🇹🇭มาลาริน🧡5พ.ค.ไทยไม่ติดTop10โลก/ป่วย9,790คน หายป่วย17,109คน ตาย54คน/เตรียมพร้อมโรคประจำถิ่น/ไทยเตรียมแถลงเวทีโลก


https://www.sanook.com/news/8556410/

https://www.bangkokbiznews.com/news/1002605

เพี้ยนแคปเจอร์รมว.สธ.สั่ง 3 กระทรวงเตรียมความพร้อมรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น


รองนายกรัฐมนตรี “อนุทิน” มอบกระทรวงในการกำกับดูแลสาธารณสุข คมนาคม ท่องเที่ยว ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น รองรับฟื้นฟูเศรษฐกิจตามนโยบายนายกรัฐมนตรีเป็นไปอย่างรอบด้าน

วันนี้ (5 พ.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ช่วง 2 สัปดาห์หลังเทศกาลสงกรานต์ การแพร่ระบาดทรงตัว และผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงโดยต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่สนับสนุนการเตรียมประเทศเข้าสู่การประกาศโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (Endemic)

ทั้งนี้ นายอนุทิน ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานภายใต้ 3 กระทรวง ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการดำเนินงาน วางแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนการให้บริการประชาชน นักท่องเที่ยว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เมื่อโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

“การเตรียมการสู่โรคประจำถิ่นขณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเฉพาะของด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่รองนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายหน่วยงานภายใต้การดูแลทั้งคมนาคมและการท่องเที่ยว ให้เตรียมการแนวปฏิบัติต่างๆ ให้พร้อม เพื่อให้การเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องและรอบด้าน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว 
 
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ในด้านของสาธารณสุขรองนายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำว่า การเข้าสู่โรคประจำถิ่นจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการที่ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อให้ใช้ชีวิตอยู่กับโควิดที่จะเป็นโรคประจำถิ่นได้ รู้วิธีป้องกันและดูแลตัวเองให้ปลอดภัย 
 
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีความพร้อมขณะนี้ก็ได้เริ่มนำร่องเตรียมการบริหารโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น หรือ Endemic Sandbox เช่น กรณีของกรุงเทพมหานคร ที่มีความพร้อมในหลายด้านทั้งจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่ลดลง การฉีดวัคซีนครอบคลุมสูง กระทรวงสาธารณสุขก็ได้มีข้อแนะนำสำหรับการจัดการ Endemic Sandbox ในพื้นที่สำคัญ เช่น สวนสาธารณะ ที่มีคนจำนวนมาก ขนส่งสาธารณะ ตลอดจนกิจการที่มีความเสี่ยง โดยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยกระดับการผ่อนคลายอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้ประชาชนปรับตัวให้ช่วงเปลี่ยนผ่านเป็นไปอย่างราบรื่น

https://mgronline.com/politics/detail/9650000042496

เพี้ยนแคปเจอร์สธ.-WHO สรุปถอดบทเรียนไทยรับมือ 'โควิด' สำเร็จจาก 5 ปัจจัย เตรียมแถลงในเวทีโลกปลาย พ.ค.นี้



5 พ.ค.65- นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงผลสรุปการจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า หรือ Universal Health and Preparedness Review (UHPR) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-29 เมษายน 2565
นายอนุทินกล่าวว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 ในการนำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด 19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ
 
คือ 1.มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ 

2.ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ

3.มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม.

