คนกินกระอัก ดีเดย์! 1 ก.ค.นี้ ถึงคิว 'เบียร์-น้ำอัดลม' อั้นไม่ไหว ประกาศขึ้นราคา
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7137086
คนกินกระอัก ดีเดย์! 1 ก.ค.นี้ ถึงคิว ‘เบียร์-น้ำอัดลม’ อั้นไม่ไหว ประกาศขึ้นราคา ขวดละ 1-2 บาท ชี้น้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
วันที่ 30 มิ.ย.65 นาย
สมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับแจ้งจากผู้แทนจำหน่ายเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง ระบุว่าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จะขึ้นราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกอีก 10-20 บาทต่อลัง(จำนวน 12 ขวด) หรือเพิ่มขึ้น 1-2 บาทต่อขวด ตามราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
แหล่งข่าวจากร้านค้าปลีกและค่าส่งเหล้าและเบียร์ย่านพระราม3 เปิดเผยว่า วันนี้(30 มิ.ย.) ได้รับแจ้งจากบริษัผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ยี่ห้อดังกล่าวว่าจากต้นทุนขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ขอปรับราคาต้นทุนขนส่งและราคาขายปลีกอีก 10 -20 บาทต่อลัง( จำนวน 12 ขวด) โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ขึ้น 10 บาทต่อลัง จาก 604 บาท เป็น 614 บาทต่อลัง และวันที่ 1 กรกฎาคมขึ้นอีก 12 บาทต่อลัง เป็น 626 บาทต่อลัง ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 1-2 บาทต่อขวด
“เบียร์ยี่ห้อนี้ถือว่าเป็นยี่ห้อสุดท้ายที่ปรับราคาขึ้นในช่วงนี้ หลังจากเบียร์ดังยี่ห้ออื่นปรับขึ้นไปแล้วเมื่อเดือนเม.ย.65 โดยปรับขึ้น 1-2 บาทต่อขวด“ แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้รับแจ้งจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลม 2 ยี่ห้อดังที่ถือเป็นเจ้าตลาด ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ จะปรับราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกทุกขนาดอีก 1-2 บาทต่อขวด
ซีไอเอ็มบีฯ ชี้ศก.ไทยไตรมาส 3 ยังต้องรับมือ 6 ความเสี่ยง คาดเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3427496
ซีไอเอ็มบี ชี้ศก.ไทยไตรมาส 3 ยังต้องรับมือ 6 ความเสี่ยง คาดเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี!
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นาย
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ครึ่งหลังปี 2565 เศรษฐกิจไทยต้องรับมือกับความท้าทายหลักๆ ได้แก่
1. เงินเฟ้อพุ่งทะลุ 10% กดดันการบริโภค
2. เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหากเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง
3. การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้นักลงทุนชะลอโครงการใหม่
4. ปัญหาความขัดแย้งในยุโรปรุนแรงขึ้น หนุนราคาน้ำมันพุ่งสูง
5. สหรัฐเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็ว แต่เงินเฟ้อยังสูง เฟดจำต้องขึ้นดอกเบี้ยแม้การว่างงานพุ่ง
6. จีนต้องล็อกดาวน์อีกรอบหลังมีการระบาดของโควิดในหลายเมือง ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอหนักกระทบการส่งออกของไทย
การเร่งตัวของราคาสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคที่มีต้นทุนจากน้ำมัน อาหารสัตว์ และการขนส่ง เงินเฟ้อสูงกดดันการบริโภคให้ชะลอหรือโตช้ากว่าที่น่าจะเป็น แม้ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อไตรมาสสามน่าจะอยู่ในระดับสูงสุดของปี และมีโอกาสแตะระดับ 10% ได้ จากราคาน้ำมันที่ยังสูง ราคาอาหารสด และที่สำคัญ น่าจะเริ่มเห็นเงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ หลังกำลังซื้อฟื้นตัวจากไตรมาส 2 รับการเปิดเมือง อีกทั้งจากฐานต่ำปีก่อน
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตช้าในช่วงไตรมาสสามตามความเสี่ยงทั้ง 6 ประการ แต่ไม่น่าถึงขั้นถดถอย และมีโอกาสขยายตัวได้มากกว่าที่สำนักวิจัยฯ คาดไว้ก่อนหน้าที่ 3.1% โดยเฉพาะจากการเปิดเมืองที่เร็วในเดือนมิถุนายนและการกลับมาของนักท่องเที่ยวมากกว่าที่คาด มีโอกาสเห็น GDP ไทยครึ่งปีหลังขยายตัวมากกว่า 4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและต่อเนื่องไปปีหน้า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสจะเข้าสู่ภาวะถดถอยต้นปีหน้า หลังขึ้นดอกเบี้ยแรงเพื่อชะลอการบริโภคและการลงทุน
ด้านอัตราการว่างงานน่าจะขยับขึ้น ลดความร้อนแรงของการปรับขึ้นค่าจ้าง ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะได้รับผลกระทบชัดเจน จากการที่ดอกเบี้ยกู้บ้านปรับขึ้นจาก 3% ในปีก่อนเป็นระดับ 6% เป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 30 ปี ส่งผลให้คนชะลอซื้อบ้าน อีกทั้งยอดขายบ้านใหม่ที่ลดลงจะกระทบการจ้างงานกลุ่มก่อสร้างและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง
ในมุมเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบหากสหรัฐเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอย เพราะการถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นภาวะชั่วคราวเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ และสหรัฐน่าจะฟื้นตัวได้เร็วผ่านการลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดทางการคลัง ผลกระทบต่อไทย จะผ่าน 3 ช่องทาง
1. การส่งออกชะลอตามอุปสงค์ตลาดโลก
2. การท่องเที่ยว ที่อาจโตช้าช่วงครึ่งปีแรก แต่อาจไม่มากหากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐไม่ลามไปยุโรปที่เป็นลูกค้าหลักของไทย
และ 3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก เช่น น้ำมัน เหล็ก สินค้าเกษตรน่าจะปรับย่อลง ซึ่งน่าจะสนับสนุนเงินเฟ้อไทยให้ลดลง แต่รายได้ภาคเกษตรอาจชะลอตัวเช่นกัน
โดยรวมการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ถึงขั้นรุนแรงเป็นวิกฤติรอบใหม่ และวัฏจักรเศรษฐกิจไทยต่างจากสหรัฐ เนื่องจากไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว เงินเฟ้อฝั่งอุปสงค์เริ่มมาในไตรมาส 3 การขึ้นดอกเบี้ยของไทยปีหน้ายังจำเป็นเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และน่าจะเห็นเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่า 4% นับจากไตรมาส 3 ปีนี้ถึงปีหน้า
ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าเหนือระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนมิถุนายน หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 0.75% กระทบเงินไหลออก และมีโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ในเดือนกรกฎาคมเพื่อดึงเงินเฟ้อในสหรัฐให้ลดลง ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เงินไหลออกจากตลาดทุนไทย บาทจึงมีโอกาสแตะระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ตาม หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ถึงจุดสูงสุด ก็คงเห็นการลดลงของเงินเฟ้อเดือนต่อเดือนในช่วงต้นไตรมาส3 โดยน่าจะเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.5% ในรอบเดือนกันยายน และอีก 0.25% ในสองรอบการประชุมในไตรมาส 4 ปลายปีนี้น่าเห็นดอกเบี้ยสหรัฐที่ 3.5% ซึ่งการลดความแรงของการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐน่าเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และกลับมาลงทุนในไทย
ขณะที่สำนักวิจัยฯ มองว่าบาทมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 4 โดยเฉพาะหลังจากที่ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น เงินบาทน่าจะแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐปลายปีนี้ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นทุกรอบการประชุม คือในเดือนสิงหาคม กันยายนและพฤศจิกายน ที่น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงปลายปีนี้ขยับจาก 0.5% ไปสู่ระดับ 1.25% เป็นอย่างน้อยและยังคงเพิ่มต่อเนื่องในปีหน้าเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ลดลง ซึ่งการเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะเพิ่มความน่าสนใจของสินทรัพย์ในรูปเงินบาทและส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง
“แม้เรามองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่า 4% ในช่วงครึ่งปีหลังและต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เสมือนแสงรำไรจากการเปิดเมืองและการฟื้นตัวด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค แต่เราอาจต้องตั้งรับกับความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจทั้งของไทยและต่างประเทศ หรือพายุทั้ง 6 ลูกที่เตรียมกระหน่ำเศรษฐกิจไทยไตรมาสสามและอาจทำให้เติบโตน้อยกว่าที่คาดได้” นาย
อมรเทพ กล่าว
“กลุ่มหมอ” ร้อง "กมธ.แรงงาน" หลังทำงานเกิน 100 ชม.ต่อสัปดาห์ ลั่นขอเวลาพัก 8 ชม. หวั่นทำคนไข้ตาย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3427477
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่รัฐสภา สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) นำโดยพญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ยื่นนังสือถึงคณะกรรมาธิการ(กมธ.) แรงงาน สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นตัวแทนรับหนังสือ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมเรื่องชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
โดยพญ.
