หาความรู้จริงจังกับ อุเบกขา

กระทู้สนทนา
- จากกระทู้ที่แล้ว ท่าน 297 ได้มีเมตตากรุณาแนะ อุเบกขา 10 
- ท่าน a235 แนะอุเบกขาในฌาน
- ท่านอื่นๆก็แนะ อุเบกขา ในการปฏิบัติของตน
------
- กระผมก็คิดว่า เมื่อเราสนใจเรื่อง อุเบกขา จิตก็เป็นกุศล ดีกว่าไปทำอย่างอื่น ก็เลยเจาะเรื่อง อุเบกขา เพื่อทำความเข้าใจให้ได้สักทีครับ
- เปิดดูหลายอย่าง ก็ทำความเข้าใจไปเข้าใจได้แบบคร่าวๆ เพราะยังไม่ได้ฌาน 4 หรือ ฌาน 5 นะครับ (ฌาน 1 - 3 ก็ยังไม่ได้ครับ)
-----
https://www.facebook.com/W.Indhasara/
จากเฟสบุคส์ของอาจารย์วศิน อินทสระ เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2014  

มีข้อความเรื่อง อุเบกขา 10 ประการดังนี้ 
อุเบกขา 10 ประการ
เมื่อชำนาญในวสี 5 แล้วก็พิจารณาถึงโทษของปีติและสุขว่ายังหยาบ แล้วก็คลายปีติและสุขนั้น เข้าสู่ทุติยฌาน คือ ฌานที่ 2 ในฌานอื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกัน 
เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ท่านก็จะเรียกว่า อุเปกขโก เป็นผู้วางเฉย เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ มีอุเบกขา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน มีสติ มีสัมปชัญญะ อันนี้เป็นฌานที่ 3
อุเบกขา 10 ประการ
1. ฉฬัคุเบกขา 
- อุเบกขาที่ประกอบด้วยองค์ 6 คือ การวางเฉยในอารมณ์ทั้ง 6 คือ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ในอารมณ์ทั้ง 6 ตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น
2. พรหมวิหารุเบกขา 
- การวางเฉยในพรหมวิหาร อุเบกขาที่กล่าวถึงในพรหมวิหารก็คือ วางใจเป็นกลาง เว้นอคติ 4 และวางเฉยในเหตุสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้ มีเมตตาแล้ว กรุณาแล้ว มุทิตาแล้ว แต่ช่วยอะไรเขาไม่ได้ ก็ต้อง สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน วางใจเป็นกลางเสีย ตกลงใจว่าสุดแล้วแต่กรรมของเขา เว้นอคติ 4 ไม่ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว หรือเพราะหลง
3. โพชฌังคุเบกขา 
- อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก ก็ค่อนข้างสูงนะครับ
4. วิริยุเบกขา 
- อุเบกขาที่เกี่ยวกับความเพียร อันนี้หมายความว่า อุเบกขา คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป
5. สังขารุเบกขา 
- การวางเฉยในสังขาร ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5
6. เวทนูเบกขา 
- อุเบกขาในเวทนา หมายถึง อุเบกขาเวทนา คือ อทุกขมสุขเวทนา เป็นท่ามกลางระหว่างสุขและทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข
7. วิปัสสนูเบกขา 
- อุเบกขาที่เกี่ยวกับวิปัสสนาปัญญา อิงอาศัยพิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
8. ตัตรมัชฌัตตุเบกขา 
- คือ การวางเฉยในอารมณ์นั้น ๆ ทุก ๆ อย่าง
9. ฌานุเบกขา 
- อุเบกขาในฌาน ในที่นี้ หมายถึง ตติยฌาน อุเปกฺขโก จ วหรติ สโต จ สมฺปชาโน มีอุเบกขาอยู่ มีสติและสัมปชัญญะ
10. ปาริสุทธุเบกขา 
- อุเบกขาอันบริสุทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องในฌานที่ 4 นี่หมายถึงอุเบกขาในฌานที่ 4 เช่น คำว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าสู่จตุตถฌาน ซึ่งมีสติบริสุทธิ์อยู่ เพราะอุเบกขา
------
ผมอ่านของท่านอาจารย์แล้ว ก็มีในข้อ 2 ส่วนข้อ 1 ยังต้องอาศัยการพิจารณาเมื่อ ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้ลิ้มรส กายได้สัมผัส และ ใจได้คิด อยู่ 
-----
แล้วผมก็มาดูในคำศัพท์
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D8%E0%BA%A1%A2%D2

- อ่านแล้ว
-----
https://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D8%E0%BA%A1%A2%D2&detail=on

------
และก็ได้ไปอ่านในพระอรรถกถาจารย์
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=11

- อ่านจนจบแล้วสามารถเข้าใจได้คร่าวๆ 
----
แล้วก็ไปอ่าน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
 
๔. ภยเภรวสูตร
ว่าด้วยสิ่งที่เป็นภัยและน่าหวาดกลัว
             [๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=517&Z=751

- ได้อ่านจบแล้ว พระพุทธเจ้าท่านสอนพราหมณ์ จนกระทั่งท่านพราหมณ์ขอมีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
----------
อ่านรวมๆแล้วในนี้ พระอรรถกถาจารย์ ได้แนะนำ อุเบกขา ตั้งแต่ทุติยฌาน ครอบคลุมจนครบ อุเบกขา 10 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ละเอียดที่สุด(มีความรู้มากที่สุด)
- สรุปว่า อุเบกขา ก็เป็นธรรมหนึ่งที่รู้กันไปตามลำดับ ของความเหมาะสมแต่ละระดับของผู้ปฏิบัติธรรมครับ (สรุปอย่างนี้ไม่รู้ถูกหรือเปล่า)
- แต่พระอรรถกถาจารย์ชัดเจนครับ ในการไล่เลียงอุเบกขา 10 เป็นตามลำดับขั้นไป ทำให้จดจำง่าย (ว่าอยู่ที่ไหน)
---------
- อุเบกขา ข้อ 2 ใน 10 ข้อ กระผมมีอยู่แล้ว
- อุเบกขา ข้อ 1 นั้น ถ้าไม่มีสติ ก็จะไม่มี แต่ถ้ามีสติก็จะพิจารณาได้ถึงความเฉยๆ ครับ
- ส่วนอุเบกขาข้ออื่นๆ ยังไม่มี
- กราบขอบพระคุณทุกท่านในกระทู้ก่อนๆ แต่ก็ดีครับ ได้เห็นอุเบกขาในการปฏิบัติของท่านต่างๆด้วย ทำให้เปิดหูตาให้กว้างไกลขึ้นครับ และเป็นเรื่องน่าสนใจครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่