4.มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน

และ 5.มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล

ส่วนอุปสรรคและความท้าทายที่ยังสามารถพัฒนาได้ คือ การบูรณาการข้อมูลจากหลายแหล่ง, การดูแลกลุ่มเปราะบาง เช่น แรงงาน ผู้อาศัยในชุมชนแออัด ให้เข้าถึงบริการสุขภาพมากขึ้น, การเตรียมความพร้อมรับภาวะฉุกเฉินในเขตเมืองและระบบปฐมภูมิ, การต่อยอดหรือสร้างความยั่งยืนในการใช้นวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น และการจัดการกับขยะทางการแพทย์หรือขยะติดเชื้อ โดยมีข้อเสนอให้เพิ่มการลงทุนเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้สามารถใช้งานต่อเนื่อง พัฒนากำลังคนแบบสหสาขาและนำกลยุทธ์ที่ใช้ได้ดีไปเตรียมพร้อมรับมือการระบาดครั้งต่อไป ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสุขภาพ สุขภาวะของประชาชนที่ครอบคลุมถึงกลุ่มเปราะบาง ยกระดับขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองด้านวัคซีน ยา ชุดตรวจ และเวชภัณฑ์ พัฒนากลยุทธ์ในการบูรณาการข้อมูล รวมถึงค้นหาและบันทึกตัวอย่างที่ดี บทเรียนที่สำคัญในการจัดการกับการระบาดใหญ่เพื่อเผยแพร่ต่อไป
 
“ประเทศไทยได้รับคำชมจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ถึงนโยบายและมาตรการแนวทางการดำเนินงานดูแลประชาชน ทั้งการรักษาพยาบาลผู้ป่วยและการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 ทางองค์การอนามัยโลก ระบุว่ายินดีสนับสนุนและร่วมทำงานกับประเทศไทย โดยขอให้ประเทศไทยจัดทำรายงาน UHPR และเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เพื่อขอความเห็นชอบรายงาน นอกจากนี้ ให้เตรียมการแถลงประสบการณ์ UHPR ในที่ประชุม World Health Assembly (WHA) ปลายเดือนพฤษภาคม 2565 และร่วมกับอีก 3 ประเทศนำร่องในการทบทวนปรับปรุงกระบวนการ UHPR ให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำไปใช้ในประเทศอื่นๆ” นายอนุทินกล่าว

https://www.thaipost.net/education-news/136038/

นานาเรียนติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ

สถานการณ์ดีขึ้นต่อเนื่อง

.....🤟✌️💕🤟✌️💕
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2565 เวลา 12.30 น.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคไวรัสโควิด-19
ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2565


[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
รวมสไลด์แถลงสถานการณ์โควิด-19 จาก ศบค.
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555399916078337


จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. 2564 - 4 พ.ค. 2565)
รวม 134,175,785 โดส ใน 77 จังหวัด

ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 4 พฤษภาคม 2565
ยอดฉีดทั่วประเทศ 144,809 โดส

เข็มที่ 1 : 17,808 ราย
เข็มที่ 2 : 47,584 ราย
เข็มที่ 3 : 79,417 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 56,343,422 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 51,447,253 ราย
จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 26,385,110 ราย

แหล่งข้อมูล : MOPH-IC
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555343552750640


ฟื้นฟูได้ อาการ “Long COVID”

ที่มา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555294456088883


กทม. เปิดจองฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ผ่าน แอปฯ QueQ
สอบถามเพิ่มเติม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2203 2883

ที่มา : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555318809419781


สธ. เผย !! แนวทางการจัดตั้ง ‘คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID’
ให้คำปรึกษา – ส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยแพร่แนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” โดยแบ่งแนวทางการจัดการออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่
1. ด้านการให้บริการ 2. ด้านบุคลากรที่ให้บริการ 3. ระบบสารสนเทศในการดำเนินการ
4. การเข้าถึงระบบ ผลิตภัณฑ์ และบริการ 5. ระบบการเงินการคลัง 6. ภาวะผู้นำการอภิบาล

สำหรับแนวทางการจัดตั้ง “คลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID” คือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตั้งคลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID ขึ้นในโรงพยาบาลทุกระดับ โดยให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic)