ชุตินาถ กล่าวว่า ที่มายื่นหนังสือในวันนี้เพื่อขอกำหนดชั่วโมงการทำงาน เนื่องจากปัจจุบันนี้บุคลากรทาการแพทย์ ซึ่งรวมถึง พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพไทย มีปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานเนื่องจากต้องทำงานหนัก คือทำงานหนักมากกว่า 100 ชั่วโมง โดยที่ทำงานติดต่อกันและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยที่ผลกระทบดังกล่าว ทำให้เสียส่งผลกระทบถึงสุขภาพ ทำให้แพทย์หลายคนต้องลาออก และทำให้เราต้องสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ไปจำนวนมาก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับชีวิต คนไข้ที่เราต้องดูแล โดยเราไม่สามารถดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพได้มากพอหลังจากที่เราไม่ได้นอนติดต่อกัน เกิน 100 ชม. ซึ่งเราไม่อยากให้ชีวิตคนไข้สูญเสีย ปัญหาที่เราสามารถป้องกันได้
พญ.
ชุตินาถ กล่าวต่อว่า เรามีข้อเรียกร้องเบื้องต้น 3 ข้อคือ 1.หลังจากที่ลงเวรดึก คือการทำงานตั้งแต่ 00.00 – 08.00 น.และหลังจากทำงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง รวมทั้งขอชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในวันต่อไป และลดโอกาสความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย รวมถึงเพื่อรักษาสุขภาพของบุคลากรเองด้วย
ด้าน นาย
พิธา กล่าวว่า เมื่อนำระบบสาธารณสุขของไทยไปเปรียบเทียบกับความเป็นสากลจะเห็นได้ชัดว่าการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข และต้องปรับโครงสร้างระบบสาธารณสุขให้มีระบบการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อไม่ให้งานทุกอย่างมาอยู่ที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในชั้น กมธ.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งนาย
สุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก.ก. ในฐาะนประธานกมธ. ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว
JJNY : ถึงคิว 'เบียร์-น้ำอัดลม'ขึ้นราคา│ซีไอเอ็มบีฯ ชี้ศก.ไตรมาส 3│“กลุ่มหมอ”ร้อง“กมธ.แรงงาน”│ขั้นเทพ! ‘ชัชชาติ’โชว์สกิล
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7137086
คนกินกระอัก ดีเดย์! 1 ก.ค.นี้ ถึงคิว ‘เบียร์-น้ำอัดลม’ อั้นไม่ไหว ประกาศขึ้นราคา ขวดละ 1-2 บาท ชี้น้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
วันที่ 30 มิ.ย.65 นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่งและค้าปลีกไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับแจ้งจากผู้แทนจำหน่ายเบียร์ยี่ห้อหนึ่ง ระบุว่าตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 จะขึ้นราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกอีก 10-20 บาทต่อลัง(จำนวน 12 ขวด) หรือเพิ่มขึ้น 1-2 บาทต่อขวด ตามราคาน้ำมันและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น
แหล่งข่าวจากร้านค้าปลีกและค่าส่งเหล้าและเบียร์ย่านพระราม3 เปิดเผยว่า วันนี้(30 มิ.ย.) ได้รับแจ้งจากบริษัผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ยี่ห้อดังกล่าวว่าจากต้นทุนขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น ขอปรับราคาต้นทุนขนส่งและราคาขายปลีกอีก 10 -20 บาทต่อลัง( จำนวน 12 ขวด) โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ขึ้น 10 บาทต่อลัง จาก 604 บาท เป็น 614 บาทต่อลัง และวันที่ 1 กรกฎาคมขึ้นอีก 12 บาทต่อลัง เป็น 626 บาทต่อลัง ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 1-2 บาทต่อขวด
