คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 13
อย. ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนยา Evusheld ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ภายใต้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ซึ่งยา Evusheld เป็นยาในกลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ใช้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 แต่ไม่ได้ใช้สำหรับการรักษาแต่อย่างใด และไม่ได้นำมาใช้แทนที่การสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน โดยยานี้สามารถใช้ได้ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม
สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควรแจ้งข้อมูลเบื้องต้นกับแพทย์ เช่น ประวัติการแพ้ยา ประวัติการรักษาโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร รวมถึงประวัติการได้รับวัคซีน เป็นต้น ทั้งนี้ ยา Evusheld ได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้วจากทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
และจากงานวิจัย พบว่า การให้ Evusheld ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยล้างไต ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องภูมิคุ้มกันของตนเอง (autoimmune diseases) สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 การป่วยหนักและเสียชีวิตในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มในระยะเวลา 6 เดือนได้ โดย ในอนาคต จำเป็นต้องมีระบบติดตามผู้ป่วยหลังได้รับ Evusheld เพื่อประเมินระดับของแอนติบอดีในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสในร่างกายกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่พบในประเทศไทยเป็นระยะ
ทั้งนี้ ครม. อนุมัติปรับลดการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 (AstraZeneca) จากเดิม 60 ล้านโดสกรอบวงเงิน 11,069.8845 ล้านบาท และเพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long-acting antibody : LAAB) จำนวน 257,500 โดส กรอบวงเงิน 7,569.2228 ล้านบาท
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid035J5VCiQjTseVMpySCQvexY4Pwo7kEC43bis5FH9DobnEks5MsCPba8hxts97kAfyl
ศบค. ยืนยัน ผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามคาดการณ์ หลังปลดล็อกมาตรการสวมหน้ากากอนามัย
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า ปัจจุบันมีการติดตามรายงานผู้ติดเชื้อ และผู้เข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรคระบาดระดับทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการตรวจด้วย PCR 2,695 ราย และมีผู้เสียชีวิต 14 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว โดยมี 6 ราย เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย และอีก 6 ราย ได้รับวัคซีนเข็ม 2 แล้ว แต่มีระยะเวลาเกิน 3 เดือนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบ 684 ราย สูงขึ้นจากการรายงานเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอาการรุนแรง 292 ราย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยยังเป็นไปตามคาดการณ์ เนื่องจากได้มีการปลดล็อกมาตรการสวมหน้ากากอนามัย และการเปิดให้บริการสถานบันเทิงใน 31 จังหวัดในช่วงต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดย สธ.มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อหรือผู้เข้ารักษาในระบบพยาบาลเพิ่มขึ้น และศบค.ชุดเล็กให้ความสำคัญเรื่องอัตราครองเตียง หรือศักยภาพบุคลากรทางแพทย์ที่สามารถรองรับได้ ส่วนการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม หรือ เข้ารักษาศูนย์กักกันในชุมชน ปัจจุบันสัดส่วนลดลง และส่วนใหญ่ขอรักษาแบบผู้ป่วยนอก ติดต่อรับยาและไปรักษาตัวเองที่บ้าน
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid092ry1TMh94QwuqonB7kUa48nfnEDyZN7UPk8S82t4XB6G9gLNpAefdtuqUuJqYFXl
กรมควบคุมโรค พบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ วอนอย่าตื่นตระหนกยังมีเตียงพอ ยาพอ และหมอพอ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในบางจังหวัด โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 27-29 มิ.ย. 65 มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 1,735 1,761 2,569 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยปอดอักเสบ จำนวน 610, 638, 665 ราย ตามลำดับ และผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 286, 290, 300 ราย ตามลำดับ จากจำนวนผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมีรายงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่มักมีอาการน้อยไม่รุนแรง และผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าระบบการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยระดับสีเหลือง คือกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ซึ่งอัตราการครองเตียงระดับ 2-3 หรือสีเหลืองและสีแดงต่ำกว่า 10% ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. 65 จนถึงปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมสามารถรองรับได้ ทั้งเตียง แพทย์ ยา และเวชภัณฑ์
ทั้งนี้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และปฏิบัติตามมาตรการ 2U คือ U ที่ 1 Universal Prevention คือ การป้องกันการติดโรค การเว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด หากพบมีอาการน่าสงสัยควรตรวจหาเชื้อ และ U ที่ 2 Universal Vaccination คือ ขอความร่วมมือให้มารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นพื้นฐาน และฉีดเข็มกระตุ้นต่อไปทุก 4 เดือน เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกัน
เน้นในกลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ และกลุ่มดังกล่าวขอให้หลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมกลุ่มจำนวนมาก หลีกเลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท และเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนสถานประกอบการต่างๆ ยังขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting
ที่มา : กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0UJX44nxKv4JWwr2nmkswS51ZkiZKp49vURQKNyMkPV1Y1T8QZguDApCmJpcJhkXfl
คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด-19
เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic
หากสงสัยว่าเป็นโควิด 19 ทำอย่างไร?
