เจ็บหนัก! ผู้เลี้ยงไก่ โอดต้นทุนสูง พาณิชย์คุมราคา ไม่ให้ปรับขึ้น รายย่อยเจ๊งเพียบ
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7031317
เจ็บหนัก! ผู้เลี้ยงไก่ โอดต้นทุนสูง พาณิชย์คุมราคา ไม่ให้ปรับขึ้น รายย่อยเจ๊งเพียบ ซ้ำกำลังซื้อในตลาดซบเซา ทำยอดขายตก รายย่อยเจ๊งเพียบ
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 นาย
สมบูรณ์ วัชรพงษ์พันธ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เปิดเผยว่า ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายส่งได้ เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดซบเซามาก โดยหากปรับราคาขายจะยิ่งทำให้ยอดขายตกลงอีก รวมทั้งไก่เนื้อยังถูกควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์
“ขณะนี้ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อที่เราผลิตส่งโรงงานชำแหละ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 41บาท/ก.ก. แต่เราขายส่งที่ 41-42 บาท/ก.ก. แทบไม่มีกำไรเลย แต่ก็ปรับราคาขายส่งไม่ได้แม้ว่าต้นทุนจะสูง เพราะกำลังซื้อไม่มี แม้ว่าไทยเริ่มเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้รายย่อยส่วนหนึ่งต้องเลิกเลี้ยงไปจำนวนมาก ฉุดกำลังการผลิตให้ปรับลดลงจากปกติ 33 ล้านตัว/สัปดาห์ “
นาย
สมบูรณ์ กล่าวถึงมาตรการลดต้นทุนราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่กระทรวงพาณิชย์ เปิดให้นำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือนว่า จะต้องรอดูว่ามาตรการดังกล่าวได้ผลหรือไม่ ดีกว่าไม่มีมาตรการอะไรเลย ทั้งนี้ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลราคาขายให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้ผู้เลี้ยงสามารถทำธุรกิจต่อไปได้
เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7031713
เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร เชื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ ถ้าบริหารจัดการดี
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 นาย
ธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานและประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเกษตรของไทยโดยรวมสูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและน้ำมันดีเซลที่รัฐปรับเพดานเกินลิตรละ 30 บาท และส่งผ่านไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปที่ต้องใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“โลกมีแนวโน้มขาดแคลนอาหาร แม้ไทยจะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ถ้าบริหารจัดการให้ดี เราก็ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าหลายประเทศทั่วโลก เพราะไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพวัตถุดิบทางเกษตรมาก รวมถึงปศุสัตว์ที่ไทยมีศักยภาพ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสร้างรายได้ให้กับประเทศไปพร้อมๆ กับการดูแลเกษตรกรที่เป็นรากฐานของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยมุ่งไปสู่อาหารแห่งอนาคตหรือเกษตรที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก”
ดังนั้น ไทยต้องปรับตัวรองรับกับทิศทางต้นทุนที่สูงขึ้น และใช้นวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการ มุ่งสู่เกษตรมูลค่าสูง เน้นตลาดในประเทศและส่งออกที่สมดุลในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแบบยั่งยืน
นาย
ธนารักษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อินโดนีเซียระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนภายในประเทศเมื่อ 27 เม.ย.ผลักดันให้น้ำมันพืชมีราคาสูงสุดทุบสถิติ เนื่องจากอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันปาล์มคิดเป็น 35% ของการส่งออกทั้งหมด และกดดันให้ราคาน้ำมันจากพืชชนิดอื่นสูงตามไปด้วย เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา ฯลฯ ทำให้ราคาน้ำมันพืชในไทยปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามใกล้ชิดว่าอินโดนีเซียจะกลับมาส่งออกเมื่อใด เนื่องจากหากกลับมาส่งออกได้ ระดับราคาน้ำมันปาล์มจะไต่ระดับลดลง
อั้นไม่ไหว! น้ำมันปาล์ม-ถั่วเหลือง ราคาสวิงหนัก ปรับขึ้นทุกอาทิตย์
https://www.matichon.co.th/economy/news_3325358
อั้นไม่ไหว! น้ำมันปาล์ม-ถั่วเหลือง ราคาสวิงหนัก ปรับขึ้นทุกอาทิตย์
แหล่งข่าวจากร้านค้าปลีกและค้าส่ง ย่านบางบัวทอง เปิดเผยว่า วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ได้รับแจ้งจาก 3 บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชปาล์มและถั่งเหลือง ขนาด 1 ลิตร ขอขึ้นราคาขายอีกตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และสินค้ามีน้อย
