สะกดคำ'รับผิดชอบ'ไม่เป็น
สะกดคำ'รับผิดชอบ'ไม่เป็น : บทบรรณาธิการประจำวันที่ 13 มี.ค.2557
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งในส่วนของเนื้อหาและกระบวนการตราร่างกฎหมาย จึงมีผลให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีอันต้องตกไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 169 ระบุว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องกระทำผ่านกฎหมายงบประมาณรายจ่าย กฎหมายด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ดังนั้นการใช้วิธีพิเศษตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงชัดเจนว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนกระบวนการพิจารณากฎหมายมีการลงคะแนนแทนกัน ทั้งนี้เห็นได้ชัดมาตั้งแต่แรกในช่วงออก พ.ร.บ.แล้ว ที่มีหลายฝ่ายท้วงติง แต่รัฐบาลก็ไม่ให้ความสนใจจนเกิดการตั้งปมว่ามีวาระซ่อนเร้นในเรื่องนี้หรือไม่ สำหรับแผนโครงการตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นแผนพัฒนา 7 ปี ทั้งรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อหัวเมืองใหญ่ไปบรรจบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปัญหาใหญ่ของโครงการที่ถูกคัดค้านมากที่สุดเป็นเรื่องการกู้เงินและวินัยการเงินการคลังที่ประชาชนต้องแบกรับภาระ รวมถึงความคุ้มค่าของโครงการต่อประเทศจริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับตัวเลขขนาดการลงทุนมโหฬาร ซึ่งนายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เคยให้ความเห็นว่า ไม่ได้ต่อต้าน แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีการ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่บัญญัติเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังไว้ ที่สำคัญต้องชำระเงินกู้ถึง 50 ปี ปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ย 5% จะมีค่าใช้จ่าย 1.1 แสนล้าน เป็นภาระงบประมาณปีละ 1.54 แสนล้านบาท รัฐบาลพยายามยกเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมในการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี ให้เติบโตขึ้นได้ อีกทั้งเป็นการกระจายความเจริญไปสู่หัวเมืองใหญ่และชนบท รวมทั้งเชื่อมต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่อีกหลายปมที่มีการตั้งคำถาม แต่ไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัด เช่น เรื่องความโปร่งใสการใช้งบประมาณ ความเคลือบแคลงใจที่อาจจะเกิดสภาพการณ์คล้ายกับช่วงหนึ่งที่รัฐบาลในอดีตริเริ่มทำโครงการใหญ่ แต่กลับมีการปั่นราคาที่ดินกันมากมายโดยอาศัยช่องว่างเอื้อพวกพ้อง เพราะคนวงในสามารถรับรู้ข้อมูลก่อน ดังนั้นด้วยข้อข้องใจเหล่านี้ จึงทำให้สังคมไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล โดยเฉพาะการที่กลุ่มทุนต่างๆ เป็นคนใกล้ชิดและแวดล้อมอยู่กับคนในรัฐบาลด้วย ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติแล้ว จึงอยู่ที่รัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบ อย่างไรตามหลักการรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล แต่ก็คงเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ยากจากรัฐบาลชุดนี้ เพราะหลายเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถถามหาความรับผิดชอบได้เลย อย่าว่าแต่การแสดงความรับผิดชอบที่ต้องมาจากจิตสำนึกภายในของตัวเอง ซึ่งเห็นได้จากเรื่องการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การกดบัตรลงคะแนนแทนกัน ความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นนโยบายประชานิยมสุดโต่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็มีผู้ทักท้วงถึงความผิดพลาดและความไม่ชอบมาพากล ส่อว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่รัฐบาลไม่เคยแยแส และเมื่อถูกวินิจฉัยชี้ขาดและมีการทวงถามถึงความรับผิดชอบต่อการกระทำ ก็ยิ่งชัดเจนว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่สนใจความรู้สึกของสังคม
และสะกดคำว่า "รับผิดชอบ" ไม่เป็น
ที่มา
