วันที่ 30 มิถุนายน 2565 ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ โพสต์เฟซบุ๊ก “Dr.KOB” (
https://www.facebook.com/drkobsak) ว่า ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ และผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ได้ร่วมเสวนาในเรื่อง Challenges for Monetary Policy in Rapidly Changing World หรือ ความท้าทายสำหรับนโยบายการเงิน ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยสิ่งที่น่าสนใจในการเสวนา ก็คือ ความในใจของนายธนาคารกลางชั้นนำของโลก โดยเฉพาะประธานเฟด ที่บอกว่า
Clock is running out to bring inflation down หรือ เวลาเริ่มเหลือน้อยแล้ว ในการจัดการกับเงินเฟ้อ
It’s gotten harder … The pathways have gotten narrower. สำหรับโอกาสของการ Soft Landing นั้น “ยากขึ้น และเส้นทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้แคบลงมาก”
There’s no guarantee the central bank can tame runaway inflation without hurting the job market. ซึ่งไม่สามารถรับประกันได้ว่า “สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อ” จะไม่สร้างปัญหาใหญ่ให้ตลาดแรงงาน ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะไม่มีคนตกงาน
We now understand better how little we understand about inflation เราเข้าใจแล้วว่า เราเข้าใจเงินเฟ้อน้อยแค่ไหน
Our model is not capable of producing high inflation. โมเดลที่เราใช้ ไม่สามารถจำลองสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ที่กำลังเกิด
It is deep in the tail kind of risk. Very hard to predict and access. เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้ เป็นเหตุการณ์เฉพาะ ที่ยากจะประเมินและคาดการณ์ได้
“สรุปว่า ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเข้าใจว่า ธนาคารกลางมีปัญหาในการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังสู้กับอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร ทำให้มีคำถามต่อไปว่า ที่เฟดบอก “เอาอยู่ จัดการเงินเฟ้อได้แน่ และให้เชื่อเฟด” นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร? หากโมเดลที่เฟดและธนาคารกลางใช้ในการสู้ศึก มีข้อจำกัด ไม่ใช่ตัวแทนของโลกจริง หรือว่าที่ท่านกำลังพูด อธิบายกันอยู่นั้น เป็นเพียง “คำปลอบใจ” ที่กระทั่งตัวท่านเอง ก็ไม่มั่นใจว่า “จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่””
ดร.กอบศักดิ์ ระบุอีกว่า สำหรับที่ประธานเฟดบอกว่า เวลาเหลือน้อยเต็มทนแล้ว สำหรับการจัดการกับเงินเฟ้อ เฟดต้องเร่งการดำเนินนโยบายให้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อันนี้ คงเกิดขึ้นจริง ซึ่งหมายความต่อไปว่า ก็เหลือเวลาไม่มากในการเตรียมตัวรับกับผลพวงที่จะตามมา เพราะทั้งหมด คงจะจบลงด้วยการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต เพื่อให้กระบวนการปรับขึ้นราคาสินค้า ค่าจ้างต่าง ๆ ดำเนินต่อไปไม่ได้
เมื่อขายของไม่ได้ บริษัทปิด คนตกงาน ก็ไม่มีใครกล้าขึ้นราคาสินค้า ไม่มีใครกล้าเรียกร้องเงินเดือนเพิ่ม ขอให้พอทำมาหากินได้ มีงานทำ ก็พอแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การ Set zero เริ่มต้นใหม่ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางจะช่วยกระตุ้นอีกครั้ง หลังชนะสงคราม
“นี่คือ หมัดเด็ด ไพ่ใบสุดท้าย ของเฟด ที่นำมาใช้ได้เสมอ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์มีตำรา “เศรษฐกิจมหภาค” เป็นต้นมา ก็เข้าใจว่าจะจัดการเงินเฟ้อได้อย่างไร และเป็นที่มาว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่จบลงด้วยภาวะ Recession ที่มาจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเป็นสำคัญ”
ดร.กอบศักดิ์ ระบุด้วยว่า ต้องบอกว่า เรากำลังมีปัญหา “Slow motion train wreck” หรือ รถไฟเบรกแตก กำลังวิ่งเข้าสู่ชานชาลา ซึ่งเสียหายแน่ แต่ข้อดีคือ เรายังมีเวลาเตรียมตัว อพยพคน ยกเอาข้าวของออกจากชานชาลา และสถานีได้ โดยภาคธุรกิจก็เช่นกัน “ถ้าอนาคตจะเป็นเช่นนี้ ช่วงนี้ก็ขอให้ทุกคนเตรียมการรับมือ สิ่งที่ไม่จำเป็นก็ลดละ เตรียมสะสมสภาพคล่องต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม สิ่งที่สุ่มเสี่ยงเกินไป คงต้องชะลอไปก่อน เท่าที่ดู เราคงมีเวลาอีกระยะ ประมาณ 1-2 ปี ในการเตรียมการ ถ้าเราเตรียมตัวดี ก็จะผ่านไปได้” ดร.กอบศักดิ์ระบุ
