ไม่แผ่วเลย! ยกโขยง ขึ้นราคา รับเปิดเทอม ดูเลยทั้งหมู-ปลา-ผัก-หอมแดง
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7055515
ไม่แผ่วเลย! ยกโขยง ขึ้นราคา รับเปิดเทอมวันแรก หมู-ปลา-ผัก-หอมแดง หมูสามชั้นพุ่ง 245 บาท/กก. หอมแดงขึ้น 10 บาท ปลาสวาย ปรับ 5 บาท
วันที่ 18 พ.ค.2565 รายงานข่าวจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แจ้งถึงราคาอาหารสด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 17 พ.ค.2565 ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าพบว่า สินค้าหลายรายการมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น เช่น สุกรมีชีวิต หน้าฟาร์ม ราคาขายส่งปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท/กก. เป็น 101-102 บาท/กก. ขณะที่ สุกรชำแหละหน้าฟาร์ม ราคาขายส่ง ปรับเพิ่มขึ้น 2 บาท/กก. เป็น122-123 บาท/กก.
ส่งผลให้ราคาขายปลีก เนื้อสันนอก ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 205-215 บาท/กก., เนื้อแดง สะโพก ตัดแต่ง ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 195-205 บาท/กก., เนื้อสันใน ปรับขึ้น 4 บาท/กก. เป็น 192-194 บาท/กก. และเนื้อสามชั้น ตัดแต่ง ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 225-245 บาท/กก.
นอกจากนี้ ราคาสัตว์น้ำหลายรายการยังปรับราคาเพิ่มขึ้น เช่น ปลาหมึกกระดอง คละ ปรับขึ้น 10-20 บาท/กก. เป็น 180-260 บาท/กก., หอยลาย คละ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 60-80 บาท/กก., หอยแมลงภู่ คละ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 50-70 บาท/กก., ปลาสวาย ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 50-60 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงในขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนผักสดบางรายการยังปรับราคาขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ผักบุ้งจีน ปรับขึ้น 5 บาท เป็น 30-35 บาท/กก., ผักกวางตุ้ง ปรับขึ้น 5 บาท เป็น 30-35 บาท/ก.ก., ผักกาดหอม คัด ปรับขึ้น 15 บาท/กก. เป็น 65-70 บาท/กก., หอมแดงภาคเหนือ ตัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้นกก.ละ 10 บาท เป็น 50-60 บาท/กก.,
หอมแดงภาคเหนือ มัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 45-50 บาท/กก., หอมแดงศรีสะเกษ ตัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 50-60 บาท/กก., หอมแดงศรีสะเกษ มัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 45-50 บาท/กก.
เอกชนขอคงราคาดีเชล32บาท นานที่สุดขยายลดภาษีอีก2ด.
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_340959/
ภาคเอกชนขอรัฐบาลคงราคาดีเซลที่ 32 บ. ให้นานที่สุด และขยายลดภาษีสรรพสามิตอีก 2 เดือน เพื่อชะลอต้นทุนการผลิต
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลคงราคาน้ำมันดีเซลออกไปอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการ หรือหากเป็นไปได้อยากให้คง ราคาไว้ที่ 32 บาทต่อลิตรให้นานที่สุด และขอให้ขยายระยะเวลาการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลออกไปอีกอย่างน้อย 2 เดือน หลังจากสิ้นสุดมาตรการในรอบแรกวันที่ 20 พฤษภาคม เพื่อช่วยทั้งผู้ประกอบการและภาคประชาชน
นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศหลังจากมีการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ เพราะหากอำนวยความสะดวก และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าเป้าหมายเดิมที่ 5-6 ล้านคน
เป็น8-10 ล้านคนในปีนี้ได้ จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เร็วขึ้น กำลังซื้อของภาคประชาชนกลับมาดีขึ้น เนื่องจากจะมีการจ้างงานและลดภาระทางการคลังของรัฐบาลได้
