เถรวาท มีคำสอนเรื่อง ตรีกาย ป่าวครับ?

ตรีกาย
1. สัมโภคกาย (Sambhogakaya) - กายทิพย์
2. นิรมาณกาย (Nirmanakaya) - กายเนื้อขันธ์ ๕
3. ธรรมกาย (Dharmakaya) - จิตแห่งพุทธะ 

เถรวาทมีคำสอนนี้หรือมีพระสูตรกล่าวถึงป่าวครับ

ถ้าไม่มีมีคำสอนไหนที่ใกล้เคียงบ้าง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
คำว่ากาย ในพระไตรปิฏกเถรวาท  เมื่อถูกใช้ในการสาธยาย จะถูกใช้ในความหมายว่า กาย, กอง, หมวดหมู่, ที่รวม, ชุมนุม, ประชุม

กาย มี 3 อย่าง คือ
1. สรีรกาย กายที่เกิดจากอุตุนิยาม (รูปธาตุ) คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้แก่ กายของมนุษย์ และสัตว์เดรัจฉาน
2. ทิพยกาย กายที่เกิดจากกรรมนิยาม คือ กิเลส กรรม วิบาก ได้แก่ กายของโอปะปาติกะทั้งหลาย เช่น พรหม เทพ วิญญาณ อสุรกาย เปรต และสัตว์นรก
3. นามกาย หรือ กายที่เกิดจากธรรมนิยาม ได้แก่ เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ

แม้จะมี 3 กายเช่นกัน แต่เห็นได้ว่า กาย 3 ของเถรวาท สื่อแนวคิดแตกต่างกับ ตรีกาย แบบที่ท่าน จขกท. ได้รับข้อมูลมา
เถรวาท แบ่ง 3 กาย ตามปัจจัยการเกิด  ทุกสิ่งยังว่าตามเหตุปัจจัย สภาพแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย เมื่อส่วนประกอบทั้งหลายหายไปย่อมสูญสิ้น

สำหรับ ตรีกาย ที่ท่าน จขกท. ยกมา น่าจะเป็นการอิงจากแนวคิดของมหายาน โดยอ้าง กายตรัยสูตร (ซึ่งไม่พบในพระไตรปิฏกฉบับเถรวาท)  

ว่าตาม กายตรัยสูตร  ในส่วนของ ธรรมกาย ควรจะหมายถึง กายอันไร้รูปร่างเป็นสภาวธรรม ในฐานะเป็นสภาพสูงสุด หลักแห่งความรู้, ความกรุณา และความสมบูรณ์  

ซึ่ง ธรรมกาย ในทางมหายาน ก็ไม่ใช่กายแบบที่จะภาวนาแล้วเห็น รูป เป็นภาพนิมิต แบบที่บางสำนักในไทยอธิบาย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่