เห็นเงินเดือนปริญญาเอก แล้วสงสัยว่าทำไมอยากเป็นอาจารย์กัน

สงสัยว่าเงินเดือนอาจารย์ปริญญาเอกน้อยจัง บางที่ 20k-40k ไม่ได้เป็นข้าราชการอีก ได้ประกันสังคมเหมือนเอกชน แต่ทำไมคนยังอยากเป็นอาจารย์กัน (ในกรณีที่ไม่ติดทุนนะ)

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12
ทำงานเป็นลูกจ้างเอกชนไม่รู้อยู่กันยืดสักกี่คน บริษัทใหญ่ๆทำงานเป็นระบบเป็นสากลก็อาจจะอยู่กันได้นานแต่มีกี่คนที่ได้งานแบบนั้น เป็นลูกจ้างบริษัท/โรงงานทั่วๆไป ขนาดเล็กๆก็เยอะใหญ่ก็มีแต่เป็นแบบระบบครอบครัว เป็นแบบไทยๆประจบเลียแข้งขาก็อาจอยู่กันไม่ทน หรือโดนบีบแล้วก็ต้องออกก็คงจะมีเยอะ
น่าจะมีเก็บตัวเลขจบคณะต่างๆได้ทำงานตรงตามสาขาสักกี่คน สักกี่ปี สุดท้ายทำไร
เป็นอาจาร์ยก็ดีที่ได้ทำงานตรงกับที่เรียนมาแน่ๆหรือค่อนข้างเยอะ แต่งานอื่นๆบางสาขาจบ,ทำงานแล้วแทบจะไม่ได้ใช้หรือใช้น้อยมากเป็นการเสียเวลาเสียเงินซะมากกว่า(ก็เป็นปัญหาของระบบการศึกษา)
ถามที่นี่ก็ได้ข้อมูลที่น้อยมากกก...คิดเป็น%ของข้อมูลทั้งหมดอาจจะไม่ถึง1% ก็ต้องพิจารณาดีๆ ถ้าจะเอาไปใช้ตัดสินใจทำอะไรจริงๆ
และก็นึกถึงมีสักกี่บริษัทในไทยเราที่จ้างระดับป.เอกใช้ความรู้ระดับป.เอกจริงๆ 1% หรือ10%จะถึงไหม??
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
เงินเดือนในส่วนงานประจำไม่เยอะหรอกครับ แต่เงินที่ได้จากการเป็นที่ปรึกษาบริษัทหรือองค์กรต่างๆ ทั้งอีกพวกเชิญเป็นวิทยากร บรรยายตามงานอบรมต่างๆ เท่าที่รู้มาจากเพื่อนๆที่จบ ดร. รับกันเดือนๆหนึ่งหล้กแสนขึ้นทั้งนั้นครับ
ความคิดเห็นที่ 1
ที่เคยเจอคือ บ้านมีตังค์อยู่แล้ว เป็นเพราะใจรัก เพราะชอบประมาณนี้ค่ะ
ความคิดเห็นที่ 18
สมัยนี้ คนเก่งจริง ไม่มีใครมาเป็นอาจารย์ ครับ

เงินเดือนน้อย สภาพการจ้างงาน แย่ยิ่งกว่าลูกจ้างเอกชน

เล่นพรรคเล่นพวก ตรงมีมีผลต่อ การได้เลือกตำแหน่งบริหาร ถือว่า เป็นโบนัส เช่น ตำแหน่ง ผอ.ศูนย์ รอง ผอ.ศูนย์
การประเมินเลือนขั้น บางแห่ง ไม่โปร่งใส

รายได้ มาจากการสอน ถ้าสอนเกินจะได้เงินพิเศษเพิ่ม
ดังนั้น จึงมีการเปิดหลักสูตรพิเศษ ระดับ ป.โท หลักสูตร เป็นหลายแสน (แพงเกินไป)
เช่นหลักสูตรทางการเงิน  (เอาเวลานั่งอ่านหนังสือเอง แล้ว สอบCFA จะดีกว่า)

รายได้อีกส่วน จัดสัมมนา หาคนมาลงทะเบียน
รายได้ อีกส่วน มาจากงานวิจัย (ส่วนนี้มีน้อยมาก)
รายได้ อีกส่วนมาจากทำโครงงานต่างๆ เมื่อก่อนคือการรับงาน หัก 40% เข้าหลวง 60% จ่ายคนทำ
ปัจจุบัน ถือว่างานโครงการเป็นงานวิจัย หัก 10% เข้าหน่วยงาน 90% ให้คนทำ  (เป็นรายได้หลัก)

บางหน่วยงาน ถ้าเอากฏหมายเข้าไปตรวจสอบ แทบทุกจุด มีความไม่โปร่งใส
(มีผู้บริหารบางมหาวิทยาลัย ให้เปิดเผยทรัพย์สิน ลาออกแทบทั้งหมด)

สรุป รายได้มาจาก 1 เงินเดือน (ไม่มาก) 2 เงินเพิ่มจากการสอนชั่วโมงภาระงานเกิน (ค่อนข้างมาก)
3 เงินประจำตำแหน่าง บางคนรับ 3-5 ตำแหน่ง เช่น ตำแหน่งวิชาการ+1 ตำแหน่งบริหารหน่วยงาน+1 ตำแหน่ง หัวหน้า หรือรอง ศูนย์ต่างๆ+1
รายได้ข้อ 3 เยอะมาก
4 เงินทำโครงงานวิจัย เยอะมาก
5 เงินไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศ ถือว่า ได้เที่ยว เพราะว่า ที่จับประชุม มักเป็นแหล่งท่องเที่ยว

รวมๆแล้ว รายได้ 1 แสน ถือว่า น้อยเกินไป
ความคิดเห็นที่ 6
เงินเดือนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของรายได้

มีเงินประจำตำแหน่ง ผศ รศ ศ

ถ้าเป็นผู้บริหาร เช่น รองคณบดี คณบดี ไรงี้ก็มีอีก (ไม่เคยเป็น)

ถ้าขยันทำงานวิจัย  ข้อเสนอโครงการจะมีส่วนของค่าตอบแทนรายเดือน  ถ้าขยัน ทำได้ ทำไหว ก็ขอได้หลายโครงการจากหลายแหล่ง  โดยทั่วไปจะกำหนดให้ค่าตอบแทนไม่เกินร้อยละยี่สิบ(หรือสามสิบ ไม่แน่ใจ)

อาจมีงานนอกนิดหน่อย  อ่านบทความ  ไปพูด ฯลฯ

ถ้าจริงจังก็รับงานนอกเยอะเลย  อาจรวมถึงงานประกันคุณภาพ  งานหลักสูตร  ล่าสุดก็ PDPA

งานอาจารย์ถ้าขยันก็ได้เงินมากกว่าที่คนทั่วไปคิด  อายุสี่สิบปี รายได้แสนนึงเป็นไปได้จริง ๆๆ อาจจะน้อยกว่าเอกชนที่วุฒิปริญญาเอกและอายุงานเท่ากัน  แต่การได้เป็นเจ้านายตนเอง  ทำสิ่งที่รัก  และบริหารเวลา  มีเวลาทำงานที่ค่อนข้างตามใจฉัน(ยกเว้นตอนสอน) เอกชนไม่ได้แน่ๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่