แต่อย่างไรก็ตามมองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในเวลานี้ยังคงมีความจำเป็น โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หากทำได้เร็วจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการหมุนเวียนดีขึ้น และเติบโตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นกแอร์ ถกหนัก บินเบตงต่อหรือไม่ คาด 3 เดือน ขาดทุนสูง 40 ล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3350000
สายการบิน Nok Air เผย เส้นทาง กรุงเทพ – เบตง มีสถานะเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงมีการขาดทุน โดยคาดว่าจะขาดทุนสูงถึง 40 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่เปิดให้บริการ ทำให้สายการบินลังเลที่จะขยายเวลาให้บริการในระยะยาว
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นาย
วุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Nok Air เปิดเผยว่า สายการบิน Nok Air เส้นทาง กรุงเทพ – เบตง มีสถานะเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงมีการขาดทุน โดยคาดว่า จะขาดทุนสูงถึง 40 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่เปิดให้บริการ ทำให้สายการบินลังเลที่จะขยายเวลาให้บริการในระยะยาว แม้เส้นทางจะมีปัจจัยด้านการบรรทุกมากกว่า 90% แต่บริษัทก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุของการหยุดให้บริการในอนาคตได้ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูง และสายการบินได้ขอให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนค่าบริการทางอากาศ และค่าบริการของท่าอากาศยาน 7 แห่ง ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตาม สายการบินได้รับการสนับสนุนเพียงบางส่วนเท่านั้น
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเครื่องบินที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น โดยเฉพาะในเส้นทางเบตง ซึ่งมีระยะทางไกลสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ โดยมีเวลาบินเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 45 นาที Nok Air ยังสูญเสียโอกาสในการทำกำไรจากการใช้เครื่องบิน เนื่องจากเส้นทางอื่นใช้เวลาน้อยกว่า
“เราต้องตัดสินใจว่าจะขยายการให้บริการสำหรับเส้นทางนี้ออกไปหรือไม่ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโปรโมชั่นกับผู้ให้บริการทัวร์ในเดือนกรกฎาคม” นาย
วุฒิภูมิ กล่าว
นับตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ที่นั่งส่วนใหญ่ก็เต็มไปด้วยลูกค้าจากกลุ่มทัวร์ที่ใช้สิทธิพิเศษจาก “
ทัวร์เที่ยวไทย” โปรแกรมที่ให้เงินอุดหนุน 40% อย่างไรก็ตาม บริษัททัวร์ยังมีจุดหมายทางการตลาดอื่นๆ อีกมากเช่นเดียวกับเบตง ซึ่งหมายความว่าอนาคตของเส้นทางนี้ยังไม่ชัดเจน
นาย
วุฒิภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สายการบินอยู่ระหว่างการเจรจากับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดและการสนับสนุนในระยะยาว ถ้าหากมีแผนการสนับสนุนที่ดี การให้บริการอาจจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ก็น่าจะไปต่อได้ สายการบินถูกขอให้จำกัดราคาค่าโดยสารให้ต่ำกว่า 2,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาเรื่องเงินอุดหนุนด้านบริการท่าอากาศยาน เพราะต้นทุนนี้คิดเป็นเกือบ 15% ของต้นทุนการดำเนินงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน นายวุฒิภูมิ กล่าวว่า ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินหลายแห่งในประเทศไทยได้หารือเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สั่งให้สายการบินเก็บจากผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศนั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับระยะเวลาของโครงการ เนื่องจากความต้องการด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในขณะที่การเดินทางกลับมีต้นทุนสูงขึ้น สายการบินกำลังพิจารณาขอให้กระทรวงเลื่อนโครงการออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
JJNY : ยกโขยงขึ้นราคารับเปิดเทอม│เอกชนขอดีเซลขยายลดภาษีอีก2ด.│นกแอร์ถกหนักบินเบตง│‘เสี่ยโจ้’แย้มดินเนอร์ยังไม่ยกเลิกนัด!
