เพื่อรักษาการในช่วงการเลือกตั้งและช่วงรอยต่อของการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ในอนาคต
ภายหลังการจัดตั้งรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ประกาศตัวเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจเอง เพราะความเป็นรัฐบาลผสมทำให้มีการกระจายกระทรวงเศรษฐกิจให้กับพรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐที่รวมถึงโควตารัฐมนตรีเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี
แต่ความเป็นหัวหน้าทีมเศรษฐกิจไม่สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนในการรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่โถมเข้าสู่รัฐบาลได้ และทำให้หลายครั้งรัฐบาลอยู่ในภาวะตั้งรับสถานการณ์เศรษฐกิจไม่ถูก
รัฐบาลถูกตั้งคำถามในการรับมือกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 ถึงปัจจุบัน ซึ่งไม่สามารถขับเคลื่อนแผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ที่ผ่านมาเมื่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ชะลอตัวลง
นอกจากนี้ รัฐบาลพยายามนำเสนอการปรับประเทศสู่โหมดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม แต่ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างจริงจัง และท้ายที่สุดรัฐบาลมาจมกับปัญหาเฉพาะหน้าที่การแก้ไขไม่ได้รับความร่วมมือจากพรรคร่วมรัฐบาลที่เพียงพอ
กลไกหลายด้านถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ นับตั้งแต่การจัดตั้งคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) และเมื่อโรคโควิด-19 แพร่ระบาดระยะหนึ่งมีการจัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบศ.)
ล่าสุดมีการใช้กลไกสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เพื่อรับมือกับวิกฤติพลังงาน โดยจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งทุกชุดมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
นอกจากวิกฤติพลังงานที่กำลังพัดใส่ประเทศอย่างรุนแรงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี รวมถึงประชาชนและผู้ประกอบการมีต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาก และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นเครื่องมือสร้างเสถียรภาพน้ำมันและก๊าซติดลบเกิน 100,000 ล้านบาทเป็นครั้งแรก สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมองไม่เห็นทางออก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจโลกถดถอยเร็วกว่าที่คาดไว้ แผนการรับมือที่รัฐบาลประกาศออกมาไม่ได้สร้างความเชื่อมั่น
สถานการณ์เช่นนี้ นายกรัฐมนตรีต้องปรับแนวทางการทำงานเพื่อรับมือให้ได้ เพราะเศรษฐกิจโลกถดถอยอาจรุนแรงกว่าที่รัฐบาลคาดไว้
หยุดสุญญากาศ เรียกร้องรัฐบาล ชะลอ ‘กัญชาเสรี’ จนกว่า กม.ควบคุมจะเริ่มใช้
https://thematter.co/brief/180108/180108
ครบ 1 เดือนหลังเปิด ‘เสรีกัญชา’ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย.2565 เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข ถอดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 มีผลบังคับใช้
เครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติด ออกจดหมายเปิดผนึกเมื่อวันที่ 9 ก.ค.2565 ถึงนายกรัฐมนตรี รมว.สาธารณสุข กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชา และบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระบุว่า การเปิดเสรีกัญชาก่อนที่จะมีกฎหมายออกควบคุมการใช้ในทางที่ผิด ทำให้เกิดสภาวะ ‘สุญญากาศ’ และเกิดผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งการบริโภคแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนมีการขายกัญชาเพื่อนันทนาการแพร่หลายไปหมด ทั้งๆ ที่เป็นนโยบายที่ออกมาโดยอ้างว่าจะทำให้ประชาชนเข้าถึงกัญชาทางการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้อาจรุนแรงขึ้นหากประชาชนปลูกกัญชาในครัวเรือนมากขึ้น และอาจส่งกระทบต่อเด็กและเยาวชนไทยในระยะยาว
