💚มาลาริน/โต้ด้วยความจริง! โวยสื่อบิดเบือน ชัชชาติ VS ศาลรธน. ชี้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล.ล. ดึงเงินมาใช้ทำลายวินัยการคลัง

เพี้ยนปักหมุดโวยสื่อบิดเบือน ชัชชาติ VS ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ดึงเงินมาใช้ทำลายวินัยการคลัง



พบชาวเน็ตรายหนึ่ง โวยสื่อบิดเบือนข้อมูลปม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท สร้างรถไฟความเร็วสูง สมัยชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม หาว่าที่ไม่ผ่านเพราะถนนลูกรังไม่หมดไป แจงละเอียดยิบ เหตุถูกตีตกเพราะทำลายวินัยการคลัง ส่อทุจริต ถ้ากฎหมายนี้ผ่าน รัฐบาลยิ่งลักษณ์ดึงเงินจากคลังได้อย่างอิสระ ไม่ผ่านสำนักงบประมาณ 

วันนี้ (25 พ.ค.) บนโซเชียลฯ แชร์ข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Traipop Srikeawnit ได้โพสต์ข้อความกรณีที่สื่อออนไลน์แห่งหนึ่ง นำเสนอประวัติของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งระบุว่า ในสมัยที่นายชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม มีโปรเจ็กต์ "สร้างอนาคตประเทศไทย" สร้างรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ มูลค่า 2 ล้านล้านบาท แต่ถูกศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่า ทำถนนลูกรังให้หมดไปจากประเทศไทย ก่อนที่จะคิดถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเห็นว่านำเสนอข้อมูลเท็จ

โดยกล่าวว่า "การที่กฎหมายกู้เงิน พ.ร.บ. 2 ล้านล้านไม่ได้ไปต่อ ไม่ใช่เพราะเหตุผล เพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไป ตามที่สื่อและสังคมบางส่วนพยายามที่จะบิดเบือนเพื่อกลบเกลื่อนความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ (ชินวัตร) ซึ่งมีชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม ณ ขณะนั้น ซึ่งมีส่วนทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้า เพราะต้องชะลอโครงการต่างๆ ไว้ก่อนเพื่อที่จะออกกฎหมายนี้

ตัวกฎหมายกู้เงินนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความพยายามทำลายความโปร่งใส พยายามฉ้อราษฎร์บังหลวง พยายามทำลายวินัยการคลัง และอาจส่อที่จะเกิดทุจริตแบบที่เคยเกิดกับคดีจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ระบุชัดเจนว่า #การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย 4 ฉบับดังนี้......👇
1. งบประมาณรายจ่าย
2. วิธีการงบประมาณ
3. เกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ
4. ว่าด้วยเงินคงคลัง

แต่ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นกฎหมายที่อยากจะนำเงินแผ่นดินไปจ่าย แต่กลับไม่อยู่ 4 กลุ่มประเภทตามที่รัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 บัญญัติไว้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8

- รายละเอียด -
- บทนำ -

สาระสำคัญทำไมหมวด 8 (มาตรา 166 – 170) รัฐธรรมนูญ ปี 2550 จึงสำคัญมากในระบบการคลังของไทย นั่นเพราะ...

1. ความโปร่งใส (TRANSPARENCY) รัฐบาลมีหน้าที่นำ เสนอร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย เพื่อให้รัฐสภาผ่านเป็นกฎหมายหรือเพื่อทราบ ในกรณีที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดต่างๆ และเปิดเผยต่อสาธารณะ ทำให้สามารถตรวจสอบได้

2. การถ่วงดุล (CHECKS AND BALANCES) แม้ว่าอำนาจการเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเป็นของรัฐสภา แต่รัฐธรรมนูญ ปี 2550 หมวด 8 ก็มีการกำหนดเงื่อนเวลา และกติกา เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา องค์กรอิสระ และรัฐบาลต้องทำงานร่วมกัน ในการพิจารณางบประมาณรายจ่าย
เพื่อให้สามารถผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้อย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ไม่เกิดกรณี เช่น การปิดชั่วคราว (Temporary Shutdown) ของหน่วยราชการ ของสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม 2556 อันเนื่องจากรัฐบาลไม่อาจบรรลุข้อตกลง กับฝ่ายค้านในสภาได้ทันเวลา

3. การรักษาความมั่นคงของระบบการคลัง (FISCAL INTEGRITY) การใช้จ่ายและการบริหารการเงินของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านงบประมาณแผ่นดิน และนอกงบประมาณ ต้องอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้จ่ายเกินตัว หากมีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินคงคลังไปก่อน ก็ต้องหารายได้มาชดเชยให้ในปีถัดไป เพื่อไม่ให้เงินคงคลังหร่อยหรอลง

