ยิ่งลักษณ์โพสต์เสียใจ อาเบะถึงแก่อสัญกรรม ชี้เป็นคนทุ่มเทพลิกฟื้นญี่ปุ่น
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7153014
ยิ่งลักษณ์โพสต์เสียใจ อาเบะถึงแก่อสัญกรรม เผยเคยพบหลายครั้ง เป็นคนทุ่มเทพลิกฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่น ร่วมมือใกล้ชิดขยายโอกาสระหว่าง 2 ประเทศ
วันที่ 8 ก.ค.2565 น.ส.
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กไว้อาลัยต่อการอสัญกรรมของนายซินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก
โดยน.ส.
ยิ่งลักษณ์เผยว่า
“ดิฉันขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการถึงแก่อสัญกรรมของอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น”
“ตลอดระยะเวลาการทำงานของท่าน ได้ทุ่มเทและดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสได้พบและหารือกับท่านหลายครั้ง เพื่อขยายโอกาสและความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในทุกมิติให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดิฉันขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ และประชาชนชาวญี่ปุ่นด้วยค่ะ”
https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/pfbid07fUG4U4YcVMsKdYg2sd6gBhXRgzBbie5ECM4g6HkirRkh2XspE1hCYCG7Ciz82Tpl
ผู้นำโลกร่วมอาลัย ชินโสะ อาเบะ ยกเป็นรัฐบุรุษผู้โดดเด่น
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3443314
ผู้นำโลกร่วมอาลัย ชินโสะ อาเบะ ยกเป็นรัฐบุรุษผู้โดดเด่น
จากกรณี นาย
ชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นวัย 67 ปี ถึงแก่อสัญกรรมหลังจากถูกชายคนหนึ่งลอบยิงระหว่างการปราศรัยหาเสียงก่อนหน้าการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่เมืองนารา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
ล่าสุดบรรดาผู้นำชาติต่างๆ ได้ออกมาแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยนาย
ฟุมิโอะ คิชิดะ ระบุว่า ตน “
พูดไม่ออก” หลังจากนาย
ชินโสะ อาเบะ ถูกลอบสังหารในวันเดียวกันนี้
“ผมภาวนาให้สามารถช่วยชีวิตเขาได้ แต่แม้จะอย่างนั้น ผมก็ได้ทราบว่าเขาเสียชีวิต มันเป็นเรื่องน่าเสียใจมาก ผมพูดไม่ออก ผมขอแสดงความเสียใจอย่างจริงใจและภาวนาให้วิญญาณของเขาจากไปอย่างสงบ” คิชิดะ ระบุ
ด้านนาย
ยุน ซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ระบุผ่านแถลงการณ์ทำเนียบประธานาธิบดี ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น
“อาชญากรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้” โดยระบุว่า ตนขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของนาย
อาเบะและประชาชนชาวญี่ปุ่นที่ต้องสูญเสียนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดและเป็นนักการเมืองที่เป็นที่เคารพ
นาย
วลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียระบุถึงการเสียชีวิตของนาย
อาเบะด้วยว่าเป็น “
รัฐบุรุษที่โดดเด่น” ที่ทำงานหนักเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่น และขอให้ครอบครัวของ
อาเบะมีความแข็งแกร่งและกล้าหาญในการเผชิญกับความสูญเสียที่หนักหน่วงและไม่สามารถกอบกู้ได้ครั้งนี้
ด้านนาย
บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศยกย่องนาย
ชินโสะ อาเบะ ขณะที่อังกฤษพร้อมอยู่เคียงข้างญี่ปุ่นในช่วงเวลาน่าเศร้า โดยระบุว่า เป็นข่าวเศร้าที่ยากที่จะเชื่อเกี่ยวกับ
ชินโสะ อาเบะ ความเป็นผู้นำผ่านช่วงเวลายากลำบากจะเป็นที่จดจำของคนจำนวนมาก
ด้านนาย
แอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงความเสียใจกับการจากไปของ
อาเบะด้วยโดยระบุว่า นาย
อาเบะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นขึ้นสู่จุดสูงสุด
'เพื่อไทย' เสียใจสุดซึ้ง 'ญี่ปุ่น' สูญเสีย 'อาเบะ' ประณามเหตุรุนแรงการเมือง
https://voicetv.co.th/read/LkhBHPmR7
'เพื่อไทย' แถลงการณ์เสียใจสุดซึ้งถึงครอบครัว 'อาเบะ' และชาวญี่ปุ่น กรณีอดีตนายกฯญี่ปุ่นถูกลอบสังหารจนถึงแก่กรรม ชี้เป็นนายกฯ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น พร้อมประณามความรุนแรง หวังเจ้าหน้าที่นำตัวผู้ทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
วันที่ 8 ก.ค. 2565 พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยรู้สึกสะเทือนใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบข่าวการสูญเสียของอดีตนายกรัฐมนตรี
ชินโสะ อาเบะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น การบริหารประเทศภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี
อาเบะ จะเป็นที่จดจำของคนรุ่นหลังของประเทศญี่ปุ่นและนานาประเทศ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ก็ส่งเสริมให้ประเทศทั้ง 2 พัฒนาไปอย่างรุ่งเรือง มั่งคั่ง
ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยขอประณามการกระทำรุนแรงใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงทางการเมืองและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจะสามารถนำตัวผู้กระทำรุนแรงมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ในที่สุด พวกเราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ของครอบครัวอาเบะและประชาชนชาวญี่ปุ่นมา ณ ที่นี้ด้วย
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้นแรง ฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
https://www.thairath.co.th/business/feature/2439651