โดยน้ำมันปาล์มขวด ปรับขึ้นอีก 30 บาทต่อลัง( ลังละ 12 ขวด(ลิตร) ) จากเดิมลังละ 780 บาท เป็น 810 บาท หรือ ขึ้น 2.50 บาทต่อขวด(ลิตร) จาก 65 บาท เป็น 67.50 บาทต่อขวด โดยราคาใหม่นี้เป็นช่วงราคาแค่วันที่ 4- 8 พฤษภาคมเท่านั้น จากนั้นอาจปรับราคาอีกครั้ง
ขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองปรับขึ้น 10 บาทต่อลัง จาก 732 บาท เป็น 742 บาทต่อลัง หรือขึ้น 3 บาทต่อขวด จากเดิม 62 บาท เป็น 65 บาทต่อขวด และจำกัดจำนวนซื้อกับร้านค้า
“ตอนนี้น้ำมันพืชขวด ปรับขึ้นแทบทุกอาทิตย์ ร้านไหนมีสต๊อกเก่า ก็ยังขายราคาเดิมได้ แต่ถ้าสั่งสินค้าล็อตใหม่ ราคาต้องปรับขึ้นตามต้นทุนใหม่ ”
ธปท.เผย ภาคธุรกิจห่วงต้นทุนแพง กดดัชนีความเชื่อมั่นดิ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-923891
ธปท. เปิดดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2565 เผยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนอยู่ในระดับต่ำ เหตุราคาวัตถุดิบ-พลังงานผันผวนสูงจากภาวะสงคราม
วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2565 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายนปรับลดลงทั้ง ในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต โดยเป็นการลดลงจากเกือบทุกองค์ประกอบ ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนทรงตัวในระดับต่ำ
ขณะที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้น และอยู่สูงกว่าระดับ 50 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ดีกว่าปัจจุบันของธุรกิจเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในเดือนเมษายน 2565 ดัชนีปรับลดลงมาอยู่ที่ 48.2 จากเกือบทุกองค์ประกอบที่ปรับลดลง
อย่างไรก็ดี เกือบทุกองค์ประกอบยังอยู่เหนือระดับ 50 ยกเว้นความเชื่อมั่นด้านต้นทุนที่ทรงตัวอยู่ใน ระดับต่ำโดยเฉพาะในภาคการผลิตและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากราคา วัตถุดิบและพลังงานที่ผันผวนสูงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและ ยูเครนที่ยืดเยื้อ ผลักดันให้ราคาสินค้าส่วนหนึ่งปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการพยุงกำลังซื้อของภาครัฐเริ่มทยอยหมดลงส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านค่าสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการปรับลดลง
โดยในภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของธุรกิจส่วนใหญ่ปรับลดลงจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและการผลิตตามภาวะการขาดแคลน ปัจจัยการผลิตที่มากขึ้น และปัจจัยชั่วคราวจากจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่าเดือนก่อน เพราะมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ขณะที่ธุรกิจบริการและการค้าส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากปัจจัยชั่วคราว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ในปีนี้บรรยากาศเริ่มกลับมาคึกคัก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและผลประกอบการของกลุ่มนี้ปรับดีขึ้น ช่วยพยุงให้ดัชนีของภาคที่มิใช่การผลิตปรับลดลงเพียงเล็กน้อย
และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 54.1 จากการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นในเกือบทุกองค์ประกอบและเกือบ ทุกหมวดธุรกิจ แต่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนยังอยู่ในระดับต่ำมาก ตาม ความกังวลต่อราคาปัจจัยการผลิตที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าธุรกิจจะยังขยายตัวจากปัจจุบัน ยกเว้นกลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จาก ความเชื่อมั่นที่ลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบโดยเฉพาะด้านต้นทุน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมาก จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตหลาย รายการผันผวนอยู่ในระดับสูง การบริหารต้นทุนทำได้ยากขึ้นและส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านสภาพคล่องปรับลดลง
โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ประกอบการเห็นว่าต้นทุนการผลิตสูงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ และต้นทุนสูงเป็นข้อจำกัด อันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ ในอีก 12 เดือนข้างหน้าที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.2% จาก 2.8% ในเดือนก่อน