• งดเข้าใกล้กลุ่มเสี่ยง 608
ไม่มีอาการ/มีอาการเล็กน้อย : ไม่ต้องแยกกัก เลี่ยงเดินทาง
มีอาการระบบทางเดินหายใจ : ตรวจ ATK ทันที
มีอาการรุนแรง : รีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
โควิด 19 ระบาดในพื้นที่ทำอย่างไร?
• กลุ่มผู้ติดเชื้อ : ปฏิบัติตามข้อแนะนำเมื่อมีอาการป่วย
• กลุ่มผู้สัมผัส : สังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 5 วัน เมื่อมีอาการ ตรวจ ATK ทันที
• ประชาชนในพื้นที่ระบาด : ป้องกันตนเองด้วยมาตรการ Universal Prevention ฉีดวัคซีนให้ครบตามที่ สธ. กำหนด
• สถานประกอบการ : พิจารณาทำมาตรการ Work From Home / มาตรการ COVID Free Setting
ที่มา : กรมควบคุมโรค
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02aCTLA88XD6jR7GV75mbi4p7GDVSqFL9BztxqYLg8MKfirsjccWL8TLHyPCKMvBzdl
อย. ได้อนุมัติขึ้นทะเบียนยา Evusheld ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ภายใต้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขในสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2565 ซึ่งยา Evusheld เป็นยาในกลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ใช้เพื่อป้องกันโรคโควิด-19 แต่ไม่ได้ใช้สำหรับการรักษาแต่อย่างใด และไม่ได้นำมาใช้แทนที่การสร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน โดยยานี้สามารถใช้ได้ในกลุ่มผู้ใหญ่และวัยรุ่นที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ที่มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม
สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ ควรแจ้งข้อมูลเบื้องต้นกับแพทย์ เช่น ประวัติการแพ้ยา ประวัติการรักษาโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ การตั้งครรภ์และการให้นมบุตร รวมถึงประวัติการได้รับวัคซีน เป็นต้น ทั้งนี้ ยา Evusheld ได้รับการขึ้นทะเบียนยาแล้วจากทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา
และจากงานวิจัย พบว่า การให้ Evusheld ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยล้างไต ผู้ป่วยปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องภูมิคุ้มกันของตนเอง (autoimmune diseases) สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 การป่วยหนักและเสียชีวิตในผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่มในระยะเวลา 6 เดือนได้ โดย ในอนาคต จำเป็นต้องมีระบบติดตามผู้ป่วยหลังได้รับ Evusheld เพื่อประเมินระดับของแอนติบอดีในการยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสในร่างกายกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่พบในประเทศไทยเป็นระยะ
ทั้งนี้ ครม. อนุมัติปรับลดการจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 (AstraZeneca) จากเดิม 60 ล้านโดสกรอบวงเงิน 11,069.8845 ล้านบาท และเพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long-acting antibody : LAAB) จำนวน 257,500 โดส กรอบวงเงิน 7,569.2228 ล้านบาท
https://www.facebook.com/PMOCNEWS/posts/pfbid035J5VCiQjTseVMpySCQvexY4Pwo7kEC43bis5FH9DobnEks5MsCPba8hxts97kAfyl
ศบค. ยืนยัน ผู้ป่วยโควิดที่เพิ่มขึ้นเป็นไปตามคาดการณ์ หลังปลดล็อกมาตรการสวมหน้ากากอนามัย
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า ปัจจุบันมีการติดตามรายงานผู้ติดเชื้อ และผู้เข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรคระบาดระดับทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการตรวจด้วย PCR 2,695 ราย และมีผู้เสียชีวิต 14 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว โดยมี 6 ราย เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย และอีก 6 ราย ได้รับวัคซีนเข็ม 2 แล้ว แต่มีระยะเวลาเกิน 3 เดือนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบ 684 ราย สูงขึ้นจากการรายงานเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอาการรุนแรง 292 ราย
ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยยังเป็นไปตามคาดการณ์ เนื่องจากได้มีการปลดล็อกมาตรการสวมหน้ากากอนามัย และการเปิดให้บริการสถานบันเทิงใน 31 จังหวัดในช่วงต้นเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดย สธ.มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้ติดเชื้อหรือผู้เข้ารักษาในระบบพยาบาลเพิ่มขึ้น และศบค.ชุดเล็กให้ความสำคัญเรื่องอัตราครองเตียง หรือศักยภาพบุคลากรทางแพทย์ที่สามารถรองรับได้ ส่วนการเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลสนาม หรือ เข้ารักษาศูนย์กักกันในชุมชน ปัจจุบันสัดส่วนลดลง และส่วนใหญ่ขอรักษาแบบผู้ป่วยนอก ติดต่อรับยาและไปรักษาตัวเองที่บ้าน
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid092ry1TMh94QwuqonB7kUa48nfnEDyZN7UPk8S82t4XB6G9gLNpAefdtuqUuJqYFXl
กรมควบคุมโรค พบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นบางพื้นที่ วอนอย่าตื่นตระหนกยังมีเตียงพอ ยาพอ และหมอพอ
นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด 19 จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในบางจังหวัด โดยข้อมูลตั้งแต่วันที่ 27-29 มิ.ย. 65 มีรายงานพบผู้ป่วยติดเชื้อรายใหม่ จำนวน 1,735 1,761 2,569 ราย ตามลำดับ ผู้ป่วยปอดอักเสบ จำนวน 610, 638, 665 ราย ตามลำดับ และผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 286, 290, 300 ราย ตามลำดับ จากจำนวนผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจมีรายงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
แสดงให้เห็นว่าผู้ที่ติดเชื้อรายใหม่มักมีอาการน้อยไม่รุนแรง และผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เข้าระบบการรักษาในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยระดับสีเหลือง คือกลุ่มที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว ซึ่งอัตราการครองเตียงระดับ 2-3 หรือสีเหลืองและสีแดงต่ำกว่า 10% ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย. 65 จนถึงปัจจุบัน ระบบสาธารณสุขมีการเตรียมความพร้อมสามารถรองรับได้ ทั้งเตียง แพทย์ ยา และเวชภัณฑ์
ทั้งนี้ ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก รักษาสุขภาพให้แข็งแรง และปฏิบัติตามมาตรการ 2U คือ U ที่ 1 Universal Prevention คือ การป้องกันการติดโรค การเว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด หากพบมีอาการน่าสงสัยควรตรวจหาเชื้อ และ U ที่ 2 Universal Vaccination คือ ขอความร่วมมือให้มารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 เป็นพื้นฐาน และฉีดเข็มกระตุ้นต่อไปทุก 4 เดือน เพื่อยกระดับภูมิคุ้มกัน
เน้นในกลุ่มเสี่ยง 608 ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ และกลุ่มดังกล่าวขอให้หลีกเลี่ยงการร่วมกิจกรรมที่มีคนรวมกลุ่มจำนวนมาก หลีกเลี่ยงโดยสารขนส่งสาธารณะทุกประเภท และเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ ส่วนสถานประกอบการต่างๆ ยังขอให้ปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting
ที่มา : กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0UJX44nxKv4JWwr2nmkswS51ZkiZKp49vURQKNyMkPV1Y1T8QZguDApCmJpcJhkXfl
คำแนะนำ ป้องกันโรคโควิด-19
เมื่อเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่ Post-Pandemic
หากสงสัยว่าเป็นโควิด 19 ทำอย่างไร?
• งดเข้าใกล้กลุ่มเสี่ยง 608
ไม่มีอาการ/มีอาการเล็กน้อย : ไม่ต้องแยกกัก เลี่ยงเดินทาง
มีอาการระบบทางเดินหายใจ : ตรวจ ATK ทันที
มีอาการรุนแรง : รีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที
โควิด 19 ระบาดในพื้นที่ทำอย่างไร?
• กลุ่มผู้ติดเชื้อ : ปฏิบัติตามข้อแนะนำเมื่อมีอาการป่วย
• กลุ่มผู้สัมผัส : สังเกตอาการตนเองอย่างน้อย 5 วัน เมื่อมีอาการ ตรวจ ATK ทันที
• ประชาชนในพื้นที่ระบาด : ป้องกันตนเองด้วยมาตรการ Universal Prevention ฉีดวัคซีนให้ครบตามที่ สธ. กำหนด
• สถานประกอบการ : พิจารณาทำมาตรการ Work From Home / มาตรการ COVID Free Setting
ที่มา : กรมควบคุมโรค
https://www.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid02aCTLA88XD6jR7GV75mbi4p7GDVSqFL9BztxqYLg8MKfirsjccWL8TLHyPCKMvBzdl
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭มาลาริน🧡30มิ.ย.ไทยไม่ติดTOP10โลก/ป่วย2,569คน หายป่วย1,984คน เสียชีวิต14คน/ขออย่าตระหนกผู้ป่วยพุ่ง/ห่วงเข็มกระตุ้น
https://www.sanook.com/news/8584278/
https://www.bangkokbiznews.com/social/1012817
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
https://www.bangkokbiznews.com/social/1012840
https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/897030/
โควิด19วันนี้ ยอดป่วยหนักเพิ่ม ศบค. ห่วงฉีดเข็มกระตุ้นถึงเป้าแค่4จังหวัด
ศบค. รับผู้ป่วยโควิด19ปอดติดเชื้อเพิ่มขึ้น ตามคาดการณ์ ยังอยู่ในเกณฑ์รับได้ เผยฉีดเข็มกระตุ้นถึงเป้า60% แค่ 4 จังหวัด
เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 65 พ.ญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.)แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันมีการติดตามรายงานผู้ติดเชื้อ และผู้เข้าสู่ระบบการรักษา ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนผ่านจากการเป็นโรคระบาดระดับทั่วโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่จากการตรวจด้วย PCR 2,695 ราย และมีผู้เสียชีวิต 14 ราย ซึ่งทั้งหมดเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว โดยมี 6 ราย เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเลย และอีก 6 ราย ได้รับวัคซีนเข็ม 2 แล้วแต่มีระยะเวลาเกิน 3 เดือนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบ 684 ราย สูงขึ้นจากการรายงานเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และมีทิศทางสูงขึ้น และใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอาการรุนแรง 292 ราย แต่ยังถือว่ายังอยู่ในคาดการณ์ตามมาตรการผ่อนคลายการถอดหน้ากากตามความสมัครใจ และการเปิดสถานบันเทิง อย่างไรก็ตามอัตราครองเตียงและศักยภาพบุคลากรยังอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ โดยการครองเตียงในระดับ 2 และ 3 ส่วนใหญ่อยู่ที่ 9.9% มีเพียงบางจังหวัดใหญ่ๆ เช่น จ.สมุทรปราการที่อัตราการครองเตียงเกิน 20% แต่ไม่ถึง 25% เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่รักษาตัวที่บ้าน
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ทั้งนี้ หากดูการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่าผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 46.5% ยังไม่ถึงเป้าหมาย 60% ที่วางไว้ และถ้าดูภาพรวมของทั้งประเทศประชาชนรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 42.6% จึงขอให้ประชาขนเข้ามารับวัคซีนกันมากขึ้น เพราะขณะนี้มีเพียง 4 จังหวัดที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเกินเป้าหมาย 60% ประกอบด้วย กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต
พญ.อภิสมัย กล่าวว่า ทั้งนี้ หากดูการรับวัคซีนเข็มกระตุ้น พบว่าผู้มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 46.5% ยังไม่ถึงเป้าหมาย 60% ที่วางไว้ และถ้าดูภาพรวมของทั้งประเทศประชาชนรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียง 42.6% จึงขอให้ประชาขนเข้ามารับวัคซีนกันมากขึ้น เพราะขณะนี้มีเพียง 4 จังหวัดที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเกินเป้าหมาย 60% ประกอบด้วย กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และภูเก็ต
https://www.posttoday.com/social/general/686689
..ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
ติดเชื้อใหม่พุ่งสูงเกินสองพันคนมาสองวันแล้วค่ะ
สธ.ขออย่าตระหนก ยืนยันรับมือได้ ทุกอย่างพร้อม
ห่วงฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ได้เกินเป้าหมายเพียง4จังหวัด
...✌️💕✌️💕