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้นแรง ฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมิน ถ้าธปท. ขึ้นดอกเบี้ยขึ้นแรง อาจฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า เงินเฟ้อของไทยพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ 7.7% ในเดือนมิ.ย. 65 และยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องตามราคาพลังงานและอาหาร ซึ่งจะกระทบต่อกำลังซื้อของภาคเอกชน สร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่งผ่านวิกฤติโควิด-19
นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากพิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา พบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ
ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นดอกเบี้ยช่วยลดค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจและครัวเรือน แต่รายได้กลับลดลงรุนแรง
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วยลดอัตราเงินเฟ้อผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่
1. การชะลออุปสงค์ในประเทศ
2. อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น
3. ลดแรงกดดันเงินเฟ้อคาดการณ์
ทั้งนี้ การลดอัตราเงินเฟ้อผ่านช่องทางอุปสงค์ในประเทศส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงเช่นกัน ทั้งนี้ EIC ยังพบว่าระยะเวลาการส่งผ่านของนโยบายการเงินในการลดเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 10-14 เดือน
ดังนั้น การทำนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อระยะสั้นจำเป็นต้องเกิดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขนาดที่มาก ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงรุนแรง สร้างผลกระทบโดยตรงต่อทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
จากการศึกษาของ EIC ผ่านรูปแบบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรูปแบบต่างๆ พบว่าต้นทุนของภาคธุรกิจและค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงตามเงินเฟ้อในทุกกรณี แต่รายได้จะชะลอตัวลงมากกว่ามาก อีกทั้ง ยังเพิ่มภาระดอกเบี้ยที่ทั้งสองกลุ่มต้องจ่าย
หากเปรียบเทียบผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยในกรณีต่างๆ ระหว่างรายจ่ายของครัวเรือนที่ลดลงและรายได้ที่ลดลงจะพบว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต่อเนื่องจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและแรงในยามที่ของแพง ค่าแรงถูกจะสร้างความสูญเสียต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมากกว่า
ในระยะถัดไป EIC มองว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก ในสถานการณ์ที่ของแพง ค่าแรงถูกเช่นปัจจุบัน การใช้นโยบายการเงินตึงตัวแรงเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่มาจากฝั่งอุปทาน (Cost-push inflation) เป็นสำคัญอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์โดยทำให้ครัวเรือนและภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจมองว่า เงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก หรือ Wage-price spiral ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม
คาดว่า กนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 65 เพื่อส่งสัญญาณคุมเงินเฟ้อ
EIC เปรียบเทียบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในแต่ละรูปแบบพบว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง จะสามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป
ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัญหาด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่
กรณีที่ 1 ขึ้นดอกเบี้ยอย่างช้าๆ โดยจำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขนาดที่น้อย โดยหลีกเลี่ยงผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลง จึงขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในไตรมาสที่ 3/65 ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่หลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ ธปท. สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้อีกสองครั้งในไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปี 2023 (ครั้งละ 0.25%)
กรณีที่ 2 ขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป แต่ต่อเนื่อง จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง 4 ไตรมาส ไตรมาสละ 0.25% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ของประชาชน ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าในกรณีที่ 1 เล็กน้อย
กรณีที่ 3 ขึ้นดอกเบี้ยเร็วในระยะสั้น จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วตามที่ผู้ร่วมตลาดบางส่วนคาดการณ์ คือ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในทุกรอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ (3 รอบ ในเดือนส.ค.- พ.ย. ตามลำดับ) ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น
กรณีที่ 4 ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในปีนี้ จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรง คล้ายกับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ดำเนินการ ในกรณีนี้สะท้อนว่า ธปท. กังวลความเสี่ยงด้านราคาสูงและพร้อมเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลงรุนแรง โดย ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 225 bps ในช่วงที่เหลือปีนี้ ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเร็วตามไปด้วย.