http://www.komchadluek.net/detail/20140313/180726.html
สะกดคำ'รับผิดชอบ'ไม่เป็น
สะกดคำ'รับผิดชอบ'ไม่เป็น : บทบรรณาธิการประจำวันที่ 13 มี.ค.2557
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้ว่า ร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งในส่วนของเนื้อหาและกระบวนการตราร่างกฎหมาย จึงมีผลให้ร่างกฎหมายฉบับนี้มีอันต้องตกไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 169 ระบุว่า การจ่ายเงินแผ่นดินจะต้องกระทำผ่านกฎหมายงบประมาณรายจ่าย กฎหมายด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ และกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ดังนั้นการใช้วิธีพิเศษตามร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงชัดเจนว่าขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนกระบวนการพิจารณากฎหมายมีการลงคะแนนแทนกัน ทั้งนี้เห็นได้ชัดมาตั้งแต่แรกในช่วงออก พ.ร.บ.แล้ว ที่มีหลายฝ่ายท้วงติง แต่รัฐบาลก็ไม่ให้ความสนใจจนเกิดการตั้งปมว่ามีวาระซ่อนเร้นในเรื่องนี้หรือไม่ สำหรับแผนโครงการตาม พ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน เป็นแผนพัฒนา 7 ปี ทั้งรถไฟรางคู่ และรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อหัวเมืองใหญ่ไปบรรจบกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ปัญหาใหญ่ของโครงการที่ถูกคัดค้านมากที่สุดเป็นเรื่องการกู้เงินและวินัยการเงินการคลังที่ประชาชนต้องแบกรับภาระ รวมถึงความคุ้มค่าของโครงการต่อประเทศจริงหรือไม่ เมื่อเทียบกับตัวเลขขนาดการลงทุนมโหฬาร ซึ่งนายพิสิฐ ลี้อาธรรม คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เคยให้ความเห็นว่า ไม่ได้ต่อต้าน แต่ปัญหาอยู่ที่วิธีการ เพราะไม่มีกฎหมายรองรับ และขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 ที่บัญญัติเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังไว้ ที่สำคัญต้องชำระเงินกู้ถึง 50 ปี ปีละ 4.4 หมื่นล้านบาท ถ้าคิดดอกเบี้ย 5% จะมีค่าใช้จ่าย 1.1 แสนล้าน เป็นภาระงบประมาณปีละ 1.54 แสนล้านบาท รัฐบาลพยายามยกเหตุผลมาสร้างความชอบธรรมในการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยมั่นใจว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือจีดีพี ให้เติบโตขึ้นได้ อีกทั้งเป็นการกระจายความเจริญไปสู่หัวเมืองใหญ่และชนบท รวมทั้งเชื่อมต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่อีกหลายปมที่มีการตั้งคำถาม แต่ไม่มีคำอธิบายที่กระจ่างชัด เช่น เรื่องความโปร่งใสการใช้งบประมาณ ความเคลือบแคลงใจที่อาจจะเกิดสภาพการณ์คล้ายกับช่วงหนึ่งที่รัฐบาลในอดีตริเริ่มทำโครงการใหญ่ แต่กลับมีการปั่นราคาที่ดินกันมากมายโดยอาศัยช่องว่างเอื้อพวกพ้อง เพราะคนวงในสามารถรับรู้ข้อมูลก่อน ดังนั้นด้วยข้อข้องใจเหล่านี้ จึงทำให้สังคมไม่เชื่อมั่นต่อรัฐบาล โดยเฉพาะการที่กลุ่มทุนต่างๆ เป็นคนใกล้ชิดและแวดล้อมอยู่กับคนในรัฐบาลด้วย ดังนั้นเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีมติแล้ว จึงอยู่ที่รัฐบาลจะแสดงความรับผิดชอบ อย่างไรตามหลักการรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล แต่ก็คงเป็นสิ่งที่คาดหวังได้ยากจากรัฐบาลชุดนี้ เพราะหลายเรื่องที่เกิดขึ้นก็ไม่สามารถถามหาความรับผิดชอบได้เลย อย่าว่าแต่การแสดงความรับผิดชอบที่ต้องมาจากจิตสำนึกภายในของตัวเอง ซึ่งเห็นได้จากเรื่องการผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การกดบัตรลงคะแนนแทนกัน ความล้มเหลวของโครงการรับจำนำข้าวที่เป็นนโยบายประชานิยมสุดโต่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็มีผู้ทักท้วงถึงความผิดพลาดและความไม่ชอบมาพากล ส่อว่าจะเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่รัฐบาลไม่เคยแยแส และเมื่อถูกวินิจฉัยชี้ขาดและมีการทวงถามถึงความรับผิดชอบต่อการกระทำ ก็ยิ่งชัดเจนว่า รัฐบาลชุดนี้ไม่สนใจความรู้สึกของสังคม
และสะกดคำว่า "รับผิดชอบ" ไม่เป็น
ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140313/180726.html