“เบียร์ยี่ห้อนี้ถือว่าเป็นยี่ห้อสุดท้ายที่ปรับราคาขึ้นในช่วงนี้ หลังจากเบียร์ดังยี่ห้ออื่นปรับขึ้นไปแล้วเมื่อเดือนเม.ย.65 โดยปรับขึ้น 1-2 บาทต่อขวด“ แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังได้รับแจ้งจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลม 2 ยี่ห้อดังที่ถือเป็นเจ้าตลาด ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ จะปรับราคาต้นทุนขนส่งและขายปลีกทุกขนาดอีก 1-2 บาทต่อขวด
ซีไอเอ็มบีฯ ชี้ศก.ไทยไตรมาส 3 ยังต้องรับมือ 6 ความเสี่ยง คาดเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี!
https://www.matichon.co.th/economy/news_3427496
ซีไอเอ็มบี ชี้ศก.ไทยไตรมาส 3 ยังต้องรับมือ 6 ความเสี่ยง คาดเงินเฟ้อสูงสุดในรอบปี!
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ครึ่งหลังปี 2565 เศรษฐกิจไทยต้องรับมือกับความท้าทายหลักๆ ได้แก่
1. เงินเฟ้อพุ่งทะลุ 10% กดดันการบริโภค
2. เงินบาทอ่อนค่าทะลุ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหากเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยแรงต่อเนื่อง
3. การเมืองไทยขาดเสถียรภาพ ส่งผลให้นักลงทุนชะลอโครงการใหม่
4. ปัญหาความขัดแย้งในยุโรปรุนแรงขึ้น หนุนราคาน้ำมันพุ่งสูง
5. สหรัฐเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยเร็ว แต่เงินเฟ้อยังสูง เฟดจำต้องขึ้นดอกเบี้ยแม้การว่างงานพุ่ง
6. จีนต้องล็อกดาวน์อีกรอบหลังมีการระบาดของโควิดในหลายเมือง ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนชะลอหนักกระทบการส่งออกของไทย
การเร่งตัวของราคาสินค้ากลุ่มอุปโภคและบริโภคที่มีต้นทุนจากน้ำมัน อาหารสัตว์ และการขนส่ง เงินเฟ้อสูงกดดันการบริโภคให้ชะลอหรือโตช้ากว่าที่น่าจะเป็น แม้ได้อานิสงส์จากการเปิดเมือง อย่างไรก็ตาม เงินเฟ้อไตรมาสสามน่าจะอยู่ในระดับสูงสุดของปี และมีโอกาสแตะระดับ 10% ได้ จากราคาน้ำมันที่ยังสูง ราคาอาหารสด และที่สำคัญ น่าจะเริ่มเห็นเงินเฟ้อจากฝั่งอุปสงค์ หลังกำลังซื้อฟื้นตัวจากไตรมาส 2 รับการเปิดเมือง อีกทั้งจากฐานต่ำปีก่อน
เศรษฐกิจไทยเสี่ยงโตช้าในช่วงไตรมาสสามตามความเสี่ยงทั้ง 6 ประการ แต่ไม่น่าถึงขั้นถดถอย และมีโอกาสขยายตัวได้มากกว่าที่สำนักวิจัยฯ คาดไว้ก่อนหน้าที่ 3.1% โดยเฉพาะจากการเปิดเมืองที่เร็วในเดือนมิถุนายนและการกลับมาของนักท่องเที่ยวมากกว่าที่คาด มีโอกาสเห็น GDP ไทยครึ่งปีหลังขยายตัวมากกว่า 4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนและต่อเนื่องไปปีหน้า แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯมีโอกาสจะเข้าสู่ภาวะถดถอยต้นปีหน้า หลังขึ้นดอกเบี้ยแรงเพื่อชะลอการบริโภคและการลงทุน