JJNY : 5in1 ยิ่งลักษณ์เสียใจอาเบะถึงแก่อสัญกรรม│ผู้นำโลกร่วมอาลัย│'พท.'เสียใจสุดซึ้ง│ศก.ไทยเติบโตช้า│แฉอีก! ส.ส.-ส.ว.
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_7153014
วันที่ 8 ก.ค.2565 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กไว้อาลัยต่อการอสัญกรรมของนายซินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก
โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์เผยว่า
“ดิฉันขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อการถึงแก่อสัญกรรมของอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น”
“ตลอดระยะเวลาการทำงานของท่าน ได้ทุ่มเทและดำเนินยุทธศาสตร์เพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งดิฉันได้มีโอกาสได้พบและหารือกับท่านหลายครั้ง เพื่อขยายโอกาสและความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในทุกมิติให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น ดิฉันขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ และประชาชนชาวญี่ปุ่นด้วยค่ะ”
https://www.facebook.com/Y.Shinawatra/posts/pfbid07fUG4U4YcVMsKdYg2sd6gBhXRgzBbie5ECM4g6HkirRkh2XspE1hCYCG7Ciz82Tpl
ผู้นำโลกร่วมอาลัย ชินโสะ อาเบะ ยกเป็นรัฐบุรุษผู้โดดเด่น
https://www.matichon.co.th/foreign/news_3443314
ผู้นำโลกร่วมอาลัย ชินโสะ อาเบะ ยกเป็นรัฐบุรุษผู้โดดเด่น
จากกรณี นายชินโสะ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นวัย 67 ปี ถึงแก่อสัญกรรมหลังจากถูกชายคนหนึ่งลอบยิงระหว่างการปราศรัยหาเสียงก่อนหน้าการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ที่เมืองนารา ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม
ล่าสุดบรรดาผู้นำชาติต่างๆ ได้ออกมาแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยนายฟุมิโอะ คิชิดะ ระบุว่า ตน “พูดไม่ออก” หลังจากนายชินโสะ อาเบะ ถูกลอบสังหารในวันเดียวกันนี้
“ผมภาวนาให้สามารถช่วยชีวิตเขาได้ แต่แม้จะอย่างนั้น ผมก็ได้ทราบว่าเขาเสียชีวิต มันเป็นเรื่องน่าเสียใจมาก ผมพูดไม่ออก ผมขอแสดงความเสียใจอย่างจริงใจและภาวนาให้วิญญาณของเขาจากไปอย่างสงบ” คิชิดะ ระบุ
ด้านนายยุน ซอกยอล ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ระบุผ่านแถลงการณ์ทำเนียบประธานาธิบดี ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่าเป็น “อาชญากรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้” โดยระบุว่า ตนขอแสดงความเสียใจไปยังครอบครัวของนายอาเบะและประชาชนชาวญี่ปุ่นที่ต้องสูญเสียนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดและเป็นนักการเมืองที่เป็นที่เคารพ
นายวลาดิมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียระบุถึงการเสียชีวิตของนายอาเบะด้วยว่าเป็น “รัฐบุรุษที่โดดเด่น” ที่ทำงานหนักเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างรัสเซียและญี่ปุ่น และขอให้ครอบครัวของอาเบะมีความแข็งแกร่งและกล้าหาญในการเผชิญกับความสูญเสียที่หนักหน่วงและไม่สามารถกอบกู้ได้ครั้งนี้
ด้านนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ประกาศยกย่องนายชินโสะ อาเบะ ขณะที่อังกฤษพร้อมอยู่เคียงข้างญี่ปุ่นในช่วงเวลาน่าเศร้า โดยระบุว่า เป็นข่าวเศร้าที่ยากที่จะเชื่อเกี่ยวกับชินโสะ อาเบะ ความเป็นผู้นำผ่านช่วงเวลายากลำบากจะเป็นที่จดจำของคนจำนวนมาก
ด้านนายแอนโธนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงความเสียใจกับการจากไปของอาเบะด้วยโดยระบุว่า นายอาเบะเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และเป็นผู้ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นขึ้นสู่จุดสูงสุด
'เพื่อไทย' เสียใจสุดซึ้ง 'ญี่ปุ่น' สูญเสีย 'อาเบะ' ประณามเหตุรุนแรงการเมือง
https://voicetv.co.th/read/LkhBHPmR7