4. ความคล่องตัว (FLEXIBILITY) แม้ว่าอำนาจการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายอยู่กับรัฐสภา แต่ในบางกรณี เช่น กรณีฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วน หรือกรณีที่รัฐสภาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายไม่ทันตามเวลาที่กำหนด ก็มีทางออกให้ฝ่ายบริหาร สามารถดำเนินการเพื่อใช้งบประมาณรายจ่ายได้ และรายจ่ายพิเศษบางรายการที่มีกฎหมายอนุญาตไว้

ดังนั้น รัฐบาลมีหน้าที่ต้องบริหาร 2 ขา

ขาที่ 1 คือ บริหารรายได้ รวมถึงเงินกู้ ขาที่ 2 การบริหารรายจ่ายในบางประเภท โดยมีกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลไว้ทั้ง 2 ขาซึ่งต้องกระทำภายใต้กรอบของกฎหมายที่วางไว้

โดยในส่วนขาที่ 2 การบริหารรายจ่ายนั้น รัฐบาลต้องจัดทำ “งบประมาณรายจ่าย” เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาทุกปี ย้ำ ทุกปี ทั้งนี้ต้องมีการจัดทำประมาณการรายได้ ประกอบการพิจารณารายจ่ายด้วย จะได้รู้ว่า เกินดุล หรือขาดดุลมากน้อยเพียงใด
โดยกฎหมาย ได้กำหนดให้รัฐบาลต้องจัดทำ “งบประมาณรายจ่าย” อยู่ในรูปแบบของพระราชบัญญัติ ที่ต้องผ่านสภา รัฐบาลจะไปมุบมิบออกกันเองไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดเลย คือ มีกระบวนการที่ซับซ้อนและละเอียดกว่ากฎหมายโดยทั่วไป อาทิ รัฐบาลต้องมีรายละเอียดข้อมูล ต้องผ่านชั้นกรรมาธิการ ตรวจสอบทั้งเหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ความพร้อมอย่างถี่ถ้วนที่สุด อาจมีการขอให้เรียกหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายปฎิบัติหรือใช้เงินนี้เข้ามาชี้แจงอีกด้วย หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่สภา และเมื่อผ่านสภา รัฐบาลถึงจะนำเงินไปใช้ได้

ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความซับซ้อน และมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ นั้นก็เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนั้นโปร่งใส และรักษาความมั่นคงทางการคลังให้มากที่สุด

หลังจากปูพื้นความรู้เบื้องต้นแล้ว คราวนี้เรามาเจาะลึกถึงตัว พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านกันบ้าง

กฎหมายนี้ คืออะไร ? กฎหมายต้องการให้อำนาจรัฐบาลสามารถกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทเป็นเวลา 7 ปีเพื่อไปสร้างระบบขนส่งทั่วประเทศ แปลว่า ?

1. การกู้นี้ผูกพันวงเงินสูงมากถึง ร้อยละ 80 ของงบประมาณ ปี 2556

2. ผูกพันระยะเวลาไปถึงเกินรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ และ กินไปถึงรัฐบาลอีก 2 ชุด

3. กฎหมายนี้ทำตัวเองเป็น 2 หน้าที่ หน้าที่แรก คือ กฎหมายกู้เงิน หน้าที่ที่สองคือ อนุมัติงบประมาณรายจ่ายด้วย เพราะมีบัญชีแนบท้ายที่กำหนดแผนงาน และวงเงิน ที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้เลยทันที โดยไม่ผ่านประบวนการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วน อย่างที่ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย จะต้องทำซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้น จุดนี้นับว่าเป็นไพ่ตายสำคัญเลยทีเดียวที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป

พูดง่ายๆ คือ กฎหมายนี้แทบจะทำตัวเป็นธานอส ที่เพียงแค่คุณดีดนิ้ว ผู้มีอำนาจก็สามารถอ้างเหตุใดๆ ก็ได้ในการใช้จ่าย เพราะกฎหมายฉบับนี้มีแค่ "แผนงาน" (ที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง) และ "วงเงิน" (ที่ยังไม่ผ่านการศึกษา)