ด้านอัตราการว่างงานน่าจะขยับขึ้น ลดความร้อนแรงของการปรับขึ้นค่าจ้าง ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะได้รับผลกระทบชัดเจน จากการที่ดอกเบี้ยกู้บ้านปรับขึ้นจาก 3% ในปีก่อนเป็นระดับ 6% เป็นการเคลื่อนไหวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะเวลา 30 ปี ส่งผลให้คนชะลอซื้อบ้าน อีกทั้งยอดขายบ้านใหม่ที่ลดลงจะกระทบการจ้างงานกลุ่มก่อสร้างและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง
ในมุมเศรษฐกิจไทยไม่น่าจะได้รับผลกระทบหากสหรัฐเผชิญปัญหาเศรษฐกิจถดถอย เพราะการถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นภาวะชั่วคราวเพื่อลดความร้อนแรงของเงินเฟ้อ และสหรัฐน่าจะฟื้นตัวได้เร็วผ่านการลดดอกเบี้ยและการอัดฉีดทางการคลัง ผลกระทบต่อไทย จะผ่าน 3 ช่องทาง
1. การส่งออกชะลอตามอุปสงค์ตลาดโลก
2. การท่องเที่ยว ที่อาจโตช้าช่วงครึ่งปีแรก แต่อาจไม่มากหากปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐไม่ลามไปยุโรปที่เป็นลูกค้าหลักของไทย
และ 3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก เช่น น้ำมัน เหล็ก สินค้าเกษตรน่าจะปรับย่อลง ซึ่งน่าจะสนับสนุนเงินเฟ้อไทยให้ลดลง แต่รายได้ภาคเกษตรอาจชะลอตัวเช่นกัน
โดยรวมการถดถอยทางเศรษฐกิจของสหรัฐไม่ถึงขั้นรุนแรงเป็นวิกฤติรอบใหม่ และวัฏจักรเศรษฐกิจไทยต่างจากสหรัฐ เนื่องจากไทยเพิ่งเริ่มฟื้นตัว เงินเฟ้อฝั่งอุปสงค์เริ่มมาในไตรมาส 3 การขึ้นดอกเบี้ยของไทยปีหน้ายังจำเป็นเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ และน่าจะเห็นเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่า 4% นับจากไตรมาส 3 ปีนี้ถึงปีหน้า
ปัจจุบันเงินบาทอ่อนค่าเหนือระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงเดือนมิถุนายน หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 0.75% กระทบเงินไหลออก และมีโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ในเดือนกรกฎาคมเพื่อดึงเงินเฟ้อในสหรัฐให้ลดลง ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้เงินไหลออกจากตลาดทุนไทย บาทจึงมีโอกาสแตะระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในเดือนกรกฎาคม
อย่างไรก็ตาม หลังเงินเฟ้อสหรัฐฯ ถึงจุดสูงสุด ก็คงเห็นการลดลงของเงินเฟ้อเดือนต่อเดือนในช่วงต้นไตรมาส3 โดยน่าจะเห็นเฟดขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.5% ในรอบเดือนกันยายน และอีก 0.25% ในสองรอบการประชุมในไตรมาส 4 ปลายปีนี้น่าเห็นดอกเบี้ยสหรัฐที่ 3.5% ซึ่งการลดความแรงของการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐน่าเปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และกลับมาลงทุนในไทย
ขณะที่สำนักวิจัยฯ มองว่าบาทมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐในช่วงไตรมาส 4 โดยเฉพาะหลังจากที่ไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น เงินบาทน่าจะแตะระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐปลายปีนี้ อีกทั้งทางธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะขยับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นทุกรอบการประชุม คือในเดือนสิงหาคม กันยายนและพฤศจิกายน ที่น่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงปลายปีนี้ขยับจาก 0.5% ไปสู่ระดับ 1.25% เป็นอย่างน้อยและยังคงเพิ่มต่อเนื่องในปีหน้าเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ลดลง ซึ่งการเร่งการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของไทยน่าจะเพิ่มความน่าสนใจของสินทรัพย์ในรูปเงินบาทและส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงครึ่งปีหลัง
