เลขาฯครป.จวก3แกนของนายกฯต้นเหตุเหลื่อมล้ำ-ยากจนกันทั้งประเทศ
https://www.dailynews.co.th/news/1237322/
เลขาฯ ครป.จวก 3 แกนของนายกฯเป็นต้นเหตุความเหลื่อมล้ำและความยากจนของคนไทยทั้งประเทศ เพราะบริหารแบบทุนนิยม [เผล่ะจัง] หยุดสร้างหนี้และหลอกขายฝันประชาชนไปวันๆ
เมื่อวันที่ 10 ก.ค. นาย
เมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงกรณี พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เสนอ 3 แกนแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย ว่า ตนเห็นว่าความคิดของ พล.อ.
ประยุทธ์ เพ้อเจ้อ หลอกขายฝันประชาชนไปวันๆ ทั้งๆที่ 8 ปีที่ผ่านมา พล.อ.
ประยุทธ์ เป็นแกนแห่งความยากจนของคนไทยทั้งประเทศ ถามว่าวันนี้นายกฯ ไปกู้เงินมากี่ล้านล้านบาทแล้ว ทำไมประชาชนไทยยังจน ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างคนจน-คนรวยแย่ที่สุดในโลก 3 แกนการพัฒนาของนโยบายประชารัฐ โดยให้เอกสิทธิ์กลุ่มทุนพวกพ้องเข้ามาช่วยทำ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ และยากจนลง จึงต้องมีโครงการแจกเงินคนจนหมุนเวียนรายเดือน เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบนไปสู่กระเป๋าเจ้าสัวในที่สุด ทำให้คนจนจนลง เกิดการกระจุกตัวของความร่ำรวยเฉพาะบางกลุ่ม
ข้อเสนอของ พล.อ.
ประยุทธ์ แกนที่ 1 คือ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ให้สัมปทานเฉพาะเจ้าสัวกลุ่มทุนผูกขาดที่อิงแอบกับรัฐบาล ยึดทรัพยากรของรัฐ ไฟฟ้า พลังงาน ไปให้สัมปทานเอกชน บางโครงการให้งบรัฐไปอุดหนุน กำไรเอกชนเอาไป ยกตัวอย่างแอร์พอร์ตลิงก์ที่รัฐลงทุนหลายหมื่นล้านก็จะยกให้เอกชนไป การที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% แล้วจ้างเอกชนบริหารจัดการไม่เหมือนกับยกให้เอกชนร่วมเป็นเจ้าของทรัพย์สินแล้วบริหารเอากำไร จริงๆ แล้ว ปตท. กระทรวงการคลัง ควรถือหุ้น 100% แทนคนไทยทั้งชาติแล้วจ้างบริษัทมหาชนบริหารจัดการได้ แต่รัฐพยายามยกเอกสิทธิ์ทุกอย่างให้กลุ่มทุนผูกขาดผลประโยชน์แทนคนไทยโดยอ้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีประโยชน์อะไรถ้าโครงสร้างตึกรามใหญ่โตนั้น รัฐไม่ได้เป็นเจ้าของแล้วประชาชนต้องจ่ายราคาแพง ทั้งค่าน้ำมันราคาแพง ค่ารถไฟฟ้าขึ้นราคา ค่าทางด่วนไม่รู้กี่ทอด ทั้งยังค่าไฟขึ้นราคาอีก ผูกขาดไปทุกระบบ ผลประโยชน์ตกกับกลุ่มทุน รัฐเป็นหนี้มหาศาลและมากที่สุดในประวัติศาสตร์
แกนที่ 2 คือ
แกนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งนายกฯ คงไม่ทราบว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแต่จะจ้างงานน้อยลง เพราะใช้เทคโนโลยี AI และเครื่องจักรมากขึ้น รวมทั้งเป็นผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ และกำลังล้มเหลวในโครงการ EEC เนื่องจากเป็นระบบทุนอุปถัมภ์ เน้นแต่ให้สิทธิประโยชน์เอกชน ลดภาษีส่งเสริมการลงทุน ทั้งๆ ที่ยุคสมัยนี้จะต้องเก็บภาษีกับกลุ่มทุนและภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้าให้มากขึ้น เพื่อเอาส่วนเกินที่ได้ไปจากสังคมที่ผ่านมาสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ ถามอีกว่ารัฐบาลเคยคิดประดิษฐ์แบนด์อะไรของตนเองที่เป็นนวัตกรรมส่งออกหรือไม่ แทบจะไม่มีเลยนอกจากการเป็นนายหน้าขายชาติขายแผ่นดินเพื่อการลงทุนที่จับต้องไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้คืออุตสาหกรรมผูกขาด สิทธิแรงงานถูกกดขี่
แกนที่ 3 คือ
การพลิกโฉมภาคการเงินการธนาคาร พล.อ.