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7055515
ไม่แผ่วเลย! ยกโขยง ขึ้นราคา รับเปิดเทอมวันแรก หมู-ปลา-ผัก-หอมแดง หมูสามชั้นพุ่ง 245 บาท/กก. หอมแดงขึ้น 10 บาท ปลาสวาย ปรับ 5 บาท
วันที่ 18 พ.ค.2565 รายงานข่าวจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ แจ้งถึงราคาอาหารสด ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 17 พ.ค.2565 ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงสัปดาห์ก่อนหน้าพบว่า สินค้าหลายรายการมีการปรับราคาเพิ่มขึ้น เช่น สุกรมีชีวิต หน้าฟาร์ม ราคาขายส่งปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท/กก. เป็น 101-102 บาท/กก. ขณะที่ สุกรชำแหละหน้าฟาร์ม ราคาขายส่ง ปรับเพิ่มขึ้น 2 บาท/กก. เป็น122-123 บาท/กก.
ส่งผลให้ราคาขายปลีก เนื้อสันนอก ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 205-215 บาท/กก., เนื้อแดง สะโพก ตัดแต่ง ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 195-205 บาท/กก., เนื้อสันใน ปรับขึ้น 4 บาท/กก. เป็น 192-194 บาท/กก. และเนื้อสามชั้น ตัดแต่ง ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 225-245 บาท/กก.
นอกจากนี้ ราคาสัตว์น้ำหลายรายการยังปรับราคาเพิ่มขึ้น เช่น ปลาหมึกกระดอง คละ ปรับขึ้น 10-20 บาท/กก. เป็น 180-260 บาท/กก., หอยลาย คละ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 60-80 บาท/กก., หอยแมลงภู่ คละ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 50-70 บาท/กก., ปลาสวาย ปรับขึ้น 5 บาท/กก. เป็น 50-60 บาท/กก. เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง จากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและเป็นอุปสรรคต่อการทำประมงในขณะที่ความต้องการบริโภคยังมีอย่างสม่ำเสมอ
ส่วนผักสดบางรายการยังปรับราคาขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน เช่น ผักบุ้งจีน ปรับขึ้น 5 บาท เป็น 30-35 บาท/กก., ผักกวางตุ้ง ปรับขึ้น 5 บาท เป็น 30-35 บาท/ก.ก., ผักกาดหอม คัด ปรับขึ้น 15 บาท/กก. เป็น 65-70 บาท/กก., หอมแดงภาคเหนือ ตัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้นกก.ละ 10 บาท เป็น 50-60 บาท/กก.,
หอมแดงภาคเหนือ มัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 45-50 บาท/กก., หอมแดงศรีสะเกษ ตัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 50-60 บาท/กก., หอมแดงศรีสะเกษ มัดจุก หัวใหญ่ ปรับขึ้น 10 บาท/กก. เป็น 45-50 บาท/กก.
เอกชนขอคงราคาดีเชล32บาท นานที่สุดขยายลดภาษีอีก2ด.
https://www.innnews.co.th/news/economy/news_340959/
ภาคเอกชนขอรัฐบาลคงราคาดีเซลที่ 32 บ. ให้นานที่สุด และขยายลดภาษีสรรพสามิตอีก 2 เดือน เพื่อชะลอต้นทุนการผลิต
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยว่า ภาคเอกชนต้องการให้รัฐบาลคงราคาน้ำมันดีเซลออกไปอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการ หรือหากเป็นไปได้อยากให้คง ราคาไว้ที่ 32 บาทต่อลิตรให้นานที่สุด และขอให้ขยายระยะเวลาการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลออกไปอีกอย่างน้อย 2 เดือน หลังจากสิ้นสุดมาตรการในรอบแรกวันที่ 20 พฤษภาคม เพื่อช่วยทั้งผู้ประกอบการและภาคประชาชน
นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศหลังจากมีการเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ เพราะหากอำนวยความสะดวก และเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่าเป้าหมายเดิมที่ 5-6 ล้านคน
เป็น8-10 ล้านคนในปีนี้ได้ จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศฟื้นตัวได้เร็วขึ้น กำลังซื้อของภาคประชาชนกลับมาดีขึ้น เนื่องจากจะมีการจ้างงานและลดภาระทางการคลังของรัฐบาลได้
