เทียบชัด ๆ อัตรา “ดอกเบี้ยนโยบาย” แต่ละประเทศทั่วโลกเป็นอย่างไร โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก เมื่อเทียบกับประเทศไทย หลังจาก กนง. ประกาศลดดอกเบี้ยเหลือ 2.25% ต่อปี เช็ครายละเอียดรวมไว้ที่นี่ครบ
กรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ตุลาคม 2567 มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตรา "ดอกเบี้ยนโยบาย" 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที หลังจาก คณะกรรมการ กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ส่วนกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการ กนง. เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
อย่างไรก็ดีแม้ กนง. จะปรับลด “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ของประเทศไทย ลงเหลือ 2.25% ต่อปี แต่หากเทียบดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก จะพบว่า ดอกเบี้ยนโยบาย แต่ละประเทศก็มีช่องว่างความห่างแตกต่างกันไป ฐานเศรษฐกิจ ขอสรุปรายละเอียดแยกเป็นรายประเทศไว้ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.83% ต่อปี
กลุ่มประเทศยุโรป
ยูโรโซน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
สหราชอาณาจักร อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5.00% ต่อปี
เยอรมนี อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
สเปน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
ฝรั่งเศส อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
อิตาลี อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
กลุ่มประเทศเอเชีย
ญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
จีน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.00% ต่อปี
ฮ่องกง อัตราดอกเบี้ย (HIBOR) 6.39% ต่อปี
เกาหลีใต้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.50% ต่อปี
ไต้หวัน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.00% ต่อปี
อินเดีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.50% ต่อปี
กลุ่มประเทศอาเซียน
สิงคโปร์ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.88% ต่อปี
อินโดนีเซีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.00% ต่อปี
มาเลเซีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.00% ต่อปี
ฟิลิปปินส์ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.00% ต่อปี
เวียดนาม อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.50% ต่อปี
กลุ่มประเทศอื่น ๆ
ออสเตรเลีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.35% ต่อปี
ข้อมูลจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Cr.
https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/609503
เทียบ “ดอกเบี้ยนโยบาย” ไทยกับหลายประเทศ สูง-ต่ำแค่ไหนในปี 2567
กรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ตุลาคม 2567 มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตรา "ดอกเบี้ยนโยบาย" 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที หลังจาก คณะกรรมการ กนง. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้
ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ส่วนกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง คณะกรรมการ กนง. เห็นว่าจุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
อย่างไรก็ดีแม้ กนง. จะปรับลด “อัตราดอกเบี้ยนโยบาย” ของประเทศไทย ลงเหลือ 2.25% ต่อปี แต่หากเทียบดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศเศรษฐกิจหลัก จะพบว่า ดอกเบี้ยนโยบาย แต่ละประเทศก็มีช่องว่างความห่างแตกต่างกันไป ฐานเศรษฐกิจ ขอสรุปรายละเอียดแยกเป็นรายประเทศไว้ ดังนี้
ประเทศสหรัฐอเมริกา
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.83% ต่อปี
กลุ่มประเทศยุโรป
ยูโรโซน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
สหราชอาณาจักร อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 5.00% ต่อปี
เยอรมนี อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
สเปน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
ฝรั่งเศส อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
อิตาลี อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.65% ต่อปี
กลุ่มประเทศเอเชีย
ญี่ปุ่น อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี
จีน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.00% ต่อปี
ฮ่องกง อัตราดอกเบี้ย (HIBOR) 6.39% ต่อปี
เกาหลีใต้ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.50% ต่อปี
ไต้หวัน อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.00% ต่อปี
อินเดีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.50% ต่อปี
กลุ่มประเทศอาเซียน
สิงคโปร์ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.88% ต่อปี
อินโดนีเซีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.00% ต่อปี
มาเลเซีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 3.00% ต่อปี
ฟิลิปปินส์ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6.00% ต่อปี
เวียดนาม อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.50% ต่อปี
กลุ่มประเทศอื่น ๆ
ออสเตรเลีย อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 4.35% ต่อปี
ข้อมูลจาก : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
Cr. https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/609503