JJNY : 5in1 ผู้เลี้ยงไก่เจ๊งเพียบ│เกษตรอ่วม!│น้ำมันปาล์ม-ถั่วเหลืองสวิงหนัก│ธุรกิจห่วงต้นทุน│‘ยุทธพงศ์’ยื่นสอบท่อส่งน้ำ
https://www.khaosod.co.th/economics/news_7031317
เจ็บหนัก! ผู้เลี้ยงไก่ โอดต้นทุนสูง พาณิชย์คุมราคา ไม่ให้ปรับขึ้น รายย่อยเจ๊งเพียบ ซ้ำกำลังซื้อในตลาดซบเซา ทำยอดขายตก รายย่อยเจ๊งเพียบ
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 นายสมบูรณ์ วัชรพงษ์พันธ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เปิดเผยว่า ต้นทุนการเลี้ยงไก่เนื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์มีราคาแพง แต่ไม่สามารถปรับขึ้นราคาขายส่งได้ เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดซบเซามาก โดยหากปรับราคาขายจะยิ่งทำให้ยอดขายตกลงอีก รวมทั้งไก่เนื้อยังถูกควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์
“ขณะนี้ต้นทุนการผลิตไก่เนื้อที่เราผลิตส่งโรงงานชำแหละ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 41บาท/ก.ก. แต่เราขายส่งที่ 41-42 บาท/ก.ก. แทบไม่มีกำไรเลย แต่ก็ปรับราคาขายส่งไม่ได้แม้ว่าต้นทุนจะสูง เพราะกำลังซื้อไม่มี แม้ว่าไทยเริ่มเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้รายย่อยส่วนหนึ่งต้องเลิกเลี้ยงไปจำนวนมาก ฉุดกำลังการผลิตให้ปรับลดลงจากปกติ 33 ล้านตัว/สัปดาห์ “
นายสมบูรณ์ กล่าวถึงมาตรการลดต้นทุนราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่กระทรวงพาณิชย์ เปิดให้นำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศเป็นเวลา 3 เดือนว่า จะต้องรอดูว่ามาตรการดังกล่าวได้ผลหรือไม่ ดีกว่าไม่มีมาตรการอะไรเลย ทั้งนี้ อยากให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลราคาขายให้เป็นไปตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้ผู้เลี้ยงสามารถทำธุรกิจต่อไปได้
เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7031713
เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร เชื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ ถ้าบริหารจัดการดี
เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานและประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเกษตรของไทยโดยรวมสูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและน้ำมันดีเซลที่รัฐปรับเพดานเกินลิตรละ 30 บาท และส่งผ่านไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปที่ต้องใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
“โลกมีแนวโน้มขาดแคลนอาหาร แม้ไทยจะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ถ้าบริหารจัดการให้ดี เราก็ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าหลายประเทศทั่วโลก เพราะไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพวัตถุดิบทางเกษตรมาก รวมถึงปศุสัตว์ที่ไทยมีศักยภาพ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสร้างรายได้ให้กับประเทศไปพร้อมๆ กับการดูแลเกษตรกรที่เป็นรากฐานของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยมุ่งไปสู่อาหารแห่งอนาคตหรือเกษตรที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก”
ดังนั้น ไทยต้องปรับตัวรองรับกับทิศทางต้นทุนที่สูงขึ้น และใช้นวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการ มุ่งสู่เกษตรมูลค่าสูง เน้นตลาดในประเทศและส่งออกที่สมดุลในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแบบยั่งยืน
นายธนารักษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อินโดนีเซียระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนภายในประเทศเมื่อ 27 เม.ย.ผลักดันให้น้ำมันพืชมีราคาสูงสุดทุบสถิติ เนื่องจากอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันปาล์มคิดเป็น 35% ของการส่งออกทั้งหมด และกดดันให้ราคาน้ำมันจากพืชชนิดอื่นสูงตามไปด้วย เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา ฯลฯ ทำให้ราคาน้ำมันพืชในไทยปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามใกล้ชิดว่าอินโดนีเซียจะกลับมาส่งออกเมื่อใด เนื่องจากหากกลับมาส่งออกได้ ระดับราคาน้ำมันปาล์มจะไต่ระดับลดลง
อั้นไม่ไหว! น้ำมันปาล์ม-ถั่วเหลือง ราคาสวิงหนัก ปรับขึ้นทุกอาทิตย์
https://www.matichon.co.th/economy/news_3325358
อั้นไม่ไหว! น้ำมันปาล์ม-ถั่วเหลือง ราคาสวิงหนัก ปรับขึ้นทุกอาทิตย์
แหล่งข่าวจากร้านค้าปลีกและค้าส่ง ย่านบางบัวทอง เปิดเผยว่า วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ได้รับแจ้งจาก 3 บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันพืชปาล์มและถั่งเหลือง ขนาด 1 ลิตร ขอขึ้นราคาขายอีกตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และสินค้ามีน้อย
