พระสอนมั่วเรื่อง "อุเบกขา" หรือสอนให้งง

กระทู้สนทนา
อุเบกขา
       1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง
           (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐)
       2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข);
           (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓)
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

พระบางรูปสอนให้วางเฉย กับทุกเรื่องที่เกิดขึ้นในชีวิต กลายเป็นไทยเฉย อย่าไปยุ่ง อยู่เฉยๆแล้วดีเอง อย่าหาเรื่องใส่ตัว ตัวใครตัวอัน เอาตัวเองให้รอดดีกว่า
อันนี้พระรูปนั้นสอนมั่ว จะวางเฉยได้ ต้องพิจารณาด้วยปัญญาเสียก่อน ไม่งั้นจะไปเข้าข้อ 2

อุเบกขา ในทางพุทธวจนะ คือการรับรู้เวทนาที่เกิดขึ้นแล้วปล่อยวาง (สุข, ทุกข์, เฉยๆ) พิจารณาด้วยปัญญา เป็นคนละอย่างกับอาการเฉยๆ
เพี้ยนลาเวนเดอร์

ขั้นสุดคือ การที่เราอยู่ในสภาวะอุเบกขาได้แล้ว มีวิญญาณไปรับรู้อยู่ด้วย ตรงนี้คือสิ่งที่ยากที่สุดคือ การละอุเบกขา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่