ประยุทธ์ มีความรู้ด้านนี้ซะที่ไหน ความคิดแบบเสรีนิยมที่ฟังเขามาทำนโยบายอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย ทุกวันนี้กลุ่มทุนโลกเข้ายึดธนาคารไทยไปเกือบหมดแล้วและตั้งฐานบัญชาการที่สิงคโปร์ ทำไมไม่ลดช่องว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ที่มันสูงมากจนเกิดการเก็งกำไรด้านการเงินมหาศาล ไม่แตะต้องนโยบายทางการเงินที่ขูดรีดคนไทยมหาศาล แม้แต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ต่างๆ ยังมุ่งแต่แสวงหากำไรจากดอกเบี้ย จนชาวบ้านพลัดที่นาคาที่อยู่ ที่ดินทำกินหลุดลอยในมือชาวนาที่ไม่มีปัญหาจ่ายดอก ไปสู่นายทุนที่รออยู่จำนวนมากโดยมีเจ้าหน้าที่คอยส่งโฉนดให้ รัฐบาลเคยคิดถึงการจัดตั้งธนาคารแรงงานที่ไม่เอาเปรียบประชาชนจริงๆ ไหม ทำไมระบบสหกรณ์ต่างๆ แปรรูปไปเป็นการเกร็งกำไรสูบเลือดสูบเนื้อประชาชนแทบทั้งสิ้น
วันนี้ประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง เพราะการบริหารประเทศแบบทุนนิยม [เผล่ะจัง] สินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นโดยไม่ปรากฏมาก่อน ไม่มีนโยบายปรับเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง จนหนี้สินประเทศมากล้นพ้นตัว ยากจนทั้งแผ่นดิน ทำงานมา 8 ปี ไม่มีให้ต่อเวลาแล้ว หรือท่านจะต่อไปจนชั่วชีวิตไหมล่ะถึงจะพอใจ ให้คนไทยตายให้หมดเพราะคนโง่แล้วขยันแบบนายกฯ ข้ออ้างความจริงใจของท่านคือทุกข์ระกำของคนไทยทั้งชาติหากยังกอดอำนาจไว้ไม่ยอมปล่อย
อ่วมทั่วหน้า จ่อขึ้นค่าเอฟที ค่าไฟพุ่ง 5 บาทต่อหน่วย ชี้แบกต้นทุนใกล้แตะแสนล้าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7155199
อ่วมคนไทยจ่อจ่ายค่าไฟแตะ 5 บาท ทำสถิติสูงสุด กกพ.ชี้หนักใจต้นทุนก๊าซแพงลากยาว พุ่งแตะ 30 ดอลลาร์ แจงกฟผ. แบกต้นทุนหลังแอ่นใกล้แตะแสนล้านปลายปีนี้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน และปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ในงวดใหม่เดือน ก.ย.-ธ.ค.2565 ซึ่งมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าต้องปรับเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ จากงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.อยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย โดยกกพ.จะประกาศค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนก.ค.นี้ หรือต้นเดือนส.ค. เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย และยังมีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ค.2565 จนถึงปัจจุบัน
“ปลายสัปดาห์นี้ กกพ.จะประชุมทบทวนอีกครั้ง เพื่อประกาศค่าเอฟที ราคาแอลเอ็นจีนำเข้าตอนนี้พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนพุ่งสูงแตะระดับ 30 กว่าดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียูแล้ว จากเดิมอยู่ที่ 20 กว่าดอลล์สหรัฐต่อล้านบีทียู เป็นปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม ซึ่งกกพ.ค่อนข้างหนักใจ ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยยังขาดความชัดเจน ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกรับแทนประชาชนอีกกว่า 80,000 ล้านบาทในงวดก่อนหน้าที่ กกพ. อาจจะต้องเข้าไปดูแลช่วยลดภาระต้นทุนผ่านการทยอยปรับเพิ่มผ่านค่าเอฟทีด้วย”