https://www.prachachat.net/finance/news-967727
กอบศักดิ์ อ่านสัญญาณประธานเฟด เตรียม “ทิ้งไพ่ใบสุดท้าย”
โดยสิ่งที่น่าสนใจในการเสวนา ก็คือ ความในใจของนายธนาคารกลางชั้นนำของโลก โดยเฉพาะประธานเฟด ที่บอกว่า
Clock is running out to bring inflation down หรือ เวลาเริ่มเหลือน้อยแล้ว ในการจัดการกับเงินเฟ้อ
It’s gotten harder … The pathways have gotten narrower. สำหรับโอกาสของการ Soft Landing นั้น “ยากขึ้น และเส้นทางไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้แคบลงมาก”
There’s no guarantee the central bank can tame runaway inflation without hurting the job market. ซึ่งไม่สามารถรับประกันได้ว่า “สงครามของเฟดกับเงินเฟ้อ” จะไม่สร้างปัญหาใหญ่ให้ตลาดแรงงาน ไม่สามารถรับประกันได้ว่า จะไม่มีคนตกงาน
We now understand better how little we understand about inflation เราเข้าใจแล้วว่า เราเข้าใจเงินเฟ้อน้อยแค่ไหน
Our model is not capable of producing high inflation. โมเดลที่เราใช้ ไม่สามารถจำลองสถานการณ์เงินเฟ้อสูง ที่กำลังเกิด
It is deep in the tail kind of risk. Very hard to predict and access. เหตุการณ์ที่กำลังเกิดอยู่ขณะนี้ เป็นเหตุการณ์เฉพาะ ที่ยากจะประเมินและคาดการณ์ได้
“สรุปว่า ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเข้าใจว่า ธนาคารกลางมีปัญหาในการประเมินสถานการณ์ว่ากำลังสู้กับอะไร และจะออกจากปัญหาได้อย่างไร ทำให้มีคำถามต่อไปว่า ที่เฟดบอก “เอาอยู่ จัดการเงินเฟ้อได้แน่ และให้เชื่อเฟด” นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร? หากโมเดลที่เฟดและธนาคารกลางใช้ในการสู้ศึก มีข้อจำกัด ไม่ใช่ตัวแทนของโลกจริง หรือว่าที่ท่านกำลังพูด อธิบายกันอยู่นั้น เป็นเพียง “คำปลอบใจ” ที่กระทั่งตัวท่านเอง ก็ไม่มั่นใจว่า “จะทำได้ตามที่พูดหรือไม่””
ดร.กอบศักดิ์ ระบุอีกว่า สำหรับที่ประธานเฟดบอกว่า เวลาเหลือน้อยเต็มทนแล้ว สำหรับการจัดการกับเงินเฟ้อ เฟดต้องเร่งการดำเนินนโยบายให้ทันกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น อันนี้ คงเกิดขึ้นจริง ซึ่งหมายความต่อไปว่า ก็เหลือเวลาไม่มากในการเตรียมตัวรับกับผลพวงที่จะตามมา เพราะทั้งหมด คงจะจบลงด้วยการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอนาคต เพื่อให้กระบวนการปรับขึ้นราคาสินค้า ค่าจ้างต่าง ๆ ดำเนินต่อไปไม่ได้
เมื่อขายของไม่ได้ บริษัทปิด คนตกงาน ก็ไม่มีใครกล้าขึ้นราคาสินค้า ไม่มีใครกล้าเรียกร้องเงินเดือนเพิ่ม ขอให้พอทำมาหากินได้ มีงานทำ ก็พอแล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การ Set zero เริ่มต้นใหม่ของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางจะช่วยกระตุ้นอีกครั้ง หลังชนะสงคราม
“นี่คือ หมัดเด็ด ไพ่ใบสุดท้าย ของเฟด ที่นำมาใช้ได้เสมอ เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ตั้งแต่นักเศรษฐศาสตร์มีตำรา “เศรษฐกิจมหภาค” เป็นต้นมา ก็เข้าใจว่าจะจัดการเงินเฟ้อได้อย่างไร และเป็นที่มาว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ส่วนใหญ่จบลงด้วยภาวะ Recession ที่มาจากการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางเป็นสำคัญ”
ดร.กอบศักดิ์ ระบุด้วยว่า ต้องบอกว่า เรากำลังมีปัญหา “Slow motion train wreck” หรือ รถไฟเบรกแตก กำลังวิ่งเข้าสู่ชานชาลา ซึ่งเสียหายแน่ แต่ข้อดีคือ เรายังมีเวลาเตรียมตัว อพยพคน ยกเอาข้าวของออกจากชานชาลา และสถานีได้ โดยภาคธุรกิจก็เช่นกัน “ถ้าอนาคตจะเป็นเช่นนี้ ช่วงนี้ก็ขอให้ทุกคนเตรียมการรับมือ สิ่งที่ไม่จำเป็นก็ลดละ เตรียมสะสมสภาพคล่องต่าง ๆ ไว้ให้พร้อม สิ่งที่สุ่มเสี่ยงเกินไป คงต้องชะลอไปก่อน เท่าที่ดู เราคงมีเวลาอีกระยะ ประมาณ 1-2 ปี ในการเตรียมการ ถ้าเราเตรียมตัวดี ก็จะผ่านไปได้” ดร.กอบศักดิ์ระบุ https://www.prachachat.net/finance/news-967727