แต่อย่างไรก็ตามมองว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนในเวลานี้ยังคงมีความจำเป็น โดยเฉพาะโครงการคนละครึ่งเฟส 5 หากทำได้เร็วจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดการหมุนเวียนดีขึ้น และเติบโตได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
นกแอร์ ถกหนัก บินเบตงต่อหรือไม่ คาด 3 เดือน ขาดทุนสูง 40 ล้าน
https://www.matichon.co.th/economy/news_3350000
สายการบิน Nok Air เผย เส้นทาง กรุงเทพ – เบตง มีสถานะเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงมีการขาดทุน โดยคาดว่าจะขาดทุนสูงถึง 40 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่เปิดให้บริการ ทำให้สายการบินลังเลที่จะขยายเวลาให้บริการในระยะยาว
เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Nok Air เปิดเผยว่า สายการบิน Nok Air เส้นทาง กรุงเทพ – เบตง มีสถานะเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงมีการขาดทุน โดยคาดว่า จะขาดทุนสูงถึง 40 ล้านบาทตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่เปิดให้บริการ ทำให้สายการบินลังเลที่จะขยายเวลาให้บริการในระยะยาว แม้เส้นทางจะมีปัจจัยด้านการบรรทุกมากกว่า 90% แต่บริษัทก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียดังกล่าว ซึ่งเป็นสาเหตุของการหยุดให้บริการในอนาคตได้ปัจจัยที่สำคัญที่สุด คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูง และสายการบินได้ขอให้รัฐบาลช่วยอุดหนุนค่าบริการทางอากาศ และค่าบริการของท่าอากาศยาน 7 แห่ง ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตาม สายการบินได้รับการสนับสนุนเพียงบางส่วนเท่านั้น
นอกจากนี้ ราคาน้ำมันเครื่องบินที่พุ่งสูงขึ้นทำให้ต้นทุนการดำเนินงานสูงขึ้น โดยเฉพาะในเส้นทางเบตง ซึ่งมีระยะทางไกลสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ โดยมีเวลาบินเฉลี่ย 1 ชั่วโมง 45 นาที Nok Air ยังสูญเสียโอกาสในการทำกำไรจากการใช้เครื่องบิน เนื่องจากเส้นทางอื่นใช้เวลาน้อยกว่า
“เราต้องตัดสินใจว่าจะขยายการให้บริการสำหรับเส้นทางนี้ออกไปหรือไม่ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโปรโมชั่นกับผู้ให้บริการทัวร์ในเดือนกรกฎาคม” นายวุฒิภูมิ กล่าว
นับตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน ที่นั่งส่วนใหญ่ก็เต็มไปด้วยลูกค้าจากกลุ่มทัวร์ที่ใช้สิทธิพิเศษจาก “ทัวร์เที่ยวไทย” โปรแกรมที่ให้เงินอุดหนุน 40% อย่างไรก็ตาม บริษัททัวร์ยังมีจุดหมายทางการตลาดอื่นๆ อีกมากเช่นเดียวกับเบตง ซึ่งหมายความว่าอนาคตของเส้นทางนี้ยังไม่ชัดเจน
นายวุฒิภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สายการบินอยู่ระหว่างการเจรจากับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาดและการสนับสนุนในระยะยาว ถ้าหากมีแผนการสนับสนุนที่ดี การให้บริการอาจจะสามารถดำเนินการต่อไปได้ก็น่าจะไปต่อได้ สายการบินถูกขอให้จำกัดราคาค่าโดยสารให้ต่ำกว่า 2,000 บาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาเรื่องเงินอุดหนุนด้านบริการท่าอากาศยาน เพราะต้นทุนนี้คิดเป็นเกือบ 15% ของต้นทุนการดำเนินงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน นายวุฒิภูมิ กล่าวว่า ผู้บริหารระดับสูงของสายการบินหลายแห่งในประเทศไทยได้หารือเรื่องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สั่งให้สายการบินเก็บจากผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศนั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับระยะเวลาของโครงการ เนื่องจากความต้องการด้านการท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ในขณะที่การเดินทางกลับมีต้นทุนสูงขึ้น สายการบินกำลังพิจารณาขอให้กระทรวงเลื่อนโครงการออกไปจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น