สิ่งที่ กกพ. ต้องเลือกที่จะดูแลความมั่นคงทางพลังงานเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะดูแลผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าไฟฟ้าต้องไม่ขาด ประชาชน และภาคธุรกิจต้องมีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นหากให้ กฟผ.แบกรับภาระทางการเงินแทนผู้ใช้ไฟฟ้าเกินกำลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับระบบ และการดูแลความมั่นคงทางด้านไฟฟ้า
ทั้งนี้ตามประกาศค่าเอฟทีตั้งแต่ต้นปี 2565 กกพ.ได้ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีโดยขอให้ กฟผ. ได้แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแทนประชาชนเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติให้ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 25,000 ล้านบาท ในช่วงที่มีการแบกรับภาระต้นทุนเชื้อเพลิง
“จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติ อาจปรับตัวดีขึ้นได้บ้าง จากแนวโน้มราคาก๊าซที่ลดลงมาได้บ้างในไตรมาสนี้ แต่ขณะนี้ก็ได้เพิ่มสูงขึ้นและน่าจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องไปถึงในฤดูหนาวปลายปีและจนถึงต้นปีหน้า หากให้ กฟผ.แบกรับภาระต้นทุนต่อโดยไม่มีการทยอยคืนให้ผ่านการปรับเพิ่มค่าเอฟที ก็อาจทำให้ กฟผ. ติดลบสูงถึง 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2565”
แหล่งข่าวเปิดเผยว่าอีกประเด็นที่ กกพ. หนักใจ คือ ปัจจัยของความไม่แน่นอนจากปริมาณผลผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่ขาดช่วงในระหว่างการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำ และแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมมีปริมาณก๊าซจากแหล่งเอราวัณป้อนเข้าสู่ระบบได้ถึง 1,000 ล้านลูกบาศก์ลิตรต่อวัน จนถึงขณะนี้ผู้รับสัมปทานก็ยังไม่สามารถแจ้งปริมาณที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อชดเชยก๊าซที่ขาดหายไปได้อย่างชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการ และการวางแผนทำได้ยากขึ้น
“ได้รับแจ้งเพียงว่า ระยะเวลาที่จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติกลับมามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในระดับเดิมก่อนเปลี่ยนสัมปทานอาจจะต้องใช้ระยะเวลาสำรวจ ขุดเจาะ ผลิตอีกประมาณ 2 ปี หมายความว่า ค่าไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงราคาแพงจากการนำเข้าแอลเอ็นจี ทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวอีกอย่างน้อย 2 ปีเช่นกัน และคาดการณ์ได้ว่า ไทยจะเผชิญกับภาวะค่าไฟแพงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีนี้ และต่อเนื่องในปี 2566 ตลอดทั้งปีด้วย”
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบอื่นที่กระทบต่อค่าเอฟทีในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2565 ยังได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจริงในงวดก่อนหน้าที่สูงกว่าประมาณการ ที่ต้องนำมาคำนวณรวมกับค่าเอฟทีในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2565 รวมถึงภาระต้นทุนจากการอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยประมาณการค่าเฉลี่ยเดือนพ.ค.2565 อยู่ที่ 34.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
“ทีเอชเอ” ชี้วิกฤติโควิด 2 ปีเผากำไร ธุรกิจ “โรงแรม” ไม่พร้อมเสียภาษี!
