ติดเชื้อใหม่ขยับลง 2,162 ราย เสียชีวิต 27 ราย หายป่วย 4,879 ราย
https://www.dailynews.co.th/news/1118310/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 27 ราย ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยใหม่วันนี้เพิ่มอีก 2,162 ราย กำลังรักษา 29,509 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 6 มิ.ย. 65 มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 2,162 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,160 ราย ผู้ป่วยจากต่างประเทศ 2 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,245,520 ราย หายป่วยกลับบ้าน 4,879 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,240,754 ราย กำลังรักษา 29,509 ราย เสียชีวิต 27 ราย เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 8,500 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 761 ราย
อลหม่านเก็บ‘ภาษีที่ดิน100%’ ‘ธุรกิจน้อย-ใหญ่’ร้องระงม ผวา กทม.รื้อเกณฑ์ดัดหลังแลนด์ลอร์ด
https://www.matichon.co.th/economy/news_3384314
ยังคงเป็นประเด็นให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลสับเกียร์ห้า เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปี 2565 อัตรา 100% ไม่ต่อโปรโมชั่นลด 90% เหมือน 2 ปีแรก
ผลพวงจากภาระที่เพิ่มขึ้น ทำให้ “แลนด์ลอร์ด” นำที่ดินออกมาแปลงโฉมทำสวนกล้วย ปลูกมะม่วง มะนาว ให้เข้าเกณฑ์ที่ดินเกษตรกรรมกันคึกคัก เพื่อให้จ่ายภาษีในอัตราที่ถูกลง จากที่ดินรกร้างว่างเปล่าต้องจ่ายภาษีอัตรา 0.3-0.7% แต่หากแปลงสภาพเป็นเกษตรกรรมจะเสียภาษีอยู่ที่ 0.01-0.1%
⦁ ค้างชำระอื้อ-กกร.ขอ‘บิ๊กตู่’ผ่อนจ่าย1ปี
อีกภาพที่เกิดขึ้นหลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทยอยเก็บภาษีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จะเริ่มเห็นหลายพื้นที่มีประชาชนค้างชำระหรือไม่มาชำระภายในเวลาที่กำหนด
กรณีนายกเทศมนตรีตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่สร้างมิติใหม่ยอมทุ่มเงินแสนบาทเหมาซื้อพื้นที่โฆษณาหนังสือพิมพ์แจ้งแลนด์ลอร์ดเขาใหญ่ให้มาชำระภาษี เป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนได้เป็นอย่างดี
สมเกียรติ พยัคฆ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลหมูสี อธิบายว่า เมื่อเดือนเมษายนครบกำหนดให้ประชาชนชำระภาษี แต่มี 532 รายที่ติดต่อไม่ได้ จึงลงประกาศให้มาจ่ายภาษี เพราะหากเลยกำหนดเวลาจะต้องเสียค่าปรับส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่มาซื้อที่ดิน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม หากเก็บได้ครบตามจำนวน จะมีรายได้กว่า 3 ล้านบาท
ด้านภาคธุรกิจ ยังคงเดินหน้าขอให้ภาครัฐออกมาตรการบรรเทาภาระภาษีที่ดิน 100% อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด
อธิป พีชานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังแล้ว ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังได้ทำหนังสือถึง พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนภาระภาษีให้กับภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปด้วย
“ระยะเร่งด่วนเราขอให้ผู้ที่ค้างชำระภาษีสามารถผ่อนชำระได้ 1 ปี โดยไม่มีเบี้ยปรับ ระยะถัดไปขอให้เก็บหรือลดอัตราจัดเก็บเป็นขั้นบันได เช่น ปี 2566 ลด 75% ปี 2567 ลด 50% และปี 2568 ลด 25% และระยะยาว ให้ปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ กำหนดอัตราที่เหมาะสมและเป็นอัตราเดียว” นาย
อธิปกล่าว
⦁ ‘นิคม-โรงแรม’จี้รัฐเว้นภาษีพยุงธุรกิจ
ขณะที่
อัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร เปิดเผยว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลังขอให้บรรเทาความเดือดร้อนเก็บภาษีที่ดิน 100% โดยขอขยายเวลาสำหรับที่ดินรอพัฒนาจากเดิม 3 ปี เป็น 5 ปี ให้มีการประเมินราคาตามสภาพพื้นที่จริงและแยกราคาประเมินที่ดินรอพัฒนากับที่ดินพัฒนาสาธารณูปโภคไปแล้วออกจากกัน รวมถึงขอขยายเวลาลด 90% อีก 2 ปี และให้จัดเก็บภาษีแบบเป็นขั้นบันได
นาง
อัญชลีกล่าวว่า ปัจจุบันมีที่ดินนิคมรอพัฒนา 20,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นที่ดินของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHA ประมาณ 5,000 ไร่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประมาณ 10,000 ไร่ และที่เหลือเป็นที่ดินของนิคมรายใหม่4-5 ราย
“ตามกฎหมายที่ดินยังไม่พัฒนาจะได้รับยกเว้นภาษี 3 ปี แต่ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมกว่าจะดำเนินการครบขั้นตอนและเปิดขายได้ต้องใช้ระยะเวลา 5 ปี จะต่างจากที่ดินพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะใช้เวลา 3 ปี หากไม่ได้นำมาพัฒนาภายในเวลาที่กำหนดจะเสียภาษีประเภทที่ดินรกร้างในอัตรา 0.3-0.7%” นาง
อัญชลีกล่าว
สอดคล้องกับ
วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ออกมาระบุว่า อมตะมีที่ดินนิคมรอพัฒนาอยู่ 14,000-15,000 ไร่ ที่เป็นภาระด้านภาษี โดยได้หารือไปทางสมาคมนิคมฯแล้ว จะขอยกเว้นภาษีจากภาครัฐ เพราะเราไม่ใช่เป็นการซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร แต่ซื้อมาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งเสนอให้รัฐแยกเก็บภาษีที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างออกจากกันด้วย
ในส่วนของธุรกิจโรงแรม
มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย อัพเดตว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมากจากการที่รัฐเก็บภาษีที่ดิน 100% เพราะธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบจากโควิด-19 และถึงแม้ต้องจ่ายภาษีที่ 10% ก็ยังไม่สามารถจ่ายไหว
“ช่วง 2 ปีรายได้ธุรกิจโรงแรมหายไปมาก ไม่ต้องพูดถึงผลกำไร ขณะที่ภาษีที่ดินเริ่มเก็บแล้ว ขอให้รัฐผ่อนคลายการเรียกเก็บ ขอให้ลด 90% อีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไขการจัดเก็บอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รายได้ของธุรกิจมาคำนวณ และให้จัดเก็บเป็นขั้นบันได เช่น เก็บเพิ่มปีละ 5-10%” นาง
มาริสากล่าว
จากเสียงร้องของภาคธุรกิจ ล่าสุด
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีที่ดิน พร้อมหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยมีแนวทางใดที่จะแบ่งเบาภาระประชาชนได้ เพราะภาษีที่ดินฯเป็นรายได้ของท้องถิ่นที่จะนำรายได้จากภาษีดังกล่าวไปพัฒนาพื้นที่
ขณะที่
ประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นัดถกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เพื่อหารือถึงแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนภาษีที่ดิน ตามที่มีภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงประชาชนยื่นหนังสือขอให้พิจารณา เช่น การผ่อนชำระ ส่วนลดอัตราภาษี
⦁ จับตา‘ชัชชาติ’รื้ออัตรา ดัดหลังแลนด์ลอร์ด
อีกไฮไลต์ที่เกิดขึ้นตามมาติดๆ หลังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นพ่อเมืองคนใหม่ พร้อมเปิดไอเดียเพิ่มประสิทธิภาพเก็บภาษีที่ดินให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยจะยกเว้นภาษีให้หากเอกชนมีที่ดินเปล่า ยังไม่ใช้ประโยชน์นำมาให้ กทม.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แทนการปลูกกล้วย และขอสภา กทม.ออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราภาษีที่ดินใหม่ แต่จะต้องไม่เกินจากเพดานที่กฎหมายกำหนด โดยที่ดินเกษตรกรรมอัตราเพดานไม่เกิน 0.15% บ้านพักอาศัยไม่เกิน 0.3% ที่ดินอื่นๆ และรกร้างว่างเปล่าไม่เกิน 1.2% โดยมีคิวเข้าพบ พล.อ.
อนุพงษ์ เผ่าจินดา เจ้าของกระทรวงคลองหลอด วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ถกปัญหาอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดิน และช่องทางการปรับอัตราภาษีใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
“กทม.จะขอความชัดเจน ไม่ให้ใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีว่าแบบไหนจะเข้าเกณฑ์หรือไม่เข้าเกณฑ์ที่อยู่อาศัยหรือเกษตรกรรม โดยต้องกำหนดให้ชัด เช่น ที่ดินเกษตรกรรมต้องพัฒนาบนพื้นที่สีเขียวตามที่ผังเมืองรวมกำหนด ไม่ใช่อยู่บนพื้นที่สีแดงพาณิชยกรรม หากจะมีการทบทวนใหม่คงต้องเป็นการเก็บภาษีของปี 2566 แต่ขึ้นอยู่กับสภา กทม.จะอนุมัติหรือไม่” แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าว
คงต้องลุ้นไอเดีย
“ผู้ว่าฯชัชชาติ” จะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน แต่แค่ขายไอเดียผ่านสื่อ ก็ทำให้เศรษฐีที่ดินสะดุ้งกันเป็นแถว
ระทึก! กบน.เคาะราคาดีเซลวันนี้ ตลาดโลกพุ่งแรงกดดันขยับแตะ 34 บ./ลิตร
https://www.matichon.co.th/economy/news_3384783
ระทึก! กบน.เคาะราคาดีเซลวันนี้ ตลาดโลกพุ่งแรงกดดันขยับแตะ 34 บ./ลิตร
รายงานข่าวจากสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) แจ้งว่า วันที่ 6 มิถุนายนนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ที่มี นาย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม จะพิจารณาราคาดีเซลประจำสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7-13 มิถุนายน 2565 จากปัจจุบันอยู่ที่ 32.94 บาทต่อลิตร โดยหลังการประชุม นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะเป็นผู้แถลงข่าว เบื้องต้นจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่สูงต่อเนื่องแม้กลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2565 จึงเป็นเหตุผลการปรับขึ้นราคาดีเซลสัปดาห์ใหม่นี้ แต่ก็ต้องรอนโยบายจากที่ประชุมอีกครั้ง
“ต้องรอนโยบายกบน. เพราะดีเซลเพิ่งปรับขึ้น 1 บาทต่อลิตร เป็น 32.94 บาทต่อลิตร ภายใต้เพดานไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากตรึงนาน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่ประกาศขึ้น 2 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา”รายงานข่าวระบุ
ด้านรายงานข่าวจากหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) แจ้งว่า ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลอุปทานตึงตัว แม้ว่าโอเปกพลัสจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นก็ตาม
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปกพลัสจะยังไม่เพียงพอและสามารถชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปจากรัสเซียได้ รวมถึง อุปสงค์ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่ตลาดแรงงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเดือน พ.ค. และจีนที่เริ่มทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่เมืองเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่งซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของจีนคาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
กลุ่มโอเปกพลัสมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นราว 648,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ซึ่งมากกว่าข้อตกลงเดิม ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 432,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายแห่งคาดว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจริงจะค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกำลังการผลิตสำรอง (Spare Capacity) ของกลุ่มมีจำกัดและส่วนใหญ่อยู่ที่ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ว่าราคาจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติทรงตัวที่ระดับ 727 แท่นสำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 3 มิ.ย.
น้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ประกอบกับ อุปสงค์ในภูมิภาคโดยเฉพาะจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
น้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ประกอบกับ การส่งออกจากเอเชียและตะวันออกกลางไปยังตลาดยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังยุโรปประกาศลดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียภายใน 8 เดือน
JJNY : ติดเชื้อ 2,162 เสียชีวิต 27│อลหม่านเก็บภาษีที่ดิน100%│กบน.เคาะราคาดีเซลวันนี้│ถกขึ้นบช.เชือด-ล็อกชื่อรมต.หัวคิว
https://www.dailynews.co.th/news/1118310/
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ พบเสียชีวิตเพิ่มอีก 27 ราย ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยใหม่วันนี้เพิ่มอีก 2,162 ราย กำลังรักษา 29,509 ราย
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 6 มิ.ย. 65 มีจำนวนผู้ป่วยใหม่ 2,162 ราย เป็นผู้ป่วยในประเทศ 2,160 ราย ผู้ป่วยจากต่างประเทศ 2 ราย ผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,245,520 ราย หายป่วยกลับบ้าน 4,879 ราย หายป่วยสะสม(ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 2,240,754 ราย กำลังรักษา 29,509 ราย เสียชีวิต 27 ราย เสียชีวิตสะสม (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) 8,500 ราย จำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 761 ราย
อลหม่านเก็บ‘ภาษีที่ดิน100%’ ‘ธุรกิจน้อย-ใหญ่’ร้องระงม ผวา กทม.รื้อเกณฑ์ดัดหลังแลนด์ลอร์ด
https://www.matichon.co.th/economy/news_3384314
ยังคงเป็นประเด็นให้ติดตามอย่างต่อเนื่อง หลังรัฐบาลสับเกียร์ห้า เก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของปี 2565 อัตรา 100% ไม่ต่อโปรโมชั่นลด 90% เหมือน 2 ปีแรก
ผลพวงจากภาระที่เพิ่มขึ้น ทำให้ “แลนด์ลอร์ด” นำที่ดินออกมาแปลงโฉมทำสวนกล้วย ปลูกมะม่วง มะนาว ให้เข้าเกณฑ์ที่ดินเกษตรกรรมกันคึกคัก เพื่อให้จ่ายภาษีในอัตราที่ถูกลง จากที่ดินรกร้างว่างเปล่าต้องจ่ายภาษีอัตรา 0.3-0.7% แต่หากแปลงสภาพเป็นเกษตรกรรมจะเสียภาษีอยู่ที่ 0.01-0.1%
⦁ ค้างชำระอื้อ-กกร.ขอ‘บิ๊กตู่’ผ่อนจ่าย1ปี
อีกภาพที่เกิดขึ้นหลังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทยอยเก็บภาษีเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จะเริ่มเห็นหลายพื้นที่มีประชาชนค้างชำระหรือไม่มาชำระภายในเวลาที่กำหนด
กรณีนายกเทศมนตรีตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่สร้างมิติใหม่ยอมทุ่มเงินแสนบาทเหมาซื้อพื้นที่โฆษณาหนังสือพิมพ์แจ้งแลนด์ลอร์ดเขาใหญ่ให้มาชำระภาษี เป็นอีกหนึ่งภาพสะท้อนได้เป็นอย่างดี
สมเกียรติ พยัคฆ์กุล นายกเทศมนตรีตำบลหมูสี อธิบายว่า เมื่อเดือนเมษายนครบกำหนดให้ประชาชนชำระภาษี แต่มี 532 รายที่ติดต่อไม่ได้ จึงลงประกาศให้มาจ่ายภาษี เพราะหากเลยกำหนดเวลาจะต้องเสียค่าปรับส่วนใหญ่เป็นคนนอกพื้นที่มาซื้อที่ดิน อาคารพาณิชย์ คอนโดมิเนียม หากเก็บได้ครบตามจำนวน จะมีรายได้กว่า 3 ล้านบาท
ด้านภาคธุรกิจ ยังคงเดินหน้าขอให้ภาครัฐออกมาตรการบรรเทาภาระภาษีที่ดิน 100% อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด อธิป พีชานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังทำหนังสือถึงกระทรวงการคลังแล้ว ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนภาระภาษีให้กับภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปด้วย
“ระยะเร่งด่วนเราขอให้ผู้ที่ค้างชำระภาษีสามารถผ่อนชำระได้ 1 ปี โดยไม่มีเบี้ยปรับ ระยะถัดไปขอให้เก็บหรือลดอัตราจัดเก็บเป็นขั้นบันได เช่น ปี 2566 ลด 75% ปี 2567 ลด 50% และปี 2568 ลด 25% และระยะยาว ให้ปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ กำหนดอัตราที่เหมาะสมและเป็นอัตราเดียว” นายอธิปกล่าว
⦁ ‘นิคม-โรงแรม’จี้รัฐเว้นภาษีพยุงธุรกิจ
ขณะที่ อัญชลี ชวนิชย์ นายกสมาคมนิคมอุตสาหกรรมไทยและพันธมิตร เปิดเผยว่า สมาคมได้ยื่นหนังสือถึงกระทรวงการคลังขอให้บรรเทาความเดือดร้อนเก็บภาษีที่ดิน 100% โดยขอขยายเวลาสำหรับที่ดินรอพัฒนาจากเดิม 3 ปี เป็น 5 ปี ให้มีการประเมินราคาตามสภาพพื้นที่จริงและแยกราคาประเมินที่ดินรอพัฒนากับที่ดินพัฒนาสาธารณูปโภคไปแล้วออกจากกัน รวมถึงขอขยายเวลาลด 90% อีก 2 ปี และให้จัดเก็บภาษีแบบเป็นขั้นบันได
นางอัญชลีกล่าวว่า ปัจจุบันมีที่ดินนิคมรอพัฒนา 20,000 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เป็นที่ดินของบริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHA ประมาณ 5,000 ไร่ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประมาณ 10,000 ไร่ และที่เหลือเป็นที่ดินของนิคมรายใหม่4-5 ราย
“ตามกฎหมายที่ดินยังไม่พัฒนาจะได้รับยกเว้นภาษี 3 ปี แต่ที่ดินนิคมอุตสาหกรรมกว่าจะดำเนินการครบขั้นตอนและเปิดขายได้ต้องใช้ระยะเวลา 5 ปี จะต่างจากที่ดินพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะใช้เวลา 3 ปี หากไม่ได้นำมาพัฒนาภายในเวลาที่กำหนดจะเสียภาษีประเภทที่ดินรกร้างในอัตรา 0.3-0.7%” นางอัญชลีกล่าว
สอดคล้องกับ วิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) ออกมาระบุว่า อมตะมีที่ดินนิคมรอพัฒนาอยู่ 14,000-15,000 ไร่ ที่เป็นภาระด้านภาษี โดยได้หารือไปทางสมาคมนิคมฯแล้ว จะขอยกเว้นภาษีจากภาครัฐ เพราะเราไม่ใช่เป็นการซื้อที่ดินเพื่อเก็งกำไร แต่ซื้อมาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งเสนอให้รัฐแยกเก็บภาษีที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างออกจากกันด้วย
ในส่วนของธุรกิจโรงแรม มาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทย อัพเดตว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบมากจากการที่รัฐเก็บภาษีที่ดิน 100% เพราะธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบจากโควิด-19 และถึงแม้ต้องจ่ายภาษีที่ 10% ก็ยังไม่สามารถจ่ายไหว
“ช่วง 2 ปีรายได้ธุรกิจโรงแรมหายไปมาก ไม่ต้องพูดถึงผลกำไร ขณะที่ภาษีที่ดินเริ่มเก็บแล้ว ขอให้รัฐผ่อนคลายการเรียกเก็บ ขอให้ลด 90% อีก 1-2 ปี หรือจนกว่าเศรษฐกิจและธุรกิจจะเริ่มกลับมาฟื้นตัว รวมถึงปรับปรุงเงื่อนไขการจัดเก็บอ้างอิงจากประเภทธุรกิจ รายได้ของธุรกิจมาคำนวณ และให้จัดเก็บเป็นขั้นบันได เช่น เก็บเพิ่มปีละ 5-10%” นางมาริสากล่าว
จากเสียงร้องของภาคธุรกิจ ล่าสุด อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาวิเคราะห์การจัดเก็บภาษีที่ดิน พร้อมหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทยมีแนวทางใดที่จะแบ่งเบาภาระประชาชนได้ เพราะภาษีที่ดินฯเป็นรายได้ของท้องถิ่นที่จะนำรายได้จากภาษีดังกล่าวไปพัฒนาพื้นที่
ขณะที่ ประยูร รัตนเสนีย์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นัดถกกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวันที่ 6 มิถุนายน 2565 เพื่อหารือถึงแนวทางบรรเทาความเดือดร้อนภาษีที่ดิน ตามที่มีภาคธุรกิจต่างๆ รวมถึงประชาชนยื่นหนังสือขอให้พิจารณา เช่น การผ่อนชำระ ส่วนลดอัตราภาษี
⦁ จับตา‘ชัชชาติ’รื้ออัตรา ดัดหลังแลนด์ลอร์ด
อีกไฮไลต์ที่เกิดขึ้นตามมาติดๆ หลังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นพ่อเมืองคนใหม่ พร้อมเปิดไอเดียเพิ่มประสิทธิภาพเก็บภาษีที่ดินให้ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยจะยกเว้นภาษีให้หากเอกชนมีที่ดินเปล่า ยังไม่ใช้ประโยชน์นำมาให้ กทม.พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ แทนการปลูกกล้วย และขอสภา กทม.ออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราภาษีที่ดินใหม่ แต่จะต้องไม่เกินจากเพดานที่กฎหมายกำหนด โดยที่ดินเกษตรกรรมอัตราเพดานไม่เกิน 0.15% บ้านพักอาศัยไม่เกิน 0.3% ที่ดินอื่นๆ และรกร้างว่างเปล่าไม่เกิน 1.2% โดยมีคิวเข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เจ้าของกระทรวงคลองหลอด วันที่ 6 มิถุนายน 2565 ถกปัญหาอุปสรรคการบังคับใช้กฎหมายภาษีที่ดิน และช่องทางการปรับอัตราภาษีใหม่ให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
“กทม.จะขอความชัดเจน ไม่ให้ใช้ดุลพินิจในการประเมินภาษีว่าแบบไหนจะเข้าเกณฑ์หรือไม่เข้าเกณฑ์ที่อยู่อาศัยหรือเกษตรกรรม โดยต้องกำหนดให้ชัด เช่น ที่ดินเกษตรกรรมต้องพัฒนาบนพื้นที่สีเขียวตามที่ผังเมืองรวมกำหนด ไม่ใช่อยู่บนพื้นที่สีแดงพาณิชยกรรม หากจะมีการทบทวนใหม่คงต้องเป็นการเก็บภาษีของปี 2566 แต่ขึ้นอยู่กับสภา กทม.จะอนุมัติหรือไม่” แหล่งข่าวจาก กทม.กล่าว
คงต้องลุ้นไอเดีย “ผู้ว่าฯชัชชาติ” จะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน แต่แค่ขายไอเดียผ่านสื่อ ก็ทำให้เศรษฐีที่ดินสะดุ้งกันเป็นแถว
ระทึก! กบน.เคาะราคาดีเซลวันนี้ ตลาดโลกพุ่งแรงกดดันขยับแตะ 34 บ./ลิตร
https://www.matichon.co.th/economy/news_3384783
ระทึก! กบน.เคาะราคาดีเซลวันนี้ ตลาดโลกพุ่งแรงกดดันขยับแตะ 34 บ./ลิตร
รายงานข่าวจากสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) แจ้งว่า วันที่ 6 มิถุนายนนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ที่มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุม จะพิจารณาราคาดีเซลประจำสัปดาห์ระหว่างวันที่ 7-13 มิถุนายน 2565 จากปัจจุบันอยู่ที่ 32.94 บาทต่อลิตร โดยหลังการประชุม นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะเป็นผู้แถลงข่าว เบื้องต้นจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่สูงต่อเนื่องแม้กลุ่มโอเปกพลัสตัดสินใจที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันมากขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2565 จึงเป็นเหตุผลการปรับขึ้นราคาดีเซลสัปดาห์ใหม่นี้ แต่ก็ต้องรอนโยบายจากที่ประชุมอีกครั้ง
“ต้องรอนโยบายกบน. เพราะดีเซลเพิ่งปรับขึ้น 1 บาทต่อลิตร เป็น 32.94 บาทต่อลิตร ภายใต้เพดานไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา หลังจากตรึงนาน 3 สัปดาห์ นับตั้งแต่ประกาศขึ้น 2 บาทต่อลิตร เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา”รายงานข่าวระบุ
ด้านรายงานข่าวจากหน่วยวิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) แจ้งว่า ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลอุปทานตึงตัว แม้ว่าโอเปกพลัสจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นก็ตาม
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังตลาดกังวลอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปกพลัสจะยังไม่เพียงพอและสามารถชดเชยกำลังการผลิตที่หายไปจากรัสเซียได้ รวมถึง อุปสงค์ที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากสหรัฐฯ ที่ตลาดแรงงานเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเดือน พ.ค. และจีนที่เริ่มทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์ที่เมืองเซี่ยงไฮ้และกรุงปักกิ่งซึ่งจะส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ของจีนคาดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
กลุ่มโอเปกพลัสมีมติปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นราว 648,000 บาร์เรลต่อวันในเดือน ก.ค. และ ส.ค. ซึ่งมากกว่าข้อตกลงเดิม ที่จะเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพียง 432,000 บาร์เรลต่อวัน จนถึงเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายแห่งคาดว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจริงจะค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกำลังการผลิตสำรอง (Spare Capacity) ของกลุ่มมีจำกัดและส่วนใหญ่อยู่ที่ซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติของสหรัฐฯ ทรงตัวจากสัปดาห์ก่อนหน้า แม้ว่าราคาจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง โดย Baker Hughes รายงานปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติทรงตัวที่ระดับ 727 แท่นสำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 3 มิ.ย.
น้ำมันเบนซิน
ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ ประกอบกับ อุปสงค์ในภูมิภาคโดยเฉพาะจากอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
น้ำมันดีเซล
ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ประกอบกับ การส่งออกจากเอเชียและตะวันออกกลางไปยังตลาดยุโรปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังยุโรปประกาศลดการนำเข้าน้ำมันจากรัสเซียภายใน 8 เดือน