'เพื่อไทย' แถลงการณ์เสียใจสุดซึ้งถึงครอบครัว 'อาเบะ' และชาวญี่ปุ่น กรณีอดีตนายกฯญี่ปุ่นถูกลอบสังหารจนถึงแก่กรรม ชี้เป็นนายกฯ ที่อยู่ในตำแหน่งยาวนานที่สุดของญี่ปุ่น พร้อมประณามความรุนแรง หวังเจ้าหน้าที่นำตัวผู้ทำผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็ว
วันที่ 8 ก.ค. 2565 พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์โดยระบุว่า พรรคเพื่อไทยรู้สึกสะเทือนใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบข่าวการสูญเสียของอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโสะ อาเบะ ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น การบริหารประเทศภายใต้การนำของอดีตนายกรัฐมนตรี อาเบะ จะเป็นที่จดจำของคนรุ่นหลังของประเทศญี่ปุ่นและนานาประเทศ ขณะเดียวกันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น ก็ส่งเสริมให้ประเทศทั้ง 2 พัฒนาไปอย่างรุ่งเรือง มั่งคั่ง
ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยขอประณามการกระทำรุนแรงใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงทางการเมืองและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจะสามารถนำตัวผู้กระทำรุนแรงมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ในที่สุด พวกเราขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ครั้งนี้ของครอบครัวอาเบะและประชาชนชาวญี่ปุ่นมา ณ ที่นี้ด้วย
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้นแรง ฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
https://www.thairath.co.th/business/feature/2439651
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่ง ดอกเบี้ยขึ้นแรง ฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
ของแพง ค่าแรงถูก เงินเฟ้อพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมิน ถ้าธปท. ขึ้นดอกเบี้ยขึ้นแรง อาจฉุดเศรษฐกิจไทยเติบโตช้า
EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า เงินเฟ้อของไทยพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2008 ที่ 7.7% ในเดือนมิ.ย. 65 และยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องตามราคาพลังงานและอาหาร ซึ่งจะกระทบต่อกำลังซื้อของภาคเอกชน สร้างความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เพิ่งผ่านวิกฤติโควิด-19
นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หากพิจารณาแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงที่ผ่านมา พบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ได้ให้น้ำหนักต่อการรักษาเสถียรภาพด้านราคาเป็นสำคัญ
ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินในระยะต่อไปจึงมีแนวโน้มตึงตัวมากขึ้น แต่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงอ่อนแออาจยิ่งซ้ำเติมให้เกิดความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นดอกเบี้ยช่วยลดค่าใช้จ่ายภาคธุรกิจและครัวเรือน แต่รายได้กลับลดลงรุนแรง
การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วยลดอัตราเงินเฟ้อผ่าน 3 ช่องทางหลัก ได้แก่
1. การชะลออุปสงค์ในประเทศ
2. อัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้น
3. ลดแรงกดดันเงินเฟ้อคาดการณ์
ทั้งนี้ การลดอัตราเงินเฟ้อผ่านช่องทางอุปสงค์ในประเทศส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอลงเช่นกัน ทั้งนี้ EIC ยังพบว่าระยะเวลาการส่งผ่านของนโยบายการเงินในการลดเงินเฟ้ออยู่ที่ประมาณ 10-14 เดือน
ดังนั้น การทำนโยบายการเงินเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อระยะสั้นจำเป็นต้องเกิดจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขนาดที่มาก ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงรุนแรง สร้างผลกระทบโดยตรงต่อทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน
จากการศึกษาของ EIC ผ่านรูปแบบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรูปแบบต่างๆ พบว่าต้นทุนของภาคธุรกิจและค่าใช้จ่ายของภาคครัวเรือนมีแนวโน้มลดลงตามเงินเฟ้อในทุกกรณี แต่รายได้จะชะลอตัวลงมากกว่ามาก อีกทั้ง ยังเพิ่มภาระดอกเบี้ยที่ทั้งสองกลุ่มต้องจ่าย
หากเปรียบเทียบผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยในกรณีต่างๆ ระหว่างรายจ่ายของครัวเรือนที่ลดลงและรายได้ที่ลดลงจะพบว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป และต่อเนื่องจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและแรงในยามที่ของแพง ค่าแรงถูกจะสร้างความสูญเสียต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจมากกว่า
ในระยะถัดไป EIC มองว่า ธปท. จะใช้แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีเป้าหมายเพื่อลดเงินเฟ้อคาดการณ์เป็นหลัก ในสถานการณ์ที่ของแพง ค่าแรงถูกเช่นปัจจุบัน การใช้นโยบายการเงินตึงตัวแรงเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อของไทยที่มาจากฝั่งอุปทาน (Cost-push inflation) เป็นสำคัญอาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์โดยทำให้ครัวเรือนและภาคธุรกิจในระบบเศรษฐกิจมองว่า เงินเฟ้อจะไม่คงอยู่ในระดับสูงเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะเงินเฟ้อฝังลึก หรือ Wage-price spiral ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวสูงจนยากต่อการควบคุม
คาดว่า กนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 65 เพื่อส่งสัญญาณคุมเงินเฟ้อ
EIC เปรียบเทียบการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในแต่ละรูปแบบพบว่า การขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและต่อเนื่อง จะสามารถลดเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีที่สุด โดยไม่สร้างแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมากจนเกินไป
ดังนั้น การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ จึงเพียงพอและเหมาะสมในการส่งสัญญาณควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ ท่ามกลางความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่มาจากปัญหาด้านอุปทานเป็นส่วนใหญ่
กรณีที่ 1 ขึ้นดอกเบี้ยอย่างช้าๆ โดยจำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในขนาดที่น้อย โดยหลีกเลี่ยงผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยที่จะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลง จึงขึ้นดอกเบี้ยเพียง 1 ครั้งในไตรมาสที่ 3/65 ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่หลังจากที่เศรษฐกิจฟื้นตัวชัดเจนขึ้นในช่วงปลายปีนี้ ทำให้ ธปท. สามารถขึ้นดอกเบี้ยได้อีกสองครั้งในไตรมาสที่ 1 และ 2 ในปี 2023 (ครั้งละ 0.25%)
กรณีที่ 2 ขึ้นดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป แต่ต่อเนื่อง จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง 4 ไตรมาส ไตรมาสละ 0.25% เพื่อควบคุมเงินเฟ้อคาดการณ์ของประชาชน ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าในกรณีที่ 1 เล็กน้อย
กรณีที่ 3 ขึ้นดอกเบี้ยเร็วในระยะสั้น จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วตามที่ผู้ร่วมตลาดบางส่วนคาดการณ์ คือ ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในทุกรอบการประชุมที่เหลือของปีนี้ (3 รอบ ในเดือนส.ค.- พ.ย. ตามลำดับ) ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเร็วขึ้น
กรณีที่ 4 ขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงในปีนี้ จำลองสถานการณ์ที่ ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วและแรง คล้ายกับกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ดำเนินการ ในกรณีนี้สะท้อนว่า ธปท. กังวลความเสี่ยงด้านราคาสูงและพร้อมเผชิญความเสี่ยงจากเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลงรุนแรง โดย ธปท. ขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 225 bps ในช่วงที่เหลือปีนี้ ซึ่งจะทำให้เงินบาทแข็งค่าเร็วตามไปด้วย.