และนั่น กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านนี้แทบจะทำให้ความพยายามที่จะควบคุมการใช้เงินแผ่นดินต้องโปร่งใส และมั่นคงทางการคลังแทบจะไร้ความหมาย เพราะหากกฎหมายกู้เงินฉบับนี้ผ่านสภา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็จะใช้แค่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) มากำหนดรายการจ่ายเงินกันเองได้อย่างอิสระ (ดึงเงินจากคลังมาได้โดยไม่ต้องผ่านสำนักงบประมาณ)
ถ้าเรายังจำกันได้ ตอนที่สภามีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี มีการถ่ายทอดสด มีการอภิปรายงบแต่ละกระทรวงให้เราได้เห็นเพื่อความโปร่งใส นั่นแหละครับคือความสำคัญของการออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณฯ

แต่นี้ไม่ใช่ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน กลับจะให้อำนาจฝ่ายบริหารกู้เงินเอง จัดสรรงบเอง อนุมัติเงินเอง สั่งจ่ายเงินเอง แถมปรับเปลี่ยนรายการได้เองตามใจชอบ เช่นนี้ก็มันขัดแย้งกับหลักการของหมวด 8 รัฐธรรมนูญ ที่อยากให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนั้น อยู่ในกรอบวินัยการคลัง โปร่งใส มีระบบถ่วงดุล

หากเราเปรียบเทียบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินระหว่าง 2 กฎหมาย คือ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน และ พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 56 กลับพบว่า...👇

พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 56 มีแผนงานละเอียดถึง 990 แผนงาน สำหรับวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท แต่ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ที่ใช้วงเงินถึง 2 ล้านล้านกลับมีแผนงานเพียงแค่ 8 แผนงาน โอ้แม่เจ้า !!

โดยรัฐสภาซึ่งขณะนั้นคุมเสียงข้างมากโดยพรรคเพื่อไทยได้อนุมัติเงินก้อนใหญ่นี้ โดยมีแผนงานแค่ 8 แผนงาน และให้อำนาจรัฐบาลไปสั่งจ่ายกำหนดวงเงินที่มีผลในทางปฎิบัติเองภายหลังได้ การกระทำนี้จึงเปรียบเสมือน เขียนเช็คสั่งจ่ายใบใหญ่ 2 ล้านล้านบาท โดยไม่ระบุเงื่อนไขใดๆ

- พาร์ทจบบทสรุป -
การที่กฎหมายกู้เงิน พ.ร.บ. 2 ล้านล้านไม่ได้ไปต่อ ไม่ใช่เพราะเหตุผล เพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไป ตามที่สื่อและสังคมบางส่วนพยายามที่จะบิดเบือนเพื่อกลบความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม ณ ขณะนั้น ทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้า เพราะต้องชะลอโครงการต่าง ๆ ไว้ก่อนเพื่อที่จะออกกฎหมายนี้
ตัวกฎหมายกู้เงินนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีความพยายามทำลายความโปร่งใส พยายามฉ้อราษฎร์บังหลวง พยายามทำลายวินัยการคลัง และอาจส่อที่จะเกิดทุจริต แบบที่เคยเกิดกับคดีจำนำข้าว จนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ระบุชัดเจนว่า #การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย 4 ฉบับดังนี้...👇
1. งบประมาณรายจ่าย 
2. วิธีการงบประมาณ 
3.เกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ 
4. ว่าด้วยเงินคงคลัง

แต่ พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นกฎหมายที่อยากจะนำเงินแผ่นดินไปจ่าย แต่กลับไม่อยู่ 4 กลุ่มประเภทตามที่รัฐธรรมนูญ ปี 50 มาตรา 169 บัญญัติไว้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8

ป.ล. ในปัจจุบัน ก็มีโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน หรือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ซึ่งก็สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปออก พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านแบบในอดีตให้ผิดกฎหมาย จนเสียโอกาสการพัฒนาประเทศเลย

ดังนั้น หากจะโทษใครที่ทำให้โครงการ 2 ล้านล้านนั้นไม่ผ่าน อย่าโทษศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตัดสินได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่จงโทษรัฐบาลที่พยายามผลักดันกฎหมายฉบับนี้ จนทำให้ประเทศเสียหาย และโอกาส

ป.ล. ผมไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวกับชัชชาตินะครับ ชื่นชมเป็นการส่วนตัวด้วย และอยากเห็นประเทศพัฒนา แต่ต้องไม่ใช่การบิดเบือนความผิด และโทษคนอื่นเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด"

อ่านโพสต์ต้นฉบับ คลิกที่นี่

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000049510

 ..คนรู้จริง รู้ทัน มีมากมายในประเทศไทย

แม้ชัชชาติจะชนะอย่างท่วมท้น แต่ก็ไม่พ้นการตรวจสอบไปได้

จะเขียนดำเป็นขาวให้ชัชชาติ คงต้องคิดให้มากสักหน่อยนะคะ

ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่