ในส่วนของรูปแบบ คลินิกจะให้บริการแบบผู้ป่วยนอก ผ่านการนัดหมายการรับบริการหรือให้บริการผ่านระบบพบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ทั้งคลินิก Long COVID และคลินิกเสมือนจริง (Virtual clinic) โดยสถานที่และวันเวลานั้น ใช้การจัดตั้งในสถานพยาบาลทุกระดับ โดยเฉพาะหน่วยบริการระดับปฐมภูมิเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว ซึ่งจะเปิด-ปิด ตามเวลาราชการ หรืออาจดำเนินการเฉพาะวันโดยเน้นระบบการนัดหมายล่วงหน้า

ที่มา : กรมการแพทย์
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555323356085993


แม้ OMICRON จะไม่มีอาการรุนแรง
แต่ยังควรป้องกันตัวเองด้วย 4 เหตุผลนี้

ที่มา : ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555325149419147


ข้อแนะนำการดูแลตนเองเบื้องต้น
สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีอาการไข้

ที่มา : หมอพร้อม
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555336382751357


รายละเอียดผู้เสียชีวิตของประเทศไทย
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565 จำนวน 54 ราย
แหล่งข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข
https://www.facebook.com/informationcovid19/posts/555400996078229


5 ปัจจัย WHO ถอดบทเรียน ไทยรับมือ “โควิด” สำเร็จ

คณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรณีโควิด19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ คือ

1. มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ
2. ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ
3. มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม.
4. มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน
5. มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล

ที่มา : ศบค.
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/555426909408971



กทม. เตรียมเปิดคลินิก Long COVID ใน รพ. 9 แห่ง เริ่ม 9 พ.ค. นี้

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า กรุงเทพมหานคร เตรียมเปิดคลินิกรักษาผู้ป่วย Long COVID เพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่พ้นระยะเฉียบพลันและยังคงมีอาการผิดปกติในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ครอบคลุมการให้คำปรึกษา การตรวจประเมิน การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือตรวจพิเศษ การวินิจฉัย การดูแลรักษา ติดตามอาการ และการส่งต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (กรณีจำเป็น) ในรูปแบบการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Onsite และ Online Telemedicine) โดยเปิดคลินิก 1 วัน/สัปดาห์ เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 9 พ.ค. 65 เป็นต้นไป ในวันและเวลาราชการ

คุณสมบัติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิก Long COVID จะต้องเป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป ผู้ป่วยสามารถรับบริการผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้
1. ผู้ป่วยมาเข้ารับบริการที่คลินิกปกติ และแพทย์วินิจฉัยอาการที่เข้าได้กับ Long COVID และส่งผู้ป่วยมาที่คลินิกดังกล่าว
2. ผู้ป่วยที่สงสัยอาการตนเองและเข้ามารับบริการที่คลินิก Long COVID โดยตรง

การรักษาพยาบาลเป็นไปตามสิทธิของผู้ป่วย

ผู้ป่วยโควิด-19 ที่หายป่วยมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป สามารถรับบริการได้ที่โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 9 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลกลาง ณ คลินิกประกันสุขภาพ ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
2. โรงพยาบาลตากสิน ณ ARI Clinic ทุกวันจันทร์ เวลา 13.00-16.00 น.
3. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
4. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินธฺโร อุทิศ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
5. โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 13.00-16.00 น.
6. โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ณ คลินิกอายุรกรรม ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
7. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ณ ARI Clinic ทุกวันพุธ เวลา 13.00-16.00 น.
8. โรงพยาบาลสิรินธร ณ คลินิกวัณโรค ทุกวันอังคาร เวลา 08.00-12.00 น.
9. โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ณ คลินิกผู้ป่วยนอก ทุกวันพุธ 13.00-16.00 น.

สามารถนัดหมายรับบริการผ่าน BFC ของโรงพยาบาลทั้ง 9 แห่ง และขยายช่องทางให้บริการตรวจรักษาผ่านระบบ telemedicine ในแอปพลิเคชัน “หมอ กทม.” เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครผ่านการเบิกจ่ายค่ารักษาตามสิทธิ
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/363394219156255
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่