คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ครูบาอาจารย์แต่ละท่าน จะมีเทคนิค หรือถ้อยคำ หรือวิธีในการสอน ที่อาจจะต่างกันไปบ้างครับ
แต่ถ้าเป็นไปตามหลักสติปัฏฐาน ก็จะมีหลักเดียวกัน พาไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
ผมไม่ทราบว่า อาจารย์ของผู้ตั้งกระทู้สอนไว้อย่างไรนะครับ
ถ้าเป็นครูอาจารย์ของผม ท่านจะให้ตั้งต้นที่ฐานกายครับ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แต่วิธีของท่าน จะเป็นการฝึก "ดูกายและดูจิต" ไปในขั้นตอนเดียวกัน
ท่านสอนให้ตั้งฐานที่กาย แล้วพอดูกายไปเรื่อยๆ มันจะเห็นอาการต่างๆ ของจิตไปด้วย
เมื่อเราตั้งฐานที่กายได้อย่างมั่นคงพอสมควร อาการของจิตจะเกิดขึ้นให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ครับ
ไม่ว่าจะความคิดฟุ้งซ่าน ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ฯลฯ
แต่ย้ำว่า ถ้าฐานกาย ยังไม่มั่นคง มันไม่ง่ายที่จะไปเข้าถึงฐานจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
ยกตัวอย่างง่ายๆ
คือ คุณตั้งฐานที่การระลึกรู้กาย ไม่ว่าจะเดินจงกรม หรือระลึกรู้ลมหายใจ
เมื่อใจคุณอยู่กับฐานที่ตั้งไว้ไปได้สักพัก มันจะเป็นปกติที่ใจมันจะเผลอคิดเรื่องอื่นๆ คิดฟุ้งซ่าน มีอารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้น
พอเผลอไปสักพัก คุณจะรู้ทันหรือรู้สึกว่า นี่ใจมันเผลอหลุดออกไปจากฐานกายแล้ว
ไม่ได้ระลึกรู้ที่ฐานแล้ว ใจมันหลุดไปส่งจิตออกนอก ใจมันเผลอหลงไปตามความคิดต่างๆ แล้ว
...แล้วคุณก็ทิ้งความคิด อารมณ์เหล่านั้นไป แล้วพาใจกลับมาตั้งไว้ที่ฐานกายเช่นเดิม
.... นี่แหละคือ การฝึกในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดพลังสติ ที่จะเตือน ที่จะทำให้ระลึกรู้ได้ไว ได้บ่อยๆ ว่า
ใจกำลังเผลอหลงไปตามความคิดฟุ้งซ่านแล้ว เผลอหลงไปตามอารมณ์แล้ว เผลอส่งจิตออกนอกแล้ว
พอฝึกแบบนี้บ่อยๆ พลังสติก็จะแข็งแรง มั่นคง ว่องไวขึ้น
พอใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ถ้ามีอะไรมากระทบทำให้รู้สึกโกรธ หงุดหงิด
สติก็จะทำหน้าที่ "รู้ทัน" อารมณ์ได้ไว แล้วก็ยับยั้งชั่งใจไม่ให้เราทำอะไรไปตามอารมณ์
ไม่ทำอะไรแบบขาดสติ ทำไปแบบใจร้อน หุนหัน
เช่น มีใครมาด่าเรา เรารู้สึกโกรธจัด แต่สติก็ไวที่จะรู้ทันว่า "เรากำลังโกรธอยู่นะ"
และยับยั้งไม่ให้เราลงมือทำอะไรไปตามความโกรธ ไม่ไปลงมือต่อยเค้า ไม่ไปด่ากลับ .... ฯลฯ
สติจะช่วยแตะเบรกให้ไม่หลงไปทำตามอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะโกรธ เกลียด เศร้า ท้อแท้ ฯลฯ
มันเป็นประโยชน์อย่างมากในชีวิตประจำวันครับ เพราะทุกวัน เราเจอสิ่งกระทบมากมาย
ใจมันก็เผลอไปรู้สึกบวกๆ ลบๆ กับสิ่งต่างๆ แล้วก็รู้สึกสุขๆ ทุกข์ๆ
สติที่รู้ทันจิตใจ เพราะถูกฝึกมาอย่างดี ก็จะช่วยเรื่องพวกนี้ได้ครับ
นี่เป็นอานิสงส์ในเบื้องต้นนะครับ ส่วนในรายละเอียดที่ลึกไปกว่านี้
แน่นอนว่า มันพาไปสู่การเห็นการเกิด-ดับ เข้าถึงไตรลักษณ์ และสุดท้าย ก็ไปสู่การพ้นทุกข์สิ้นเชิง
ซึ่งเรื่องพวกนี้ รู้ไว้คร่าวๆ นะครับ เพราะถ้าฝึกอย่างถูกต้อง แล้วพัฒนาไปเรื่อยๆ
มันจะเริ่มเข้าใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับว่า มันจะพัฒนาไปยังไง แล้วจะไปเห็นการเกิดดับได้ยังไง