โดยน้ำมันปาล์มขวด ปรับขึ้นอีก 30 บาทต่อลัง( ลังละ 12 ขวด(ลิตร) ) จากเดิมลังละ 780 บาท เป็น 810 บาท หรือ ขึ้น 2.50 บาทต่อขวด(ลิตร) จาก 65 บาท เป็น 67.50 บาทต่อขวด โดยราคาใหม่นี้เป็นช่วงราคาแค่วันที่ 4- 8 พฤษภาคมเท่านั้น จากนั้นอาจปรับราคาอีกครั้ง
ขณะที่น้ำมันถั่วเหลืองปรับขึ้น 10 บาทต่อลัง จาก 732 บาท เป็น 742 บาทต่อลัง หรือขึ้น 3 บาทต่อขวด จากเดิม 62 บาท เป็น 65 บาทต่อขวด และจำกัดจำนวนซื้อกับร้านค้า
“ตอนนี้น้ำมันพืชขวด ปรับขึ้นแทบทุกอาทิตย์ ร้านไหนมีสต๊อกเก่า ก็ยังขายราคาเดิมได้ แต่ถ้าสั่งสินค้าล็อตใหม่ ราคาต้องปรับขึ้นตามต้นทุนใหม่ ”
ธปท.เผย ภาคธุรกิจห่วงต้นทุนแพง กดดัชนีความเชื่อมั่นดิ่ง
https://www.prachachat.net/finance/news-923891
ธปท. เปิดดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2565 เผยความเชื่อมั่นด้านต้นทุนอยู่ในระดับต่ำ เหตุราคาวัตถุดิบ-พลังงานผันผวนสูงจากภาวะสงคราม
วันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายน 2565 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนเมษายนปรับลดลงทั้ง ในภาคการผลิตและภาคที่มิใช่การผลิต โดยเป็นการลดลงจากเกือบทุกองค์ประกอบ ขณะที่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนทรงตัวในระดับต่ำ
ขณะที่ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับเพิ่มขึ้น และอยู่สูงกว่าระดับ 50 สะท้อนความเชื่อมั่นที่ดีกว่าปัจจุบันของธุรกิจเกือบทุกกลุ่ม ยกเว้น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในเดือนเมษายน 2565 ดัชนีปรับลดลงมาอยู่ที่ 48.2 จากเกือบทุกองค์ประกอบที่ปรับลดลง
อย่างไรก็ดี เกือบทุกองค์ประกอบยังอยู่เหนือระดับ 50 ยกเว้นความเชื่อมั่นด้านต้นทุนที่ทรงตัวอยู่ใน ระดับต่ำโดยเฉพาะในภาคการผลิตและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากราคา วัตถุดิบและพลังงานที่ผันผวนสูงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและ ยูเครนที่ยืดเยื้อ ผลักดันให้ราคาสินค้าส่วนหนึ่งปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับมาตรการพยุงกำลังซื้อของภาครัฐเริ่มทยอยหมดลงส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านค่าสั่งซื้อ การผลิต และผลประกอบการปรับลดลง
โดยในภาคการผลิต ความเชื่อมั่นของธุรกิจส่วนใหญ่ปรับลดลงจากความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและการผลิตตามภาวะการขาดแคลน ปัจจัยการผลิตที่มากขึ้น และปัจจัยชั่วคราวจากจำนวนวันทำงานที่น้อยกว่าเดือนก่อน เพราะมีวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลสงกรานต์
ขณะที่ธุรกิจบริการและการค้าส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากปัจจัยชั่วคราว ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ในปีนี้บรรยากาศเริ่มกลับมาคึกคัก ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านคำสั่งซื้อและผลประกอบการของกลุ่มนี้ปรับดีขึ้น ช่วยพยุงให้ดัชนีของภาคที่มิใช่การผลิตปรับลดลงเพียงเล็กน้อย
และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ดัชนีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 54.1 จากการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นในเกือบทุกองค์ประกอบและเกือบ ทุกหมวดธุรกิจ แต่ความเชื่อมั่นด้านต้นทุนยังอยู่ในระดับต่ำมาก ตาม ความกังวลต่อราคาปัจจัยการผลิตที่มีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าธุรกิจจะยังขยายตัวจากปัจจุบัน ยกเว้นกลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 จาก ความเชื่อมั่นที่ลดลงในเกือบทุกองค์ประกอบโดยเฉพาะด้านต้นทุน
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นด้านอื่นๆ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นด้านต้นทุนทรงตัวอยู่ในระดับต่ำมาก จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาปัจจัยการผลิตหลาย รายการผันผวนอยู่ในระดับสูง การบริหารต้นทุนทำได้ยากขึ้นและส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านสภาพคล่องปรับลดลง
โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ประกอบการเห็นว่าต้นทุนการผลิตสูงเป็นอุปสรรคสำคัญที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ และต้นทุนสูงเป็นข้อจำกัด อันดับ 1 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ ในอีก 12 เดือนข้างหน้าที่เร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 3.2% จาก 2.8% ในเดือนก่อน