“แม้เรามองเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่า 4% ในช่วงครึ่งปีหลังและต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เสมือนแสงรำไรจากการเปิดเมืองและการฟื้นตัวด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค แต่เราอาจต้องตั้งรับกับความไม่แน่นอนด้านเศรษฐกิจทั้งของไทยและต่างประเทศ หรือพายุทั้ง 6 ลูกที่เตรียมกระหน่ำเศรษฐกิจไทยไตรมาสสามและอาจทำให้เติบโตน้อยกว่าที่คาดได้” นายอมรเทพ กล่าว
“กลุ่มหมอ” ร้อง "กมธ.แรงงาน" หลังทำงานเกิน 100 ชม.ต่อสัปดาห์ ลั่นขอเวลาพัก 8 ชม. หวั่นทำคนไข้ตาย
https://www.matichon.co.th/politics/news_3427477
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ที่รัฐสภา สมาพันธ์แพทย์ผู้ปฏิบัติงาน (สพง.) นำโดยพญ.ชุตินาถ ชินอุดมพร ยื่นนังสือถึงคณะกรรมาธิการ(กมธ.) แรงงาน สภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นตัวแทนรับหนังสือ เพื่อร้องขอความเป็นธรรมเรื่องชั่วโมงการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์
โดยพญ.ชุตินาถ กล่าวว่า ที่มายื่นหนังสือในวันนี้เพื่อขอกำหนดชั่วโมงการทำงาน เนื่องจากปัจจุบันนี้บุคลากรทาการแพทย์ ซึ่งรวมถึง พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ และสาขาอื่นๆ ที่อยู่ในระบบบริการสุขภาพไทย มีปัญหาเรื่องชั่วโมงการทำงานเนื่องจากต้องทำงานหนัก คือทำงานหนักมากกว่า 100 ชั่วโมง โดยที่ทำงานติดต่อกันและไม่มีเวลาพักผ่อน โดยที่ผลกระทบดังกล่าว ทำให้เสียส่งผลกระทบถึงสุขภาพ ทำให้แพทย์หลายคนต้องลาออก และทำให้เราต้องสูญเสียบุคลากรทางการแพทย์ไปจำนวนมาก นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับชีวิต คนไข้ที่เราต้องดูแล โดยเราไม่สามารถดูแลผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพได้มากพอหลังจากที่เราไม่ได้นอนติดต่อกัน เกิน 100 ชม. ซึ่งเราไม่อยากให้ชีวิตคนไข้สูญเสีย ปัญหาที่เราสามารถป้องกันได้
พญ.ชุตินาถ กล่าวต่อว่า เรามีข้อเรียกร้องเบื้องต้น 3 ข้อคือ 1.หลังจากที่ลงเวรดึก คือการทำงานตั้งแต่ 00.00 – 08.00 น.และหลังจากทำงานติดต่อกัน 24 ชั่วโมง รวมทั้งขอชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมในการปฏิบัติงานในวันต่อไป และลดโอกาสความผิดพลาดในการปฏิบัติงานที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย รวมถึงเพื่อรักษาสุขภาพของบุคลากรเองด้วย
ด้าน นายพิธา กล่าวว่า เมื่อนำระบบสาธารณสุขของไทยไปเปรียบเทียบกับความเป็นสากลจะเห็นได้ชัดว่าการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องแก้ไข และต้องปรับโครงสร้างระบบสาธารณสุขให้มีระบบการบริการปฐมภูมิ (Primary Care) ในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อไม่ให้งานทุกอย่างมาอยู่ที่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาในชั้น กมธ.ในสัปดาห์หน้า ซึ่งนายสุเทพ อู่อ้น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก.ก. ในฐาะนประธานกมธ. ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว