วิธีทำงานของบริษัท Consultation & มหากาพย์ย้ายงาน - แชร์ประสบการณ์หางานสาย Tech ในออสเตรเลีย (ตอน 3 จบ)

กระทู้นี้เป็นตอนสุดท้าย ใน Series เล่าให้ฟังเรื่องการผจญภัยสมัครงานสาย Tech ที่ออสเตรเลียครับ ซึ่งถ้ายังไม่เคยอ่านตอนก่อนหน้านี้ มาอ่านเฉพาะตอนนี้ก็รู้เรื่อง และตอนนี้เป็นเรื่องการทำงาน & เปลี่ยนงานโดยเฉพาะ น่าจะนำประสบการณ์นี้ไปปรับใช้ได้ทุกประเทศ (รวมถึงที่ไทยด้วย) จึงขออนุญาตตั้งเป็นกระทู้ใหม่ครับ

อย่างไรก็ตาม เพื่ออถรรถรส และเก็บทิปต่าง ๆ ที่แนะนำไปในตอนก่อนหน้านี้ แนะนำให้อ่านให้ครบทุกตอนน่าจะสนุก และได้ประโยชน์โดยเฉพาะคนที่กำลังหางานแรกอยู่

อ่านตอนก่อนหน้านี้ได้ที่นี่เลย:
ตอนที่ 1: เริ่มหางานที่ออสเตรเลียระหว่างเรียน อ่านได้ที่ https://ppantip.com/topic/41441324
ตอนที่ 2: สัมภาษณ์หลากหลายบริษัท กว่าจะได้งานแรก อ่านได้ที่ https://ppantip.com/topic/41446036 

เชิญอ่านตอนจบกันได้เลยครับ
ตอนที่ 3.1 บริษัท Data Consultancy ทำอะไรบ้าง

 
รูป: บริษัทส่งไป Conference ที่อเมริกา ก็เลยเนียน ๆ ไปเยี่ยมออฟฟิส Google ที่ Silicon Valley ก่อนไปงานครับ

หลังจากตอนที่แล้ว ที่ได้งานด้าน Data Consultancy ก็เข้ามาทำงานในบริษัทด้านนี้ได้สามปีกว่า ได้พัฒนาตัวเองไปเยอะมาก ทั้งด้าน Technical และด้าน Soft Skills (เช่น วิธีคุยกับลูกค้า, วิธีดูแลทีม, วิธีดูแลโปรเจค ฯลฯ)

บริษัทด้าน Data Consultancy พอมีคำว่า Consultancy ซึ่งแปลว่า “ที่ปรึกษา” คนอาจจะเข้าใจว่าเราเข้าไปคุยทั้งวันหรือเปล่า

แต่จริง ๆ แล้ว คือ บริษัทแบบ Consultancy ที่เป็นด้าน Tech จะเน้นส่งเราเข้าไปในโปรเจคของบริษัทใหญ่อื่น ๆ หรือบางครั้งก็ส่งไปทั้งทีมเลย เพื่อทำงานให้สำเร็จลุล่วง จึงมีทั้งคุยกับลูกค้าด้วย และมีทั้งเขียนโค้ดด้วย ในบางตำแหน่งอาจจะไม่ได้คุยกับลูกค้าเลย อาจจะได้คุยแค่กับทีมตัวเอง และเขียนโค้ดอย่างเดียวด้วยซ้ำ

อันนี้ไม่ใช่เฉพาะบริษัท​ Consulting ในต่างประเทศนะครับ แต่บริษัท Consulting ในไทยก็ทำงานแบบนี้เหมือนกัน (บางบริษัทอาจจะเรียกตัวเองว่าเป็นแนว ๆ Outsource)

สิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากที่นี่ และนำมาใช้จนถึงวันนี้ คือ จากเดิมที่ผมรู้แค่การทำงานของ Data Scientist จากตอนเรียนปริญญาโท ก็ได้มาเรียนรู้และได้ทำโปรเจคด้าน Data Engineering, Cloud Computing เยอะมาก ซึ่งเปลี่ยนมุมมองชีวิตของผมไปเยอะ

(สำหรับท่านที่ไม่ได้ทำงานด้าน Data ขออธิบายแบบสั้น ๆ ว่า 2 สายนี้ Data Scientist กับ Data Engineer ทำงานคนละด้านกันครับ ส่วนถ้าต้องการรู้แบบละเอียด ผมเคยเขียนเล่าไว้ในนี้คร้าบ https://blog.datath.com/data-engineer-vs-data-scientist/ )

นอกจากนั้น การทำงานในบริษัทแบบ Consultancy ทำให้ผมได้เจอองค์กรหลากหลายรูปแบบ ทำให้มีโอกาสเข้าไปทำงานทั้งบริษัทในตลาดหุ้นออสเตรเลียด้าน Retail (ค้าขายสินค้า), Telecommunication (การสื่อสาร), รวมถึงองค์กรรัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งปกติถ้าเราสมัครไปตรง ๆ ก็คงยาก แถมคงจะลาออกทุก 6-7 เดือนไปอยู่แต่ละที่ ก็คงดูไม่ดีเท่าไหร่

—---------

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

ความเห็นส่วนตัว ว่าการเข้างานในบริษัทแบบ Consultancy ที่ใหญ่หน่อย เป็นบริษัทแรก (หรือแม้แต่บริษัทที่สอง สาม สี่) จะตัวเลือกที่น่าสนใจมากครับ เพราะบริษัท Consultancyจะมีให้เรียน ให้สอบฟรี เราอัพสกิลได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเองเลย หรือบางเรื่องจากที่เราไม่รู้ อยู่ ๆ เจอโปรเจคด้านนี้ ก็ต้องไปศึกษามา หรือเก็บ Certificate มา แน่นอนว่าบริษัทออกเงินให้หมด (จุดนี้บางคนอาจจะไม่ชอบ แต่สำหรับคนที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ หรือคนอยู่ในช่วงเริ่มเรียนรู้ มันคือดีมากกกกกกกก)

สาเหตุที่เค้าจ่ายเงินให้เราเยอะแยะ เพราะว่าธุรกิจ Consultancy จะได้เงินจากการที่ส่งคนเก่ง ๆ เข้าไปในโปรเจคลูกค้าครับ แปลว่าถ้าเราอัพสกิล บริษัทก็จะสามารถให้เราไปทำในโปรเจคที่ยากได้ เราก็ได้ความรู้ จุดนี้ผมคิดว่าวิน - วิน

บางบริษัทจ่ายเงินให้ไปงานสัมมนา (Conference) ต่างประเทศเพื่ออัพสกิลด้วย (จริง ๆ ไปเที่ยวมากกว่า)  อย่างผมมีโอกาสได้ไปอเมริกาในปี 2018 กับ 2019 โดยไม่ต้องออกเงินสักบาท บินฟรี พักฟรี กินฟรี ต้องกราบขอบคุณบริษัทเลยครับ

อีกอย่าง คือ การทำงานในบริษัทแบบ Consultancy เราจะได้ร่วมโปรเจคหลากหลาย ได้เจอคนหลากหลาย ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าองค์กรแบบไหนเหมาะกับเรา คนแบบไหนที่เราทำงานด้วยแล้วมีความสุข 

และสุดท้าย บริษัท Consultancy บางที่ เงินเดือนก็อยู่ในระดับค่อนข้างดีด้วยครับ คนที่อยากเก็บเงินน่าจะชอบ (หรือมีใครไม่ชอบบ้าง o_o)

—---------
 
รูป: เมลเบิร์นช่วงโควิดก็ยังทำงานอยู่ (แต่ Work from home) ทุกร้านปิดหมด ถนนสายนี้อยู่หน้าสถานีรถไฟหลักของเมือง ปกติจะมีคนเยอะมากกกกก

สรุปว่า ผมทำงานด้าน Data Consultancy มา 3 ปีกว่า แฮปปี้ดีมากครับ บริษัทเลี้ยงดี คนในบริษัทนิสัยดี เติบโตในด้านสกิล และหน้าที่การงานมากแบบเห็นได้ชัด เงินเดือนก็ไม่ใช่ปัญหา บริษัทมีการปรับเงินเดือนขึ้นทุกปี

พอผมอยู่บริษัทนี้ไปเรื่อย ๆ เพื่อนที่บริษัทก็ลาออกทุกปี จากที่เมื่อก่อนไปออฟฟิสต้องจำหน้าคนได้บ้าง หลัง ๆ เริ่มไม่รู้แล้วว่าใครเป็นใคร ตอนแรกผมก็สงสัยว่า ลาออกเพราะบริษัทดูแลไม่ดีหรือเปล่า แต่พอสืบไปสืบมาก็เจอว่า

ที่อื่นให้เงินเดือนมากกว่า…

เมื่อก่อน ผมคิดว่าเงินเดือนที่อยู่ตอนนี้ก็ถือว่าสูงแล้ว แต่มีเพื่อนที่ไปลองสมัครงานบริษัทอื่น ปรากฏว่าได้ Offer ที่เงินเดือนเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 40%

พอไปสืบมาลึกขึ้น ก็เจอว่า ไม่ว่าจะด้วยกระแสโควิด หรืออะไรก็ตาม ทำให้บริษัทหันมาโฟกัสที่ Tech มากขึ้น และยอมจ่ายเงินเดือนสาย Tech เพิ่มขึ้นเพื่อชิงตัวกัน เงินเดือนเลยพุ่ง

จากมุมมองส่วนตัว ผมคิดว่าเทรนด์เงินเดือนสาย Tech ที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่ในต่างประเทศ ที่ไทยก็เป็น จากเมื่อก่อนตอนผมอยู่ไทย เงินเดือนสาย Tech 6 หลักไม่เคยเห็นเลย ตอนนี้เห็นบริษัทประกาศหางาน 6 หลักเป็นเรื่องปกติ (โดยเฉพาะบริษัทต่างประเทศ)

ด้วยเหตุนี้ เรื่องเงินก็เลยเป็นเหตุผลนึงที่ทำให้เราอยากหาดูว่ามีโอกาสงานอะไรบ้างในตลาดที่ดูดีกว่าที่เดิมมั้ย และอีกสิ่งที่ผมอยากเรียนรู้ คือ หลังจากที่ทำงานเข้า-ออกโปรเจคมาหลายปีแล้ว อยากทำงานในบริษัทที่มีสินค้า / บริการเป็นของตัวเองบ้าง ซึ่งเราจะเรียกบริษัทแบบนี้ว่า Product Company
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่