หลุมดำสามารถดูดกลืนและทำลายดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงกว่าได้หรือเปล่าครับ?

สมมตินะครับ อย่างเช่น Cygnus X-1 ที่มีมวล 21 เท่าของดวงอาทิตย์ ถ้ามาอยู่ใกล้กับดาว R136a1 ที่มีมวล 265 เท่าของดวงอาทิตย์ 
Cyg X-1 จะสามารถฉีกทำลายและดูดกลืน R136a1 ได้หรือเปล่าครับ หรือจะเป็น R136a1 ที่เอาชนะแรงดึงดูดของ Cyg X-1 เสียเอง?

แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
หลุมดำสามารถดูดกลืนและทำลายดาวฤกษ์ที่มีมวลสูงกว่าได้หรือเปล่าครับ?
สมมตินะครับ อย่างเช่น Cygnus X-1 ที่มีมวล 21 เท่าของดวงอาทิตย์
ถ้ามาอยู่ใกล้กับดาว R136a1 ที่มีมวล 265 เท่าของดวงอาทิตย์
Cyg X-1 จะสามารถฉีกทำลายและดูดกลืน R136a1 ได้หรือเปล่าครับ
หรือจะเป็น R136a1 ที่เอาชนะแรงดึงดูดของ Cyg X-1 เสียเอง?


เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า  เมื่อหลุมดำ 2 แห่งมาชน หรือ merge กัน  
หลุมดำทั้ง 2 มันจะไม่ "ระเบิด"   และเมื่อดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ถูกหลุมดำดูดมวลสารลงไป  
ดาวฤกษ์ดวงนั้นก็จะไม่ระเบิดเช่นกัน  แต่จะถูกดึงมวลสารออกไปเรื่อย ๆ ครับ

เมื่อ R136a1 และ Cygnus X-1  เข้ามาใกล้กัน  ทั้งสองจะพุ่งเข้าหากัน  
โดย R136a1 จะเคลื่อนที่ช้ากว่าเพราะมวลมากกว่า X-1 เยอะเลย
แต่ .... เมื่อทั้งสองเข้าใกล้กันมากระดับหนึ่ง  มวลสารของ R136a1 จะเริ่ม
ถูกดูดเข้าไปใน X-1 ครับ  นี่เป็นเพราะหลุมดำ X-1 ถึงแม้ว่าจะมีมวล 21 Solar mass
แต่มีขนาดเล็กมาก ๆ  (ขนาดอาณาเขต event horizon)

สมมุติ  ณ จุดที่ X-1 ห่างจากผิวดาว R136a1 ระยะ 3 ล้านกิโลเมตร
มวลสาร plasma ที่ผิวดาว R136a1 จะได้รับความโน้มถ่วงจาก X-1 มากถึง 310 m/s2
( ขณะที่ผิวดาว R136a1 มีความเร่งโน้มถ่วง 80 m/s2 )
นี่เองที่มวลสาร plasma ของ R136a1 จะถูกดูดเป็นเส้น ๆ ลงไปที่ X-1 ครับ
และจะถูกดูดเข้าไปเรื่อย ๆ จนดาวฤกษ์ R136a1 แตกสลายไปหมดครับ
ส่วนหลุมดำ X-1 ..... ผมก็คิดว่าจะมีมวลเพิ่มขึ้น  โดยยังคงสภาพหลุมดำเช่นเดิม


ขอเพิ่มเติมเวบที่ใช้คำนวณความเร่งโน้มถ่วงที่ระยะต่าง ๆ
หรือ  ความเร่งโน้มถ่วงที่ผิวดาวเคราะห์/ดาวฤกษ์ ครับ
https://www.omnicalculator.com/physics/acceleration-due-to-gravity

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่