5 วิธีเช็กเท้าแบนโดยแพทย์เฉพาะทาง


การเช็กว่าตัวเองเท้าแบนไหม เบื้องต้นผู้ป่วยสามารถเช็กได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง โดยการยืนลงน้ำหนักแล้วเทียบความสูงอุ้งเท้าด้านใน ระหว่างตอนยืนกับตอนนั่ง หากไม่ปรากฏส่วนโค้งเว้าขณะยืน แสดงว่ามีแนวโน้มเกิดภาวะเท้าแบน

แต่หากไม่มั่นใจแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

โดยแพทย์จะสังเกตลักษณะเท้าตั้งแต่ด้านหน้าและหลังเท้า รวมทั้งให้ผู้ป่วยลองยืนขึ้นเพื่อดูลักษณะเท้าตอนยืน และดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยประกอบด้วย  รวมทั้งดูรองเท้าที่สวมว่ามีลักษณะการสวมที่ผิดปกติหรือไม่

หากผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวดที่เท้า อาจได้รับการตรวจด้วยภาพสแกนต่าง ๆ เพื่อหาสาเหตุ ดังนี้

1. X-RAY แพทย์จะเอกซเรย์กระดูกและข้อต่อของเท้า เพื่อตรวจหาอาการข้ออักเสบ
2. CT SCAN วิธีนี้จะทำโดยเอกซเรย์เท้าของผู้ป่วยหลายมุม ซึ่งจะช่วยให้ได้ข้อมูลมากขึ้น
3. ULTRASOUND ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่เอ็นจะต้องทำอัลตราซาวด์ โดยการใช้คลื่นเสียงประมวลภาพเนื้อเยื่ออ่อนภายในร่างกายออกมา
4. MRI แพทย์จะทำเอ็มอาร์ไอซึ่งเป็นการใช้คลื่นวิทยุและสนามแม่เหล็กประมวลภาพของเนื้อเยื่อในร่างกาย

ซึ่งทั้งนี้หากผู้ป่วยมีภาวะเท้าแบนจริง แพทย์ก็จะดำเนินการรักษาได้อย่างถูกต้องและตรงจุด

ข้อมูลโดย นพ. กฤษฎิ์ พฤกษะวัน ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ - เท้าและข้อเท้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่