1. บนจุดยืนการสนับสนุนนโยบายกัญชาทางสายกลาง คือใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และไม่เห็นด้วยกับการใช้กัญชาเสรี จึงขอเรียกร้องให้
ปิดสถาวะสุญญากาศ โดยออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขชะลอการบังคับใช้การปลดกัญชาออกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ออกไปก่อนจนกว่าจะมีมาตรการควบคุมที่เพียงพอ หรือให้กัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ที่ใช้ในทางการแพทย์ได้ เหมือนมอร์ฟีน หรือออก พ.ร.ก.กำหนดให้กัญชาเป็นยาเสพติดจนกว่าจะมี พ.ร.บ.กัญชาออกมาบังคับใช้
2. จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน เพื่อออกแบบนโยบายกัญชาของประเทศไทยอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อประกอบการพิจารณาออก พ.ร.บ.กัญชาต่อไป
“หากทำเช่นนี้ จะทำให้สามารถปิดสภาวะสุญญากาศได้ทันที จะทำให้สถานการณ์นโยบายกัญชากลับไปยังก่อนปลดล็อก คือ กัญชายังเป็นยาเสพติด แต่อนุญาตให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ได้ แต่ผลกระทบร้ายแรงจะบรรเทาลงทันที ทุกฝ่ายจะได้รับการยอมรับจากสังคมว่าห่วงใยประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง และจะทำให้มีเวลาเพียงพอที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะมีส่วนร่วมออกแบบนโยบายกัญชาของประเทศไทยร่วมกัน อันจะทำให้ผลประโยชน์และผลเสียหายของทุกฝ่ายได้รับการคำนึงถึงอย่างครบถ้วน”
ท้ายจดหมายเปิดผนึกของเครือข่ายนักวิชาการและภาคประชาชนต้านภัยยาเสพติดดังกล่าว มีบุคคลหลากหลายวงการร่วมกันลงชื่อ อาทิ นพ.ชาตรี บานชื่น อดีตกรรมการแพทยสภา, ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนา, นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์วัยรุ่น, นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย, ไฟซ้อน บุญรอด ประธานเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันภัยยาเสพติด เป็นต้น
ทั้งนี้ มีการเปิดแคมเปญเรียกร้องให้ชะลอการเปิดเสรีกัญชาก่อนที่จะมีกฎหมายควบคุม ใครสนใจเข้าไปศึกษาและร่วมลงชื่อกันได้ที่ change.org/DelayCannabisLaw
‘กูรูไพศาล’ มองขาดลำปางแลนด์สไลด์ ปชช.ไม่เลือกพรรคสนับสนุนรัฐบาล!
https://www.dailynews.co.th/news/news_group/politics-news/
เมื่อวันที่ 11 ก.ค. นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “paisal puechmongkol” เรื่องตรงไปตรงมา-ลำปางแลนด์สไลท์!!! มีรายละเอียดดังนี้
ตรงไปตรงมา-ลำปางแลนด์สไลท์!!!
ผลการเลือกตั้งลำปางเมื่อวานนี้ ที่พรรคเสรีรวมไทยชนะแบบแลนด์สไลด์ เป็นบทพิสูจน์อีกครั้งหนึ่งแล้วว่า“พฤติกรรมในการเลือกตั้งเปลี่ยนไป”แล้ว
ประชนจะไม่คำนึงว่าใครลงสมัคร ส.ส ไม่ว่าจะเป็นแบบเขตหรือบัญชีรายชื่อ
แต่จะเลือกผู้สมัครหรือพรรค เพื่อให้ได้นายกที่ต้องการ
และเพื่อไม่ให้คนที่ไม่ต้องการเป็นนายก!!!
ผลการเลือกตั้งลำปางบอกชัดว่าประชาชนมีฉันทามติไม่เลือกพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลแล้ว!!!
จะกดดันต่อพรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์อย่างหนักหน่วง
ส่วนพรรคเศรษฐกิจไทยก็เห็นจะต้องชัดเจนกันแล้ว
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่จะมาทำไอโอเอาแพ้ชนะกัน
แต่เป็นเรื่องการดำรงอยู่หรือความล่มสลายของบ้านเมืองโดยแท้!!!
พึงใคร่ครวญจงหนัก!!!
ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก “paisal puechmongkol”
https://www.facebook.com/Paisal.Fanpage/posts/pfbid02JrQ4PfzikMhtrHDoTdetzEnUPij7XqV4gc7J4kG3E3UH1QgBJkZQrHhDen9AtkTcl