แล้วใจมันจะเรียนรู้ที่จะปล่อยวางได้ยังไง.... ฯลฯ
ขอส่งกำลังใจให้ครับ
แต่ถ้าเป็นไปตามหลักสติปัฏฐาน ก็จะมีหลักเดียวกัน พาไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
ผมไม่ทราบว่า อาจารย์ของผู้ตั้งกระทู้สอนไว้อย่างไรนะครับ
ถ้าเป็นครูอาจารย์ของผม ท่านจะให้ตั้งต้นที่ฐานกายครับ คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
แต่วิธีของท่าน จะเป็นการฝึก "ดูกายและดูจิต" ไปในขั้นตอนเดียวกัน
ท่านสอนให้ตั้งฐานที่กาย แล้วพอดูกายไปเรื่อยๆ มันจะเห็นอาการต่างๆ ของจิตไปด้วย
เมื่อเราตั้งฐานที่กายได้อย่างมั่นคงพอสมควร อาการของจิตจะเกิดขึ้นให้เห็นอยู่เรื่อยๆ ครับ
ไม่ว่าจะความคิดฟุ้งซ่าน ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ฯลฯ
แต่ย้ำว่า ถ้าฐานกาย ยังไม่มั่นคง มันไม่ง่ายที่จะไปเข้าถึงฐานจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
ยกตัวอย่างง่ายๆ
คือ คุณตั้งฐานที่การระลึกรู้กาย ไม่ว่าจะเดินจงกรม หรือระลึกรู้ลมหายใจ
เมื่อใจคุณอยู่กับฐานที่ตั้งไว้ไปได้สักพัก มันจะเป็นปกติที่ใจมันจะเผลอคิดเรื่องอื่นๆ คิดฟุ้งซ่าน มีอารมณ์ความรู้สึกเกิดขึ้น
พอเผลอไปสักพัก คุณจะรู้ทันหรือรู้สึกว่า นี่ใจมันเผลอหลุดออกไปจากฐานกายแล้ว
ไม่ได้ระลึกรู้ที่ฐานแล้ว ใจมันหลุดไปส่งจิตออกนอก ใจมันเผลอหลงไปตามความคิดต่างๆ แล้ว
...แล้วคุณก็ทิ้งความคิด อารมณ์เหล่านั้นไป แล้วพาใจกลับมาตั้งไว้ที่ฐานกายเช่นเดิม
.... นี่แหละคือ การฝึกในเบื้องต้น เพื่อให้เกิดพลังสติ ที่จะเตือน ที่จะทำให้ระลึกรู้ได้ไว ได้บ่อยๆ ว่า
ใจกำลังเผลอหลงไปตามความคิดฟุ้งซ่านแล้ว เผลอหลงไปตามอารมณ์แล้ว เผลอส่งจิตออกนอกแล้ว
พอฝึกแบบนี้บ่อยๆ พลังสติก็จะแข็งแรง มั่นคง ว่องไวขึ้น
พอใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ถ้ามีอะไรมากระทบทำให้รู้สึกโกรธ หงุดหงิด
สติก็จะทำหน้าที่ "รู้ทัน" อารมณ์ได้ไว แล้วก็ยับยั้งชั่งใจไม่ให้เราทำอะไรไปตามอารมณ์
ไม่ทำอะไรแบบขาดสติ ทำไปแบบใจร้อน หุนหัน
เช่น มีใครมาด่าเรา เรารู้สึกโกรธจัด แต่สติก็ไวที่จะรู้ทันว่า "เรากำลังโกรธอยู่นะ"
และยับยั้งไม่ให้เราลงมือทำอะไรไปตามความโกรธ ไม่ไปลงมือต่อยเค้า ไม่ไปด่ากลับ .... ฯลฯ
สติจะช่วยแตะเบรกให้ไม่หลงไปทำตามอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะโกรธ เกลียด เศร้า ท้อแท้ ฯลฯ
มันเป็นประโยชน์อย่างมากในชีวิตประจำวันครับ เพราะทุกวัน เราเจอสิ่งกระทบมากมาย
ใจมันก็เผลอไปรู้สึกบวกๆ ลบๆ กับสิ่งต่างๆ แล้วก็รู้สึกสุขๆ ทุกข์ๆ
สติที่รู้ทันจิตใจ เพราะถูกฝึกมาอย่างดี ก็จะช่วยเรื่องพวกนี้ได้ครับ
นี่เป็นอานิสงส์ในเบื้องต้นนะครับ ส่วนในรายละเอียดที่ลึกไปกว่านี้
แน่นอนว่า มันพาไปสู่การเห็นการเกิด-ดับ เข้าถึงไตรลักษณ์ และสุดท้าย ก็ไปสู่การพ้นทุกข์สิ้นเชิง
ซึ่งเรื่องพวกนี้ รู้ไว้คร่าวๆ นะครับ เพราะถ้าฝึกอย่างถูกต้อง แล้วพัฒนาไปเรื่อยๆ
มันจะเริ่มเข้าใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ ครับว่า มันจะพัฒนาไปยังไง แล้วจะไปเห็นการเกิดดับได้ยังไง
แล้วใจมันจะเรียนรู้ที่จะปล่อยวางได้ยังไง.... ฯลฯ
ขอส่งกำลังใจให้ครับ
แสดงความคิดเห็น
อานิสงส์ของการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คืออะไรครับ