https://www.bangkokbiznews.com/business/1014632
“สมาคมโรงแรมไทย” ชี้ธุรกิจโรงแรมไม่พร้อมเสียภาษี หลังวิกฤติโควิด-19 ลากยาวกว่า 2 ปี เผารายได้จนขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถทำกำไรได้ วอนรัฐขยายเวลาชำระ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เรียกเก็บในปี 2565 พิจารณาให้ผ่อนชำระ 10 งวด โดยไม่คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
นาง
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2565 ที่ 100% โดยไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด ธุรกิจโรงแรมมีความกังวลมาก “
ไม่พร้อมเสียภาษี” เนื่องจากขาดรายได้ช่วงวิกฤตโควิด-19 ยาวถึง 2 ปี และยังคงขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในครั้งนี้ ขอให้รัฐบาลขยายเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เรียกเก็บในปี 2565 โดยขอพิจารณาผ่อนชำระ 10 งวด โดยไม่คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
และพิจารณาจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได ปี 2566 ลดหย่อน 75% ปี 2567 ลดหย่อน 50% และปี 2568 ลดหย่อน 25% ตามลำดับ สำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม
พร้อมกันนี้ การที่กรมธนารักษ์ประกาศบังคับใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 66-69 ปรับขึ้นเฉลี่ย 8% (ของกรมธนารักษ์) นั้น ภาคธุรกิจโรงแรมยังไม่ฟื้นจากขาดทุนระยะยาวทำให้หนี้เพิ่ม ต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น พร้อมกับต้นทุนเงินเฟ้อต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาฟื้นอีกอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งสวนทางกับสถานภาพธุรกิจท่องเที่ยว
“สมาคมฯจึงขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือพยุงผู้ประกอบการโรงแรมให้คุ้มต้นทุน ทำธุรกิจเข้มแข็งขึ้น สร้างเสถียรภาพการจ้างงาน ให้ผู้ประกอบการจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจ่ายภาษีรายได้คืนให้กับรัฐบาล”
นางมาริสา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน มิ.ย.2565 จัดโดยสมาคมโรงแรมไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำรวจระหว่างวันที่ 13-26 มิ.ย.ที่ผ่านมา จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 137 แห่ง (รวมโรงแรมที่เป็น AQ, Hospitel และ Hotel Isolation) พบว่า มาตรการช่วยเหลือที่โรงแรมส่วนใหญ่ต้องการจากภาครัฐ มีดังนี้
JJNY : 5in1 เลขาฯครป.จวก3แกน│จ่อขึ้นค่าFT พุ่ง5บ.│“โรงแรม”ไม่พร้อมเสียภาษี!│พท.แฉกรมศุลฯจัดซื้อ│รัสเซียโจมตีที่พักอาศัย
https://www.dailynews.co.th/news/1237322/
เลขาฯ ครป.จวก 3 แกนของนายกฯเป็นต้นเหตุความเหลื่อมล้ำและความยากจนของคนไทยทั้งประเทศ เพราะบริหารแบบทุนนิยม [เผล่ะจัง] หยุดสร้างหนี้และหลอกขายฝันประชาชนไปวันๆ
เมื่อวันที่ 10 ก.ค. นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เสนอ 3 แกนแก้ปัญหาความยากจนในประเทศไทย ว่า ตนเห็นว่าความคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ เพ้อเจ้อ หลอกขายฝันประชาชนไปวันๆ ทั้งๆที่ 8 ปีที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแกนแห่งความยากจนของคนไทยทั้งประเทศ ถามว่าวันนี้นายกฯ ไปกู้เงินมากี่ล้านล้านบาทแล้ว ทำไมประชาชนไทยยังจน ทั้งนี้นโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างคนจน-คนรวยแย่ที่สุดในโลก 3 แกนการพัฒนาของนโยบายประชารัฐ โดยให้เอกสิทธิ์กลุ่มทุนพวกพ้องเข้ามาช่วยทำ ทำให้ประชาชนเป็นหนี้ และยากจนลง จึงต้องมีโครงการแจกเงินคนจนหมุนเวียนรายเดือน เพื่อให้เศรษฐกิจหมุนเวียนจากบนลงล่าง และจากล่างขึ้นบนไปสู่กระเป๋าเจ้าสัวในที่สุด ทำให้คนจนจนลง เกิดการกระจุกตัวของความร่ำรวยเฉพาะบางกลุ่ม
ข้อเสนอของ พล.อ.ประยุทธ์ แกนที่ 1 คือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ให้สัมปทานเฉพาะเจ้าสัวกลุ่มทุนผูกขาดที่อิงแอบกับรัฐบาล ยึดทรัพยากรของรัฐ ไฟฟ้า พลังงาน ไปให้สัมปทานเอกชน บางโครงการให้งบรัฐไปอุดหนุน กำไรเอกชนเอาไป ยกตัวอย่างแอร์พอร์ตลิงก์ที่รัฐลงทุนหลายหมื่นล้านก็จะยกให้เอกชนไป การที่รัฐเป็นเจ้าของ 100% แล้วจ้างเอกชนบริหารจัดการไม่เหมือนกับยกให้เอกชนร่วมเป็นเจ้าของทรัพย์สินแล้วบริหารเอากำไร จริงๆ แล้ว ปตท. กระทรวงการคลัง ควรถือหุ้น 100% แทนคนไทยทั้งชาติแล้วจ้างบริษัทมหาชนบริหารจัดการได้ แต่รัฐพยายามยกเอกสิทธิ์ทุกอย่างให้กลุ่มทุนผูกขาดผลประโยชน์แทนคนไทยโดยอ้างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จะมีประโยชน์อะไรถ้าโครงสร้างตึกรามใหญ่โตนั้น รัฐไม่ได้เป็นเจ้าของแล้วประชาชนต้องจ่ายราคาแพง ทั้งค่าน้ำมันราคาแพง ค่ารถไฟฟ้าขึ้นราคา ค่าทางด่วนไม่รู้กี่ทอด ทั้งยังค่าไฟขึ้นราคาอีก ผูกขาดไปทุกระบบ ผลประโยชน์ตกกับกลุ่มทุน รัฐเป็นหนี้มหาศาลและมากที่สุดในประวัติศาสตร์
แกนที่ 2 คือแกนที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งนายกฯ คงไม่ทราบว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแต่จะจ้างงานน้อยลง เพราะใช้เทคโนโลยี AI และเครื่องจักรมากขึ้น รวมทั้งเป็นผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ และกำลังล้มเหลวในโครงการ EEC เนื่องจากเป็นระบบทุนอุปถัมภ์ เน้นแต่ให้สิทธิประโยชน์เอกชน ลดภาษีส่งเสริมการลงทุน ทั้งๆ ที่ยุคสมัยนี้จะต้องเก็บภาษีกับกลุ่มทุนและภาษีทรัพย์สินอัตราก้าวหน้าให้มากขึ้น เพื่อเอาส่วนเกินที่ได้ไปจากสังคมที่ผ่านมาสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ ถามอีกว่ารัฐบาลเคยคิดประดิษฐ์แบนด์อะไรของตนเองที่เป็นนวัตกรรมส่งออกหรือไม่ แทบจะไม่มีเลยนอกจากการเป็นนายหน้าขายชาติขายแผ่นดินเพื่อการลงทุนที่จับต้องไม่ได้ ผลที่เกิดขึ้นในเมืองไทยตอนนี้คืออุตสาหกรรมผูกขาด สิทธิแรงงานถูกกดขี่
แกนที่ 3 คือการพลิกโฉมภาคการเงินการธนาคาร พล.อ.ประยุทธ์ มีความรู้ด้านนี้ซะที่ไหน ความคิดแบบเสรีนิยมที่ฟังเขามาทำนโยบายอันตรายอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย ทุกวันนี้กลุ่มทุนโลกเข้ายึดธนาคารไทยไปเกือบหมดแล้วและตั้งฐานบัญชาการที่สิงคโปร์ ทำไมไม่ลดช่องว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับเงินกู้ที่มันสูงมากจนเกิดการเก็งกำไรด้านการเงินมหาศาล ไม่แตะต้องนโยบายทางการเงินที่ขูดรีดคนไทยมหาศาล แม้แต่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ต่างๆ ยังมุ่งแต่แสวงหากำไรจากดอกเบี้ย จนชาวบ้านพลัดที่นาคาที่อยู่ ที่ดินทำกินหลุดลอยในมือชาวนาที่ไม่มีปัญหาจ่ายดอก ไปสู่นายทุนที่รออยู่จำนวนมากโดยมีเจ้าหน้าที่คอยส่งโฉนดให้ รัฐบาลเคยคิดถึงการจัดตั้งธนาคารแรงงานที่ไม่เอาเปรียบประชาชนจริงๆ ไหม ทำไมระบบสหกรณ์ต่างๆ แปรรูปไปเป็นการเกร็งกำไรสูบเลือดสูบเนื้อประชาชนแทบทั้งสิ้น
วันนี้ประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำอันดับหนึ่ง เพราะการบริหารประเทศแบบทุนนิยม [เผล่ะจัง] สินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นโดยไม่ปรากฏมาก่อน ไม่มีนโยบายปรับเศรษฐกิจเชิงโครงสร้าง จนหนี้สินประเทศมากล้นพ้นตัว ยากจนทั้งแผ่นดิน ทำงานมา 8 ปี ไม่มีให้ต่อเวลาแล้ว หรือท่านจะต่อไปจนชั่วชีวิตไหมล่ะถึงจะพอใจ ให้คนไทยตายให้หมดเพราะคนโง่แล้วขยันแบบนายกฯ ข้ออ้างความจริงใจของท่านคือทุกข์ระกำของคนไทยทั้งชาติหากยังกอดอำนาจไว้ไม่ยอมปล่อย
อ่วมทั่วหน้า จ่อขึ้นค่าเอฟที ค่าไฟพุ่ง 5 บาทต่อหน่วย ชี้แบกต้นทุนใกล้แตะแสนล้าน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7155199
อ่วมคนไทยจ่อจ่ายค่าไฟแตะ 5 บาท ทำสถิติสูงสุด กกพ.ชี้หนักใจต้นทุนก๊าซแพงลากยาว พุ่งแตะ 30 ดอลลาร์ แจงกฟผ. แบกต้นทุนหลังแอ่นใกล้แตะแสนล้านปลายปีนี้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า กกพ.อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวน และปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ในงวดใหม่เดือน ก.ย.-ธ.ค.2565 ซึ่งมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 90-100 สตางค์ต่อหน่วย และอาจทำให้ค่าไฟฟ้าต้องปรับเพิ่มสูงขึ้นถึงเกือบ 5 บาทต่อหน่วยในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ จากงวดเดือนพ.ค.-ส.ค.อยู่ที่ 4 บาทต่อหน่วย โดยกกพ.จะประกาศค่าเอฟทีอย่างเป็นทางการประมาณปลายเดือนก.ค.นี้ หรือต้นเดือนส.ค. เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) นำเข้าเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำในอ่าวไทย และยังมีแนวโน้มราคาแพงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ค.2565 จนถึงปัจจุบัน
“ปลายสัปดาห์นี้ กกพ.จะประชุมทบทวนอีกครั้ง เพื่อประกาศค่าเอฟที ราคาแอลเอ็นจีนำเข้าตอนนี้พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนพุ่งสูงแตะระดับ 30 กว่าดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียูแล้ว จากเดิมอยู่ที่ 20 กว่าดอลล์สหรัฐต่อล้านบีทียู เป็นปัจจัยที่นอกเหนือการควบคุม ซึ่งกกพ.ค่อนข้างหนักใจ ปริมาณก๊าซในอ่าวไทยยังขาดความชัดเจน ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แบกรับแทนประชาชนอีกกว่า 80,000 ล้านบาทในงวดก่อนหน้าที่ กกพ. อาจจะต้องเข้าไปดูแลช่วยลดภาระต้นทุนผ่านการทยอยปรับเพิ่มผ่านค่าเอฟทีด้วย”
สิ่งที่ กกพ. ต้องเลือกที่จะดูแลความมั่นคงทางพลังงานเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะดูแลผลกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าไฟฟ้าต้องไม่ขาด ประชาชน และภาคธุรกิจต้องมีไฟฟ้าใช้ ดังนั้นหากให้ กฟผ.แบกรับภาระทางการเงินแทนผู้ใช้ไฟฟ้าเกินกำลังต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนให้กับระบบ และการดูแลความมั่นคงทางด้านไฟฟ้า
ทั้งนี้ตามประกาศค่าเอฟทีตั้งแต่ต้นปี 2565 กกพ.ได้ทยอยปรับเพิ่มค่าเอฟทีโดยขอให้ กฟผ. ได้แบกรับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแทนประชาชนเป็นมูลค่าประมาณ 80,000 ล้านบาท และคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติให้ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อเสริมสภาพคล่องจำนวน 25,000 ล้านบาท ในช่วงที่มีการแบกรับภาระต้นทุนเชื้อเพลิง
“จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่าสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติ อาจปรับตัวดีขึ้นได้บ้าง จากแนวโน้มราคาก๊าซที่ลดลงมาได้บ้างในไตรมาสนี้ แต่ขณะนี้ก็ได้เพิ่มสูงขึ้นและน่าจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องไปถึงในฤดูหนาวปลายปีและจนถึงต้นปีหน้า หากให้ กฟผ.แบกรับภาระต้นทุนต่อโดยไม่มีการทยอยคืนให้ผ่านการปรับเพิ่มค่าเอฟที ก็อาจทำให้ กฟผ. ติดลบสูงถึง 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2565”
แหล่งข่าวเปิดเผยว่าอีกประเด็นที่ กกพ. หนักใจ คือ ปัจจัยของความไม่แน่นอนจากปริมาณผลผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่ขาดช่วงในระหว่างการเปลี่ยนผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซเอราวัณ ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติต้นทุนต่ำ และแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า จากเดิมมีปริมาณก๊าซจากแหล่งเอราวัณป้อนเข้าสู่ระบบได้ถึง 1,000 ล้านลูกบาศก์ลิตรต่อวัน จนถึงขณะนี้ผู้รับสัมปทานก็ยังไม่สามารถแจ้งปริมาณที่จะขยายกำลังการผลิตเพื่อชดเชยก๊าซที่ขาดหายไปได้อย่างชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการ และการวางแผนทำได้ยากขึ้น
“ได้รับแจ้งเพียงว่า ระยะเวลาที่จะทำให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติกลับมามีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการในระดับเดิมก่อนเปลี่ยนสัมปทานอาจจะต้องใช้ระยะเวลาสำรวจ ขุดเจาะ ผลิตอีกประมาณ 2 ปี หมายความว่า ค่าไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนเชื้อเพลิงราคาแพงจากการนำเข้าแอลเอ็นจี ทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวอีกอย่างน้อย 2 ปีเช่นกัน และคาดการณ์ได้ว่า ไทยจะเผชิญกับภาวะค่าไฟแพงต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีนี้ และต่อเนื่องในปี 2566 ตลอดทั้งปีด้วย”
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยลบอื่นที่กระทบต่อค่าเอฟทีในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2565 ยังได้รับผลกระทบจากภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงจริงในงวดก่อนหน้าที่สูงกว่าประมาณการ ที่ต้องนำมาคำนวณรวมกับค่าเอฟทีในงวดเดือนก.ย.-ธ.ค.2565 รวมถึงภาระต้นทุนจากการอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงต่อเนื่อง โดยประมาณการค่าเฉลี่ยเดือนพ.ค.2565 อยู่ที่ 34.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
“ทีเอชเอ” ชี้วิกฤติโควิด 2 ปีเผากำไร ธุรกิจ “โรงแรม” ไม่พร้อมเสียภาษี!
https://www.bangkokbiznews.com/business/1014632
“สมาคมโรงแรมไทย” ชี้ธุรกิจโรงแรมไม่พร้อมเสียภาษี หลังวิกฤติโควิด-19 ลากยาวกว่า 2 ปี เผารายได้จนขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถทำกำไรได้ วอนรัฐขยายเวลาชำระ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” เรียกเก็บในปี 2565 พิจารณาให้ผ่อนชำระ 10 งวด โดยไม่คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย (ทีเอชเอ) กล่าวว่า สำหรับการจัดเก็บภาษีสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2565 ที่ 100% โดยไม่ได้ปรับลดลงแต่อย่างใด ธุรกิจโรงแรมมีความกังวลมาก “ไม่พร้อมเสียภาษี” เนื่องจากขาดรายได้ช่วงวิกฤตโควิด-19 ยาวถึง 2 ปี และยังคงขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถสร้างผลกำไรได้
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในครั้งนี้ ขอให้รัฐบาลขยายเวลาชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เรียกเก็บในปี 2565 โดยขอพิจารณาผ่อนชำระ 10 งวด โดยไม่คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
และพิจารณาจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันได ปี 2566 ลดหย่อน 75% ปี 2567 ลดหย่อน 50% และปี 2568 ลดหย่อน 25% ตามลำดับ สำหรับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรม
พร้อมกันนี้ การที่กรมธนารักษ์ประกาศบังคับใช้บัญชีราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 66-69 ปรับขึ้นเฉลี่ย 8% (ของกรมธนารักษ์) นั้น ภาคธุรกิจโรงแรมยังไม่ฟื้นจากขาดทุนระยะยาวทำให้หนี้เพิ่ม ต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น พร้อมกับต้นทุนเงินเฟ้อต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาฟื้นอีกอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งสวนทางกับสถานภาพธุรกิจท่องเที่ยว
“สมาคมฯจึงขอความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติเป็นระยะเวลา 2 ปี เพื่อเป็นการช่วยเหลือพยุงผู้ประกอบการโรงแรมให้คุ้มต้นทุน ทำธุรกิจเข้มแข็งขึ้น สร้างเสถียรภาพการจ้างงาน ให้ผู้ประกอบการจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจ่ายภาษีรายได้คืนให้กับรัฐบาล”
นางมาริสา กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน มิ.ย.2565 จัดโดยสมาคมโรงแรมไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำรวจระหว่างวันที่ 13-26 มิ.ย.ที่ผ่านมา จากผู้ตอบแบบสำรวจจำนวน 137 แห่ง (รวมโรงแรมที่เป็น AQ, Hospitel และ Hotel Isolation) พบว่า มาตรการช่วยเหลือที่โรงแรมส่วนใหญ่ต้องการจากภาครัฐ มีดังนี้